เนื่องจากผมอัปคอนเทนท์มิตรรักฯ ไป 2 อันแล้วสำหรับซีซัน 3 อันแรกคือการสอนเล่น ที่หยิบมาโพสท์ตรงนี้ อีกอันเป็นการพรีวิวทั้ง 20 ทีมเลย ซึ่งความยาวจะโหดนิดนึง เลยขอแปะลิงค์พาไปอ่าน สำหรับใครที่สนใจ
>> คลิกที่นี่เลย <<
นอกจากนั้นต้องย้ำกันสำหรับใครไม่ได้ติดตามช่องทางอื่นของผม ว่า
"The.Macho League" เปิดให้จอยซีซัน 3 แล้ว เล่นฟรี มีเสื้อฟุตบอลของแท้แจกทุกเดือนฮะ กรอกโค้ด >>
9n6gz8
กล่าวสวัสดีกับพรีเมียร์ลีก และ Fantasy Premier League ซีซัน 2021/22 กันตรงนี้กับบทความประจำของผม
“มิตรรัก นักแฟนตาซี” ซึ่งเข้าสู่ซีซันที่ 3 กันแล้ว โดยนับจากนี้จะลงให้คอแฟนตาซีได้อ่านกันทุกสัปดาห์แน่นอน
ซีซันนี้เข้มข้นแน่นอน ดูได้จากการทุ่มเสริมทีม และการกลับเข้าสู่สนามของแฟนบอล
และเนื่องจากบทความสอนเล่นแฟนตาซีของผมเดิมนั้นเขียนไปตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว (Intro 101 และ 201) ดังนั้นผมขอเริ่มด้วยการอัปเดตบทความสอนเล่นซะใหม่ ถือซะว่าเป็น EP 1 สำหรับคนที่เพิ่งมาอ่าน หรือเพิ่งตาม ส่วนใครที่คุ้นเคยอยู่แล้ว ก็ถือเป็นการทบทวนไปละกันเนอะ
ในเมื่อบอกว่า “สอนเล่น” ดังนั้น บทความนี้จะไล่กันตั้งแต่สมัครแอคเคาท์เลย ความยาวของบทความไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะมีรายละเอียดเยอะ ยังไงค่อยๆ ไล่ดูกันไปนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน
[เริ่มต้นสมัคร/สร้างแอคเคาท์]
เกม Fantasy Premier League เป็นเกมทางการของพรีเมียร์ลีกเลย ที่มาที่ไปของแฟนตาซีเป็นยังไงนั้น ใครอยากทราบ อยากให้ย้อนไปอ่านบทความเก่าของผม ที่เคยรวบรวมไว้
>> คลิกที่นี่ <<
กลับมาที่การเริ่มต้นของเรา ปกติแล้ว Fantasy Premier League (FPL) จะเข้าเล่นได้ 2 ช่องทางหลัก อย่างแรกคือการเข้าผ่านเว็บบราวเซอร์ fantasy.premierleague.com กับเข้าผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ที่ชื่อว่า Premier League – Official App
หน้าตาเวอร์ชันบราวเซอร์ ที่เราจะใช้อธิบายสอนเล่นเป็นหลัก (ผมชอบมากกว่าผ่าน App)
ส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างถนัดกับการเล่นผ่านบราวเซอร์ด้วย PC (Desktop) เพราะ UI ต่างๆ มันละเอียดกว่า และใช้ง่ายกว่า ดังนั้นผมจะโฟกัสสอนเล่นจากเวอร์ชันบราวเซอร์เท่านั้นครับ
เข้ามาสู่เว็บ Fantasy.premierleague.com แล้ว หากมีแอคเคาท์อยู่แล้วก็สามารถล็อคอินเข้าไปสร้างทีมได้เลย แต่ถ้าไม่มีกด Sign up ด้านขวามือได้เลย
สมัครใหม่ก็ต้องกรอกข้อมูลกันก่อน ใช้เวลาแป๊บเดียว (ไม่มีภาษาไทยนะ)
กดเข้าไปก็จะมีข้อมูลให้กรอกเล็กน้อย โดย FPL จะยังไม่มีเวอร์ชันภาษาไทยให้ได้เล่นกันนะครับ ต้องเล่นภาษาอังกฤษ กรอกข้อมูลต่างๆ ตามขั้นตอน ทั้ง Personal details, Your favourites และ Email preferences
ในหน้าสุดท้าย ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เลื่อนลงมาล่างสุดทำการติ๊ก Terms & Conditions และสามารถกด Update your details ได้เลย
ในหน้าสุดท้ายที่กรอกข้อมูล เลื่อนมาล่างสุดเพื่อติ๊กถูก และกด Update
[การเลือกทีมครั้งแรก]
เมื่อผ่านการสร้างแอคเคาท์แล้ว ก็จะมาเจอหน้าที่มีเมนู Squad Selection ซึ่งเราต้องคลิกเข้าไปเพื่อสร้างทีมเบื้องต้นก่อน
