นาฬิกา แอนโซเนีย Ansonia Clock.... เล่าสู่กันฟัง..ช่างไก่

นาฬิกาแอนโซเนีย Ansonia clock..เป็นนาฬิกาสัญชาติอเมริกา America....เป็น บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาในยุคแรกๆ  


เป็นบริษัทที่คู่เคียงกับ เซนโทมัท ที่ผลิตนาฬิกาแขวน ..นาฬิกาตั้งโต๊ะ และนาฬิกาปลุก..มีทั้งทรงเหลี่ยม. ทรงหลังคาโบสถ์คริสต์.และ ทรงกระจังระย้า เหมือนผู้หญิง นาฬิกาตั้งโต๊ะหัวเตียงหรือเตาผิง..ตัวเรือนภายวัสดุภายนอก..เป็นไม้สน
.
    นาฬิกาประกอบไปด้วย...กลไกนาฬิกาวัสดุทำจากโลหะเหล็ก และ ไม้สน.. มีมาใน   ยุคศัตวรรษที่16 ...และ แอนโซเนีย  ..ใช้โลหะทองเหลือง..สำหรับทำกลไกนาฬิกา ...ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19


ให้นาฬิกา มีความคงทน..ต้นทุนถูกลง ..ผลิตจำนวนมากขึ้น ( MassProduction)  โดยเริ่มใช้เฟรมตัวเครื่องทองเหลือง..เริ่มตีประทับตรา ในปี   1844 Anson Greene Phelps  ตัวแทนจำหน่ายโลหะ..ได้ก่อตั้งบริษัท Ansonia Brassในคอนเนตทิคัต..เพื่อขยายธุรกิจนาฬิกาที่เติบโตเร็วมาก... โดยยังมีบริษัท 9 แห่งที่ผลิตนาฬิกา..ใน  รัฐคอนเนตทิคัต.



    ในปี 1850 Ansonia Clock Company ก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทในเครือของ Ansonia Brass Company โดย Phelps และBristol, Connecticut 2 คน ผู้ผลิตนาฬิกา Theodore Terry และ Franklin C. Andrews Terry & Andrews   เป็นผู้ผลิตนาฬิการายใหญ่ที่สุดใน Bristol โดยมีพนักงานมากกว่า 50 คนที่ใช้วัสดุทองเหลือง 58 ตัน  ในการผลิตนาฬิกา  การผลิตประมาณ 25,000 เรือนออกมาสู่ท้องตลาดผู้ใช้นาฬิกา..






   ในปี 1849 Phelps ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจการผลิตนาฬิกาเพื่อขยายตลาดสำหรับทองเหลือง ในขณะที่ Terry และ แอนดรูว์สามารถเข้าถึง   วัสดุทองเหลือง เกรดคุณภาพดีกว่า   ในราคาที่ดีกว่าถูกลง.. พวกเขาได้ขายธุรกิจ 50% ให้กับ Phelps และย้ายธุรกิจไปที่ Ansonia
    ในปี 1877 บริษัทนาฬิกาได้ซื้อโรงงานในนิวยอร์ก.. และย้ายการผลิตส่วนใหญ่ไปที่นั่นหลังจากที่แยกตัวออกจากบริษัทผลิตทองเหลือง Henry J. Davies   จาก Brooklyn ซึ่งเป็นช่างทำนาฬิกา นักประดิษฐ์ และนักออกแบบตัวเรือน ได้เข้าร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่แห่งนี้ในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ในฐานะประธาน เชื่อกันว่าเขามีหน้าที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เกี่ยวกับนาฬิกาฟิกเกอร์ นาฬิกาแกว่ง และสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่ธรรมดาและเป็นที่ต้องการ ซึ่งบริษัท Ansonia กลายเป็นที่รู้จัก




    โทมัส เอดิสัน.  เคยเข้าเยี่ยมชมโรงงานในปี พ.ศ. 2421 เพื่อทดลองประกอบนาฬิกา..เข้ากับเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่พัฒนาขึ้นใหม่ของเขา.. แต่การทดลองประดิษฐ์.แล้วว่า..ไม่สำเร็จ

    ในปี พ.ศ. 2422 โรงงานแห่งที่สองได้เปิดขึ้นในบรู๊คลิน รัฐนิวยอร์กและในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2423 จ้างคนงาน 360 คน ในขณะที่โรงงานในคอนเนตทิคัต...ยังคงผลิตนาฬิกาต่อไปโดยมีพนักงานเป็นชาย 100 คนและหญิง 25 คน ดังนั้น โดยทั่วไปแล้วนาฬิกาที่มีคำว่า "Connecticut" จะถูกผลิตขึ้นก่อนปี 1879 ในขณะที่นาฬิกาที่มีตราประทับคำว่า "New York" จะถูกผลิตทั้งหมดหลังปี 1880
   โรงงานแอนโซเนียในนิวยอร์กถูกไฟไหม้ในปี พ.ศ. 2423 - มีรายงานการสูญเสียมูลค่า 750,000 ดอลลาร์โดยมีประกันเพียง 395,000 ดอลลาร์

