จาก
https://thematter.co/thinkers/is-opposites-attract-real/37512
‘คู่ตรงข้ามกันจะดึงดูดกัน’ หรือ ‘Opposite Attracts’ ดูเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปจนเหมือนเป็นสัจธรรมของโลกนี้ หากคิดเองเออเอง … เมื่อส่องดูปรากฏการณ์ธรรมชาติ แม่เหล็กบวกต่างขั้วดึงดูดเข้าหากัน แต่ขั้วเดียวกันกลับผลักออกจากกัน หากแต่มนุษย์ไม่ใช่แม่เหล็ก ในหลายงานวิจัยของความสัมพันธ์ กลับพบว่าคนมักไขว่คว้าเข้าหาดึงดูดกับคนที่นิสัยใกล้เคียงกัน
ในนวนิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ เรามักพบเห็นพล็อตที่พระเอกและนางเอกแตกต่างกันสุดขั้วมาพบรัก ความต่างในที่นี้มีทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือคนนิสัยใจคอต่างกัน เช่น เศรษฐีกับคนเดินดิน อสูรกับโฉมงาม เจ้าหญิงกับยาจก ฯลฯ คนบางคนอาจจะมัวมองหาเนื้อคู่ที่แตกต่างกับตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อมาสร้างสมดุล ซึ่งคตินี้อามาจากการดูหนังหรือเรื่องแต่ง
แม้จะมองว่าเรากับเพื่อนหรือคนรอบตัวนั้นต่างจากเราเหลือเกินในรายละเอียด แต่แนวโน้มจากผลการวิจัยหลายตัว คือคนเรามักคบหากับคนที่คล้ายกับตัวเองไม่ว่าจะนิสัย บุคลิกภาพ ความคิด หรือกิจกรรมที่ชอบทำ
ยิ่งคล้ายกันยิ่งเข้าหา
ในงานวิจัยเรื่องเสน่ห์ความดึงดูด (attraction) มักเน้นที่การศึกษาด้านกายภาพเช่น หน้าตา รูปร่าง ความสมมาตรของใบหน้า เชื้อชาติ ฯลฯ แต่มองข้ามการปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมระหว่างมนุษย์ในความสัมพันธ์
ในปี 2015 งานวิจัยความคล้ายกันในความสัมพันธ์ ศึกษาคู่ความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่ง จำนวน 1,523 คู่ (คู่รัก เพื่อน หรือคนรู้จัก) โดยให้ทำแบบทดสอบความคล้ายคลึงกันทางนิสัย ทัศนคติ ค่านิยม กิจกรรม พฤติกรรมการดื่มและการใช้ยา เปรียบเทียบกับระยะเวลาของความสัมพันธ์ ความใกล้ชิด ความผูกพัน สรุปได้ว่าคนเรามักดึงดูดเข้าหาคนที่มีนิสัยและทัศนคติใกล้เคียงกัน คู่รักมีแนวโน้มจะคล้ายกันถึง 86% และยังมีงานวิจัยอีกมากที่ให้ผลการศึกษาไปในทางเดียวกันคือ เรามักจะชอบและเข้าหาคนที่เหมือนกับเราโดยอัตโนมัติ ไม่เหมือนในนิยายที่ความต่างนั้นดึงดูดให้พุ่งชน
ตัวอย่างชุดคำถามในแบบทดสอบ เช่น แบบทดสอบความรู้สึกอคติที่มีต่อคนกลุ่มต่างๆ เช่น คนอ้วน คนแก่ คนเมาแล้วขับ คนไร้บ้าน คู่รักต่างเชื้อชาติ คนพื้นเมือง นักการเมือง โสภณี ฯลฯ แบบทดสอบบุคลิกภาพ ข้อมูลพื้นฐานทางสังคม เช่น รายได้ครอบครัว เพศ เชื้อชาติ รวมถึงกิจกรรมที่ชอบทำ เช่นดูคอนเสิร์ต ดูหนัง ทำงานศิลปะ อ่านหนังสือ ไปยิม ชอบอยู่คนเดียว ฯลฯ
