ยาริสอายุ 9 ปี ใช้งานน้อย เปลี่ยนถ่าย นมค ปีละครั้งไม่ได้เหรอคะ ?


โตยต้ายาริส 2015 อายุปีนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 9  เลขไมล์ปัจจุบันอยู่ที่ 34,357 กม.      ตั้งแต่ใช้งานมาเราไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่ศูนย์โตโยต้าปีละครั้งเพราะใช้งานน้อยซึ่งช่างที่ศูนย์ก็บอกว่าได้เพราะไม่ค่อยได้ขับก็ไม่เป็นไร     แต่วันนี้เอาไปเปลี่ยนถ่าย นมค.ของปีนี้ ทำไมที่ศูนย์เค้าบอกว่าควรเปลี่ยน นมค ทุกๆ 6 เดือน หรือเลทสุด 8 เดือนจะดีกว่า 1 ปี    สรุปว่าไงดีคะพี่ๆ  ขอถามพี่ๆว่า

1. ปีหน้าหนูจะรถไปเปลี่ยนถ่าย นมค.เมื่อครบ 1 ปีแบบเดิมได้มั๊ยคะ  ?

2.  วันนี้ได้เช็คระยะรถด้วย  ช่างบอกว่าคราวหน้ามาเปลี่ยนถ่าย นมค.อย่างเดียว  ส่วนเช็คระยะให้รอขับอีก 10,000 กิโลค่อยเอามาเช็คระยะรอบต่อไป   วันนี้เลขไมค์อยู่ที่ 34,340 (เลขไมค์ตอนอยู่ที่ศูนย์)  แบบนี้คือหนูก็รอให้ขับไปถึงเลขไมค์ที่ 44,340 ค่อยไปเช็คระยะ ถูกต้องมั๊ยคะ?  (เห็นเค้าเขียนตัวเลขมาให้ในรูปนี้)
ขอบคุณค่ะ 
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
คห.ส่วนตัวนะ ในฐานะวิศวะเครื่องกล ..

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง กับ รถที่ใช้งานน้อยเนี่ย .. มันต้องแยกเป็น 2 แบบ 2 คำตอบครับ

1. สตาร์ทแต่ละครั้ง วิ่งครั้งละไม่กี่ กม. ก็จอด แต่วิ่งบ่อยๆ เช่น วิ่งวันละ 10-20 กม. ทุกวัน
    แบบนี้ ปีๆ นึงจะวิ่งรวมราวๆ 365*10 - 365*20 = 3,650 - 7,300 โล  
    >>  ปีๆ นึงยังวิ่งไม่เกิน 1 หมื่นโล สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องปีละครั้ง ได้ ตามคำแนะนำของคู่มือรถ/ศูนย์บริการ/ผู้ขาย นมค.
    แต่ปัญหา คือ มันสตาร์ททุกวัน สมมติ สตาร์ทวันละ 2 ครั้ง (ไป-กลับทุกวัน) ก็ปาไป 730 ครั้ง/ปี แล้ว
    ถ้าถาม คห.ส่วนตัว -->  ผมจะเปลี่ยน นมค.ทุกๆ 5000 โลแทน หรือ ปีละ 2 ครั้ง ไม่ใช่ปีละครั้งครับ

    เหตุผล :: เครื่องยนต์ จะมีการสึกหรอมากที่สุด อยู่ 2 ลักษณะ คือ
A)  ทุกครั้งที่สตาร์ทเย็น (อุณหภูมิเครื่องยนต์เย็นแล้ว ไม่ได้อุ่นๆ หรือยังร้อนอยู่ , นมค.เครื่องไหลลงอ่างหมดแล้ว)
     ตอนสตาร์ทเครื่อง ทุกๆ ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่เคลื่อนไหวกับไม่เคลื่อนไหว จะเสียดสีที่ผิวระหว่างกันโดยปราศจากฟิล์มน้ำมัน
     ฉนั้น มันจึงเป็นช่วงที่เกิดการสึกหรอมากที่สุด  สถานการณ์แบบนี้ ถ้าถามผม ผมยอมเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ ครึ่งปีดีกว่าปีละครั้ง
     เพราะมันมั่นใจได้ว่า ช่วงครึ่งหลังของแต่ละปี เครื่องรถผมจะมี นมค.ใหม่ๆ หล่อลื่นทุกครั้งที่สตาร์ท

B) ทุกครั้งที่คุณเหยียบคันเร่งมิดสุดๆ เพราะต้องการกำลังเต็มที่จากเครื่องเท่าที่เครื่องจะสามารถรีดกำลังออกมาได้ เช่น
     - ตอนกำลังเร่งแซงรถช้าบนถนน 2 เลน แล้วข้างหน้าจะมีรถสวนมาแล้ว หรือ
     - กำลังขับขึ้นเขาชันๆ เลยต้องเหยียบเร่งเต็มที่ เครื่องก็ลากรอบสูงๆ เกือบเรดไลน์ เพราะเข้าเกียร์ต่ำสุด (ทดสูงสุดเพื่อลากรถขึ้นทางชัน)
     - หรือ กำลังลงเขาแล้วต้องอาศัยเอนจิ้นเบรคมากๆ (อันนี้ ไม่ต้องเหยียบคันเร่งเร่งเครื่อง แต่การลงเขาของรถ มาลากรอบเครื่องขึ้นสูงๆ แทน)
     ทั้ง 3 ข้อย่อยนี้ ก็...เครื่องยนต์มีโอกาสสึกหรอมากๆ เมื่อเทียบกับการใช้งานปกติทั่วไป หรือวิ่งทำความเร็วปานกลาง ไปเรื่อยๆ

ทีนี้ กรณีรถใช้น้อยแบบข้อ 1 มันไปเข้าเงื่อนไข A)  ฉนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะไม่เสียดายเงิน ยอมจ่ายตังค์เพิ่มเปลี่ยน นมค. ทุกๆ 6 เดือนครับ

2. ใช้รถน้อยในลักษณะ .. จอดซะมาก จะสตาร์ทครั้งนึง ก็วิ่งพอประมาณ - เยอะ  เช่น วิ่งอาทิตย์ละครั้ง แต่ครั้งละ 200 โล++
    แบบนี้ ใช้รถปีละ 10,000 โล++ แต่สตาร์ทรถแค่ 52 ครั้ง หรือ มากกว่านี้ แต่ก็แค่ 1xx ครั้ง/ปี เทียบไม่ได้เลยกับ 7xx ครั้ง/ปี
    ถ้าวิ่งน้อยแบบนี้ ผมจะเปลี่ยน นมค. ปีละครั้ง หรือ .. จะลากยาวกว่านั้น ก็ทำครับ เพราะอย่างเช่น
    - ปตท.ระบุในคำแนะนำการใช้ นมค.สังเคราะห์เค้ามาเลยว่า " สามารถใช้ได้นานถึง 15,000 โล หรือไม่เกิน 18 เดือน "

ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่