การออกแบบ GameCube ซึ่งเป็นเครื่องเกมรุ่นถัดไปของ Nintendo ต่อจาก N64 นั้นเริ่มขึ้นในปี 1998 โดยเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่าง Nintendo กับบริษัท AtrX ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบ Hardware ประมวลผลกราฟฟิกที่พึ่งก่อตั้งในปี 1997 แม้จะเป็นบริษัทใหม่แต่ Nintendo ก็ไว้วางใจเพราะทีมงานทั้งหมดร่วม 20 คนของ ArtX นั้นเป็นทีมที่เคยทำงานร่วมกันกับ Nintendo ในการออกแบบ N64 สมัยที่ยังทำงานให้กับบริษัท SGI ก่อนที่จะออกมาตั้งบริษัทของตนเองโดยทาง Nintendo ได้เปิดเผยถึงโครงการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่นี้เมื่อเดือนพฤษภาคม 1999 ภายใต้ชื่อโครงการว่า “Dolphin”
คอนเซ็ปการพัฒนา GameCube ซึ่งต่อไปนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงด้วยตัวย่อว่า gc นั้นคือ “เรียบง่าย” โดยใช้สถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายและรู้จักกันดีอย่างแพร่หลายเพื่อทำให้การพัฒนาเกมบน gc นั้นทำได้ง่ายและรวดเร็วอันนำมาซึ่งต้นทุนการพัฒนาที่ต่ำทั้งในด้านการเงินและตารางเวลาโดยหวังว่านี่จะช่วยดึงดูดผู้พัฒนาเกมต่าง ๆ ให้กลับมาสร้างเกมลง gc หลังจากที่ Nintendo เรียนรู้บทเรียนราคาแพงจากการเสียพันธ์มิตรผู้พัฒนาเกมไปเป็นจำนวนมากเพราะ N64 ที่พัฒนาเกมได้ลำบาก
จะมองว่าเป็นการสร้างเครื่องเกมคอนโซลโดยมุ่งเป้าการตลาดเน้นไปที่ผู้พัฒนาเกมแทนผู้เล่น หรือ เป็นการไถ่บาปต่อผู้พัฒนาเกมก็ว่าได้
ในส่วนของ CPU นั้นทีมพัฒนาเลือกใช้ CPU ตระกูล PowerPC ของ IBM ที่รู้จักกันแพร่หลายและ SEGA เคยเกือบจะได้ใช้ CPU ตระกูลนี้กับ Dreamcast แล้ว โดย IBM นำ PowerPC 750Cxe มาปรับแต่ง เพิ่มชุดคำสั่งใหม่เข้าไปอีกราว ๆ 50 ชุด, เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลเลขทศนิยมและการประมวลผลคู่ขนานเพื่อใช้งานในฐานะเครื่องเล่นเกมโดยเฉพาะ ชื่อชิปว่า Gekko ซึ่งแปลว่า ตุ๊กแก
ส่วนชิปประมวลผลกราฟิกนั้น Nintendo ใช้วิธีเดียวกับ Sony คือออกแบบชิปใหม่เฉพาะทางเพื่อใช้กับเครื่องเกมของตนเองซึ่งบริษัท AtrX เป็นหัวเรือหลักในการออกแบบ Hardware ส่วนนี้ ชิปที่ถูกออกแบบมีชื่อเรียกว่า “Flipper” แปลว่า ครีบ หรือ ตีนกบ
ต่อมา AtrX ได้ถูก ATI ซื้อไปในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 เพื่อรับหน้าที่เป็นแผนกพัฒนาชิปประมวลผลด้านกราฟฟิกและถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ATI's West Coast team ซึ่งผลงานของ ArtX ที่ออกแบบชิปให้ ATI นั้นออกมาในชื่อชิป R300 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในฐานะกราฟฟิกการ์ดของ PC ในชื่อการตลาดว่า Radeon 9700 Pro
ส่วน Flipper ต่อมาก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ATI Flipper ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักชิปนี้หลังจากเปลี่ยนชื่อแล้ว
