แบบบ้าน 3D ของผม
ใน
EP-1 และ
EP-2 ผมได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อที่ดิน ใครยังไม่ได้อ่าน ติดตามได้นะครับ สำหรับใน EP-3 นี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการออกแบบบ้านในฝันครับ ซึ่งเป็นวิธีที่ผมใช้นะครับ (อาจจะไม่ใช้วิธีที่ดีที่สุด แค่อยากมาแชร์ให้ฟังเฉยๆ)
เรื่องบ้านเป็นรสนิยมส่วนบุคคลนะครับ ไม่มีสถาปนิกคนไหนรู้ความต้องการของเจ้าของบ้าน 100% หรอกครับ ดังนั้นก่อนจะเล่าขั้นตอนต่างๆ สิ่งที่ผมอยากบอกไว้ก่อนเลยก็คือ
1. ยิ่งเราลงรายละเอียดและบอกความต้องการของเราให้กับสถาปนิกมากเท่าไร เราก็จะได้บ้านในแบบที่เราต้องการมากขึ้นเท่านั้นครับ (ถ้าเราไม่ทำแบบนั้น เราก็จะได้บ้านในแบบที่สถาปนิกชอบครับ ถ้าชอบตรงกันก็โชคดีไป ^__^)
2. โดยทั่วไป Floorplan ที่เปลี่ยนไป (ถ้าพื้นที่ใช้สอยไม่เปลี่ยนแปลง) ค่าก่อสร้างจะไม่กระทบมากนักครับ ดังนั้น เราควรใส่ใจกับ Floorplan มากๆเพื่อให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปในรูปแบบที่เราต้องการให้มากที่สุดครับ
1. การออกแบบ Floorplan สำหรับบ้าน
วิธีของผมจะเริ่มจาก Floorplan ก่อนเพื่อออกแบบ Function ภายในให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิต จากนั้นค่อยไปออกแบบบ้านภายนอกอีกที
Step 1) การหาแรงบันดาลใจ
ไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าเราทำเองตั้งแต่ต้นจะเป็นเรื่องยากมากครับ สำหรับเรื่องบ้าน ผมแนะนำให้เรา copy and development หรือเรียกสวยๆว่า “หาแรงบันดาลใจ” ครับ
- ค้นหาใน Online Platforms: Pinterest, Google, Facebook Page เกี่ยวกับบ้าน, Webboard ต่างๆเช่น Pantip (โดยส่วนตัวผมใช้ Pinterest, Pantip และ Youtube เป็นหลักครับ และที่ขาดไม่ได้คือการเข้าไปดูผลงานต่างๆของสถาปนิกที่เค้ามัก Post ตาม Social Media)
- การเข้าไปเยี่ยมชมบ้านตัวอย่างของโครงการต่างๆ, การพักตามบ้านเช่าที่เราชอบ
- การพูดคุยกับสถาปนิก, ผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อนๆ
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ ถ้าเราทำการออกแบบบ้าน เราก็ควรจะรู้เรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับบ้านด้วยนะครับ ตัวอย่างเช่นคำศัพท์เกี่ยวกับ Style ของบ้าน เช่น Minimalist, Nordic, Modern, และ Asian เป็นต้น การทำแบบนี้จะช่วยให้หาแบบบ้านที่ตรงใจมากขึ้น
✅🎗️ อย่าลืม 🎗️✅ สร้าง Idea Board ในกรณีของผม ผมจะใช้ PowerPoint ในการเก็บรวบรวมรูปต่างๆที่ผมรู้สึก “Spark Joy” ครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็นประโยชน์มากๆ เพราะการพูดคุยกับสถาปนิกโดยปราศจากภาพนั้นเป็นเรื่องยาก ภาพที่อยู่ในหัวระหว่างเรากับช่าง อาจไม่ตรงกัน ดังนั้นการมีรูปภาพประกอบจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
ผมชอบบ้านรูปตัว L ที่แบ่งห้องส่วนตัวออกจากโซนอื่นๆ และมีห้องนั่งเล่น โต๊ะทานข้าว และครัวใน ที่เป็นแนวยาวๆ บ้านจะได้ดูกว้างๆครับ เลยพยายามหา Reference ดังรูปด้านล่าง ^__^