สร้างแอคเคาท์เสร็จแล้ว ก็ทำการเลือก Squad Selection ได้เลย
เมื่อกดเข้าไปแล้ว จะเจอกับหน้าจัดตัวครั้งแรก ซึ่งสามารถลองจัดจริงจังเลยก็ได้ แต่เพื่อความรวดเร็วในการเข้าไปลองดูเมนูต่างๆ แนะนำให้กด Auto Pick ให้ระบบจัดทีมอัตโนมัติไปก่อนก็ได้ เพราะทีมของคุณยังสามารถเปลี่ยนได้ตลอดก่อนที่แมทช์แรก หรือ Gameweek แรกจะเริ่ม (คำว่า Gameweek จำไว้ให้ชินก่อน จะอธิบายต่อภายหลังว่าทำไมไม่เรียกสัปดาห์)
การจัดทีมครั้งแรก สามารถกด Auto Pick ก่อนได้ เพราะยังเปลี่ยนได้เรื่อยๆ จนถึงซีซันเปิด
เมื่อยืนยันการจัดทีมครั้งแรก ก็จะเด้งหน้าตั้งชื่อทีมของคุณขึ้นมา ก็ตั้งตามที่ต้องการเลย (สามารถเปลี่ยนภายหลังได้) พร้อมกับเลือกทีมที่เชียร์ เพราะระบบจะจัดให้คุณจอย Global League แข่งกับแฟนที่เชียร์ทีมเดียวกันอัตโนมัติ รายละเอียดเดี๋ยวไปว่ากันเพิ่มในส่วนของ Leagues & Cups
จัดทีมครั้งแรก ก็จัดการตั้งชื่อทีม, เลือกสโมสรที่เชียร์ และกดยืนยันได้เลย
[รู้จักกับเมนูต่างๆ]
จัดทีมครั้งแรกเรียบร้อย ก็จะเข้ามาเจอกับหน้าตาเต็มๆ ของ FPL ซึ่งมีเมนูเรียงรายเต็มไปหมดเลย ดังนั้นมาอธิบายกันก่อนว่าแต่ละเมนูทำอะไรบ้าง โดยผมจะไม่ลงรายละเอียดทุกเมนู จะขยายความเมนูที่ใช้บ่อยเท่านั้น ซึ่งจะว่าต่อในส่วนถัดไป
(1) Pick Team : น่าจะเป็นเมนูที่เราเข้าบ่อยที่สุด เพราะสามารถจัดทีม 11 ตัวจริง และ 4 ตัวสำรอง รวมถึงการเลือกกัปตัน/รองกัปตันกันที่หน้านี้เลย แถมยังมีรายละเอียดต่างๆ เช่น คะแนน, ลีกต่างๆ ที่เราจอย, จำนวนการเปลี่ยนตัว และการเสริมเติมแต่งชุดทีมของเราสนุกๆ ด้วย
(2) Transfers : เป็นอีกเมนูสำคัญมากๆ เพราะคุณสามารถเลือกสรรนักเตะจากทั้ง 20 ทีมในพรีเมียร์ลีก เพื่อย้ายเข้ามาในทีมตามเงื่อนไขที่เกมกำหนด ซึ่งเราจะไปว่าละเอียดกันอีกที
(3) Leagues & Cups : อยากทำอะไรเกี่ยวกับลีกย่อย (Leagues) หรือฟุตบอลถ้วยในลีกย่อย (Cups) ก็ใช้เมนูนี้ได้เลย สร้างลีกใหม่, จอยลีกคนอื่น, จอยลีก Public, ออกจากลีก, ดูตารางคะแนนแต่ละลีก เข้าผ่านเมนูนี้ได้หมด
(4) Fixtures : ไว้สำหรับดูตารางแข่งของพรีเมียร์ลีก ซึ่งจะเป็นโปรแกรมของ FPL ไปในตัว แถมมีฟังก์ชัน FDR ที่ไว้ดูความยากง่ายของตารางแข่งแต่ละทีมอีกด้วย
(5) The Scout : เป็นเมนูที่ทาง FPL รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับกุนซือแฟนตาซีไว้ มีข่าวสาร, การระบุตัวเล่นลูกเซ็ตพีซแต่ละทีม และอัปเดตนักเตะบาดเจ็บ/ติดโทษแบน เข้าไปดูเป็นข้อมูลสำคัญได้
(6) Podcast : นอกจากรายการทางทีวีที่อังกฤษแล้ว (ใครติดกล่องทรู อาจจะเคยเปิดไปเจอ) เค้ายังทำ Podcast ด้วย ใครสนใจฟังกูรูของ FPL ก็ลองเข้าไปฟังได้
(7) Stats : อีกหนึ่งเมนูมีประโยชน์ เพราะจะรวบรวมสถิติในแง่แฟนตาซีไว้ครบครัน สามารถฟิลเตอร์เลือกทีม, เลือกตำแหน่ง และเลือกแง่มุมสถิติต่างๆ (เช่น เรียงตามคะแนน, เรียงตามจำนวนที่กุนซือเลือกใช้, เรียงตามฟอร์มในแง่แฟนตาซี เป็นต้น)
(8) Prizes : ดูรายละเอียดรางวัลของ FPL ที่เค้าแจกให้แชมป์รายสัปดาห์, รายเดือน, แชมป์ซีซัน, ฟุตบอลถ้วย FPL Cup
(9) Help : เมนูที่รวบรวมคำถามที่พบบ่อย, กติกาต่างๆ และ Terms and Conditions ถ้าไม่ติดขัดเรื่องภาษา แนะนำให้เข้าไปอ่านซัก 1-2 รอบสำหรับมือใหม่ ผมว่าช่วยให้เข้าใจได้เพิ่มขึ้นมาก (ถ้าติดก็รออ่านของเราละกันนะ!)