ในด้านมิตรภาพความเป็นเพื่อน ไม่ว่าจะเพิ่งเป็นเพื่อนใหม่หรือเป็นเพื่อนมานานแล้ว ผลที่ได้คือ คนที่เป็นเพื่อนกันมักมีความใกล้เคียงกันสูง แม้ในตอนแรกเริ่มบทสนทนาจะเป็นเรื่องทั่วไปที่ผิวเผิน คนมักตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าจะเลือกใครเป็นเพื่อน ผลคือคนที่เลือกคบหาเป็นเพื่อนกันมักมีทัศนคติด้านต่าง ๆ คล้ายกันตั้งแต่แรก เช่น ความเห็นเรื่องการทำแท้ง สิทธิคนรักร่วมเพศ ความเห็นทางการเมือง และอคติต่อเชื้อชาติ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงนิสัยความเปิดเผย (extraversion), การหลีกเลี่ยงความผูกพัน (attachment avoidance), และความกังวลในความผูกพัน (attachment anxiety)
เพราะในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงนิสัยนั้นมักเกิดขึ้นได้ยาก คนเราจึงมักเลือกที่จะคบหากับคนที่คล้ายกันและมีทัศนคติที่ตรงกันแต่แรกมากกว่า
เมื่อเราเจอคนที่คล้ายเราสมองของเราจะหลั่งสารที่ทำให้เกิดความสุข เป็น Rewarding system ทำให้เกิดความไว้ใจ และความรู้สึกดี โดยการตัดสินใจนี้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ในงานวิจัยหนึ่ง ศึกษาปัจจัยที่นักศึกษาตัดสินใจว่าจะอยู่ร่วมกับรูมเมตในมหาวิทยาลัยต่อไหม มักตัดสินกันที่ความคล้ายระหว่างกันนี่เอง และสามารถตัดสินใจได้ไวตั้งแต่เริ่มความสัมพันธ์ในการอยู่อาศัยร่วมกันว่าจะอยู่ต่อไหม
ในงานวิจัยปี 2005 ศึกษาคู่แต่งงานใหม่ 291 คู่ พบว่า คู่แต่งงานมักเลือกคนที่เหมือนกันกับตัวเองด้านความสนใจ คุณค่า และชีวิตโดยรวม การมีนิสัยที่เหมือนกันจะสามารถทำนายให้การแต่งงานราบรื่นได้ดี มากกว่าการเรียนจบที่เดียวกันและการมีความสนใจร่วมกันเสียอีก
อีกงานวิจัยตั้งคำถามว่าคนที่แต่งงานกันนั้นค่อยๆ เติบโตไปจนกลายเป็นคนที่เหมือนกัน หรือเลือกคนที่คล้ายกันตั้งแต่แรก สรุปผลจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคู่สมรส 1,986 คู่จาก 4 วัฒนธรรมที่ต่างกัน (อเมริกา, เนเธอแลนด์, เช็ก, และรัสเซีย) คนมักเลือกแต่งงานกับคนที่คล้ายกันแต่แรก ทั้งทัศนคติ นิสัย และความเชื่อ ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเพราะอยู่กินด้วยกันนาน โดยเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น คนที่เป็นเสรีนิยมจะหลีกเลี่ยงคบหากับคนที่เป็นอนุรักษ์นิยม คนที่ไปโบสถ์เคร่งครัดอาจพบรักที่โบสถ์นั้น คนที่มีความสามารถและความรู้มักจะเลือกคู่ครองที่มีความสามารถเท่าเทียมกัน คนมักเสาะหาคู่ครองที่มีนิสัยตรงไปตรงมา (straightforwardness) เสียสละ (altruism) ถ่อมตน (modesty) และ ใจกว้าง (tender-mindedness) แต่จะเสาะหาคุณลักษณะอันที่ตัวเขามีเองก่อน คนที่นิสัยไม่เป็นมิตรมักเลือกคู่ครองที่คล้ายกับตัวเองมองว่าคนที่นิสัยดีนั้นไนซ์เกินไป เราต่างชอบคนที่เหมือนเรา ไม่ว่าจะนิสัยดีเหมือนเราหรือ
