GMM Grammy เตรียม Spin-Off แยก GMM MUSIC เข้าตลาดหุ้น เผย 7 ยุทธศาสตร์ขยายธุรกิจ



31 ก.ค. 2023 ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการอนุมัติแผนการ Spin-Off ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM MUSIC) ซึ่งเป็น Flagship Company ของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในการดำเนินธุรกิจเพลงแบบครบวงจร
 เพื่อระดมเงินทุนผ่านการเข้าตลาดหุ้น (IPO) ในการสร้างการเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลงและบริษัท ภายใต้คอนเซ็ปต์ “New Music Economy”
 โดยเงินลงทุนในครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อการขยายธุรกิจในหลายภาคส่วน โดยมุ่งหวังที่จะสะท้อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ขยายอุตสาหกรรมเพลงทั้งตลาด พร้อมเน้น 7 ยุทธศาสตร์การขยาย ได้แก่
 
1. Double Up Production
ขยายการผลิต เป็นอีกเท่าตัวจากการผลิตในปัจจุบัน โดย GMM MUSIC มีแผนจะเพิ่มการผลิต
 - เพลงจาก 400 เพลงต่อปี เป็น 1,000 เพลงต่อปี
- ศิลปินจาก 120 ศิลปิน เป็น 200 ศิลปิน ภายใน 5 ปี
- Playlist เข้าสู่ Streaming Platform จาก 3,000 Playlists เป็น 6,000 Playlists ต่อปี
- Full Album จาก 30 อัลบั้มต่อปี เป็น 50 อัลบั้มต่อปี
- ศิลปินฝึกหัดจาก 150 ศิลปิน เป็น 300 ศิลปินต่อปี
 
2. Showbiz Expansion
ขยาย Scale ของ Music Festival ที่ครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ สู่การรองรับจำนวนผู้ชมซึ่งจะมากกว่า 500,000 คนต่อปี ด้วยความตั้งใจร่วมมือกับทุกค่ายเพลง พร้อมต่อยอดแหล่งรายได้ให้เติบโต กวาดรายได้ทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ
 ในขณะที่ Arena Concert นอกจากจะมี Line Up ที่ครอบคลุมตั้งแต่ศิลปินยุคแจ้งเกิดของบริษัท จนถึงศิลปินยุคปัจจุบัน GMM MUSIC จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ในการขยาย Segment เดินหน้าสู่การเป็นผู้จัด International Fan Meeting & Concert อย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมจับมือกับ Promoter เจ้าต่าง ๆ ใน Southeast Asia เพื่อการขยายตัว
 
3. Local Alliance
ขยายพันธมิตรทางดนตรี ร่วมจับมือกับค่ายเพลงในประเทศไทย ผ่านการ M&A (Mergers & Acquisitions) หรือ JV (Joint Venture) เพื่อสร้าง Synergy Value ในการขยายการผลิต และการเติบโตทางธุรกิจทุกช่องทาง
 
4. Global Strategic Partner
ขยายการจับมือกับบริษัทชั้นนำในต่างชาติผ่านการ JV (Joint Venture) เพื่อการสร้างงานเพลง และส่งเสริมศิลปินไทย เดินหน้าสู่ศักยภาพ และมาตรฐานใหม่ในระดับสากล (Thailand Soft Power)
การเดินหน้าจับมือในครั้งนี้ บริษัทได้วางแผนที่จะจับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำในภูมิภาคต่าง ๆ (Global Leader) เช่น สหรัฐอเมริกา, สแกนดิเนเวีย, จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในแถบ Southeast Asia ซึ่งการเดินหน้า JV ต่าง ๆ นี้จะคล้ายคลึงกับการ JV ของ GMM MUSIC กับบริษัท YG Entertainment ในการจัดตั้ง JV YGMM เพื่อคัดสรรและผลิตศิลปินไทยป้อนสู่ระดับสากล
 
5. Media Networking
ขยายวงล้อมการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพในทุกรูปแบบ และทุกช่องทางการสื่อสารผ่านการสร้าง Partnership Deal หรือ JV เพื่อแลกเปลี่ยนศักยภาพทางธุรกิจที่ต่อยอดได้ไม่รู้จบ ทั้งสื่อทางด้าน On Air On Board Online และ On Ground ส่งเสริมการ Promote ศิลปินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  
6. Data Intelligent
ขยายศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ผ่านการลงทุนเพิ่มด้าน Data Scientist Machine Learning และระบบ AI
 
พร้อมสร้าง Tools ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงการค้า การบริหารจัดการ และการพัฒนาศิลปิน รองรับธุรกิจแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญด้าน Personalization Offering
 
7. New World Talent
ขยายทีมงานแห่งอนาคตด้วยการลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเชี่ยวชาญใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเติมเต็ม สืบทอด ต่อยอด รองรับการก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจเพลง
ทั้งนี้ทาง GMM MUSIC บอกว่า บริษัทได้เตรียมการที่จะเดินหน้าด้าน Strategic Investment อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันได้ทำการเจรจา และอยู่ในขั้นตอนการสรุปดีลกับพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
 
คาดว่าจะสามารถประกาศความร่วมมือต่าง ๆ ได้ภายในไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4 ของปี 2566 นี้
 

ปัจจุบัน GMM MUSIC มีที่มาของรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจหลัก ได้แก่
 
1. Music Digital Business มีรายได้ 1,152 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 34%
 
2. Music Artist Management Business มีรายได้ 1,177 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 35%
 
3. Showbiz Business มีรายได้ 678 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 20%
 
4. Right Management Business มีรายได้ 234 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 7%
 
5. Physical Business มีรายได้ 147 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 4%
 
—-------------------------
*หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจากรายได้ 12 เดือนย้อนหลังของธุรกิจเพลง นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ถึงไตรมาส 1 ปี 2566
ที่มา : https://www.marketthink.co/
         https://www.matichon.co.th/

เตรียมเงินเป็นเจ้าของค่ายเพลงกันได้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่