หนึ่งใน Floorplan ที่เป็นแรงบันดาลใจของผม
Ref
Step 2) การเข้าใจข้อจำกัดและงบประมาณของคุณ
งบประมาณและข้อจำกัดด้านพื้นที่ใช้สอย เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจมากๆ เราต้องวางแผน จัดการเรื่องพวกนี้ให้ดี “Balance ระหว่างความต้องการกับข้อจำกัดที่เรามีให้ดีนะครับ” ในส่วนนี้ ผมมีคำแนะนำดังนี้
- หาราคาตลาด: อย่างที่ทราบกันว่าราคาก่อสร้างในแต่ละพื้นที่และในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่ผมก็แนะนำให้ลองหาข้อมูล อาจจะสอบถามช่างที่ท่านรู้จัก ซัก 2–3 เจ้า หรือถามเพื่อนๆที่เคยสร้างบ้าน ว่าเค้าสร้างตารางเมตรละเท่าไร (ในส่วนของผม ผมตีกลมๆไว้ที่ 20,000 บาทต่อตารางเมตรสำหรับภายในตัวบ้าน และ 15,000 บาทต่อตารางเมตรสำหรับส่วนนอกตัวบ้าน เช่นครัวนอก ห้องเก็บของครับ)
- หาขนาดบ้านโดยประมาณ: ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีงบประมาณ 3,000,000 บ้านในการสร้างบ้าน คุณก็จะสามารถสร้างบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 200 ตารางเมตร
ขอย้ำ!! ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขประมาณ แค่พอเป็น Idea ในช่วงเริ่มต้นนะครับ เพื่อให้รู้ว่า Floorplan โดยรวมเรานั้นควรมีขนาดประมาณเท่าไร
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ พื้นที่ก่อสร้างกับพื้นที่ใช้สอย สองพื้นที่นี้ไม่เท่ากันนะครับ ดังนั้นถ้าเราจะใช้พื้นที่ใช้สอยในการก่อสร้าง เราอาจจะต้องมีงบสำรองมากกว่าปกตินิดหน่อยนะครับ
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ คำว่าค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรนั้น ไม่รวมพวกเฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและงาน Built-in ต่างๆนะครับ อย่าลืมสำรองเงินเผื่อส่วนนี้ด้วยนะครับ
Step 3) ออกแบบ Floorplan
เมื่อเรามี Idea board แล้ว และเรารู้แล้วว่าบ้านเราจะมีขนาดประมาณไหน เราก็มาเริ่มวาด Floorplan กัน โดยอาศัย Concept ดังนี้
- รู้จักความชอบ และ Lifestyle ของตัวเอง: การวาง Floorplan ควรจะสอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองต้องการ อาทิ
--- สำหรับคนที่ชอบเก็บแต่ไม่ชอบทิ้ง ห้องเก็บของขนาดใหญ่เป็นสิ่งจำเป็น ^__^
--- สำหรับคนที่ชอบทำอาหาร ชอบสังสรรค์ อาจออกแบบ Floorplan โดยเน้นครัวขนาดใหญ่ มี counter bar และเดินเข้าหาห้องอาหารกับห้องรับแขกได้อย่างสะดวก
-รู้จักขนาดมาตราฐานของแต่ละห้อง: เพื่อให้ห้องไม่เล็กไป หรือใหญ่มากเกินไป เราสามารถเข้าไปหาข้อมูลใน Pinterest, , Google, หรือตามสถานที่จริงต่างๆเพื่อดูว่า ขนาดของห้องแต่ละห้องที่เราต้องการเป็นแบบไหน อาทิ
--- ห้องน้ำ: ผมชอบห้องน้ำแบบแนวยาว 1.7 เมตร * 3.0 เมตร แต่สำหรับบางคนอาจชอบห้องน้ำใหญ่ๆเป็นต้น
--- ห้องรับแขก: สำหรับผมคิดว่า 4.0 เมตร * 4.0 เมตรก็เพียงพอ แต่สำหรับบางคนอาจชอบห้องรับแขกใหญ่ๆเป็นต้น