เหมือนเราก็ตาม อาจเพราะเข้าใจและสบายใจ
ยิ่งคล้ายกันยิ่งเข้าใจ
ทำไมเราถึงมักชอบคนที่คล้ายกับเราคือ นอกจากจะมีเรื่องคุย มีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน แต่ปัจจัยสำคัญคือ ‘ความเข้าใจ’ นั่นคือเรามักเข้าใจคนที่นิสัยเหมือนกับเรา อ่านเขาออก และมีการแสดงออกคล้ายๆ กัน
ในอีกผลวิจัยพบว่า คนเรามักดึงดูดเข้าหาคนที่เราอ่านอารมณ์ความรู้สึกออก คนแปลกหน้าคนหนึ่งจะมีเสน่ห์ขึ้นทันใด หากเราเชื่อว่าเราเข้าใจว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไร เพื่อทดลองสมมติฐานนี้ทดลองให้คน 40 คนดูภาพวีดีโอของผู้หญิง 6 คนที่แสดงความรู้สึกกลัวหรือเศร้า และให้ผู้ร่วมทดลองเลือกว่าอยากพบเจอหรือรู้สึกดึงดูกับใคร ผู้ทดสอบเลือกคนที่พวกเขาเข้าใจอารมณ์และรู้สึกว่าดึงดูดกับคนที่รู้สึกว่าเข้าใจมากกว่า
‘Neural vocabulary’ คือภาษาทางอารมณ์ที่ตรงกัน (จะเรียกว่ามองตารู้ใจ หรือพูดจาภาษากายเข้าใจกันก็คงได้) คือการที่เราดูออกว่าอีกคนรู้สึกอย่างไรโดยไม่ต้องพูดเพื่อสื่อสารคำออกมา แต่เป็นความรู้สึกดีที่เกิดเมื่อผู้ส่งความรู้สึกทำให้ผู้รับสัญญาณทางอารมณ์สามารถถอดรหัสได้ง่าย ทำให้เรายิ่งรู้สึกดึงดูดเข้าหาคนที่เรารู้สึกว่าเข้าใจและอ่านเขาออกได้โดยไม่ลำบาก แล้วรู้สึกดีเพราะสมองสั่งว่าเขาเป็นพวกเดียวกับเรา รู้สึกเชื่อมโยงกับเขาได้ รู้สึกสบายใจ ไม่หวาดระแวง
คงไม่แปลกประหลาดที่มนุษย์จะดึงดูดเข้าหาคนที่คล้ายคลึงกันเพราะว่าเข้าใจกันได้ง่ายโดยไม่ต้องพยายามมาก ไม่ต้องลำบากใจในการปรับตัว ปรับทัศนคติ ปรับความเข้าใจ ความรู้นี้อาจะทำให้บางคนอาจเปลี่ยนวิธีคิด แทนที่จะเสาะหาคนในอุดมคติในฝันที่แตกต่างกับเราโดยสิ้นเชิง ลองมองหาคนที่คล้ายกับเราที่เรากับเขาเข้าใจกันได้ อาจจะเริ่มต้นได้ง่ายกว่า
หลายทฤษฎีเชื่อว่าเรามักชอบคนที่หน้าตาตรงข้ามกับเราหรือคล้ายกับเรา (แล้วแต่ความเชื่อ) มีคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น เนื้อคู่มักหน้าเหมือนกัน แฟนมักหน้าเหมือนพ่อแม่เรา ฯลฯ มีคนได้ทำวิจัยเรื่องนี้ งานวิจัยจากหนังสือ In Your Face: The New Science of Human Attraction พบว่าความเหมือนกันหรือตรงข้ามกันในลักษณะหน้าตาไม่ได้มีผลกับการเลือกคู่ครองแต่อย่างใด ทดลองโดย ให้ผู้หญิงเลือกภาพผู้ชายที่ถูกสร้างมาให้หน้าตาเหมือนจนไล่ไปจนตรงข้ามกับเธอ 3 ระดับ ให้พวกเธอเลือกว่าอยากมีความสัมพันธ์ระยะสั้นและระยะยาวกับใบหน้าแบบไหน สรุปผลคือไม่สามารถหาความเชื่อมโยงได้ คนเรามีรสนิยมการเลือกคู่ในหน้าตาที่ชอบโดยไม่มีระบบชัดเจน เราไม่ได้ชอบคนที่หน้าตาตรงข้ามกับเรา (หรือเหมือนกับเรา) เสมอไปตามที่คนทึกทักตามความเชื่อ แต่จากงานวิจัยคนเรามักเลือกคนที่นิสัยคล้ายเราแต่ไม่จำเป็นต้องหน้าตาเหมือนเป็นฝาแฝดของเรา (หรือต่างกับเราโดยสิ้นเชิง)
