ภาวะตั้งครรภ์มักเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน หรือแม้กระทั่งอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้ช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งทางร่างกาย และมีความอ่อนไหวทางอารมณ์ โรคภัยต่าง ๆ จึงเข้ามาเบียดเบียนได้ง่ายขึ้น นอกจากภาวะครรภ์เป็นพิษ และโรคต่าง ๆ ที่ควรระวังแล้ว โรคที่มักเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ยังมีอีกโรคหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือโรค “ไส้เลื่อน” นั่นเอง
ไส้เลื่อนที่สะดืออะไร
คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนคงเกิดปัญหาที่ชวนให้กังวลใจนั่นคือ สะดือที่ยื่นออกมามากผิดปกติ อาการนี้มักเป็นสัญญาณของโรคไส้เลื่อน โดยมักจะเกิดในไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากมดลูกขยายตัวมากจนสร้างแรงดันในช่องท้อง ทำให้อวัยวะภายในลอดผ่านช่องเปิดออกมาสู่ภายนอก ปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีขนาดท้องค่อนข้างใหญ่ หรือมีอายุครรภ์มากแล้วสะดือมักจะยื่นออกมาเอง แต่หากสะดือยื่นออกมามากจนผิดสังเกตนั่นอาจบ่งบอกว่าท่านกำลังเป็นไส้เลื่อนที่สะดือนั่นเอง
อาการไส้เลื่อนที่สะดือ
อาการที่แสดงออกจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางรายอาจไม่มีอาการบ่งชี้ที่แน่ชัด แต่เราสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- สะดือมีรอยนูน หรือยื่นออกมา ซึ่งรอยนูนนี้อาจจะมีขนาดเท่าผลองุ่นไปจนถึงผลส้ม มักจะบวมขึ้นเมื่อไอ นั่ง หรือตอนเข้าห้องน้ำ และจะหายไปเมื่อนอนราบ
- ปวดท้อง โดยจะมีอาการปวดแบบบิดบริเวณท้อง
- อาจมีอาการท้องผูก และคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งมักเกิดในกรณีที่มีอาการรุนแรง
การรักษาอาการไส้เลื่อนที่สะดือ
โดยปกติแล้ว แพทย์จะสามารถขยับให้ไส้เลื่อนกลับเข้าที่ด้วยแรงกด แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรดัน หรือกดด้วยตัวเอง เพราะอาจเกิดอันตราย หรือในกรณีที่ไส้เลื่อนติดที่ผนังท้องอาจจะเกิดอันตรายต่ออวัยวะจึงต้องใช้วิธีรักษาโดยการผ่าตัด หากอาการไม่รุนแรงสามารถรอให้คลอดก่อนแล้วค่อยผ่าได้ นอกจากนี้แพทย์อาจทำการผ่าตัดในระหว่างการทำคลอดได้อีกด้วย
การป้องกันโรคไส้เลื่อนในหญิงตั้งครรภ์
- ดื่มน้ำมาก ๆ และเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก เพราะอาการท้องผูกจะทำให้เกิดแรงดันในลำไส้ทำให้เกิดไส้เลื่อน หรืออาจทำให้อาการไส้เลื่อนแย่ลงได้
- ห้ามยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะสร้างแรงดันในช่องท้องทำให้เกิดไส้เลื่อนได้ง่ายขึ้น
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป เช่น สวมชุดหลวม ๆ หรือสวมกางเกงเอวต่ำที่ไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด
ไส้เลื่อนเป็นโรคที่เกิดกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี หากพบอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง และปลอดภัยต่อไป
ไส้เลื่อนที่สะดือ ภาวะในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ควรมองข้าม
ไส้เลื่อนที่สะดืออะไร
คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนคงเกิดปัญหาที่ชวนให้กังวลใจนั่นคือ สะดือที่ยื่นออกมามากผิดปกติ อาการนี้มักเป็นสัญญาณของโรคไส้เลื่อน โดยมักจะเกิดในไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากมดลูกขยายตัวมากจนสร้างแรงดันในช่องท้อง ทำให้อวัยวะภายในลอดผ่านช่องเปิดออกมาสู่ภายนอก ปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีขนาดท้องค่อนข้างใหญ่ หรือมีอายุครรภ์มากแล้วสะดือมักจะยื่นออกมาเอง แต่หากสะดือยื่นออกมามากจนผิดสังเกตนั่นอาจบ่งบอกว่าท่านกำลังเป็นไส้เลื่อนที่สะดือนั่นเอง
อาการไส้เลื่อนที่สะดือ
อาการที่แสดงออกจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางรายอาจไม่มีอาการบ่งชี้ที่แน่ชัด แต่เราสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- สะดือมีรอยนูน หรือยื่นออกมา ซึ่งรอยนูนนี้อาจจะมีขนาดเท่าผลองุ่นไปจนถึงผลส้ม มักจะบวมขึ้นเมื่อไอ นั่ง หรือตอนเข้าห้องน้ำ และจะหายไปเมื่อนอนราบ
- ปวดท้อง โดยจะมีอาการปวดแบบบิดบริเวณท้อง
- อาจมีอาการท้องผูก และคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งมักเกิดในกรณีที่มีอาการรุนแรง
การรักษาอาการไส้เลื่อนที่สะดือ
โดยปกติแล้ว แพทย์จะสามารถขยับให้ไส้เลื่อนกลับเข้าที่ด้วยแรงกด แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรดัน หรือกดด้วยตัวเอง เพราะอาจเกิดอันตราย หรือในกรณีที่ไส้เลื่อนติดที่ผนังท้องอาจจะเกิดอันตรายต่ออวัยวะจึงต้องใช้วิธีรักษาโดยการผ่าตัด หากอาการไม่รุนแรงสามารถรอให้คลอดก่อนแล้วค่อยผ่าได้ นอกจากนี้แพทย์อาจทำการผ่าตัดในระหว่างการทำคลอดได้อีกด้วย
การป้องกันโรคไส้เลื่อนในหญิงตั้งครรภ์
- ดื่มน้ำมาก ๆ และเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก เพราะอาการท้องผูกจะทำให้เกิดแรงดันในลำไส้ทำให้เกิดไส้เลื่อน หรืออาจทำให้อาการไส้เลื่อนแย่ลงได้
- ห้ามยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะสร้างแรงดันในช่องท้องทำให้เกิดไส้เลื่อนได้ง่ายขึ้น
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป เช่น สวมชุดหลวม ๆ หรือสวมกางเกงเอวต่ำที่ไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด
ไส้เลื่อนเป็นโรคที่เกิดกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี หากพบอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง และปลอดภัยต่อไป