- จัดวางตามความเหมาะสม: เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะมีห้องอะไรบ้างและแต่ละห้องจะมีขนาดประมาณเท่าไร เราก็สามารถใช้ Program ง่ายๆอย่าง PowerPoint สร้างห้องสี่เหลี่ยมขึ้นมา แล้วจัดวางตาม Lifestyle ที่เราออกแบบไว้ ห้องไหนควรติดกับห้องไหน ห้องไหนควรอยู่ทิศอะไร เข้าบ้านมาจะเจออะไร เป็นต้น
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ การจัดวาง Floorplan ที่ผมแนะนำให้ทำนั้น เป็นเพียงการทบทวนตัวเอง ว่าเราต้องการอยู่บ้านแบบไหน มีจังหวะชีวิตยังไง มีห้องทั้งหมดกี่ห้อง เพื่อเป็นประโยชน์ตอนที่เราคุยความต้องการกับสถาปนิกหรือนักออกแบบภายใน ซึ่งในที่สุด จะทำให้เราได้บ้านที่เราต้องการ ไม่มีการแก้ไขระหว่างก่อสร้าง ^__^
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ แม้ว่าเราจะทบทวน Floorplan ที่เราออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว เราก็ไม่ควรยึดติดกับมันมาก เพราะเราเป็นมือใหม่ด้านนี้ ผมมั่นใจว่าถ้าเราทบทวนความต้องการของตัวเองดีแล้ว และบอกว่าความการทั้งหมดของเราให้สถาปนิกหรือนักออกแบบภายใน สิ่งที่เขาออกแบบมา จะดีกว่าเราเสมอ (ก็มันอาชีพของเขาอะครับ ^__^)
✅🎗️ อย่าลืม 🎗️✅ การออกแบบ Floorplan ควรคำนึงถึงเรื่องทิศทางแดด ทิศทางลม หรือถ้าใครเชื่อเรื่องฮวงจุ้ย ก็ควรนำมาพิจารณาด้วยนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดการแก้ไขระหว่างก่อสร้าง
วิธีการวาง Floorplan ผ่าน PowerPoint
1. ปรับขนาดของ slide ให้ใหญ่กว่าพื้นที่เราเล็กน้อย (ไม่ต้องสนใจหน่วย)
2. ใส่สี่เหลี่ยมแทนห้องที่เรารู้ โดยกำหนดกว้างยาวตามขนาดที่เราต้องการ ในตัวอย่างด้านล่างคือห้องนอน 4*4 เมตร
3. นำห้องที่เราสร้างแล้วมาต่อๆกัน (แสดงโดยสีน้ำเงิน) สีส้มคือส่วนที่มาเติมให้บ้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม
4. ลองวาง Furniture ต่างๆ ตามที่เราต้องการ
2. การว่าจ้างสถาปนิก
Step 1) การหาและการว่าจ้างสถาปนิก
- หาสถาปนิกที่ถนัดในรูปแบบที่เราชอบ: เนื่องจากรูปแบบบ้านมีหลากหลายรูปแบบเช่น ถ้าเราจะจ้างสถาปนิกที่ถนัดบ้าน Nordic มาสร้างบ้านทรงไทย ก็คงไม่เหมาะ ^__^
- หาสถาปนิกที่ถูกจริตและคิดว่าจะติดต่อได้ยาวๆ: เนื่องจากงานออกแบบนั้น จะเชื่อมโยงไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง ดังนั้นเราควรเลือกสถาปนิกที่คุยกับเราแล้วถูกคอ อยู่ด้วยกันไม่หนีงานไปไหน (ผมเคยวางมัดจำกับสถาปนิกเจ้านึงแล้วถูกโกงด้วยครับ 🥲😭😢)
- ใบอนุญาตก่อสร้าง: ผมแนะนำว่าให้ระบุในสัญญาการออกแบบไปเลยว่า รวม “ใบอนุญาตก่อสร้าง” เนื่องจากใบอนูญาตก่อสร้างมีข้อกำหนดหลายแบบแต่ถ้าให้ง่ายแก่ฝั่งเรา (ฝั่งเจ้าของบ้าน) เราระบุไปเลยว่างานออกแบบบ้านรวมใบอนุญาตก่อสร้างเข้าไปด้วย ซึ่งสถาปนิกหรือผู้ออกแบบจะรู้ดีว่า แบบบ้านเราจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง จะต้องใช้วิศวกรและสถาปนิกเซ็นหรือไม่
- การคุมงาน: ต้องตกลงกับสถาปนิกด้วยนะครับ ว่าเราจะให้เค้ามาคุม หรือมาตรวจงานในช่วงก่อสร้างหรือไม่ จะให้มากี่ครั้ง หรือถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ก็ถามราคาไว้ก่อนก็ได้ครับ การคุยกันตั้งแต่ต้นจะทำให้การทำงานราบรื่นครับ ^__^