การพบรักออนไลน์ทำให้เครือข่ายสังคมเปลี่ยนไป
แม้ Aziz Ansari จะเขียนใน Modern Romance ว่าการที่คนรุ่นใหม่มีตัวเลือกคู่ครองมากมายกว่ารุ่นบรรพบุรุษทำให้คนสมัยใหม่เลือกไม่ได้และไม่ได้เลือก เพราะมีตัวเลือกเยอะเกินไป แต่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้คนได้แสวงหาคนที่ใกล้เคียงกันได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องจำกัดอยู่ใน pool ของคนรู้จักหรือเพื่อนในวงสังคม คนข้างบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกต่อไป
การพบรักทางออนไลน์ 20 ปีที่แล้วอาจเป็นพฤติกรรมใหม่ที่น่าสงสัย แต่ในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องสามัญ เว็บไซต์หาคู่ Match.com เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1995 ตามมาด้วย okcupid ในปี 2000 ต้นๆ ซึ่งเน้นการจับคู่ด้วยการจับคู่ผลของความคล้ายจากชุดข้อมูลโปรไฟล์ของ user โดยตีเป็นเปอร์เซ็นต์ จากนั้น Tinder เกิดขึ้นในปี 2012 เปลี่ยนวิธีการหาคู่ของคนรุ่นใหม่ไปตลอดกาล ในปี 2017 กว่า 1 ใน 3 ของคู่รักที่แต่งงานในประเทศอเมริกาพบกันทางออนไลน์ ในขณะที่แนวโน้มของคู่รักอันเกิดจากเพื่อนร่วมงาน พบกันที่โรงเรียนประถมหรือมัธยม พบกันที่โบสถ์มีแนวโน้มลดลงไปเรื่อยๆ social network อาจทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท หรือเพื่อนในกลุ่มเบาบางลง แต่เพิ่มโอกาสให้เราสานสัมพันธ์หลวมๆ กับชุมชนอื่นๆ มากขึ้น ความสัมพันธ์หลวมๆ นี้เอง อาจนำมาซึ่งโอกาสในการพบคู่ครองมากขึ้น
แม้คนมักไม่นิยมเลือกคู่รักจากกลุ่มเพื่อนสนิทของตัวเอง แต่พบว่ามีแนวโน้มสูงมากที่จะเป็นแฟนกับคนที่เกี่ยวข้องกับวงสังคมและวงเพื่อนฝูงของตัวเอง เช่น เพื่อนของเพื่อน การพบคนอื่นแบบหลวมๆ นี้เองที่เพิ่มโอกาสในการเจอคู่ครองที่ไม่ใช่เพื่อนของเราที่รู้จักอยู่แล้วแต่เป็นวงวารใกล้ๆ ตัว และการเดตออนไลน์ได้ค่อยๆ เปลี่ยนโครงสร้างสังคมนี้ไป เพิ่มโอกาสที่ได้พบรักกับคนนอกวงสังคมหรือกระทั่งนอกกลุ่มเชื้อชาติของตัวเอง เกิดการแต่งงานข้ามเชื้อชาติมากขึ้น อินเทอร์เน็ตอาจพาเราไปพบกับคู่รักที่อาจต่างกลุ่มประชากรกับเรา แต่อาจมีค่านิยม ทัศนคติ นิสัยใจคอ และความชอบที่ตรงกันได้เท่าที่เราพอใจมากขึ้น โดยไม่ต้องรอให้เพื่อนผองของเราแนะนำให้รู้จัก
Opposites Attract จริงหรือที่คนยิ่งต่างกันยิ่งดึงดูด?