อย่างไรก็ตามโครงการ Dolphin ก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยทาง ATI ไม่ได้เข้ามาก้าวก่ายแต่อย่างใด
และในปีเดียวกันนั้นทาง Nintendo ก็ได้ประกาศเปิดตัวเครื่องเกมรุ่นใหม่ “GameCube” ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน โดยใช้ตัวเรียกย่อว่า NGC(Nintendo GameCube) สำหรับญี่ปุ่นแต่ใช้ตัวย่อว่า GCN(GameCube Nintendo) ในตลาดอเมริกา
จอยคอนโทรลของ gc นั้น ถือว่ามีรูปร่างและใช้ตำแหน่งการวางปุ่ม abxy ที่แปลกไปจากเดิม เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยได้จับจอยที่ใช้การออกแบบของ gc เลยจึงตอบไม่ได้ แต่จากความรู้สึกส่วนตัวแล้วการเปลี่ยนรูปแบบปุ่ม ab xy เป็นแบบที่ใช้ใน GameCube นั้นให้ความรู้สึกว่า “มันจะ Work รึ”
แต่ในส่วนการวางตำแหน่งของแกนอนาล๊อคนั้นถึงจะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็มาถูกทาง ทำให้ต่อมาทั้ง Nintendo และคู่แข่งรายหนึ่งได้ต่อยอดไอเดียไปปรับใช้กับจอยคอนโทรลเลอร์ของตนในเวลาต่อมา ส่วนตัวที่เคยลองใช้นั้นรู้สึกว่าวางนิ้วโป้งได้สบายกว่าของตำแหน่งที่ ps เลือกใช้
ส่วนการเลือกใช้สื่อบรรจุข้อมูลเกมนั้นน่าสนใจมาก โดย gc เป็นเครื่องเกมของ Nintendo เครื่องแรกที่ใช้สื่อบรรจุข้อมูลแบบ optical disk หลังจากที่ยึดติดกับตลับมานาน แต่จุดที่แปลกคือ Nintendo เลือกที่จะใช้ Nintendo optical discs ซึ่งพัฒนาบนเทคโนโลยีของ DVD โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Nintendo กับ Panasonic เจ้าของเทคโนโลยี DVD ร่วมกับ Sony เพื่อสร้าง format พิเศษขึ้นมาใช้
Nintendo optical discs ซึ่งต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงสั้น ๆ ว่า nod นั้น รุ่นที่ใช้กับเครื่อง gc มีขนาดใกล้เคียงกับ mini-DVD หรือแผ่น DVD ขนาดเล็กแทนที่จะเป็นขนาดตามแผ่น DVD มาตรฐานทั่วไป เชื่อกันว่าสาเหตุที่เลือกใช้ nod นั้นมี 3 ประการ คือ
1.ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงจนมีขนาดกระทัดรัด กลายเป็นเครื่องเกมคอนโซลที่มีขนาดเล็กที่สุดในยุคนั้น
2.ช่วยในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้เพราะการอ่านและก๊อปปี๊ข้อมูลนั้นไม่สามารถทำได้ด้วย DVD Drive ทั่วไปในตลาด
3. Nintendo ต้องการให้ gc เป็นเพียงเครื่องเกมคอนโซลเท่านั้น ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเช่น ดูหนัง นั้นถูกตัดออกหมด
ทั้งนี้ nod ก็มีข้อเสียเปรียบ dvd ก็คือไม่สามารถเขียนข้อมูลแบบ Double Layer ที่จะช่วยเพิ่มความจุได้อีกหนึ่งเท่าได้
ซึ่งการเลือกใช้ nod ที่เป็นสื่อเฉพาะทางของตนเองนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดในภายหลังซึ่งจะได้เล่าถึงต่อไป
