กรมรางก็มีโครงการทำรถไฟฟ้าต่ออีกมากมายหลายเส้นทางในกรุงเทพ เป็นโครงการดีๆเพื่อมาแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพโดยเฉพาะ แต่กว่าจะได้รถไฟฟ้าครบตามเป้าหมายจริงๆ ก็คงต้องรอไปอีกถึงปี 2593 เผลอๆถ้าบางเส้นทางล่าช้าก็ต้องรอนานกว่านั้นอีก เพราะอย่างที่ผ่านมาบางโครงการเริ่มช้า บางโครงการก็มีปัญหาอย่างสายสีส้ม อย่างนี้ก็ไม่สามารถการันตีได้หรอกว่า จะเสร็จทุกโครงการในปี 93 อย่างที่ตั้งเป้ามั้ย รออีกราว 30 ปีนี่ เรียกว่า หลายคนตายไปแล้ว แล้วมาเกิดใหม่ในกรุงเทพ ก็ยังต้องประสบปัญหารถติดเหมือนชาติที่แล้ว
'กรมราง' ร่างโรดแมปรถไฟฟ้า เขย่า 29 โครงข่ายใยแมงมุม
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1075722
แต่การมีรถไฟฟ้าก็ถือเป็นเรื่องดี ช่วยแก้ช่วยบรรเทาปัญหารถติดได้จริง ลองจินตนาการว่า ถ้าวันนี้ กรุงเทพยังไม่มีรถไฟฟ้า ทั้งรถเมล์และรถส่วนตัวจะเพิ่มเต็มท้องถนนขนาดไหน รถเมล์ก็ต้องเพิ่มรอบรถมารับผู้โดยสาร รถเมล์บนถนนก็เยอะขึ้น รถส่วนตัวที่อยู่อาคารจอดแล้วจรทุกคัน เอาลงมาวิ่งจอดบนถนน ถนนจะแน่นด้วยรถอีกมากมั้ย จะต้องทนรถติดอีกขนาดไหน
ที่บอกว่า ตรงไหนมีรถไฟฟ้า ตรงนั้นยิ่งรถติด ก็อาจเป็นความจริงในส่วนหนึ่ง ก็เพราะว่า มีกลุ่มธุรกิจใหญ่ไปซื้อที่ดินทำตึกรามบ้านช่องแถวแถวใกล้รถไฟฟ้า แต่มันก็จะกระจุกตัวมากในช่วงที่รถไฟฟ้ายังไม่มากสายเท่านั้น กระจุกตัวเฉพาะบางพื้นที่ที่มีรถไฟฟ้า
ถ้ากรุงเทพมีรถไฟฟ้าไปทั่วทุกพื้นที่ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปซื้อพื้นที่ใกล้รถไฟฟ้าที่ยังมีน้อยสายเหมือนสมัยก่อน เช่น สมัยแรกก็จะมีอสังหาริมทรัพย์ไปกระจุกตัวตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนนุช-จตุจักร สายสีน้ำเงินบางซื่อ-หัวลำโพง พอทุกวันนี้ มีรถไฟฟ้าในหลากหลายพื้นที่ สายสีแดง สีเหลือง สีม่วง เป็นต้น ตึกรามบ้านช่อง,พื้นที่การพาณิชย์ต่างๆก็กระจายตัวออกไปได้ทั่วทุกพื้นที่ที่มีรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ต่อไปก็ไม่ต้องมีหมู่บ้าน,คอนโดพักอาศัยมารวมมากระจุกตัวกับสายสีเขียว สายสีน้ำเงินเหมือนในสมัยแรกๆ การใช้รถใช้ถนนก็กระจายไปในพื้นที่ต่างๆกรุงเทพ ไม่มากระจุกตัวกับพื้นที่ที่มีรถไฟฟ้าน้อยสายเหมือน 10-20 ปีก่อน การจราจรก็คล่องตัวในหลายพื้นที่มากขึ้น