‘คู่ตรงข้ามกันจะดึงดูดกัน’ หรือ ‘Opposite Attracts’ ดูเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปจนเหมือนเป็นสัจธรรมของโลกนี้ หากคิดเองเออเอง … เมื่อส่องดูปรากฏการณ์ธรรมชาติ แม่เหล็กบวกต่างขั้วดึงดูดเข้าหากัน แต่ขั้วเดียวกันกลับผลักออกจากกัน หากแต่มนุษย์ไม่ใช่แม่เหล็ก ในหลายงานวิจัยของความสัมพันธ์ กลับพบว่าคนมักไขว่คว้าเข้าหาดึงดูดกับคนที่นิสัยใกล้เคียงกัน
ในนวนิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ เรามักพบเห็นพล็อตที่พระเอกและนางเอกแตกต่างกันสุดขั้วมาพบรัก ความต่างในที่นี้มีทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือคนนิสัยใจคอต่างกัน เช่น เศรษฐีกับคนเดินดิน อสูรกับโฉมงาม เจ้าหญิงกับยาจก ฯลฯ คนบางคนอาจจะมัวมองหาเนื้อคู่ที่แตกต่างกับตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อมาสร้างสมดุล ซึ่งคตินี้อามาจากการดูหนังหรือเรื่องแต่ง
แม้จะมองว่าเรากับเพื่อนหรือคนรอบตัวนั้นต่างจากเราเหลือเกินในรายละเอียด แต่แนวโน้มจากผลการวิจัยหลายตัว คือคนเรามักคบหากับคนที่คล้ายกับตัวเองไม่ว่าจะนิสัย บุคลิกภาพ ความคิด หรือกิจกรรมที่ชอบทำ
ยิ่งคล้ายกันยิ่งเข้าหา
ในงานวิจัยเรื่องเสน่ห์ความดึงดูด (attraction) มักเน้นที่การศึกษาด้านกายภาพเช่น หน้าตา รูปร่าง ความสมมาตรของใบหน้า เชื้อชาติ ฯลฯ แต่มองข้ามการปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมระหว่างมนุษย์ในความสัมพันธ์
ในปี 2015 งานวิจัยความคล้ายกันในความสัมพันธ์ ศึกษาคู่ความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่ง จำนวน 1,523 คู่ (คู่รัก เพื่อน หรือคนรู้จัก) โดยให้ทำแบบทดสอบความคล้ายคลึงกันทางนิสัย ทัศนคติ ค่านิยม กิจกรรม พฤติกรรมการดื่มและการใช้ยา เปรียบเทียบกับระยะเวลาของความสัมพันธ์ ความใกล้ชิด ความผูกพัน สรุปได้ว่าคนเรามักดึงดูดเข้าหาคนที่มีนิสัยและทัศนคติใกล้เคียงกัน คู่รักมีแนวโน้มจะคล้ายกันถึง 86% และยังมีงานวิจัยอีกมากที่ให้ผลการศึกษาไปในทางเดียวกันคือ เรามักจะชอบและเข้าหาคนที่เหมือนกับเราโดยอัตโนมัติ ไม่เหมือนในนิยายที่ความต่างนั้นดึงดูดให้พุ่งชน
ตัวอย่างชุดคำถามในแบบทดสอบ เช่น แบบทดสอบความรู้สึกอคติที่มีต่อคนกลุ่มต่างๆ เช่น คนอ้วน คนแก่ คนเมาแล้วขับ คนไร้บ้าน คู่รักต่างเชื้อชาติ คนพื้นเมือง นักการเมือง โสภณี ฯลฯ แบบทดสอบบุคลิกภาพ ข้อมูลพื้นฐานทางสังคม เช่น รายได้ครอบครัว เพศ เชื้อชาติ รวมถึงกิจกรรมที่ชอบทำ เช่นดูคอนเสิร์ต ดูหนัง ทำงานศิลปะ อ่านหนังสือ ไปยิม ชอบอยู่คนเดียว ฯลฯ
