ติดภารกิจงานอยู่สิงคโปร์กว่า 2 สัปดาห์ (นี่ก็เริ่มพิมพ์บทความนี้ที่สิงคโปร์!) กำหนดทำสอนเล่น FPL เลยเขยิบมาเรื่อยจนซีซันจะเปิดอยู่แล้ว โดยผมจะทำ 2 ปี หนนึง เผื่อกุนซือ FPL มือใหม่ ยังไม่ทราบวิธีการเล่น จะได้ศึกษาเบื้องต้น และตามเพื่อนๆ ในคอมมูนิตี้ต่างๆ ได้ทัน
[เริ่มต้นสมัคร และสร้างแอคเคาท์]
เกม Fantasy Premier League เป็นเกมจัดตัวนักเตะ หรือเรียกกันติดปากว่าเกม
“แฟนตาซี” ของพรีเมียร์ลีกเลย โดยผมเคยเขียนที่มาที่ไปของเกมแฟนตาซีไว้นานแล้วที่ The.Macho หากสนใจ ย้อนไปอ่านได้
>> คลิกที่นี่ <<
FPL คือเกมทางการของพรีเมียร์ลีก ที่ให้คุณจัดตัวนักเตะ ลุ้นคะแนนจากผลงานสนามจริง
Fantasy Premier League หรือเรียกสั้นๆ ว่า FPL ปกติจะสามารถเล่นได้ 2 ช่องทาง นั่นคือผ่านเว็บบราวเซอร์
fantasy.premierleague.com หรือผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือ ที่ชื่อว่า
Premier League – Official App
ส่วนตัวแล้ว ผมจะเน้นเล่นผ่านเว็บบราวเซอร์มากกว่า ด้วย UI ที่ใช้ง่าย และครบถ้วนกว่า ดังนั้นหน้าตาที่แคปเจอร์มาอธิบายการเล่น จะแคปมาจากเวอร์ชันเว็บบราวเซอร์ทั้งหมด (ผมเข้าผ่าน PC Desktop)
เริ่มกันตั้งแต่สร้างแอคเคาท์ เมื่อคุณเข้ามายัง fantasy.premierleague.com แล้วยังไม่มีแอคเคาท์ ก็สามารถกด Sign up ที่อยู่ด้านล่างของกล่องล็อคอิน โดยแอคเคาท์ที่สร้างนี้ จะใช้สำหรับเป็นแอคเคาท์เข้าใช้งานแพลตฟอร์มของพรีเมียร์ลีก หรือ EPL ซึ่ง FPL ก็เป็นส่วนนึงในนั้น
เมื่อกด Sign Up ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบตามขั้นตอน เพื่อสร้างแอคเคาท์
ขั้นตอนกรอกข้อมูลต่างๆ ไม่ยาก เพียงแต่ไม่มีภาษาไทยให้เลือก สามารถกรอกข้อมูลของคุณ เริ่มจากข้อมูลส่วนตัว, อีเมล์ (สำคัญมาก! ในการล็อคอิน และยืนยันอีเมล์ แนะนำให้จดไว้ ถ้าจำไม่ได้), ตั้งพาสเวิร์ดให้ตามเงื่อนไข ถัดจากนั้นจะเป็นการเลือกทีมที่ชอบ, การเลือกรับข้อมูลข่าวสารจาก EPL ครบจบก็ติ๊กรับทราบเงื่อนไข และกดลงทะเบียน
เมื่อกรอกข้อมูลต่างๆ เรียบร้อย เลื่อนลงมาติ๊กอ่านเงื่อนไข และกด Complete
กดลงทะเบียนเรียบร้อย คุณต้องเข้าไปยังอีเมล์ที่กรอกสมัคร เพื่อกด “Activate Account” จากเมล์ที่ Premier League ส่งมาให้ คลิกปุ๊บ การลงทะเบียนจะสมบูรณ์ สามารถใช้อีเมล์ และพาสเวิร์ดที่ตั้ง ล็อคอินเข้าได้เลย