Gc เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2001 ที่ญี่ปุ่นและ 18 พฤศจิกายน ปีเดียวกันที่อเมริกา ผลคือได้รับการตอบรับอย่างดีพอสมควร โดยที่ญี่ปุ่นนั้น gc สามารถทำยอดขายได้ถึง 3 แสนเครื่องภายในสามวันหลังวางจำหน่าย ส่วนที่อเมริกานั้นทำยอดขายแตะ 6 แสนเครื่องได้ในช่วงต้นของเดือนธันวาคม ไม่ระบุวันว่าวันไหน ด้วยชื่อเสียงเก่าแก่ของ Nintendo และยอดขายขนาดนี้ทำให้บริษัทผู้พัฒนาเกมต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจที่จะสร้างเกมลง gc
Capcom เองก็เป็นหนึ่งบริษัทผู้พัฒนาเกมที่สร้างเกมลง gc แต่ที่พิเศษจากคนอื่น ๆ คือ Nintendo เป็นคนไปทาบทาม Capcom ให้มาทำเกมลง gc ด้วยตนเอง ซึ่งนี่ก่อให้เกิดข้อตกลงพิเศษระหว่าง Nintendo และ Capcom ที่ทำให้ Capcom มีการประกาศจะพัฒนา exclusive game สำหรับ gc เท่านั้น จำนวนทั้งหมด 5 เกมประกอบไปด้วย
1. P.N.03
2. Killer7
3. Dead Phoenix
4. Resident Evil 4
5. Viewtiful Joe
ข้อตกลงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “Capcom Five” ถูกประกาศสู่สาธารณะในปี 2002
ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ หรือรายละเอียดปลีกย่อยของ Capcom Five นั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูล แต่ที่แน่ ๆ คือเกมของ Capcom บน gc ยังมีอีกมากและ exclusive game บน gc ไม่ได้มีแค่ 5 เกมตามรายชื่อในข้างต้น
Capcom นั้นได้นำเกมซีรี่ย์ Resident Evil ทั้งหมดมาลงเครื่อง gc ด้วย โดย Resident Evil 2, Resident Evil 3, และ Resident Evil Code Veronica นั้นเป็นการแปลงเกมจากระบบอื่นมาลง gc หรือที่มักเรียกวิธีนี้กันว่า “port”
ทว่าสำหรับภาค 1 นั้นทางผู้พัฒนาอยากที่จะ Remark ใหม่เพราะกราฟฟิกของเดิมเป็นกราฟฟิกในช่วงยุคแรกของการสร้างเกม 3D ทำให้กราฟิกดูแปลก ๆ เหมือนเอาก้อนสี่เหลี่ยมมาต่อเป็นตัวละคร(ff7 ของ Square ก็ประสบปัญหานี้) อีกทั้งการแปลภาษาของเดิมนั้นก็สุดที่จะทนอันเป็นเอกลักษณ์ของเกมที่แปลภาษาจากญี่ปุ่นมาอังกฤษในช่วงกลางยุค 90s
ทาง Capcom จึงถือโอกาสนี้ใช้ Resident Evil Remake เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องเพื่อเรียนรู้และทดสอบวิธีการสร้างเกมบน gc รวมถึงศึกษาประสิทธิภาพและขีดจำกัดของ gc โครงการเริ่มขึ้นในปี 2001 ด้วยจำนวนสมาชิกเริ่มต้นเพียง 4 คน
โดยในตอนแรกนั้นทางทีมตั้งใจที่จะทำให้เกมนั้นเป็นกราฟิก 3D แบบ Realtime ทั้งฉาก ของประกอบฉาก ตัวละครต่าง ๆ อาวุธ ฯลฯ เป็น Realtime 3D ทั้งหมดแต่พบว่าการทำแบบนั้นมันเกินขีดจำกัดของ Hardware ของ gc ทำให้ทีมกลับไปใช้เทคนิคแบบเดิมที่ Resident Evil Original ใช้ นั้นคือเอาตัวละคร 3D มาเคลื่อนไหวบนฉากหลังที่เป็น pre-rendered กราฟฟิก ซึ่งในภายหลังทีมพัฒนาก็สามารถทำให้ Resident Evil มีกราฟิก 3D แบบ Realtime เกือบทั้งหมดได้สำเร็จใน Resident Evil 4
