คำว่าเป็นที่พึ่งในบท "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" กับ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" มีความหมายในเชิงภาษาต่างกันอย่างไร

ในศาสนาพุทธนั้น ถือว่าตนเองเป็นที่พึ่งพาของตน นั่นคือ หากเราต้องการบรรลุสิ่งใด จพต้องมาจากการกรพทำ การปฏิบัติของตัวเราเองนั้น ดังพุทธสภาษิตที่ว่า "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ"  อย่างไรก็ตาม ในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เราได้รับเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง โดยกล่าวว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" แม้ว่าในภาษาไทย จะแปลว่าเป็นที่พึ่งเหมือนกัน แต่ในบาลีจะเห็นว่าเป็นคนละคำกัน ผมจึงอยากทราบว่า ในเชิงภาษาแล้ว มันมีความหมายเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
นาโถ แปลได้ว่า
1. อวสฺสย (อะ-วัด-สะ-ยะ) หมายถึง การสนับสนุน, การช่วยเหลือ, การป้องกัน, ที่พึ่ง
2. ปติฏฺฐา (ปะ-ติด-ถา) หมายถึง เครื่องค้ำจุน, ที่พึ่ง, การพำนักอยู่, พื้นฐาน, ความช่วยเหลือ, ผู้ช่วยเหลือ (ทางใจ), การสนับสนุนให้หลุดพ้น

สรณัง หรือ สรณ (สะ-ระ-นะ) แปลได้ว่า
1. ที่กำบัง, บ้าน
2. ที่พึ่ง, การป้องกัน

สองคำนี้ แปลได้คล้ายกัน ในส่วนที่สื่อถึงการเป็นที่พึ่ง เครื่องป้องกัน
แต่ นาโถ จะยังสื่อความหมายลึกลงไปถึง การค้ำจุน ช่วยเหลือ และสนับสนุนอีกด้วย


------------------------------------------------------------------

"พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" เป็นบทสวด ไตรสรณคมน์ ซึ่งแปลได้ว่า การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ไตรสรณคมน์ เป็นการน้อมกาย, วาจา, ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้กับตัว เพื่อแสดงว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกนึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไป แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม เท่าที่เคยศึกษามา เข้าใจว่าการรับพระรัตนตรัย คงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่สำคัญตามคติของชาวพุทธ เป็นความเห็นชอบ แต่ยังไม่สามารถช่วยให้บุคคลพ้นทุกข์หรือถึงความบริสุทธิ์ได้ หากคนผู้นั้นไม่ปฏิบัติด้วยตนเอง


อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน มีที่มาจากคำสอนในพระไตรปิฏก ซึ่งขอตัดทอนมาไว้บางส่วน ดังข้างล่างนี้

https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=21

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่า จะเป็นที่พึ่งได้เพราะบุคคลที่ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก

บาปที่ตนเองทำ เกิดในตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมทำลายคนมีปัญญาทราม เหมือนเพชรที่เกิดจากหินทำลายแก้วมณี ฉะนั้น

ตนทำบาปกรรมเอง ก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำบาปกรรมเอง ก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่