การแก้ปัญหาการจราจรนั้น ต้องพิจารณาถึงอัตราการเกิดของประชากรด้วย มีประชากรเพิ่มขึ้น ผู้ซื้อรถส่วนตัวเพิ่มขึ้น ก็ต้องแก้ปัญหาจราจรเพิ่มขึ้น และต้องแก้ให้ทันกับปัญหา แก้ไปเรื่อยแบบไม่สิ้นสุด
รถบนท้องถนนเพิ่มขึ้น แต่เลนที่ก็รถวิ่งก็มีอยู่เท่าเดิม ถึงต้องมีทางด่วน ถึงต้องมีรถไฟฟ้าในกรุงเทพ มีสะพานข้ามสี่แยก และมีอุโมงค์ลอดถนนต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เท่าที่ดูแล้ว การแก้ปัญหาก็ยังไม่ทันกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จำนวนคนที่ใช้รถยนต์รถส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น นี่ก็จะมีทางด่วน 2 ชั้นอีก สงสัยว่า ถ้าอีกซัก 100-200 ปี กรุงเทพจะมีทางด่วน 3 ชั้น รถไฟฟ้า 2 ชั้นมั้ย
ทางออกที่ดีคือ กระจายความเจริญออกสู่ต่างจังหวัดให้เป็นกิจลักษณะ เช่น กระจายไปอยู่โคราช ก็ต้องสร้างรถไฟฟ้าให้โคราชด้วย พอการจราจรในโคราชเริ่มหนาแน่นด้วยรถยนต์ ก็ต้องไปสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆให้โคราช และพยายามกระจายความเจริญออกไปนอกอำเภอเมืองโคราชด้วย
หรือจะกระจายความเจริญไปสู่จังหวัดขอนแก่น ก็ต้องไปสร้างรถไฟฟ้าให้ขอนแก่นเพิ่มเติม และยังต้องกระจายความเจริญออกไปรอบนอกอำเภอเมืองขอนแก่นให้ดีด้วย
เล็งกระจายความเจริญและรถไฟฟ้าหลากสายไปยังเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศ เช่น โคราช ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก สงขลา สุราษฎร์ธานี ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ เป็นต้น ทำอย่างนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่ามาสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มในกรุงเทพเพิ่มอีกมากมาย
แต่ยังไงรถไฟฟ้าในกรุงเทพก็สร้างเพิ่มนั่นแหละ แต่ไม่ได้เร่งสร้างเพิ่มมากมายเหมือนอย่างที่ผ่านมา อาจจะสร้างเพิ่มซัก 2-3 สายในระยะเวลา 10 ปี เอางบประมาณจำนวนมากไปสร้างรถไฟฟ้าให้แถวโคราช ขอนแก่น เชียงใหม่ ยังจะดีกว่า เร่งสร้างรถไฟทางคู่ให้เสร็จแล้ว แล้วกระจายความเจริญไปตามสถานีรถไฟเล็กๆด้วย ก็ยังจะดีกว่า
และสิ่งที่ต้องทำอีกอย่างหนึ่งสำหรับรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ทำยังไงให้ค่าตั๋วโดยสารถูกลง ทำยังไงให้รถไฟฟ้าเป็นขนส่งมวลชนหลักจริงๆ
ดูอย่างสายสีเหลือง สร้างมาแล้ว ค่าตั๋วแพง คนก็ไม่ได้อยากจะขึ้นเยอะ ยังไม่ได้ช่วยแก้ปัญหารถติดเท่าที่ควร
