สร้างบ้านหลังแรกใน วัย 35 : EP 01 เอกสาร งบประมาณ และแบบบ้านที่ใช้ยื่นกู้

มาต่อกันจากเรื่องการสร้างบ้านของเราจากครั้งที่แล้ว

อันนี้https://ppantip.com/topic/42099278?sc=v9FkUtH

ที่เล่าค้างไว้ถึงหลังจากได้บริษัทรับก่อสร้าง ได้แบบในหัวแล้ว มาถึงการคุยเรื่องแบบแบบลงรายละเอียดและเอกสารต่างๆในการยื่นกู้และขออนุญาตกันบ้างนะครับ

EP01
มาต่อกันเลยจากครั้งที่แล้วหลังจากที่เราเคลียเรื่องความต้องการเบื้องต้นคนในบ้านได้แล้ว และเจอผู้รับเหมาที่ใช่แล้ว ถัดมาก็เป็นเรื่องเงินที่จะต้องใช้ในการสร้างบ้าน อันนี้อยู่ที่ความสะดวกของแต่ละบ้านเบยครับบางคนอาจใช้เงินเก็บหรือเงินที่มีอยู่ แต่สำหรับเราวางแผนที่จะกู้ครับ

     ซึ่งการขอกู้ธนาคารเดื่อสร้างบ้านตอนนี้มีอยู่หลายธนาคารดอกเบี้ยตามโปรโมชั่นที่เขาจัดแต่ละช่วงส่วนมาก หรือบางคนที่ทำงานก็จะมีสวัสดิการของแต่ละบริษัทในการกู้ ส่วมากก็จะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าธนาคาร แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเช่น อายุงาน หรือตามที่แต่ละยริษัทกำหนดนะครับ ถึงตรงส่วนนี้เราก้อใช่ว่าจะไม่มีอะไรให้ปวดหัว5555 เพราะว่าแพลนการสร้างบ้านเราคือคิดวางแผนนานมาก กว่าจะเริ่ม พอเริ่มตัดสินใจ เราก็ตัดสินใจเปลี่ยนงานก่อนยื่นกู้บ้าน เป็นบทเรียนเลยนะสำหรับใครที่แพลนจะกู้หรือสร้างบ้าน อยู่นิ่งๆอย่าเพิ่งทำอะไรที่กระทบการเงินหรือทำให้ความมั่นคงของรายได้คุณดูไม่แน่นนอ เพราะธนาคารเขาพิจารณาจากการมีรายได้ที่มั่นคงของคุณเป็นหลักด้วย  



     สำหรับเราช่วงที่คุยกับช่างก็เหลืออีกประมาณสองเดือนถึงจะผ่านผโปร เราเลยเข้าไปปรึกษากับธนาคารก่อน เพื่อคุยรายละเอียดและประเมินความสามารถในการกู้ เพื่อดูว่าเราสามารถกู้ได้ขนาดไหน แนะนำว่าให้เราเข้าไปคุยและปรึกษาพูดคุยก่อนที่นะตัดสินใจกู้นะครับ เพื่อให้มั่นใจเรื่องดอกเบี้ย ยอดเงินกู้ และความเป็นไปได้ที่ธนาคารจะอนุมัติ โดยธนาคารจะพิจารณาอนุมัติกูจาก อายุงาน รายได้ต่อเดือน ภาระค่าใช้จ่าย ต่อเดือน เช่น บัตรเครดิต ผ่อนรถ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราด้วย