ในด้านมิตรภาพความเป็นเพื่อน ไม่ว่าจะเพิ่งเป็นเพื่อนใหม่หรือเป็นเพื่อนมานานแล้ว ผลที่ได้คือ คนที่เป็นเพื่อนกันมักมีความใกล้เคียงกันสูง แม้ในตอนแรกเริ่มบทสนทนาจะเป็นเรื่องทั่วไปที่ผิวเผิน คนมักตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าจะเลือกใครเป็นเพื่อน ผลคือคนที่เลือกคบหาเป็นเพื่อนกันมักมีทัศนคติด้านต่าง ๆ คล้ายกันตั้งแต่แรก เช่น ความเห็นเรื่องการทำแท้ง สิทธิคนรักร่วมเพศ ความเห็นทางการเมือง และอคติต่อเชื้อชาติ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงนิสัยความเปิดเผย (extraversion), การหลีกเลี่ยงความผูกพัน (attachment avoidance), และความกังวลในความผูกพัน (attachment anxiety)
เพราะในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงนิสัยนั้นมักเกิดขึ้นได้ยาก คนเราจึงมักเลือกที่จะคบหากับคนที่คล้ายกันและมีทัศนคติที่ตรงกันแต่แรกมากกว่า
เมื่อเราเจอคนที่คล้ายเราสมองของเราจะหลั่งสารที่ทำให้เกิดความสุข เป็น Rewarding system ทำให้เกิดความไว้ใจ และความรู้สึกดี โดยการตัดสินใจนี้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ในงานวิจัยหนึ่ง ศึกษาปัจจัยที่นักศึกษาตัดสินใจว่าจะอยู่ร่วมกับรูมเมตในมหาวิทยาลัยต่อไหม มักตัดสินกันที่ความคล้ายระหว่างกันนี่เอง และสามารถตัดสินใจได้ไวตั้งแต่เริ่มความสัมพันธ์ในการอยู่อาศัยร่วมกันว่าจะอยู่ต่อไหม
ในงานวิจัยปี 2005 ศึกษาคู่แต่งงานใหม่ 291 คู่ พบว่า คู่แต่งงานมักเลือกคนที่เหมือนกันกับตัวเองด้านความสนใจ คุณค่า และชีวิตโดยรวม การมีนิสัยที่เหมือนกันจะสามารถทำนายให้การแต่งงานราบรื่นได้ดี มากกว่าการเรียนจบที่เดียวกันและการมีความสนใจร่วมกันเสียอีก
อีกงานวิจัยตั้งคำถามว่าคนที่แต่งงานกันนั้นค่อยๆ เติบโตไปจนกลายเป็นคนที่เหมือนกัน หรือเลือกคนที่คล้ายกันตั้งแต่แรก สรุปผลจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคู่สมรส 1,986 คู่จาก 4 วัฒนธรรมที่ต่างกัน (อเมริกา, เนเธอแลนด์, เช็ก, และรัสเซีย) คนมักเลือกแต่งงานกับคนที่คล้ายกันแต่แรก ทั้งทัศนคติ นิสัย และความเชื่อ ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเพราะอยู่กินด้วยกันนาน โดยเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น คนที่เป็นเสรีนิยมจะหลีกเลี่ยงคบหากับคนที่เป็นอนุรักษ์นิยม คนที่ไปโบสถ์เคร่งครัดอาจพบรักที่โบสถ์นั้น คนที่มีความสามารถและความรู้มักจะเลือกคู่ครองที่มีความสามารถเท่าเทียมกัน คนมักเสาะหาคู่ครองที่มีนิสัยตรงไปตรงมา (straightforwardness) เสียสละ (altruism) ถ่อมตน (modesty) และ ใจกว้าง (tender-mindedness) แต่จะเสาะหาคุณลักษณะอันที่ตัวเขามีเองก่อน คนที่นิสัยไม่เป็นมิตรมักเลือกคู่ครองที่คล้ายกับตัวเองมองว่าคนที่นิสัยดีนั้นไนซ์เกินไป เราต่างชอบคนที่เหมือนเรา ไม่ว่าจะนิสัยดีเหมือนเราหรือ เหมือนเราก็ตาม อาจเพราะเข้าใจและสบายใจ