เมื่อกด Complete ต้องเข้าไปยังอีเมล์เพื่อกด Activate เรียบร้อยก็ล็อคอินเข้าเล่นได้
[การเลือกทีมครั้งแรก]
เมื่อล็อคอินเข้าไป สามารถกดเข้าไปสร้างทีมครั้งแรกผ่านเมนู “Squad Selection” โดยจะเป็นการจัดทีม เหมือนการส่งทีมครั้งแรก
การจัดตัวครั้งแรก สามารถกด “Auto Pick” เพื่อให้ระบบจัดทีมอัตโนมัติไปก่อนได้ เพราะเรายังสามารถปรับทีมได้ไม่อั้น จนกว่าจะถึงเกมนัดแรกของซีซัน
การจัดทีมครั้งแรก สามารถกด Auto Pick ไปก่อนได้ เพราะเรายังแก้ได้จนนัดแรกเตะ
หรือจะจัดจริงจังก็สามารถทำได้ โดยเงื่อนไขหลักๆ ในการจัดตัว (รายละเอียดเต็มๆ พูดด้านล่าง) คือ
-> คุณมีงบประมาณจัดทีมไม่เกิน 100 ล้านปอนด์ โดยนักเตะแต่ละคนจะมีค่าตัวของตัวเอง
-> คุณต้องเลือกนักเตะ 15 ตัว ประกอบด้วย ผู้รักษาประตู x2, กองหลัง x5, กองกลาง x5, กองหน้า x3 (นักเตะมีตำแหน่งในเกมตายตัว)
-> เลือกนักเตะจากทีมสโมสรเดียวกันได้สูงสุดแค่ 3 คน
เมื่อจัดทีมครั้งแรกเรียบร้อย กด “Enter Squad” ด้านล่าง ก็จะมี pop-up เด้งขึ้นมาให้ตั้งชื่อทีมของคุณ และเลือกทีมที่เชียร์ เลือกเรียบร้อยก็ติ๊กตกลง Terms and conditions และ Enter Squad ถือว่าการจัดทีมครั้งแรกเสร็จสมบูรณ์
ตั้งชื่อทีม, เลือกทีมที่เชียร์, ติ๊กตกลงเงื่อนไข แล้ว Enter squad ได้เลย
[รู้จักเมนูต่างๆ ของ FPL]
จัดทีมครั้งแรกเรียบร้อย ก็จะเข้าสู่หน้าตาหลักของ FPL ที่คุณควรเข้าใจเมนูต่างๆ เพราะต้องใช้ให้คล่องตลอดการเล่นทั้งซีซัน โดยหน้าตาเมนูตามนี้
(01) Pick Team : เมนูที่ใช้บ่อยสุด เพื่อจัดทีม 11 ตัวจริง และ 4 ตัวสำรอง นอกจากนั้นยังเป็นหน้าไว้สำหรับเลือกกัปตัน/รองกัปตัน (คลิกที่ตัวนักเตะ แล้วเลือกได้เลย) และมีรายละเอียดต่างๆ ทั้งหมดของทีมเรา เช่น คะแนน, ลีกต่างๆ ที่เราจอย, จำนวนการเปลี่ยนตัว และการเลือกเสื้อทีมของเราเป็นสีสัน
(02) Transfer : อีกเมนูสุดสำคัญ เพราะเมื่อคุณจะทำการเปลี่ยนตัวนักเตะออก แล้วเลือกตัวอื่นเข้ามาทดแทน ต้องมาที่หน้านี้ โดยจะมีฟิลเตอร์ให้คุณเลือกดูนักเตะทั้ง 20 ทีมของพรีเมียร์ลีกอยู่มากมายทางด้านขวา
(03) Leagues & Cups : อีกฟังก์ชันสำคัญที่ทำให้การเล่น FPL สนุกขึ้น คือการมีลีกย่อย (Leagues) หรือฟุตบอลถ้วน (Cups) ทั้งหมดรวมอยู่ที่เมนูนี้ จะสร้างลีกให้เพื่อนจอย, จอยลีกเพื่อน, จอยลีก Public, ดูตารางคะแนนของลีกย่อย อยู่ที่นี่หมด