สำหรับเราคนที่เพิ่งเปลี่ยนงานและต้องการกู้สร้างบ้านสิ่งที่เราต้องทำคือ
รอผ่านช่วงทดลองงาน ก่อนหรือจะให้ดีคือได้ใบรับรองการผ่านงาน
ต้องขอใบรับรองอายุงาน ที่มีรายได้ล่าสุด จากบริษัทเก่า เพื่อยื่นกู้ เพื่อให้เห็นว่าเรามีรายได้ที่ต่อเนื่อง แอบบอกนิดนึงว่าบริษัทเองก็มีผลเล็กน้อยหากบริษัทมีความมั่นคงความน่าเชื่อถือในการกู้ก็มีผลเช่นกัน
ใบรับรองรายได้ รับรองการทำงาน จากที่ใหม่ เพื่อยื่นกู้
อีกหนึ่งประเด็นคือ เรื่องพื้นที่ก่อสร้างและถ้าชื่อในโฉนดที่ดินเปนชื่อเดียวกับคนกู้ก็สบายหายห่วง แต่สำหรับเราชื่อเป็นของแม่ ซึ่งไม่สามารถยื่นกู้ได้  สิ่งที่เราต้องทำคือ ต้องไปจัดการกับเรื่องนี้ ให้เรียบร้อยก่อนยื่นกู้ โดนมี 2 ทางให้เลือกคือ สามารถโอนมาเป็นชื่อผู้ยื่นกู้ได้เลย หรือ ไม่ก็ เพิ่มชื่อเจ้าของร่วม ในโฉนดที่ดิน ก็สามารถทำได้ โดยเราเลือกแบบที่ 2 คือการเพิ่มชื่อร่วม ไปที่ที่ดิน ตามเขตพื้นที่ได้เลย เราใช้เวลาระห่างรอผ่านทดลองงาน 2เดือนนี้แหละ ในการจัดการเรื่องเอกสาร พวกนี้ บวกกับ เตรียมเคลียเรื่องแบบบ้าน เพราะเราจะรู้ยอดวงเงินคร่าวๆแล้วที่เราสามารถกู้ได้



กลับมาที่เรื่องแบบบ้านของเรา หลังจากที่ได้หารือกับทางบ้านถือแบบที่ต้องการได้แล้วและรู้งบประมาณในการก่อสร้างคร่าวๆแล้ว ก้อเอาแบบนี่แหละมาคุยกับวิศวะกรกับคนออกแบบเพื่อปรับให้เขากับพื้นที่ ในการก่อสร้างและลงผังพื้นที่ใช้สอย โดยตรงจุดนี้เราใช้เวลาในการดูแบบแก้แบบ 2-3 ครั้ง เนื่องจากว่าช่างยังไม่เคยเห็นพื้นที่ก่อสร้างจริง ซึ่งพื้นที่จริงมีข้อจำกัดคือมีจุดบ่อน้ำบาดาลด้านข้างบ้าน และพื้นที่ด้านหน้าที่ติดศาลพระภูมิ ทำให้แบบที่ต้องการต้องวางแปลนและพื้นที่ก่อสร้างให้พอดี คำแนะนำสำหรับใครที่กำลังจะสร้างบ้านแล้วพื้นที่มีข้อจำกัดเราแนะนำเลยว่าควรให้วิศวกร และคนออกแบบมาเห็นสถานที่จริงก่อนเขาจะได้รู้ข้อจำกัดสภาพแวดล้อมโดยรอบ  ทิศต่างๆเพื่อออกแบบ และก่อสร้าง

    โดยตรงส่วนนี้มีผลกับงบประมาณในการสร้างของเรามากๆ เพราะพื้นที่ก่อสร้างรายละเอียดต่างๆจะต้องถูกนำมาคิดเป็นราคาก่อสร้างตรงส่วนนี้อยากให้ทุกคนใช้เวลากับมันเยอะๆ โดยเราแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนใช่งานหลักที่ต้องมี และส่วนเสริม
-  ส่วนใช้งานหลักคือ ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ซักล้าง
-  ส่วนเสริมคือ เฉียงข้างบ้าน ห้องเก็บของ โรงจอดรถที่เพิ่มเข้ามา
วัสดุต่างๆคุยให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรเช่นหลังคา เป็นเมทัลชีส หรือ กระเบื้องก็ส่งผลต่อราคามากๆ ผนังอิฐมอญ อิฐมวลเบา กระเบื้องต่างๆเป็นต้น   และเมื่อช่างได้รายละเอียดจากเราไปแล้ว และคุยเรื่องแบบจนลงตัว