ยิ่งคล้ายกันยิ่งเข้าใจ
ทำไมเราถึงมักชอบคนที่คล้ายกับเราคือ นอกจากจะมีเรื่องคุย มีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน แต่ปัจจัยสำคัญคือ ‘ความเข้าใจ’ นั่นคือเรามักเข้าใจคนที่นิสัยเหมือนกับเรา อ่านเขาออก และมีการแสดงออกคล้ายๆ กัน
ในอีกผลวิจัยพบว่า คนเรามักดึงดูดเข้าหาคนที่เราอ่านอารมณ์ความรู้สึกออก คนแปลกหน้าคนหนึ่งจะมีเสน่ห์ขึ้นทันใด หากเราเชื่อว่าเราเข้าใจว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไร เพื่อทดลองสมมติฐานนี้ทดลองให้คน 40 คนดูภาพวีดีโอของผู้หญิง 6 คนที่แสดงความรู้สึกกลัวหรือเศร้า และให้ผู้ร่วมทดลองเลือกว่าอยากพบเจอหรือรู้สึกดึงดูกับใคร ผู้ทดสอบเลือกคนที่พวกเขาเข้าใจอารมณ์และรู้สึกว่าดึงดูดกับคนที่รู้สึกว่าเข้าใจมากกว่า
‘Neural vocabulary’ คือภาษาทางอารมณ์ที่ตรงกัน (จะเรียกว่ามองตารู้ใจ หรือพูดจาภาษากายเข้าใจกันก็คงได้) คือการที่เราดูออกว่าอีกคนรู้สึกอย่างไรโดยไม่ต้องพูดเพื่อสื่อสารคำออกมา แต่เป็นความรู้สึกดีที่เกิดเมื่อผู้ส่งความรู้สึกทำให้ผู้รับสัญญาณทางอารมณ์สามารถถอดรหัสได้ง่าย ทำให้เรายิ่งรู้สึกดึงดูดเข้าหาคนที่เรารู้สึกว่าเข้าใจและอ่านเขาออกได้โดยไม่ลำบาก แล้วรู้สึกดีเพราะสมองสั่งว่าเขาเป็นพวกเดียวกับเรา รู้สึกเชื่อมโยงกับเขาได้ รู้สึกสบายใจ ไม่หวาดระแวง
คงไม่แปลกประหลาดที่มนุษย์จะดึงดูดเข้าหาคนที่คล้ายคลึงกันเพราะว่าเข้าใจกันได้ง่ายโดยไม่ต้องพยายามมาก ไม่ต้องลำบากใจในการปรับตัว ปรับทัศนคติ ปรับความเข้าใจ ความรู้นี้อาจะทำให้บางคนอาจเปลี่ยนวิธีคิด แทนที่จะเสาะหาคนในอุดมคติในฝันที่แตกต่างกับเราโดยสิ้นเชิง ลองมองหาคนที่คล้ายกับเราที่เรากับเขาเข้าใจกันได้ อาจจะเริ่มต้นได้ง่ายกว่า
หลายทฤษฎีเชื่อว่าเรามักชอบคนที่หน้าตาตรงข้ามกับเราหรือคล้ายกับเรา (แล้วแต่ความเชื่อ) มีคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น เนื้อคู่มักหน้าเหมือนกัน แฟนมักหน้าเหมือนพ่อแม่เรา ฯลฯ มีคนได้ทำวิจัยเรื่องนี้ งานวิจัยจากหนังสือ In Your Face: The New Science of Human Attraction พบว่าความเหมือนกันหรือตรงข้ามกันในลักษณะหน้าตาไม่ได้มีผลกับการเลือกคู่ครองแต่อย่างใด ทดลองโดย ให้ผู้หญิงเลือกภาพผู้ชายที่ถูกสร้างมาให้หน้าตาเหมือนจนไล่ไปจนตรงข้ามกับเธอ 3 ระดับ ให้พวกเธอเลือกว่าอยากมีความสัมพันธ์ระยะสั้นและระยะยาวกับใบหน้าแบบไหน สรุปผลคือไม่สามารถหาความเชื่อมโยงได้ คนเรามีรสนิยมการเลือกคู่ในหน้าตาที่ชอบโดยไม่มีระบบชัดเจน เราไม่ได้ชอบคนที่หน้าตาตรงข้ามกับเรา (หรือเหมือนกับเรา) เสมอไปตามที่คนทึกทักตามความเชื่อ แต่จากงานวิจัยคนเรามักเลือกคนที่นิสัยคล้ายเราแต่ไม่จำเป็นต้องหน้าตาเหมือนเป็นฝาแฝดของเรา (หรือต่างกับเราโดยสิ้นเชิง)
