เมื่อไหร่เพชรบูรณ์จะเปิดสนามบิน

จะเป็นไปได้ไหมที่สนามบินเพชรบูรณ์จะเปิดให้บริการ เพื่อที่จะได้มีตัวเลือกในการเดินทาง นอกจากรถทัวร์
เพชรประเสริฐ  เพราะเหนื่อยนั่งรถนาน ไม่มีประเภทเบาะนั่งให้เลือก จุดพักคือลำนารายณ์ซึ่งห้องน้ำสกปรก
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คอลัมน์หมายเลข 7 : บทเรียนสนามบินเพชรบูรณ์ ความล้มเหลวลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่?
Ch7HD News 1 กุมภาพันธ์ 2022

คอลัมน์หมายเลข7 วันนี้ ตรวจสอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของรัฐบาลซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องต่อไปในอนาคตย่างคุ้มค่า โดยกรณีศึกษาจาก #สนามบินเพชรบูรณ์ ติดตามจากรายงานคุณสุธาทิพย์ ผาสุข

ภาพการฝึกบินเครื่องบินทดสอบวิ่งแตะรันเวย์ ก่อนเคลื่อนตัวจอดลง คือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นภายในสนามบินเพชรบูรณ์ ขณะที่คอลัมน์หมายเลข 7 ลงพื้นที่ติดตามการใช้งานของสนามบิน หลังปรากฏภาพอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2563 แต่ไร้ซึ่งประชาชนหรือนักท่องเที่ยวมาใช้บริการ

คอลัมน์หมายเลข 7 ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังการเปิดให้บริการและการใช้งานของสนามบินเพชรบูรณ์ พบว่า ดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2539 และเริ่มเปิดให้บริการด้วยสายการบินพาณิชย์ โดยการบินไทย ในปี 2543 จากนั้นในปี 2547 ได้หยุดให้บริการเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยไม่คุ้มต่อการให้บริการการบิน ต่อมาในปี 2554 สนามบินมีความพยายามจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อีกครั้ง โดยใช้เครื่องบินขนาด 19 ที่นั่ง แต่หลังเปิดให้บริการได้เพียง 1 เดือน ก็จำต้องยกเลิก

กระทั่งปี 2561 สายการบินนกแอร์ มาทดลองเปิดให้บริการเส้นทางการบิน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ระยะเวลา 3 เดือนที่ให้บริการ มีผู้โดยสารขาเข้า 469 เที่ยว และขาออก 613 เที่ยวบิน เท่านั้น ทำให้ท้ายที่สุดสถานะการใช้งานของสนามบินเพชรบูรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ก่อสร้าง ที่หวังสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นเมืองรอง มีเพียงเครื่องบินของทางราชการ เครื่องบินฝึกบิน เครื่องบินส่วนบุคคล ที่ใช้บริการเท่านั้น จนเป็นที่สังเกตว่าการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ซึ่งใช้วงเงินก่อสร้างถึง 40 ล้านบาท เป็นการลงทุนพัฒนาที่จำเป็น หรือคุ้มค่าหรือไม่

เวลานี้สนามบินที่อยู่ในสังกัดความรับผิดชอบของ กรมท่าอากาศยาน มีด้วยกันทั้งสิ้น 29 แห่ง กระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ในจำนวนนี้มี 6 สนามบิน ที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มศักยภาพตามวัตถุประสงค์การก่อสร้าง

ด้าน ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI ให้ความเห็นเรื่องการพิจารณาโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่จำเป็นต้องวางแผนการพัฒนาด้วยความรอบครอบ โดยเฉพาะในอนาคตหลังจากนี้

ในปี 2565 กระทรวงคมนาคม ในฐานะที่กำกับดูแล การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการ ได้กำหนดแผนงานที่จะดำเนินการ ลงทุนบิกโพรเจกต์หลายโครงการเพื่อหวังพัฒนาประเทศ ซึ่งการลงทุนต้องใช้เม็ดเงินรวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท แต่สุดท้ายแล้วจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพและคุ้มค่าตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามและตรวจสอบต่อไป

https://www.facebook.com/watch/?v=341178037869791
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่