(10) Draft : เป็นรูปแบบการเล่น FPL อีกแบบนึง โดยจะใช้วิธีดราฟท์ตัวไล่เรียงไม่ให้ใช้นักเตะซ้ำกันกับเพื่อนในลีก (เป็นสไตล์การเล่นแฟนตาซีแบบอเมริกันเกม) ซึ่งผมจะไม่ไปแตะรายละเอียด เพราะไม่งั้นจะยืดยาวเกินไปอีกมาก
[กฎหลักของการเล่น]
เนื้อหาเมนูต่างๆ อาจจะยังงงสำหรับมือใหม่ แต่เดี๋ยวเข้าใจคอนเซปท์ของ FPL จะเข้าใจฟังก์ชันต่างๆ มากขึ้นตามไปเอง โดยขอเริ่มจากกฎหลักของการเล่น ว่าแข่งกันด้วยอะไร ยังไง
การวัดผล
FPL วัดผลกันด้วย “คะแนนของทีม” ซึ่งได้มาจากคะแนนของนักเตะแต่ละคนในทีมเรา ซึ่งอิงจากผลงานในสนามจริงน่ะแหละ โดยคิดไปตามแต่ละ Gameweek (ใช้ทับศัพท์ตาม FPL ไม่อยากใช้คำว่า “สัปดาห์” เพราะบางที 1 สัปดาห์หรือ 7 วัน ก็มีเตะมากกว่า 1 Gameweek และไม่อยากใช้คำว่า “นัด” เพราะบางทีใน 1 Gameweek อาจมีลงเล่นมากกว่า 1 นัด)
เมื่อได้คะแนนเสร็จสรรพ ใครได้คะแนนมากกว่าก็จะอยู่อันดับสูงกว่าในตารางคะแนน ส่วนการจัดอันดับก็มีหลากหลาย ทั้งราย Gameweek (GW), รายเดือน, คะแนนรวมทั้งซีซัน รวมถึงการแบ่งลีกตามระดับต่างๆ ทั้งการวัดกับคนทั้งโลก, การวัดเฉพาะกุนซือไทย, การวัดเฉพาะแฟนทีมเดียวกัน หรือการวัดในลีกย่อยที่ตั้งกันขึ้นมาเองกับเพื่อนๆ
ตัวอย่างตารางคะแนนจบซีซันที่ผ่านมาของ The.Macho League
วิธีที่จะได้คะแนนมา
มาขยายความกันหน่อย ว่าผลงานในสนามจริงที่นำมาตีความเป็นคะแนน FPL นั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง ดูตามตารางด้านล่างนี้ได้เลย
ที่มาร์คดอกจันไว้ที่ “Bonus Point System” หรือ “BPS” เพราะเป็นระบบการให้โบนัสคะแนนพิเศษ 1-2-3 คะแนนในแต่ละนัด ใครได้ BPS มากที่สุดในเกมนั้น ก็ได้รับเพิ่ม 3 คะแนน แล้วก็ลดหลั่น 2 คะแนน และ 1 คะแนน ลงมา
BPS มีการคำนวณคะแนนดิบยิบย่อยอยู่หลายหัวข้อ เช่น การจ่ายลูกคีย์พาส, การแทคเกิลสำเร็จ, เปอร์เซ็นการจ่ายบอลสำเร็จ จากการผ่านอย่างน้อย 30 ครั้ง เป็นต้น หากอยากทราบรายละเอียด สามารถเข้าไปดูในเมนู Help >> Rules >> Scoring ได้
แฮร์รี เคน คือนักเตะที่ได้คะแนนดิบ BPS สูงสุดของซีซันที่ผ่านมา ถึง 880 คะแนน
(ขออนุญาตต่อส่วนที่เหลือในคอมเมนท์ครับ)
มิตรรัก นักแฟนตาซี SS3 : EP1 สอนเล่นแฟนตาซี เล่นยังไง? เริ่มตรงไหน? ละเอียดยิบที่นี่
นอกจากนั้นต้องย้ำกันสำหรับใครไม่ได้ติดตามช่องทางอื่นของผม ว่า "The.Macho League" เปิดให้จอยซีซัน 3 แล้ว เล่นฟรี มีเสื้อฟุตบอลของแท้แจกทุกเดือนฮะ กรอกโค้ด >> 9n6gz8