การพบรักออนไลน์ทำให้เครือข่ายสังคมเปลี่ยนไป
แม้ Aziz Ansari จะเขียนใน Modern Romance ว่าการที่คนรุ่นใหม่มีตัวเลือกคู่ครองมากมายกว่ารุ่นบรรพบุรุษทำให้คนสมัยใหม่เลือกไม่ได้และไม่ได้เลือก เพราะมีตัวเลือกเยอะเกินไป แต่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้คนได้แสวงหาคนที่ใกล้เคียงกันได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องจำกัดอยู่ใน pool ของคนรู้จักหรือเพื่อนในวงสังคม คนข้างบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกต่อไป
การพบรักทางออนไลน์ 20 ปีที่แล้วอาจเป็นพฤติกรรมใหม่ที่น่าสงสัย แต่ในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องสามัญ เว็บไซต์หาคู่ Match.com เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1995 ตามมาด้วย okcupid ในปี 2000 ต้นๆ ซึ่งเน้นการจับคู่ด้วยการจับคู่ผลของความคล้ายจากชุดข้อมูลโปรไฟล์ของ user โดยตีเป็นเปอร์เซ็นต์ จากนั้น Tinder เกิดขึ้นในปี 2012 เปลี่ยนวิธีการหาคู่ของคนรุ่นใหม่ไปตลอดกาล ในปี 2017 กว่า 1 ใน 3 ของคู่รักที่แต่งงานในประเทศอเมริกาพบกันทางออนไลน์ ในขณะที่แนวโน้มของคู่รักอันเกิดจากเพื่อนร่วมงาน พบกันที่โรงเรียนประถมหรือมัธยม พบกันที่โบสถ์มีแนวโน้มลดลงไปเรื่อยๆ social network อาจทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท หรือเพื่อนในกลุ่มเบาบางลง แต่เพิ่มโอกาสให้เราสานสัมพันธ์หลวมๆ กับชุมชนอื่นๆ มากขึ้น ความสัมพันธ์หลวมๆ นี้เอง อาจนำมาซึ่งโอกาสในการพบคู่ครองมากขึ้น
แม้คนมักไม่นิยมเลือกคู่รักจากกลุ่มเพื่อนสนิทของตัวเอง แต่พบว่ามีแนวโน้มสูงมากที่จะเป็นแฟนกับคนที่เกี่ยวข้องกับวงสังคมและวงเพื่อนฝูงของตัวเอง เช่น เพื่อนของเพื่อน การพบคนอื่นแบบหลวมๆ นี้เองที่เพิ่มโอกาสในการเจอคู่ครองที่ไม่ใช่เพื่อนของเราที่รู้จักอยู่แล้วแต่เป็นวงวารใกล้ๆ ตัว และการเดตออนไลน์ได้ค่อยๆ เปลี่ยนโครงสร้างสังคมนี้ไป เพิ่มโอกาสที่ได้พบรักกับคนนอกวงสังคมหรือกระทั่งนอกกลุ่มเชื้อชาติของตัวเอง เกิดการแต่งงานข้ามเชื้อชาติมากขึ้น อินเทอร์เน็ตอาจพาเราไปพบกับคู่รักที่อาจต่างกลุ่มประชากรกับเรา แต่อาจมีค่านิยม ทัศนคติ นิสัยใจคอ และความชอบที่ตรงกันได้เท่าที่เราพอใจมากขึ้น โดยไม่ต้องรอให้เพื่อนผองของเราแนะนำให้รู้จัก