     บริษัทสร้างโรงงานขึ้นใหม่บนพื้นที่เดียวกัน และเปิดโรงงานที่ขยายขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2424 ด้วยกำลังการผลิตที่มากกว่าโรงงานในคอนเนตทิคัต ซึ่งปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2426
ในปี พ.ศ. 2429 บริษัทมีสำนักงานขายในนิวยอร์ก ชิคาโก และลอนดอน และมีการผลิตนาฬิการุ่นต่างๆ กว่า 225 รุ่น Ansonia Clock Company ที่มั่งคั่งและปลอดหนี้    รายงานว่ามีสินค้าคงคลังมูลค่า 600,000 ดอลลาร์และลูกหนี้มูลค่า 250,000 ดอลลาร์ ในปี พ.ศ. 2447 Ansonia ได้เพิ่มกำลังการผลิตนาฬิกาเหล่านี้ได้ประมาณ 10 ล้านเรือนภายในปี พ.ศ. 2472


    ในปี 1899 William Earle Dodge Stokes  ซึ่งเป็นหลานชายของ Phelps ได้ว่าจ้างสถาปนิก Paul E. Duboy ให้สร้าง "โรงแรมที่ยิ่งใหญ่  และ โอ่อ่าที่สุดในแมนฮัตตัน นิวยอร์ก " อาคารปรับอากาศแห่งแรกของนิวยอร์ก  Ansonia Hotelยังคงตั้งอยู่ที่2107 Broadway  แม้ว่าจะเป็นอาคารชุดคอนโดมิเนียม




   ในช่วงต้นปี 1914 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 Ansonia ผลิตรุ่นต่างๆ 440 รุ่น อย่างไรก็ตาม นาฬิกาแปลกใหม่กลายเป็นเรื่องที่ต้อง .


.  แข่งขันกัน..อย่างดุเดือด เนื่องจากสายการขาย ..ที่แข็งแกร่งที่สุดของ Ansonia ...แต่แทนที่จะรักษาผลกำไร Ansonia จึงพยายามเพิ่มปริมาณ..โดยเสนอนาฬิกาที่ .."ราคาเดิม"..ไม่ปรับ ราคาขายให้กับ..คนทั่วไปเข้าถึงนาฬิกาได้..ทุกบ้าน ...และส่งขายไปทั่วโลก...
  ในประเทศไทยก็ยังพอมีพบเห็นตามวัดวา.. อารามเก่าๆ..หรือ ภาพถ่ายเกจิอาจารย์..ปรากฏอยู่ในภาพ.....ผุพังไปแยะ



นาฬิกาแอนโซเนีย ..แบบ School Clock ( นาฬิกาโรงเรียน)  คนไทยเรียกนาฬิกาแมงดา ..หรือนาฬิกา 8 เหลี่ยมอเมริกา...



    หน้าปัดนาฬิกาแอนโซเนีย.. มีทั้งหน้าสังกะสี. แปะกระดาษพิมพ์ตัวเลขอักษร ..และ ทำเป็นแบบหน้ากระเบื้องเผา ( พอสเลนส์)  พิมพ์ ตัวเลขชั่วโมง..แบบแอโรบิค และ เลขโรมัน...คล้ายๆนาฬิกาหลุยส์ตั้งโต๊ะฝรั่งเศส...เครื่องมีการออกแบบต้นทุนต่ำลง..ลดขนาดเนื้อโลหะลดลง
  ด้านหน้ากระเบื้อง รุ่นนี้โชว์เฟืองจักร และ จักรคอม้า...



รุ่นนี้ไขลานหน้ากระเบื้องตั้งโต๊ะทั่วๆ ไป ..



ภาพสลาก Label ติดอยู่ในตัวเรือนนาฬิกา






     ผลพวง กลยุทธ์นี้..ทำให้สร้างหนี้ก้อนโต และในปี 1920.. จำนวนรุ่น..ก็ลดลงเหลือ 136 รุ่น และเหลือ 47 รุ่นในปี 1927 ในปี 1926 บริษัทได้ขายคลังสินค้า..ในบรู๊คลินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..ในปี 1929 เครื่องจักร..และเ..ครื่องมือบอกเวลาส่วนใหญ่ถูกขายให้กับบริษัทการค้า  Amtorg ของรัฐบาลโซเวียต ในสหรัฐ ..ก่อนที่ตลาดหุ้นจะตก ..ชิ้นส่วน.. เครื่องจักร และแรงงานฝีมือที่สำคัญ..ถูกย้ายฐานจากสหรัฐอเมริกา....ให้กับบริษัทผลิตนาฬิกาในมอสโค ในชื่อแบรนด์ เช่น Poljot และ Sekonda
( Ansonia Hotel )

    ในปี 1969 สิทธิ์ในชื่อ เครื่องหมายการค้า ถูกโอนไปยัง Ansonia Clock Co., Inc., Lynnwood, Washington
Ansonia ได้ปิดตัวลงในปี 2549 หลังจากเปิดดำเนินการมา 155 ปี
  แต่นาฬิกา เครื่องกลไกได้ถูกทางญี่ปุ่น ก็อปปี้ และ พัฒนาต่อ นำมาผลิตต่อยอด.. และเปลี่ยนแบรนด์ญี่ปุ่น ..ในเวลาต่อมา...จึงไม่น่าแปลกใจ จะมีนาฬิกานี้ ยังพบเจอ..แต่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก..ในประเทศไทย..แต่ยังมีการซ่อมแซมบูรณะให้กลับมาใช้งานได้..คงเดิม
        เล่าสู่กันฟัง..... ช่างไก่

Cr:ภาพ , Ansonia Clock Company
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่