เป็นไปได้ไหม ต่อไปนี้ การป้องกันการโจมตีทางอากาศ อาจจะกลายเป็นหัวใจในความอยู่รอดของบรรดาชาติมหาอำนาจ

ชาติมหาอำนาจ มีหลายชาติครับ แต่...ที่จริงก็มีกันแค่สองขั้วนั่นแหละ
และทั้งสองขั้ว ต่างก็มองกันและกันเป็นศัตรู, เป็นภัยคุกคาม

สงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน คือสงครามระหว่างสองขั้วอำนาจนี้ครับ

เมื่อสงครามยืดเยื้อ ต่างฝ่ายต่างก็ได้รับความวิบัติสูญเสียในสงครามนี้ โดยที่ยังไม่มีวี่แววว่าสงครามจะจบลงได้แบบไหน อย่างไร
และต่างฝ่าย ต่างก็ยังอยากจะเป็นผู้ชนะในสงครามนี้อยู่
ด้วยเหตุทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา เป็นไปได้ไหม ที่อาจมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คิดจะเผด็จศึกโดยใช้ "วิธีลัด" เพื่อสยบอีกฝ่าย แบบเดียวกันกับที่เมกาเองเคยทำไว้สมัยสงครามโลก และเป็นเหตุให้มีคนญี่ปุ่นต้องสังเวยชีวิตมากมายนับแสนชีวิตมาแล้ว

ในโลกของความเป็นจริง เชื่อได้เลยว่า ประเทศพี่ใหญ่ของทั้งสองขั้วอำนาจ ต้องมีอาวุธชนิดนี้อยู่ในความครอบครองแน่ ๆ
รวมทั้ง อานุภาพในการทำลายล้างของมัน ก็เชื่อได้ว่าต้องมีความรุนแรงเพิ่มมากกว่าสมัยที่เอาไปใช้ถล่มญี่ปุ่นแน่ ๆ ด้วย

ที่แล้วมา จะเห็นได้ว่า เมื่อใดที่มีการโจมตีด้วยขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าใส่ ฝ่ายที่ถูกโจมตี ก็จะใช้การยิงสกัดกั้น เพื่อมิให้ขีปนาวุธนั้นตกลงสู่พื่นที่เป่าหมายได้

จากที่ผมติดตามเรื่องนี้มา พบว่า ประสิทธิภาพของการสกัดกั้นขีปนาวุธของข้าศึกด้วยวิธีนี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจนัก
เพราะเมื่อใดที่ฝ่ายข้าศึกยิงขีปนาวุธเข้ามาหลายลูก ก็จะมีขีปนาวุธส่วนหนึ่งที่เหลือรอดจากการถูกสถัดกั้น ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้ทุกครั้ง

*** และที่น่ากังวลที่สุดก็คือ หากไอ้เจ้าลูกที่มันหลุดรอดจนตกถึงพิ้นได้นั้น มันติดหัวรบนิวเคลียร์มาด้วยล่ะ อะไรจะเกิดขึ้น ???
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้าสู้กันด้วยไข่เทวดาแบบนี้ระบบป้องกันอะไรก็เอาไม่อยู่ครับ ซึ่งมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายก็ทราบจุดนี้ดีจึงเกิดหลักนิยมเรื่อง Mutual Assured Destruction (MAD) ครับ หมายถึงเอ็งยิงมาข้ามีพอยิงกลับนะ แน่ใจนะจะแลกกัน ทำนองนี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่