- จ่ายเงินเป็นงวดๆ: ผมแนะนำให้ทำสัญญาจ่ายเงินเป็นงวดๆ เช่นแบ่งเป็น Floorplan, แบบสถาปัตยกรรม, แบบ 3D, เอกสารที่เหลือ และ ใบอนุญาตก่อสร้างเสร็จจ่าย) การจ่ายเงินเป็นงวดๆ จะลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายได้ดีที่สุดครับ (ในมุมมองผมนะ)
- แบบบ้าน 3D: แบบบ้าน 3D นั้นจริงๆไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้าง เพราะช่างที่ก่อสร้างจะดูแบบสถาปัตยกรรมและแบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นหลัก แต่ผมแนะนำว่าถ้าพอมีกำลังทรัพย์ ก็ควรทำนะครับ เพราะแบบบ้าน 3D จะช่วยให้เห็นความสมจริงมากขึ้น คุยกับช่างง่ายขึ้น ทำให้ปรับแต่งระหว่างออกแบบได้ง่ายขึ้น ลดการแก้ไขงานในอนาคต
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ การจ้างสถาปนิกมีหลายรูปแบบมาก และมีหลายราคามาก Rate มีตั้งแต่ 1% — 5% หรือมากกว่าก็มี (อย่างบ้านผมมีตั้งแต่ 4 หมื่นไปจนถึง 3 แสนเลยครับ)
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ ในขั้นตอนนี้ ถ้ามีเพื่อนเป็นนักออกแบบภายใน หรือมีช่างที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ให้เอาเข้ามาด้วยก็ดีนะครับ วางรูปแบบตั้งแต่เริ่ม งานแก้ไขจะน้อยครับ ^__^
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ ถ้ามีงบจำกัด แบบบ้านสำเร็จก็สามารถใช้ได้นะครับ เนื่องจากเค้าสร้างมาขายสำหรับหลายๆคน ราคาเลยไม่สูงครับ
✅🎗️ อย่าลืม 🎗️✅ อย่าลืมขอเอกสาร/แบบต่างๆมาเก็บไว้ด้วยนะครับ (ถ้าได้เป็น File ยิ่งดี) มีประโยชน์ทั้งในกรณีที่ไม่ได้ให้ผู้ออกแบบมาเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และยังมีประโยชน์ตอนอยู่บ้านไปนานๆแล้วต้องการซ่อมบำรุง
หนึ่งในภาพที่เป็นแรงบันดาลใจของผม
Ref
Step 2) การทำงานกับสถาปนิก
- ติดตาม ผู้คุย ซักถาม: ถึงแม้จะจ่ายเงินเป็นงวดๆ ก็ไม่แน่เสมอไปว่าผู้รับเหมาจะรีบทำงานเรานะครับ ถ้าเรารีบ เราก็ต้องติดตาม ซักถามเป็นระยะๆ ให้งานเดินหน้าครับ (ในกรณีของผม ผมทำแบบบ้านตอนกำลังถมที่ดิน ผมเลยไม่รีบ ไม่ทวงถาม สรุปเวลาออกแบบบ้านของผมตั้งแต่เซ็นสัญญาถึงได้ใบอนุญาต ประมาณ 1 ปีเลยครับ นานมาก แต่ดินผมก็ผ่านหน้าฝนพอดี ^__^)
- ใส่ใจแบบก่อสร้าง: สิ่งนี้ขอย้ำว่า
สำคัญมาก!!! แบบก่อสร้างที่ได้รับใบอนูญาตก่อสร้าง จะใช้ในการยื่นกู้เงินกับธนาคาร และจะต้องสร้างตามแบบ (หรือมากกว่าแบบ) ดังนั้นต้องรีวิวดีๆ ใส่ใจกับพวกเสาเข็ม โครงสร้าง และรายละเอียดต่างๆในแบบ (ในกรณีของผม ผมคิดว่าคงดีถ้าให้สถาปนิกออกแบบโรงจอดรถ ครัวนอก ห้องเก็บของไว้เลย แล้วเดี๋ยวค่อยสร้าง แต่พอทั้งหมดมีอยู่ในแบบก่อสร้าง ผมก็ต้องยึดตามนั้น ถอยหลังกลับไม่ได้แล้วครับ 🥲😭😢)
ใน Episode ถัดไปจะพูดถึงการหาผู้รับเหมาสร้างบ้านครับ
ฝากติดตามผลงาน บทความอื่นๆของผมได้ตาม link ด้านล่างนะครับ ขอบคุณครับ ^__^
Medium:
https://medium.com/donato-story
Facebook:
https://web.facebook.com/DonatoStory
