สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ตามที่ผมเตยไดสัมผัสคดีแนวนี้นะครับ ยังไงก็ต้องมีทนายความครับ เพราะว่ามีการฟ้องร้องต่อศาลแล้ว
ถ้าขึ้นศาลโดยไม่มีทนายความ โอกาสแพ้ 99.99% ครับ ฝ่ายที่แพ้ความเป็นคนจ่ายค่าทนายครับ แต่เมื่อคดียังไม่จบก็ต้องจ่ายค่าทนายก่อนครับ
ทนายจะรู้ทางกันครับ แก้ต่างให้ได้
1. เมื่อหมายศาลมายังไงก็ต้องไปศาลตามหมายครับ ถ้าไม่ไปศาล ๆ ก็จะพิจารณาตามหลักฐานที่โจทก์ยื่นฟ้องล่ะครับ และพิพากษาตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึงศาลน่าจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ต่อโจทก์ ตามจำนวนเงินต้น บวกดอกเบี้ย บวกค่าทนายของโจทก์ บวกค่าธรรมเนียมศาล ฯลฯ ตามที่กฎหมายกำหนด
2. ซึ่งถ้าไม่มีการชำระตามคำพิพากษาของศาล ขั้นตอนต่อไป โจทก์ก็จะยื่นฟ้องศาลอีกรอบ ยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาด ที่กรมบังคับคดีทำนั่นแหละครับ
3. ผมเคยได้สัมผัสมาคือ เกษตรกรรายหนึ่งทำนาในที่นาของตนเอง หมายศาลมาปิดที่บ้าน ก็บอกว่าไม่มีหนี้ ไม่เคยกู้ เลยไม่ไปศาล ต่อมาหลายปีหมายศาลมาอีก เป็นหมายบังคับคดียึดที่นา ก็ไม่ไปอีก จนสำนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ก็ไม่ไปอีก จนโอนทรัพย์ให้ผู้ซื้อ ๆ เข้าทำนา จึงได้เดือดร้อน วิ่งหาหน่วยงานราชการให้ช่วย ซึ่งก็ช่วยอะไรไม่ได้เพราะ จะไปทำอะไรที่ขัดคำสั่งศาลไม่ได้
ถามไปถามมาได้ความว่า สมัยหนึ่ง หลายปีที่ผ่านมา เกิดกลุ่มเกษตรกร สมัชชาคนจน จิปาถะที่รวมกลุ่มกันขึ้นมาต่อรองกับรัฐบาล การเมือง มีอำนาจต่อรอง เป็นฐานการเมือง เป็นหัวคะแนน ทำนองนี้ กลุ่มนี้ไปกู้เงินธนาคารรัฐที่การเมืองออกนโยบายให้ธนาคารรองรับนโยบาย การกู้เงินในครั้งนั้นใช้บุคคลค้ำประกัน มีการเรียกประชุมเกษตรกรในกลุ่ม เกษตรกรท่านนี้ก็ด้วยเป็นคนหัวก้าวหน้าในระดับผู้นำกลุ่ม การประชุมก็ต้องลงชื่อเข้าประชุมที่ศาลาวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการลงชื่อหลายใบ หนึ่งในนั้น คือ หนังสือค้ำประกัน ซึ่งไม่ได้อ่านเลย ก็ เซ็นต์ๆๆๆๆ แล้วเข้าประชุมอย่างเมามัน
เป็นหนี้ที่เกิดจากการค้ำประกันครับ ที่รู้ก็เพราะว่า วันที่ค้ำประกันกับวันที่ไปลงชื่อเข้าประชุมเป็นวันเดียวกัน จึงถึงบางอ้อ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ที่นาโดนขายทอดตลาดไปแล้ว ที่สุดก็ต้องเช่าที่นาแปลงนี้ทำนา หาอยู่หากิน ต่อไป
ลองพิจารณาดูครับ คงพอจะได้แนวทาง
หน่วยงานราชการที่อยู่ใกล้ที่รับเรื่องร้องทุกข์ทุกเรื่อง คือ ศูนย์ดำรงธรรม ครับ ก่อนที่ผมจะลาออกจากราชการก็ได้เข้าไปทำงานในส่วนนี้อยู่ ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ถ้าศุนย์นี้ยังมีอยู่ ลองเข้าไปร้องทุกข์ก็ได้ครับ