Resident Evil Remake พัฒนาเสร็จและวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2002 โดยตัวเกมถูกนำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Resident Evil 0 ที่แนวคิดและเนื้อเรื่องถูกสร้างไว้นานแล้ว วางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยภาค Remake และภาค 0 นี้กลายเป็น Exclusive game ของ gc อยู่หลายปีก่อนที่จะถูกนำไปลงเครื่องรุ่นใหม่ของ Nintendo ในปี 2008 และลงระบบอื่น ๆ เช่น ps3, xbox360 และ pc ในปี 2015
โดยภาค 0 นี่เองที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญให้ทีมผู้พัฒนา Resident Evil 4 ตัดสินใจใช้เกมเพลย์แบบใหม่และมุมมองบุคคลที่ 3 แบบมองข้ามไหล่ตัวละครแทนเพราะจากการทดสอบเล่นของ Shinji Mikami ผู้กำกับ เค้าพบว่าเกมเพลย์ของ Resident Evil 0 ไม่ทำให้เค้ารู้สึกตื่นตระหนกและหวาดกลัวเหมือนที่เกมเพลย์แบบใหม่ทำได้
ในเวลาต่อมาระยะหนึ่ง บริษัทผู้พัฒนาเกมลง gc ก็เริ่มรู้สึกตัวว่ามีอะไรแปลก ๆ
ทำไมยอดขายเกมบน gc ถึงน้อยกว่าบน ps2 มาก ทั้งที่เป็นเกมเดียวกัน
สาเหตุนั้นมาจากฐานลูกค้าของ ps2 ที่มหาศาลกว่า gc มากอันเนื่องมาจาก gc นั้นเล่นหนัง DVD ไม่ได้ ทำให้ gc เป็นได้เพียงเครื่องเล่นเกมขณะที่ยุคนั้นผู้คนกำลังต้องการเครื่องเล่น DVD ราคาถูกหรือเครื่องเล่นเกมที่ใช้ทำอย่างอื่น ๆ เช่นเล่นหนัง DVD ก็ได้ด้วย ซึ่ง ps2 และ xbox ตอบโจทย์ได้
นี่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเกมหลาย ๆ เจ้าเริ่มถอยออกจากการเป็นผู้พัฒนาเกมให้กับ gc เพราะไม่คุ้มค่าการลงทุน
Capcom เองก็ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ไม่น้อยเช่นกัน ยอดขายเกมบน gc นั้นไม่ดีเลย
แถมเกมในรายการของ Capcom Five เกือบทั้งหมดก็เละไม่เป็นท่า โดยชะตากรรมของแต่ละเกมมีดังนี้
1. P.N.03
เป็น Exclusive game ของ gc ตัวเกมเป็นแนว Si-fi Shooting ตัวเอกเป็นผู้หญิง วางจำหน่ายปี 2003 อารมณ์เอาเกม Vanquish กับ Bayonetta มายำรวมกัน เสียงตอบรับต่อเกมค่อนข้างไปในทางที่ไม่ดี โดยสำนักพิมพ์นิตยสารเกมส่วนใหญ่ให้คะแนนอยู่ระหว่าง 4-6 เต็ม 10 เห็นว่าเกมควรจะทำได้ดีกว่านี้
2. Killer7
ตัวเกมเป็นแนว action-adventure มุมมองบุคคลที่ 1 วางจำหน่ายปี 2005 ตัวเกมนั้น...มีเอกลักษณ์ ทั้งเนื้อเรื่อง ตัวละคร เกมเพลย์ กราฟฟิก ล้วนมี...เอกลักษณ์ที่โดดเด่นและไม่ซ้ำใครในเวลานั้น เอกลักษณ์มากขนาดที่แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งไม่ชอบเลยกับอีกกลุ่มที่เรียกได้ว่าบูชาเกมนี้จนเป็นลิทธิ ตัวเกมถูกวางจำหน่ายทั้งบน gc และ ps2 ในปี 2005
gc และ ps2 ใช่แล้ว ผู้เขียนไม่ได้เขียนผิด
หากมีใครสนใจ Killer7 ถูกแปลงลง PC ให้ได้เล่นกันเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมานี่เอง เชิญไปซื้อมาเล่นได้
หรือ ไปดูเกมเพลย์ตาม YouTube
3. Dead Phoenix
โปรเจคถูกยกเลิก จนถึงทุกวันนี้แทบไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับเกมหลุดออกมาเลยจึงไม่รู้ว่ามันเป็นเกมอะไรและแบบไหนกันแน่ แม้แต่เหตุผลที่ยกเลิกก็ยังไม่มีใครรู้จนปัจจุบัน
สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียง Trailer ที่แสดงตัวเกมในเวอร์ชั่นเบต้าเท่านั้น ผู้อ่านสามารถดูได้ใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=QnPYmjR0EhY
บทความตามใจฉัน “Nintendo GameCube ก้าวแรกสู่ optical disk”
คอนเซ็ปการพัฒนา GameCube ซึ่งต่อไปนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงด้วยตัวย่อว่า gc นั้นคือ “เรียบง่าย” โดยใช้สถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายและรู้จักกันดีอย่างแพร่หลายเพื่อทำให้การพัฒนาเกมบน gc นั้นทำได้ง่ายและรวดเร็วอันนำมาซึ่งต้นทุนการพัฒนาที่ต่ำทั้งในด้านการเงินและตารางเวลาโดยหวังว่านี่จะช่วยดึงดูดผู้พัฒนาเกมต่าง ๆ ให้กลับมาสร้างเกมลง gc หลังจากที่ Nintendo เรียนรู้บทเรียนราคาแพงจากการเสียพันธ์มิตรผู้พัฒนาเกมไปเป็นจำนวนมากเพราะ N64 ที่พัฒนาเกมได้ลำบาก
จะมองว่าเป็นการสร้างเครื่องเกมคอนโซลโดยมุ่งเป้าการตลาดเน้นไปที่ผู้พัฒนาเกมแทนผู้เล่น หรือ เป็นการไถ่บาปต่อผู้พัฒนาเกมก็ว่าได้
ในส่วนของ CPU นั้นทีมพัฒนาเลือกใช้ CPU ตระกูล PowerPC ของ IBM ที่รู้จักกันแพร่หลายและ SEGA เคยเกือบจะได้ใช้ CPU ตระกูลนี้กับ Dreamcast แล้ว โดย IBM นำ PowerPC 750Cxe มาปรับแต่ง เพิ่มชุดคำสั่งใหม่เข้าไปอีกราว ๆ 50 ชุด, เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลเลขทศนิยมและการประมวลผลคู่ขนานเพื่อใช้งานในฐานะเครื่องเล่นเกมโดยเฉพาะ ชื่อชิปว่า Gekko ซึ่งแปลว่า ตุ๊กแก
ส่วนชิปประมวลผลกราฟิกนั้น Nintendo ใช้วิธีเดียวกับ Sony คือออกแบบชิปใหม่เฉพาะทางเพื่อใช้กับเครื่องเกมของตนเองซึ่งบริษัท AtrX เป็นหัวเรือหลักในการออกแบบ Hardware ส่วนนี้ ชิปที่ถูกออกแบบมีชื่อเรียกว่า “Flipper” แปลว่า ครีบ หรือ ตีนกบ
ต่อมา AtrX ได้ถูก ATI ซื้อไปในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 เพื่อรับหน้าที่เป็นแผนกพัฒนาชิปประมวลผลด้านกราฟฟิกและถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ATI's West Coast team ซึ่งผลงานของ ArtX ที่ออกแบบชิปให้ ATI นั้นออกมาในชื่อชิป R300 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในฐานะกราฟฟิกการ์ดของ PC ในชื่อการตลาดว่า Radeon 9700 Pro
ส่วน Flipper ต่อมาก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ATI Flipper ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักชิปนี้หลังจากเปลี่ยนชื่อแล้ว
อย่างไรก็ตามโครงการ Dolphin ก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยทาง ATI ไม่ได้เข้ามาก้าวก่ายแต่อย่างใด
และในปีเดียวกันนั้นทาง Nintendo ก็ได้ประกาศเปิดตัวเครื่องเกมรุ่นใหม่ “GameCube” ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน โดยใช้ตัวเรียกย่อว่า NGC(Nintendo GameCube) สำหรับญี่ปุ่นแต่ใช้ตัวย่อว่า GCN(GameCube Nintendo) ในตลาดอเมริกา