     อีกสิ่งสำคัญคือ ราคาก่อสร้างจริงว่าเท่าไร โดยเขาจะประเมินจากแบบและวัสดุที่ใช้ต่างๆ  ราคานี้จะมีการบวกลบ มากน้อยขึ้นอยู่กับราคาวัสดุ บางอยู่งที่ต้องซื้อ ณ เวลาก่อสร้างเช่น ราคากระเบื้อง พอถึงเวลาก่อสร้างจริงเราต้องมาเดินเลือกกระเบื้องซึ่งสิ่งที่เราถูกใจหรือชอบอาจมีราคาที่ไม่ตรงกับในแบบระบุ โดยช่างจะตีราคาจากราคาวัสดุในตลาด ณ ตอนนั้น ของเราบวกลบนิดหน่อยไม่มากตอนเลือกจริง อยู่ที่เราพยายามคุมงบมากน้อยแค่ไหน  และคุณอาจต้องคิดเพื่อว่าหากมีการบวกลบราคาก่อนสร้างจากวัสดุหรือค่าใช้จ่าย จิปาถะที่เกิดขึ้นคุณจะใช้เงินส่วนตัวจ่ายหรือต้องการ ใช้ในวงเงินกู้ การตกแต่งต่างๆต้องการรวมในยอดกู้ไหม คุณสามารถคุยกับบริษัทก่อสร้างได้ต้องการให้บวกวงเงินสำหรับตกแต่งหรือสำรองเข้าไปด้วยในเอกสารกู้  โดยบริษัทจะทำเอกสารสัญญาให้คุณ 2 ชุด ชุดแรกใช้สำหรับยื่นกู้ธนาคาร จะเป็นวงเงิน ยอดก่อสร้างจริง + ยอดตกแต่ง  ชุดที่สอง ยอดก่อสร้างจริง ซึ่งเราจะใช้เอดสารชุดนี้กับบริษทก่อสร้างในการรับเงินค่าจ้าง


หลังจากเรื่องงบประมาณเอกสารเรียบร้อย เราจะได้เอกสาร จากบริษัทก่อสร้าง 2 ฉบับคือเอกสารประกอบการยื่นกู้ธนาคาร และ เอกสารยื่นขอปลูกสร้างรื้อถอนที่เราต้องยื่นเรื่องก่อนไปยื่นเรื่องกู้ เราสามารถไปทำเอกสารส่วนนี้รอไว้ได้เลยเพราะจะใช้ได้ 365 วันในการก่อสร้าง สามารถไปทำเรื่องนี้ได้ที่เสำนักงานเทศบาลหรือเจตที่ดูแลได้เลย



เอาละมาถึงตอนนี้เท่ากับเหลือรอเวลาในการยื่นกู้ แต่อีกสิ่งที่ค้องจัดการคือ การรื้อถอน เพราะเรารื้อบ้านหลังเท่าออกและสร้างหลังใหม่ฉะนั้น ระหว่างนี้ ก็ต้องมองหาคนที่รับรื้อถอนไปด้วยพรางๆเพราะบริษัทที่รับก่อสร้างเขาไม่ได้ทำในส่วนรื้อถอนให้  บ้านของเรา เป็นบ้านครึ่งบนไม้ ด้านล่างปูน เราจึงตัดสินใจหาคนรับซื้อไม้เก่า เพราะถ้าให้รื้อเก็บก็กลัวการดูแลรักษาถ้าปลวกขึ้นก็เสียดายเลยคิดว่าขายเป็นเงินไว้อีกส่วนสำรองในการสร้างหลังใหม่ดีกว่า เราพูดคุยกับหลายเจ้าพอสมควร กว่าจะได้ที่ราคาถูกใจ ส่วนไหนที่เราอยากเก็บไว้ก็สามารถขอต่อรองกับเขาได้ โดยเขาจะมารื้อออกให้ทั้งหมดเท่ากับเราก็ประหยัดค่ารื้อถอนส่วนบนออกไปด้วย

มาถึงตรงนี้แล้วเดี๋ยวครั้งหน้าเราจะมาเล่ารายละเอียดเรื่องการรื้อถอน การเตรียมพื้นที่ก่อนก่อสร้าง ไปถึงการยื่นกู้ให้ฟังน่ะ อย่างที่บอกเราเชื่อว่าประสบการณ์ครั้งนี้ของเรา คงพอมีประโยชน์กับใครสักคนที่กำลังจะสร้างบ้านแบบเราบ้างนะ ☺️🙏❣️
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่