ถ้าขึ้นศาลโดยไม่มีทนายความ โอกาสแพ้ 99.99% ครับ ฝ่ายที่แพ้ความเป็นคนจ่ายค่าทนายครับ แต่เมื่อคดียังไม่จบก็ต้องจ่ายค่าทนายก่อนครับ
ทนายจะรู้ทางกันครับ แก้ต่างให้ได้
1. เมื่อหมายศาลมายังไงก็ต้องไปศาลตามหมายครับ ถ้าไม่ไปศาล ๆ ก็จะพิจารณาตามหลักฐานที่โจทก์ยื่นฟ้องล่ะครับ และพิพากษาตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึงศาลน่าจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ต่อโจทก์ ตามจำนวนเงินต้น บวกดอกเบี้ย บวกค่าทนายของโจทก์ บวกค่าธรรมเนียมศาล ฯลฯ ตามที่กฎหมายกำหนด
2. ซึ่งถ้าไม่มีการชำระตามคำพิพากษาของศาล ขั้นตอนต่อไป โจทก์ก็จะยื่นฟ้องศาลอีกรอบ ยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาด ที่กรมบังคับคดีทำนั่นแหละครับ
3. ผมเคยได้สัมผัสมาคือ เกษตรกรรายหนึ่งทำนาในที่นาของตนเอง หมายศาลมาปิดที่บ้าน ก็บอกว่าไม่มีหนี้ ไม่เคยกู้ เลยไม่ไปศาล ต่อมาหลายปีหมายศาลมาอีก เป็นหมายบังคับคดียึดที่นา ก็ไม่ไปอีก จนสำนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ก็ไม่ไปอีก จนโอนทรัพย์ให้ผู้ซื้อ ๆ เข้าทำนา จึงได้เดือดร้อน วิ่งหาหน่วยงานราชการให้ช่วย ซึ่งก็ช่วยอะไรไม่ได้เพราะ จะไปทำอะไรที่ขัดคำสั่งศาลไม่ได้
ถามไปถามมาได้ความว่า สมัยหนึ่ง หลายปีที่ผ่านมา เกิดกลุ่มเกษตรกร สมัชชาคนจน จิปาถะที่รวมกลุ่มกันขึ้นมาต่อรองกับรัฐบาล การเมือง มีอำนาจต่อรอง เป็นฐานการเมือง เป็นหัวคะแนน ทำนองนี้ กลุ่มนี้ไปกู้เงินธนาคารรัฐที่การเมืองออกนโยบายให้ธนาคารรองรับนโยบาย การกู้เงินในครั้งนั้นใช้บุคคลค้ำประกัน มีการเรียกประชุมเกษตรกรในกลุ่ม เกษตรกรท่านนี้ก็ด้วยเป็นคนหัวก้าวหน้าในระดับผู้นำกลุ่ม การประชุมก็ต้องลงชื่อเข้าประชุมที่ศาลาวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการลงชื่อหลายใบ หนึ่งในนั้น คือ หนังสือค้ำประกัน ซึ่งไม่ได้อ่านเลย ก็ เซ็นต์ๆๆๆๆ แล้วเข้าประชุมอย่างเมามัน
เป็นหนี้ที่เกิดจากการค้ำประกันครับ ที่รู้ก็เพราะว่า วันที่ค้ำประกันกับวันที่ไปลงชื่อเข้าประชุมเป็นวันเดียวกัน จึงถึงบางอ้อ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ที่นาโดนขายทอดตลาดไปแล้ว ที่สุดก็ต้องเช่าที่นาแปลงนี้ทำนา หาอยู่หากิน ต่อไป
ลองพิจารณาดูครับ คงพอจะได้แนวทาง
หน่วยงานราชการที่อยู่ใกล้ที่รับเรื่องร้องทุกข์ทุกเรื่อง คือ ศูนย์ดำรงธรรม ครับ ก่อนที่ผมจะลาออกจากราชการก็ได้เข้าไปทำงานในส่วนนี้อยู่ ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ถ้าศุนย์นี้ยังมีอยู่ ลองเข้าไปร้องทุกข์ก็ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
แฟนพี่สาวถูกฟ้องหนี้บัตรเครดิตที่ไม่เคยกู้ ควรติดต่อหน่วยงานไหนครับ