สวัสดีค่ะ เรามาแชร์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการนะคะ
คุณพ่อเป็นข้าราชการตำรวจ(บำนาญ) อยู่ที่ต่างจังหวัดค่ะ เสียชีวิตตอนอายุ 82 ปี ท่านพึ่งเสียไปค่ะ
> พ่อมีลูก 2 คน (จดทะเบียนสมรสกับแม่ และแม่เสียชีวิตแล้วค่ะ)
> พ่อแต่งงานใหม่ (จดทะเบียนสมรส ไม่มีบุตร)
------------------------------------------------------------------------------------------------
Part 1 การขอพระราชทานเพลิงศพ ** ไม่มี คชจ**
หลังจากคุณพ่อเสีย ทางเราทำเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพ และ อาบน้ำศพ จากกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
โดยติดต่อที่ศาลากลางจังหวัด เปิดทุกวันไม่หยุด ตามเวลาราชการ เอกสารที่ใช้หลักๆ ใบมรณะบัตร ID ทะเบียนบ้าน
หลังจากยื่นขอได้รับเร็วมากเลยค่ะ ประมาน 1 วันเท่านั้น จะมีทีมงานจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด แจ้งรายละเอียดพร้อมนัดส่งการทำพิธีการอาบน้ำศพ+พระราชทานเพลิง
> เมื่อถึงวันงานรดน้ำศพ จะมีโลงให้ ตามลำดับชั้นยศของข้าราชการผู้เสียชีวิต
> ทาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จะส่งคนมาทำพิธีการอาบน้ำศพ และ ส่งเพลิงพระราชทานมาให้อย่างสมเกียรติมากค่ะ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
Part 2 สิทธิ ผลประโยชน์ ของข้าชการตำรวจ(บำนาญ)
1)บำเหน็จตกทอด
จ่ายให้กับทายาทตามกฏหมาย >> บิดา-มารดา , บุตร ,คู่สมรส หลังยื่นเอกสารต้องมีมานัดสอบปากคำอีก
2) เงินช่วยพิเศษ 3 เดือน (กพ7) เป็นเอกสารที่ผู้ตายเก็บไว้ ระบุผู้นับผลประโยชน์ หากหาไม่เจอจะตกเป็นของภรรยา *** ในส่วนตรงนี้เราในฐานะลูกกับแม่เลี้ยง ทางแม่เลี้ยงบอกหาเอกสารไม่เจอ ซึ่งเรารู้ดีว่าพ่อของเราเก็บเอกสารไว้หมด แต่ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้ทางแม่เลี้ยงเป็นผู้ยื่น ตกลงกันว่าจะมาหาร 3 เท่าๆกัน และเราก็กังวลว่าจะไม่ได้รับ
3) เงินฌาปนกิจ
ทางผู้ตายอาจมีการระบุ หรือถ้าไม่ระบุ จะแบ่งตามสัดส่วนเหมือนข้อ 1
ทางแม่เลี้ยงแจ้งว่า คุณพ่อเราไม่มีเงินสหกรณ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับเรา เราว่าในการดำเนินการยื่นขอรับสิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ กับกรมตำรวจ มีความซับซ้อนและยุ่งยาก ไม่ make sense หลายๆจุดเลยค่ะ
1. ในส่วนเอกสารที่ขอ ในหลายๆ Part ต้องมี เอกสารส่วนตัว เช่น ทะเบียนสมรส ทั้งของแม่เก่า แม่ใหม่ (ซึ่งในกรณีเรา ทางแม่เลี้ยงไม่ให้ความร่วมมือเลย )
2. ในส่วน เงินช่วยพิเศษ 3 เดือน (กพ7) ทางตำรวจแจ้งว่าหากเอกสารหายหาไม่เจอจะตกเป็นของภรรยาทันที ซึ่งเคสเรา พ่อเราระบุเป็นลูกที่ได้ แต่แม่เลี้ยงบอกเอกสารหาย เราไปหาข้อมูลมาตอนนี้มีการใช้ online เก็บข้อมูลส่วนนี้ด้วย แต่พ่อเราไม่มีข้อมูลบน Online
3.ไม่มีเงินช่วยเหลือทันที ในการทำศพ คือต้องหาเงินไปใช้ในการจัดการในการจัดงานศพเองทั้งหมด เราคิดว่าตรงนี้สำคัญมาก หาก บางรายเงินไม่พอก็ต้องไปหากู้ยืมกันเอง เราเองไม่มีปัญหา แต่เห็นเพื่อนพ่อหลายๆคนเกิดปัญหาตรงนี้
4. ในการดำเนินการเบิกจ่าย ค่อนข้างล่าช้ามาก รอเป็นหลายๆเดือน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
เราเองในฐานะลูก อยากจัดงานให้สมเกียรติของพ่อเราซึ่งเป็นข้าชการตำรวจ ให้พ่อได้ภูมิใจในครั้งสุดท้ายชีวิต ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยการจัดการของ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ทุกอย่าง online ได้รวดเร็วดีมากค่ะ