จอยคอนโทรลของ gc นั้น ถือว่ามีรูปร่างและใช้ตำแหน่งการวางปุ่ม abxy ที่แปลกไปจากเดิม เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยได้จับจอยที่ใช้การออกแบบของ gc เลยจึงตอบไม่ได้ แต่จากความรู้สึกส่วนตัวแล้วการเปลี่ยนรูปแบบปุ่ม ab xy เป็นแบบที่ใช้ใน GameCube นั้นให้ความรู้สึกว่า “มันจะ Work รึ”
แต่ในส่วนการวางตำแหน่งของแกนอนาล๊อคนั้นถึงจะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็มาถูกทาง ทำให้ต่อมาทั้ง Nintendo และคู่แข่งรายหนึ่งได้ต่อยอดไอเดียไปปรับใช้กับจอยคอนโทรลเลอร์ของตนในเวลาต่อมา ส่วนตัวที่เคยลองใช้นั้นรู้สึกว่าวางนิ้วโป้งได้สบายกว่าของตำแหน่งที่ ps เลือกใช้
ส่วนการเลือกใช้สื่อบรรจุข้อมูลเกมนั้นน่าสนใจมาก โดย gc เป็นเครื่องเกมของ Nintendo เครื่องแรกที่ใช้สื่อบรรจุข้อมูลแบบ optical disk หลังจากที่ยึดติดกับตลับมานาน แต่จุดที่แปลกคือ Nintendo เลือกที่จะใช้ Nintendo optical discs ซึ่งพัฒนาบนเทคโนโลยีของ DVD โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Nintendo กับ Panasonic เจ้าของเทคโนโลยี DVD ร่วมกับ Sony เพื่อสร้าง format พิเศษขึ้นมาใช้
Nintendo optical discs ซึ่งต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงสั้น ๆ ว่า nod นั้น รุ่นที่ใช้กับเครื่อง gc มีขนาดใกล้เคียงกับ mini-DVD หรือแผ่น DVD ขนาดเล็กแทนที่จะเป็นขนาดตามแผ่น DVD มาตรฐานทั่วไป เชื่อกันว่าสาเหตุที่เลือกใช้ nod นั้นมี 3 ประการ คือ
1.ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงจนมีขนาดกระทัดรัด กลายเป็นเครื่องเกมคอนโซลที่มีขนาดเล็กที่สุดในยุคนั้น
2.ช่วยในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้เพราะการอ่านและก๊อปปี๊ข้อมูลนั้นไม่สามารถทำได้ด้วย DVD Drive ทั่วไปในตลาด
3. Nintendo ต้องการให้ gc เป็นเพียงเครื่องเกมคอนโซลเท่านั้น ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเช่น ดูหนัง นั้นถูกตัดออกหมด
ทั้งนี้ nod ก็มีข้อเสียเปรียบ dvd ก็คือไม่สามารถเขียนข้อมูลแบบ Double Layer ที่จะช่วยเพิ่มความจุได้อีกหนึ่งเท่าได้
ซึ่งการเลือกใช้ nod ที่เป็นสื่อเฉพาะทางของตนเองนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดในภายหลังซึ่งจะได้เล่าถึงต่อไป
Gc เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2001 ที่ญี่ปุ่นและ 18 พฤศจิกายน ปีเดียวกันที่อเมริกา ผลคือได้รับการตอบรับอย่างดีพอสมควร โดยที่ญี่ปุ่นนั้น gc สามารถทำยอดขายได้ถึง 3 แสนเครื่องภายในสามวันหลังวางจำหน่าย ส่วนที่อเมริกานั้นทำยอดขายแตะ 6 แสนเครื่องได้ในช่วงต้นของเดือนธันวาคม ไม่ระบุวันว่าวันไหน ด้วยชื่อเสียงเก่าแก่ของ Nintendo และยอดขายขนาดนี้ทำให้บริษัทผู้พัฒนาเกมต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจที่จะสร้างเกมลง gc