(04) Fixtures : เป็นตารางการแข่งขันพรีเมียร์ลีก ซึ่งมันคือโปรแกรมของ FPL ด้วยเช่นกัน และเมนูนี้ยังมี FDR ที่ไว้กดดูโปรแกรมล่วงหน้าของแต่ละทีม ว่าใครเจองานยาก-ง่าย
(05) The Scout : เป็นเมนูที่ทาง EPL เค้าเตรียมข้อมูลไว้เสิร์ฟผู้เล่น มีทั้งข่าวสาร, บทวิเคราะห์, ดูรายชื่อนักเตะเล่นเซ็ตพีซ, และดูนักเตะได้รับบาดเจ็บ-ติดโทษแบน
(06) Podcast : EPL มีผู้เล่นทั่วโลกหลัก 8-10 ล้าน ID ต่อซีซัน เขาก็มีคอนเทนท์ให้ติดตามหลากหลาย นอกจากรายการทีวี (ใครติดกล่องทรูวิชันส์ อาจจะเคยผ่านตา) ยังมี Podcast ของกูรูให้ฟังกันด้วย
(07) Stats : เมนูที่ใช้ประโยชน์ในการดูสถิติต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งคุณสามารถฟิลเตอร์ข้อมูลที่อยากทราบได้สะดวกสบาย
(08) Prizes : ดูลิสต์รางวัลของ FPL ที่เค้าแจกให้ผู้ชนะต่างๆ
(09) Help : เมนูที่รวบรวมทั้งคำถามที่พบบ่อย, กฎ-กติกาของเกมทั้งหมด (มือใหม่ลองไล่อ่านดูหน่อยก็ดีนะครับ) และเงื่อนไขต่างๆ ของเกม
(10) Draft : เป็นวิธีการเล่น FPL อีกแบบ โดยจะผลัดกันเลือกตัวนักเตะไม่ให้ซ้ำกัน หรือเรียกว่าการดราฟท์ (ตามสไตล์การเล่นแฟนตาซีของอเมริกันเกมส์) ซึ่งผมจะไม่อธิบายในส่วนนี้ ไม่งั้นยืดเยื้อแน่
[กฎหลักของการเล่น]
สำหรับมือใหม่ อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะชะงักกับข้อมูลที่เยอะแยะไปหมด แต่อยากบอกว่าไม่ต้องกังวล ค่อยๆ ทำความเข้าใจไป โดยเน้นที่คอนเซปท์หลักของ FPL ที่ผมจะหยิบมาอธิบายให้ทราบก่อน เมื่อเข้าใจคอนเซปท์ อย่างอื่นจะตามมาไม่ยาก
< การวัดผล >
FPL เป็นเกมที่อิงจากผลงานนักเตะสนามจริง มานับเป็น “คะแนนของทีม” ซึ่งก็มาจากนักเตะแต่ละคนที่เราเลือกมาร่วมทีมนั่นเอง เช่น เราเลือกแรชฟอร์ด แล้วแรชฟอร์ดยิงได้จริง ก็จะได้คะแนนในเกม FPL ของเรา
โดยคะแนนจะคิดไปตามแต่ละ Gameweek (ผมเรียกทับศัพท์มาจากของ FPL เลย เพราะจะเข้าใจง่ายที่สุด ไม่อยากใช้คำว่า “สัปดาห์” เพราะบางครั้ง Gameweek อาจจะครอบคลุมมากกว่า 7 วัน การเรียกว่าสัปดาห์ทำให้สับสน) โดยตลอดซีซัน จะมีทั้งหมด 38 Gameweek ให้แข่งกัน
คะแนนของทีมจะถูกนำมาวัดกันว่าใครอันดับดีกว่ากัน โดยมีช่วงวัดผลต่างๆ กัน
“คะแนนของทีม” ที่ว่า จะถูกนำเอามาวัดกัน ใครได้มากกว่าก็อยู่อันดับสูงกว่า โดยเกมเค้าก็มีการจัดอันดับหลากหลายให้สนุกขึ้น ทั้งแข่งราย Gameweek (GW), รายเดือน, คะแนนรวมทั้งซีซัน โดยทั้งหมดดูการแบ่งได้ที่เมนู Help >> Rules >> Leagues