Crafting Dreams: แชร์ประสบการณ์ สร้างบ้านในฝัน EP-3
แบบบ้าน 3D ของผม
ใน EP-1 และ EP-2 ผมได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อที่ดิน ใครยังไม่ได้อ่าน ติดตามได้นะครับ สำหรับใน EP-3 นี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการออกแบบบ้านในฝันครับ ซึ่งเป็นวิธีที่ผมใช้นะครับ (อาจจะไม่ใช้วิธีที่ดีที่สุด แค่อยากมาแชร์ให้ฟังเฉยๆ)
เรื่องบ้านเป็นรสนิยมส่วนบุคคลนะครับ ไม่มีสถาปนิกคนไหนรู้ความต้องการของเจ้าของบ้าน 100% หรอกครับ ดังนั้นก่อนจะเล่าขั้นตอนต่างๆ สิ่งที่ผมอยากบอกไว้ก่อนเลยก็คือ
1. ยิ่งเราลงรายละเอียดและบอกความต้องการของเราให้กับสถาปนิกมากเท่าไร เราก็จะได้บ้านในแบบที่เราต้องการมากขึ้นเท่านั้นครับ (ถ้าเราไม่ทำแบบนั้น เราก็จะได้บ้านในแบบที่สถาปนิกชอบครับ ถ้าชอบตรงกันก็โชคดีไป ^__^)
2. โดยทั่วไป Floorplan ที่เปลี่ยนไป (ถ้าพื้นที่ใช้สอยไม่เปลี่ยนแปลง) ค่าก่อสร้างจะไม่กระทบมากนักครับ ดังนั้น เราควรใส่ใจกับ Floorplan มากๆเพื่อให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปในรูปแบบที่เราต้องการให้มากที่สุดครับ
1. การออกแบบ Floorplan สำหรับบ้าน
วิธีของผมจะเริ่มจาก Floorplan ก่อนเพื่อออกแบบ Function ภายในให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิต จากนั้นค่อยไปออกแบบบ้านภายนอกอีกที
Step 1) การหาแรงบันดาลใจ
ไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าเราทำเองตั้งแต่ต้นจะเป็นเรื่องยากมากครับ สำหรับเรื่องบ้าน ผมแนะนำให้เรา copy and development หรือเรียกสวยๆว่า “หาแรงบันดาลใจ” ครับ
- ค้นหาใน Online Platforms: Pinterest, Google, Facebook Page เกี่ยวกับบ้าน, Webboard ต่างๆเช่น Pantip (โดยส่วนตัวผมใช้ Pinterest, Pantip และ Youtube เป็นหลักครับ และที่ขาดไม่ได้คือการเข้าไปดูผลงานต่างๆของสถาปนิกที่เค้ามัก Post ตาม Social Media)
- การเข้าไปเยี่ยมชมบ้านตัวอย่างของโครงการต่างๆ, การพักตามบ้านเช่าที่เราชอบ
- การพูดคุยกับสถาปนิก, ผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อนๆ
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ ถ้าเราทำการออกแบบบ้าน เราก็ควรจะรู้เรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับบ้านด้วยนะครับ ตัวอย่างเช่นคำศัพท์เกี่ยวกับ Style ของบ้าน เช่น Minimalist, Nordic, Modern, และ Asian เป็นต้น การทำแบบนี้จะช่วยให้หาแบบบ้านที่ตรงใจมากขึ้น
✅🎗️ อย่าลืม 🎗️✅ สร้าง Idea Board ในกรณีของผม ผมจะใช้ PowerPoint ในการเก็บรวบรวมรูปต่างๆที่ผมรู้สึก “Spark Joy” ครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็นประโยชน์มากๆ เพราะการพูดคุยกับสถาปนิกโดยปราศจากภาพนั้นเป็นเรื่องยาก ภาพที่อยู่ในหัวระหว่างเรากับช่าง อาจไม่ตรงกัน ดังนั้นการมีรูปภาพประกอบจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
ผมชอบบ้านรูปตัว L ที่แบ่งห้องส่วนตัวออกจากโซนอื่นๆ และมีห้องนั่งเล่น โต๊ะทานข้าว และครัวใน ที่เป็นแนวยาวๆ บ้านจะได้ดูกว้างๆครับ เลยพยายามหา Reference ดังรูปด้านล่าง ^__^