แชร์ประสบการณ์คุณพ่อเป็นข้าราชการตำรวจเสียชีวิต ยื่นเรื่องการขอสิทธิผลประโยชน์ ขอพระราชทานเพลิงศพ (เผื่อเป็นความรู้ค่ะ)
คุณพ่อเป็นข้าราชการตำรวจ(บำนาญ) อยู่ที่ต่างจังหวัดค่ะ เสียชีวิตตอนอายุ 82 ปี ท่านพึ่งเสียไปค่ะ
> พ่อมีลูก 2 คน (จดทะเบียนสมรสกับแม่ และแม่เสียชีวิตแล้วค่ะ)
> พ่อแต่งงานใหม่ (จดทะเบียนสมรส ไม่มีบุตร)
------------------------------------------------------------------------------------------------
Part 1 การขอพระราชทานเพลิงศพ ** ไม่มี คชจ**
หลังจากคุณพ่อเสีย ทางเราทำเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพ และ อาบน้ำศพ จากกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
โดยติดต่อที่ศาลากลางจังหวัด เปิดทุกวันไม่หยุด ตามเวลาราชการ เอกสารที่ใช้หลักๆ ใบมรณะบัตร ID ทะเบียนบ้าน
หลังจากยื่นขอได้รับเร็วมากเลยค่ะ ประมาน 1 วันเท่านั้น จะมีทีมงานจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด แจ้งรายละเอียดพร้อมนัดส่งการทำพิธีการอาบน้ำศพ+พระราชทานเพลิง
> เมื่อถึงวันงานรดน้ำศพ จะมีโลงให้ ตามลำดับชั้นยศของข้าราชการผู้เสียชีวิต
> ทาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จะส่งคนมาทำพิธีการอาบน้ำศพ และ ส่งเพลิงพระราชทานมาให้อย่างสมเกียรติมากค่ะ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
Part 2 สิทธิ ผลประโยชน์ ของข้าชการตำรวจ(บำนาญ)
1)บำเหน็จตกทอด
จ่ายให้กับทายาทตามกฏหมาย >> บิดา-มารดา , บุตร ,คู่สมรส หลังยื่นเอกสารต้องมีมานัดสอบปากคำอีก
2) เงินช่วยพิเศษ 3 เดือน (กพ7) เป็นเอกสารที่ผู้ตายเก็บไว้ ระบุผู้นับผลประโยชน์ หากหาไม่เจอจะตกเป็นของภรรยา *** ในส่วนตรงนี้เราในฐานะลูกกับแม่เลี้ยง ทางแม่เลี้ยงบอกหาเอกสารไม่เจอ ซึ่งเรารู้ดีว่าพ่อของเราเก็บเอกสารไว้หมด แต่ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้ทางแม่เลี้ยงเป็นผู้ยื่น ตกลงกันว่าจะมาหาร 3 เท่าๆกัน และเราก็กังวลว่าจะไม่ได้รับ
3) เงินฌาปนกิจ
ทางผู้ตายอาจมีการระบุ หรือถ้าไม่ระบุ จะแบ่งตามสัดส่วนเหมือนข้อ 1
ทางแม่เลี้ยงแจ้งว่า คุณพ่อเราไม่มีเงินสหกรณ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับเรา เราว่าในการดำเนินการยื่นขอรับสิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ กับกรมตำรวจ มีความซับซ้อนและยุ่งยาก ไม่ make sense หลายๆจุดเลยค่ะ
1. ในส่วนเอกสารที่ขอ ในหลายๆ Part ต้องมี เอกสารส่วนตัว เช่น ทะเบียนสมรส ทั้งของแม่เก่า แม่ใหม่ (ซึ่งในกรณีเรา ทางแม่เลี้ยงไม่ให้ความร่วมมือเลย )
2. ในส่วน เงินช่วยพิเศษ 3 เดือน (กพ7) ทางตำรวจแจ้งว่าหากเอกสารหายหาไม่เจอจะตกเป็นของภรรยาทันที ซึ่งเคสเรา พ่อเราระบุเป็นลูกที่ได้ แต่แม่เลี้ยงบอกเอกสารหาย เราไปหาข้อมูลมาตอนนี้มีการใช้ online เก็บข้อมูลส่วนนี้ด้วย แต่พ่อเราไม่มีข้อมูลบน Online
3.ไม่มีเงินช่วยเหลือทันที ในการทำศพ คือต้องหาเงินไปใช้ในการจัดการในการจัดงานศพเองทั้งหมด เราคิดว่าตรงนี้สำคัญมาก หาก บางรายเงินไม่พอก็ต้องไปหากู้ยืมกันเอง เราเองไม่มีปัญหา แต่เห็นเพื่อนพ่อหลายๆคนเกิดปัญหาตรงนี้
4. ในการดำเนินการเบิกจ่าย ค่อนข้างล่าช้ามาก รอเป็นหลายๆเดือน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
เราเองในฐานะลูก อยากจัดงานให้สมเกียรติของพ่อเราซึ่งเป็นข้าชการตำรวจ ให้พ่อได้ภูมิใจในครั้งสุดท้ายชีวิต ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยการจัดการของ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ทุกอย่าง online ได้รวดเร็วดีมากค่ะ