Capcom เองก็เป็นหนึ่งบริษัทผู้พัฒนาเกมที่สร้างเกมลง gc แต่ที่พิเศษจากคนอื่น ๆ คือ Nintendo เป็นคนไปทาบทาม Capcom ให้มาทำเกมลง gc ด้วยตนเอง ซึ่งนี่ก่อให้เกิดข้อตกลงพิเศษระหว่าง Nintendo และ Capcom ที่ทำให้ Capcom มีการประกาศจะพัฒนา exclusive game สำหรับ gc เท่านั้น จำนวนทั้งหมด 5 เกมประกอบไปด้วย
1. P.N.03
2. Killer7
3. Dead Phoenix
4. Resident Evil 4
5. Viewtiful Joe
ข้อตกลงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “Capcom Five” ถูกประกาศสู่สาธารณะในปี 2002
ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ หรือรายละเอียดปลีกย่อยของ Capcom Five นั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูล แต่ที่แน่ ๆ คือเกมของ Capcom บน gc ยังมีอีกมากและ exclusive game บน gc ไม่ได้มีแค่ 5 เกมตามรายชื่อในข้างต้น
Capcom นั้นได้นำเกมซีรี่ย์ Resident Evil ทั้งหมดมาลงเครื่อง gc ด้วย โดย Resident Evil 2, Resident Evil 3, และ Resident Evil Code Veronica นั้นเป็นการแปลงเกมจากระบบอื่นมาลง gc หรือที่มักเรียกวิธีนี้กันว่า “port”
ทว่าสำหรับภาค 1 นั้นทางผู้พัฒนาอยากที่จะ Remark ใหม่เพราะกราฟฟิกของเดิมเป็นกราฟฟิกในช่วงยุคแรกของการสร้างเกม 3D ทำให้กราฟิกดูแปลก ๆ เหมือนเอาก้อนสี่เหลี่ยมมาต่อเป็นตัวละคร(ff7 ของ Square ก็ประสบปัญหานี้) อีกทั้งการแปลภาษาของเดิมนั้นก็สุดที่จะทนอันเป็นเอกลักษณ์ของเกมที่แปลภาษาจากญี่ปุ่นมาอังกฤษในช่วงกลางยุค 90s
ทาง Capcom จึงถือโอกาสนี้ใช้ Resident Evil Remake เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องเพื่อเรียนรู้และทดสอบวิธีการสร้างเกมบน gc รวมถึงศึกษาประสิทธิภาพและขีดจำกัดของ gc โครงการเริ่มขึ้นในปี 2001 ด้วยจำนวนสมาชิกเริ่มต้นเพียง 4 คน
โดยในตอนแรกนั้นทางทีมตั้งใจที่จะทำให้เกมนั้นเป็นกราฟิก 3D แบบ Realtime ทั้งฉาก ของประกอบฉาก ตัวละครต่าง ๆ อาวุธ ฯลฯ เป็น Realtime 3D ทั้งหมดแต่พบว่าการทำแบบนั้นมันเกินขีดจำกัดของ Hardware ของ gc ทำให้ทีมกลับไปใช้เทคนิคแบบเดิมที่ Resident Evil Original ใช้ นั้นคือเอาตัวละคร 3D มาเคลื่อนไหวบนฉากหลังที่เป็น pre-rendered กราฟฟิก ซึ่งในภายหลังทีมพัฒนาก็สามารถทำให้ Resident Evil มีกราฟิก 3D แบบ Realtime เกือบทั้งหมดได้สำเร็จใน Resident Evil 4
Resident Evil Remake พัฒนาเสร็จและวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2002 โดยตัวเกมถูกนำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Resident Evil 0 ที่แนวคิดและเนื้อเรื่องถูกสร้างไว้นานแล้ว วางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยภาค Remake และภาค 0 นี้กลายเป็น Exclusive game ของ gc อยู่หลายปีก่อนที่จะถูกนำไปลงเครื่องรุ่นใหม่ของ Nintendo ในปี 2008 และลงระบบอื่น ๆ เช่น ps3, xbox360 และ pc ในปี 2015