หนึ่งใน Floorplan ที่เป็นแรงบันดาลใจของผม Ref
Step 2) การเข้าใจข้อจำกัดและงบประมาณของคุณ
งบประมาณและข้อจำกัดด้านพื้นที่ใช้สอย เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจมากๆ เราต้องวางแผน จัดการเรื่องพวกนี้ให้ดี “Balance ระหว่างความต้องการกับข้อจำกัดที่เรามีให้ดีนะครับ” ในส่วนนี้ ผมมีคำแนะนำดังนี้
- หาราคาตลาด: อย่างที่ทราบกันว่าราคาก่อสร้างในแต่ละพื้นที่และในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่ผมก็แนะนำให้ลองหาข้อมูล อาจจะสอบถามช่างที่ท่านรู้จัก ซัก 2–3 เจ้า หรือถามเพื่อนๆที่เคยสร้างบ้าน ว่าเค้าสร้างตารางเมตรละเท่าไร (ในส่วนของผม ผมตีกลมๆไว้ที่ 20,000 บาทต่อตารางเมตรสำหรับภายในตัวบ้าน และ 15,000 บาทต่อตารางเมตรสำหรับส่วนนอกตัวบ้าน เช่นครัวนอก ห้องเก็บของครับ)
- หาขนาดบ้านโดยประมาณ: ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีงบประมาณ 3,000,000 บ้านในการสร้างบ้าน คุณก็จะสามารถสร้างบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 200 ตารางเมตร ขอย้ำ!! ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขประมาณ แค่พอเป็น Idea ในช่วงเริ่มต้นนะครับ เพื่อให้รู้ว่า Floorplan โดยรวมเรานั้นควรมีขนาดประมาณเท่าไร
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ พื้นที่ก่อสร้างกับพื้นที่ใช้สอย สองพื้นที่นี้ไม่เท่ากันนะครับ ดังนั้นถ้าเราจะใช้พื้นที่ใช้สอยในการก่อสร้าง เราอาจจะต้องมีงบสำรองมากกว่าปกตินิดหน่อยนะครับ
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ คำว่าค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรนั้น ไม่รวมพวกเฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและงาน Built-in ต่างๆนะครับ อย่าลืมสำรองเงินเผื่อส่วนนี้ด้วยนะครับ
Step 3) ออกแบบ Floorplan
เมื่อเรามี Idea board แล้ว และเรารู้แล้วว่าบ้านเราจะมีขนาดประมาณไหน เราก็มาเริ่มวาด Floorplan กัน โดยอาศัย Concept ดังนี้
- รู้จักความชอบ และ Lifestyle ของตัวเอง: การวาง Floorplan ควรจะสอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองต้องการ อาทิ
--- สำหรับคนที่ชอบเก็บแต่ไม่ชอบทิ้ง ห้องเก็บของขนาดใหญ่เป็นสิ่งจำเป็น ^__^
--- สำหรับคนที่ชอบทำอาหาร ชอบสังสรรค์ อาจออกแบบ Floorplan โดยเน้นครัวขนาดใหญ่ มี counter bar และเดินเข้าหาห้องอาหารกับห้องรับแขกได้อย่างสะดวก
-รู้จักขนาดมาตราฐานของแต่ละห้อง: เพื่อให้ห้องไม่เล็กไป หรือใหญ่มากเกินไป เราสามารถเข้าไปหาข้อมูลใน Pinterest, , Google, หรือตามสถานที่จริงต่างๆเพื่อดูว่า ขนาดของห้องแต่ละห้องที่เราต้องการเป็นแบบไหน อาทิ
--- ห้องน้ำ: ผมชอบห้องน้ำแบบแนวยาว 1.7 เมตร * 3.0 เมตร แต่สำหรับบางคนอาจชอบห้องน้ำใหญ่ๆเป็นต้น
--- ห้องรับแขก: สำหรับผมคิดว่า 4.0 เมตร * 4.0 เมตรก็เพียงพอ แต่สำหรับบางคนอาจชอบห้องรับแขกใหญ่ๆเป็นต้น
