ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ด้วยกิจการการค้าส่งออกนำเข้าร้อยล้าน
สองสามปีที่ผ่านมา ยอดตกลดลงอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อเติมลดแลกแจกแถมพัฒนาเอาใจลูกค้า
ยอดก็ยังทรงๆทรุดๆ ไม่ได้ดังเป้าหมายที่หวัง แม้ว่าลดเป้าลงมาแล้วกว่า 30%
ปกติ ทำบุญทำทานตามกาล สร้างวัดสร้างโรงบาลบริจาคเงินแก่คนยากจน
ศีลห้า เต็มบ้างพร่องบ้าง ตามวิถีไทยแลนด์แดนสยาม
ทำมาทุกทาง เปิดทุกตำราด้านมาเก็ตติ้ง ก็ได้ประมาณนี้แล
วันหนึ่ง เพื่อนนำรูปหล่อ พระพิศเนศมาให้ บอกแกเอาไปลองบูชาดู
ก็ไม่เสียหายอะไร ลองบูชาดูตามกูเกิ้ล เปิดบทสวดท่องนิดหน่อยสองสามบรรทัด ท่องมากก็ขี้เกียจ
จุกำยานให้ ทำแบบเออ... ลองดูก็ได้ว่ะ ลองมูดูสิ เพื่อนบอกพระไม่ได้ให้ตังค์ แต่สิ่งเหล่านี้ให้นะ
ด้วยความบังเอิญที่ไม่มีจริง
ยอดดีขึ้น ของที่แพง ขายมาเป็นปีขายไม่ออก อ้าว...มีคนสั่งเฉยเลย สองสามชิ้น
มันบังเอิญแหละ แต่ก็ดี มาบังเอิญตอนนี้พอดี (ยอดไม่ได้พุ่งมาก แต่ดีขึ้น 20%)
คำถาม
พุทธแบบตามพ่อแม่อย่างเรา การมู การนำสิ่งที่ไม่ใช่พุทธศาสนาบูชา (แบบนิดๆหน่อยๆไม่จัดเต็มไม่เสียเงินละลายลำคลอง)
เหมาะสม หรือสมควร อย่างไรไหมครับ?
ราชบัณฑิตย จับคู่ ศรัทธา = faith
มันคือ “ความเชื่อ ความเลื่อมใส”
๑. ศรัทธาโดยไม่ต้องใช้ปัญญาแสวงหาความจริง
๒. ศรัทธาโดยใช้ปัญญาแสวงหาความจริงไปพร้อมๆกัน
๓. ศรัทธาต่อเมื่อมีประสบการณ์ด้วยตนเองจริงๆ
ในหลายหลัก(พุทธ)ธรรม จะขึ้นต้นด้วยศรัทธา (สัทธา)
เหตุจากที่ มันมีพลังแรงขับสำคัญในเกือบทุกเรื่อง
พละ ๕ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
อารยวัฑฒิ ๕ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)
อริยทรัพย์ ๗ (ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา)
เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)
ดูเถิดภราดา...
ทุกหลัก จะมีปัญญากำกับท้ายอยู่ด้วยเสมอ
ปัญญา คือ หางเสือเรือที่คอยกำกับทิศทางของศรัทธา
เพราะทุกๆศรัทธา ไม่มีเหตุผลดีๆที่ถูกต้องเสมอไป
ปัญญาไม่ทำงาน อุปาทานก็กำเริบ
อคติ ก็สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเรือน
ศรัทธา ก็กลายเป็นความงมงาย ลุ่มหลงมาก
หลงใหล...ไม่ไหลไปไหน วนเป็นไม้ม้วน
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ด้วยกิจการการค้าส่งออกนำเข้าร้อยล้าน
สองสามปีที่ผ่านมา ยอดตกลดลงอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อเติมลดแลกแจกแถมพัฒนาเอาใจลูกค้า
ยอดก็ยังทรงๆทรุดๆ ไม่ได้ดังเป้าหมายที่หวัง แม้ว่าลดเป้าลงมาแล้วกว่า 30%
ปกติ ทำบุญทำทานตามกาล สร้างวัดสร้างโรงบาลบริจาคเงินแก่คนยากจน
ศีลห้า เต็มบ้างพร่องบ้าง ตามวิถีไทยแลนด์แดนสยาม
ทำมาทุกทาง เปิดทุกตำราด้านมาเก็ตติ้ง ก็ได้ประมาณนี้แล
วันหนึ่ง เพื่อนนำรูปหล่อ พระพิศเนศมาให้ บอกแกเอาไปลองบูชาดู
ก็ไม่เสียหายอะไร ลองบูชาดูตามกูเกิ้ล เปิดบทสวดท่องนิดหน่อยสองสามบรรทัด ท่องมากก็ขี้เกียจ
จุกำยานให้ ทำแบบเออ... ลองดูก็ได้ว่ะ ลองมูดูสิ เพื่อนบอกพระไม่ได้ให้ตังค์ แต่สิ่งเหล่านี้ให้นะ
ด้วยความบังเอิญที่ไม่มีจริง
ยอดดีขึ้น ของที่แพง ขายมาเป็นปีขายไม่ออก อ้าว...มีคนสั่งเฉยเลย สองสามชิ้น
มันบังเอิญแหละ แต่ก็ดี มาบังเอิญตอนนี้พอดี (ยอดไม่ได้พุ่งมาก แต่ดีขึ้น 20%)
คำถาม
พุทธแบบตามพ่อแม่อย่างเรา การมู การนำสิ่งที่ไม่ใช่พุทธศาสนาบูชา (แบบนิดๆหน่อยๆไม่จัดเต็มไม่เสียเงินละลายลำคลอง)
เหมาะสม หรือสมควร อย่างไรไหมครับ?
ราชบัณฑิตย จับคู่ ศรัทธา = faith
มันคือ “ความเชื่อ ความเลื่อมใส”
๑. ศรัทธาโดยไม่ต้องใช้ปัญญาแสวงหาความจริง
๒. ศรัทธาโดยใช้ปัญญาแสวงหาความจริงไปพร้อมๆกัน
๓. ศรัทธาต่อเมื่อมีประสบการณ์ด้วยตนเองจริงๆ
ในหลายหลัก(พุทธ)ธรรม จะขึ้นต้นด้วยศรัทธา (สัทธา)
เหตุจากที่ มันมีพลังแรงขับสำคัญในเกือบทุกเรื่อง
พละ ๕ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
อารยวัฑฒิ ๕ (ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา)
อริยทรัพย์ ๗ (ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา)
เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)
ดูเถิดภราดา...
ทุกหลัก จะมีปัญญากำกับท้ายอยู่ด้วยเสมอ
ปัญญา คือ หางเสือเรือที่คอยกำกับทิศทางของศรัทธา
เพราะทุกๆศรัทธา ไม่มีเหตุผลดีๆที่ถูกต้องเสมอไป
ปัญญาไม่ทำงาน อุปาทานก็กำเริบ
อคติ ก็สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเรือน
ศรัทธา ก็กลายเป็นความงมงาย ลุ่มหลงมาก
หลงใหล...ไม่ไหลไปไหน วนเป็นไม้ม้วน