นอกจากนั้นยังมีการแบ่งตามระดับต่างๆ เช่น การวัดกับคนทั้งโลก, การวัดเฉพาะกุนซือไทย, การวัดเฉพาะแฟนทีมที่เราเชียร์ หรือการวัดจากลีกย่อยที่เราเล่นกับเพื่อนๆ
< การคิดคะแนน >
ทราบคอนเซปท์ของ “คะแนนของทีม” ไปแล้ว ก็มาลงรายละเอียดว่าไอ้การคิดคะแนนนั้นมันมาจากไหน โดยผมสรุปเป็นตารางมาให้ตามนี้ (อยากดูละเอียดเข้าไปที่ Help >> Rules >> Scoring)
ที่ดอกจันไว้ตรง “Bonus Point System” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “BPS” เป็นคะแนนพิเศษ ที่จะให้กับนักเตะที่ทำแต้ม BPS ได้สูงสุด 3 อันดับแรก ในนัดนั้น (อาจมีเท่ากันมากกว่า 1 คน) โดยลดหลั่น 3-2-1 คะแนน เพิ่มเติมจากคะแนนผลงานที่ทำได้ (รายละเอียดปลีกย่อยของการคิด BPS ดูได้ที่ Help >> Rules >> Scoring)
นอกเหนือจากที่มาที่ไปคะแนนนักเตะของเรา ที่จะได้ในแต่ละเกม ยังมีข้อปลีกย่อยอธิบายไว้ในเมนู Help เพื่อครอบคลุมกับกรณีที่อาจคลุมเครือไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
การโดนใบแดง : ผู้เล่นที่ถูกใบแดงไล่ออก จะต้องรับผิดชอบกับการหักคะแนนในกรณีเสียประตูของทีมไปจนจบเกม
แอสซิสต์ : อธิบายรายละเอียดในเคสที่นักเตะจะได้คะแนนแอสซิสต์ เช่น นักเตะที่ทำประตูได้ เสียการครองบอล แต่กลับมาครองบอลอีกครั้งก่อนทำประตูได้ ผู้ผ่านบอลให้ก่อนหน้า จะถือว่าไม่ได้แอสซิสต์ หรือในเคสที่นักเตะที่โดนทำฟาล์ว แล้วลุกขึ้นมายิงฟรีคิก หรือจุดโทษด้วยตัวเองเข้าไป จะไม่มีใครได้แอสซิสต์ เป็นต้น
เควิน เด บรอยน์ แข้งทำแอสซิสต์สูงสุดของ FPL 2022/23 ทั้งหมด 18 หน
การตัดสินสิ้นสุด : FPL เค้าใช้ข้อมูลจาก Opta ในการตัดสิน และหากมีการไฟนอลเรียบร้อยแล้ว จะไม่มีการแก้ไขอีก ดังนั้นเราไม่สามารถไปดูแหล่งอื่น เช่น Live Score แล้วมาอ้างว่าทำไมนักเตะคนนั้นคนนี้ได้แอสซิสต์ หรือยิงประตู หากไม่ใช่ไฟนอลจาก FPL
(ขออนุญาตต่อส่วนที่เหลือในคอมเมนท์ครับ)
มิตรรัก นักแฟนตาซี SS5 EP0 : สอนเล่น FPL เบื้องต้น รอลุยซีซันใหม่สุดสัปดาห์นี้!
[เริ่มต้นสมัคร และสร้างแอคเคาท์]
เกม Fantasy Premier League เป็นเกมจัดตัวนักเตะ หรือเรียกกันติดปากว่าเกม “แฟนตาซี” ของพรีเมียร์ลีกเลย โดยผมเคยเขียนที่มาที่ไปของเกมแฟนตาซีไว้นานแล้วที่ The.Macho หากสนใจ ย้อนไปอ่านได้ >> คลิกที่นี่ <<