- จัดวางตามความเหมาะสม: เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะมีห้องอะไรบ้างและแต่ละห้องจะมีขนาดประมาณเท่าไร เราก็สามารถใช้ Program ง่ายๆอย่าง PowerPoint สร้างห้องสี่เหลี่ยมขึ้นมา แล้วจัดวางตาม Lifestyle ที่เราออกแบบไว้ ห้องไหนควรติดกับห้องไหน ห้องไหนควรอยู่ทิศอะไร เข้าบ้านมาจะเจออะไร เป็นต้น
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ การจัดวาง Floorplan ที่ผมแนะนำให้ทำนั้น เป็นเพียงการทบทวนตัวเอง ว่าเราต้องการอยู่บ้านแบบไหน มีจังหวะชีวิตยังไง มีห้องทั้งหมดกี่ห้อง เพื่อเป็นประโยชน์ตอนที่เราคุยความต้องการกับสถาปนิกหรือนักออกแบบภายใน ซึ่งในที่สุด จะทำให้เราได้บ้านที่เราต้องการ ไม่มีการแก้ไขระหว่างก่อสร้าง ^__^
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ แม้ว่าเราจะทบทวน Floorplan ที่เราออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว เราก็ไม่ควรยึดติดกับมันมาก เพราะเราเป็นมือใหม่ด้านนี้ ผมมั่นใจว่าถ้าเราทบทวนความต้องการของตัวเองดีแล้ว และบอกว่าความการทั้งหมดของเราให้สถาปนิกหรือนักออกแบบภายใน สิ่งที่เขาออกแบบมา จะดีกว่าเราเสมอ (ก็มันอาชีพของเขาอะครับ ^__^)
✅🎗️ อย่าลืม 🎗️✅ การออกแบบ Floorplan ควรคำนึงถึงเรื่องทิศทางแดด ทิศทางลม หรือถ้าใครเชื่อเรื่องฮวงจุ้ย ก็ควรนำมาพิจารณาด้วยนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดการแก้ไขระหว่างก่อสร้าง
วิธีการวาง Floorplan ผ่าน PowerPoint
1. ปรับขนาดของ slide ให้ใหญ่กว่าพื้นที่เราเล็กน้อย (ไม่ต้องสนใจหน่วย)
2. ใส่สี่เหลี่ยมแทนห้องที่เรารู้ โดยกำหนดกว้างยาวตามขนาดที่เราต้องการ ในตัวอย่างด้านล่างคือห้องนอน 4*4 เมตร
3. นำห้องที่เราสร้างแล้วมาต่อๆกัน (แสดงโดยสีน้ำเงิน) สีส้มคือส่วนที่มาเติมให้บ้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม
4. ลองวาง Furniture ต่างๆ ตามที่เราต้องการ
2. การว่าจ้างสถาปนิก
Step 1) การหาและการว่าจ้างสถาปนิก
- หาสถาปนิกที่ถนัดในรูปแบบที่เราชอบ: เนื่องจากรูปแบบบ้านมีหลากหลายรูปแบบเช่น ถ้าเราจะจ้างสถาปนิกที่ถนัดบ้าน Nordic มาสร้างบ้านทรงไทย ก็คงไม่เหมาะ ^__^
- หาสถาปนิกที่ถูกจริตและคิดว่าจะติดต่อได้ยาวๆ: เนื่องจากงานออกแบบนั้น จะเชื่อมโยงไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง ดังนั้นเราควรเลือกสถาปนิกที่คุยกับเราแล้วถูกคอ อยู่ด้วยกันไม่หนีงานไปไหน (ผมเคยวางมัดจำกับสถาปนิกเจ้านึงแล้วถูกโกงด้วยครับ 🥲😭😢)
- ใบอนุญาตก่อสร้าง: ผมแนะนำว่าให้ระบุในสัญญาการออกแบบไปเลยว่า รวม “ใบอนุญาตก่อสร้าง” เนื่องจากใบอนูญาตก่อสร้างมีข้อกำหนดหลายแบบแต่ถ้าให้ง่ายแก่ฝั่งเรา (ฝั่งเจ้าของบ้าน) เราระบุไปเลยว่างานออกแบบบ้านรวมใบอนุญาตก่อสร้างเข้าไปด้วย ซึ่งสถาปนิกหรือผู้ออกแบบจะรู้ดีว่า แบบบ้านเราจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง จะต้องใช้วิศวกรและสถาปนิกเซ็นหรือไม่