โดยภาค 0 นี่เองที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญให้ทีมผู้พัฒนา Resident Evil 4 ตัดสินใจใช้เกมเพลย์แบบใหม่และมุมมองบุคคลที่ 3 แบบมองข้ามไหล่ตัวละครแทนเพราะจากการทดสอบเล่นของ Shinji Mikami ผู้กำกับ เค้าพบว่าเกมเพลย์ของ Resident Evil 0 ไม่ทำให้เค้ารู้สึกตื่นตระหนกและหวาดกลัวเหมือนที่เกมเพลย์แบบใหม่ทำได้
ในเวลาต่อมาระยะหนึ่ง บริษัทผู้พัฒนาเกมลง gc ก็เริ่มรู้สึกตัวว่ามีอะไรแปลก ๆ
ทำไมยอดขายเกมบน gc ถึงน้อยกว่าบน ps2 มาก ทั้งที่เป็นเกมเดียวกัน
สาเหตุนั้นมาจากฐานลูกค้าของ ps2 ที่มหาศาลกว่า gc มากอันเนื่องมาจาก gc นั้นเล่นหนัง DVD ไม่ได้ ทำให้ gc เป็นได้เพียงเครื่องเล่นเกมขณะที่ยุคนั้นผู้คนกำลังต้องการเครื่องเล่น DVD ราคาถูกหรือเครื่องเล่นเกมที่ใช้ทำอย่างอื่น ๆ เช่นเล่นหนัง DVD ก็ได้ด้วย ซึ่ง ps2 และ xbox ตอบโจทย์ได้
นี่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเกมหลาย ๆ เจ้าเริ่มถอยออกจากการเป็นผู้พัฒนาเกมให้กับ gc เพราะไม่คุ้มค่าการลงทุน
Capcom เองก็ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ไม่น้อยเช่นกัน ยอดขายเกมบน gc นั้นไม่ดีเลย
แถมเกมในรายการของ Capcom Five เกือบทั้งหมดก็เละไม่เป็นท่า โดยชะตากรรมของแต่ละเกมมีดังนี้
1. P.N.03
เป็น Exclusive game ของ gc ตัวเกมเป็นแนว Si-fi Shooting ตัวเอกเป็นผู้หญิง วางจำหน่ายปี 2003 อารมณ์เอาเกม Vanquish กับ Bayonetta มายำรวมกัน เสียงตอบรับต่อเกมค่อนข้างไปในทางที่ไม่ดี โดยสำนักพิมพ์นิตยสารเกมส่วนใหญ่ให้คะแนนอยู่ระหว่าง 4-6 เต็ม 10 เห็นว่าเกมควรจะทำได้ดีกว่านี้
2. Killer7
ตัวเกมเป็นแนว action-adventure มุมมองบุคคลที่ 1 วางจำหน่ายปี 2005 ตัวเกมนั้น...มีเอกลักษณ์ ทั้งเนื้อเรื่อง ตัวละคร เกมเพลย์ กราฟฟิก ล้วนมี...เอกลักษณ์ที่โดดเด่นและไม่ซ้ำใครในเวลานั้น เอกลักษณ์มากขนาดที่แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งไม่ชอบเลยกับอีกกลุ่มที่เรียกได้ว่าบูชาเกมนี้จนเป็นลิทธิ ตัวเกมถูกวางจำหน่ายทั้งบน gc และ ps2 ในปี 2005
gc และ ps2 ใช่แล้ว ผู้เขียนไม่ได้เขียนผิด
หากมีใครสนใจ Killer7 ถูกแปลงลง PC ให้ได้เล่นกันเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมานี่เอง เชิญไปซื้อมาเล่นได้
หรือ ไปดูเกมเพลย์ตาม YouTube
3. Dead Phoenix
โปรเจคถูกยกเลิก จนถึงทุกวันนี้แทบไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับเกมหลุดออกมาเลยจึงไม่รู้ว่ามันเป็นเกมอะไรและแบบไหนกันแน่ แม้แต่เหตุผลที่ยกเลิกก็ยังไม่มีใครรู้จนปัจจุบัน
สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียง Trailer ที่แสดงตัวเกมในเวอร์ชั่นเบต้าเท่านั้น ผู้อ่านสามารถดูได้ใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=QnPYmjR0EhY