- การคุมงาน: ต้องตกลงกับสถาปนิกด้วยนะครับ ว่าเราจะให้เค้ามาคุม หรือมาตรวจงานในช่วงก่อสร้างหรือไม่ จะให้มากี่ครั้ง หรือถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ก็ถามราคาไว้ก่อนก็ได้ครับ การคุยกันตั้งแต่ต้นจะทำให้การทำงานราบรื่นครับ ^__^
- จ่ายเงินเป็นงวดๆ: ผมแนะนำให้ทำสัญญาจ่ายเงินเป็นงวดๆ เช่นแบ่งเป็น Floorplan, แบบสถาปัตยกรรม, แบบ 3D, เอกสารที่เหลือ และ ใบอนุญาตก่อสร้างเสร็จจ่าย) การจ่ายเงินเป็นงวดๆ จะลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายได้ดีที่สุดครับ (ในมุมมองผมนะ)
- แบบบ้าน 3D: แบบบ้าน 3D นั้นจริงๆไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้าง เพราะช่างที่ก่อสร้างจะดูแบบสถาปัตยกรรมและแบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นหลัก แต่ผมแนะนำว่าถ้าพอมีกำลังทรัพย์ ก็ควรทำนะครับ เพราะแบบบ้าน 3D จะช่วยให้เห็นความสมจริงมากขึ้น คุยกับช่างง่ายขึ้น ทำให้ปรับแต่งระหว่างออกแบบได้ง่ายขึ้น ลดการแก้ไขงานในอนาคต
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ การจ้างสถาปนิกมีหลายรูปแบบมาก และมีหลายราคามาก Rate มีตั้งแต่ 1% — 5% หรือมากกว่าก็มี (อย่างบ้านผมมีตั้งแต่ 4 หมื่นไปจนถึง 3 แสนเลยครับ)
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ ในขั้นตอนนี้ ถ้ามีเพื่อนเป็นนักออกแบบภายใน หรือมีช่างที่ชื่นชอบอยู่แล้ว ให้เอาเข้ามาด้วยก็ดีนะครับ วางรูปแบบตั้งแต่เริ่ม งานแก้ไขจะน้อยครับ ^__^
✅🎗️ เรื่องที่ควรรู้ 🎗️✅ ถ้ามีงบจำกัด แบบบ้านสำเร็จก็สามารถใช้ได้นะครับ เนื่องจากเค้าสร้างมาขายสำหรับหลายๆคน ราคาเลยไม่สูงครับ
✅🎗️ อย่าลืม 🎗️✅ อย่าลืมขอเอกสาร/แบบต่างๆมาเก็บไว้ด้วยนะครับ (ถ้าได้เป็น File ยิ่งดี) มีประโยชน์ทั้งในกรณีที่ไม่ได้ให้ผู้ออกแบบมาเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และยังมีประโยชน์ตอนอยู่บ้านไปนานๆแล้วต้องการซ่อมบำรุง
หนึ่งในภาพที่เป็นแรงบันดาลใจของผม Ref
Step 2) การทำงานกับสถาปนิก
- ติดตาม ผู้คุย ซักถาม: ถึงแม้จะจ่ายเงินเป็นงวดๆ ก็ไม่แน่เสมอไปว่าผู้รับเหมาจะรีบทำงานเรานะครับ ถ้าเรารีบ เราก็ต้องติดตาม ซักถามเป็นระยะๆ ให้งานเดินหน้าครับ (ในกรณีของผม ผมทำแบบบ้านตอนกำลังถมที่ดิน ผมเลยไม่รีบ ไม่ทวงถาม สรุปเวลาออกแบบบ้านของผมตั้งแต่เซ็นสัญญาถึงได้ใบอนุญาต ประมาณ 1 ปีเลยครับ นานมาก แต่ดินผมก็ผ่านหน้าฝนพอดี ^__^)
- ใส่ใจแบบก่อสร้าง: สิ่งนี้ขอย้ำว่า สำคัญมาก!!! แบบก่อสร้างที่ได้รับใบอนูญาตก่อสร้าง จะใช้ในการยื่นกู้เงินกับธนาคาร และจะต้องสร้างตามแบบ (หรือมากกว่าแบบ) ดังนั้นต้องรีวิวดีๆ ใส่ใจกับพวกเสาเข็ม โครงสร้าง และรายละเอียดต่างๆในแบบ (ในกรณีของผม ผมคิดว่าคงดีถ้าให้สถาปนิกออกแบบโรงจอดรถ ครัวนอก ห้องเก็บของไว้เลย แล้วเดี๋ยวค่อยสร้าง แต่พอทั้งหมดมีอยู่ในแบบก่อสร้าง ผมก็ต้องยึดตามนั้น ถอยหลังกลับไม่ได้แล้วครับ 🥲😭😢)
ใน Episode ถัดไปจะพูดถึงการหาผู้รับเหมาสร้างบ้านครับ
ฝากติดตามผลงาน บทความอื่นๆของผมได้ตาม link ด้านล่างนะครับ ขอบคุณครับ ^__^
Medium: https://medium.com/donato-story
Facebook: https://web.facebook.com/DonatoStory