ถ้าสร้างรถไฟฟ้าหลากหลายสายในกรุงเทพ แล้วยังมีค่าตั๋วแพงเหมือนอย่างที่ผ่านมา รถไฟฟ้าก็ยังไม่ใช่ทางเลือกสำคัญ ยังไม่สามารถแก้ปัญหารถติดได้เท่าไร รัฐบาลควรแก้เรื่องค่าตั๋วแพงให้ได้ด้วย ไม่งั้นต่อให้สร้างรถไฟฟ้ามากเท่าไร คนก็เลือกใช้รถส่วนตัว และนั่งรถเมล์เหมือนเดิม เว้นแต่บางเวลาที่เร่งด่วนจริงๆ รถติดมาก ก็อาจจะมีคนกลุ่มหนึ่งเลือกขึ้นมานั่งรถไฟฟ้า เผลอๆนานไป ประชากรคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น รถส่วนตัวก็จะเพิ่มขึ้น คนนั่งรถเมล์ก็จะเพิ่มขึ้นอีก อนาคตเราก็จะเห็นรถติดบนท้องถนนที่ไม่ต่างจาก 10 ปีที่ผ่านมา
และน่าจะสนับสนุนให้คนปั่นจักรยานบนท้องถนนให้มากกว่านี้ เดี๋ยวนี้มีจักรยานไฟฟ้า ก็น้องๆมอไซด์นี่เอง ก็น่าจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ระยะ 4-5 สถานี จักรยานไฟฟ้าไป-กลับได้สบาย 2-3 สถานี จักรยานธรรมดาปั่นไป-กลับสบายๆ ทำให้เกิดการแข่งขันในทางเลือกการเดินทางเยอะๆ เพื่อให้รถไฟฟ้าปรับปรุงการให้บริการ ค่าตั๋วโดยสารจะได้ถูกลง
สำหรับตอนนี้ในกรุงเทพ ก็ควรสร้างสายสีน้ำตาลให้เสร็จ และทำส่วนต่อขยายสายสีแดง สีเหลือง สีเขียวให้เสร็จ วางแผนให้ค่าตั๋วถูกลง ทำยังไงให้คนขึ้นเยอะ ให้คนนั่งรถเมล์น้อยลง ใช้รถส่วนตัวน้อยลง ยังจะดีกว่าสร้างมากมายหลายสาย แล้วคนอยากใช้น้อยเพราะค่าโดยสารแพง สุดท้ายก็สู้อัตราการเพิ่มของคนที่ใช้รถส่วนตัวและนั่งรถเมล์ไม่ได้อยู่ดี
สร้างรถไฟฟัาเพิ่ม 29 เส้นทาง สู้กระจายความเจริญไปต่างจังหวัดและเน้นให้ค่าตั๋วรถไฟฟ้าถูกลงจะดีกว่า
'กรมราง' ร่างโรดแมปรถไฟฟ้า เขย่า 29 โครงข่ายใยแมงมุม
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1075722
แต่การมีรถไฟฟ้าก็ถือเป็นเรื่องดี ช่วยแก้ช่วยบรรเทาปัญหารถติดได้จริง ลองจินตนาการว่า ถ้าวันนี้ กรุงเทพยังไม่มีรถไฟฟ้า ทั้งรถเมล์และรถส่วนตัวจะเพิ่มเต็มท้องถนนขนาดไหน รถเมล์ก็ต้องเพิ่มรอบรถมารับผู้โดยสาร รถเมล์บนถนนก็เยอะขึ้น รถส่วนตัวที่อยู่อาคารจอดแล้วจรทุกคัน เอาลงมาวิ่งจอดบนถนน ถนนจะแน่นด้วยรถอีกมากมั้ย จะต้องทนรถติดอีกขนาดไหน
ที่บอกว่า ตรงไหนมีรถไฟฟ้า ตรงนั้นยิ่งรถติด ก็อาจเป็นความจริงในส่วนหนึ่ง ก็เพราะว่า มีกลุ่มธุรกิจใหญ่ไปซื้อที่ดินทำตึกรามบ้านช่องแถวแถวใกล้รถไฟฟ้า แต่มันก็จะกระจุกตัวมากในช่วงที่รถไฟฟ้ายังไม่มากสายเท่านั้น กระจุกตัวเฉพาะบางพื้นที่ที่มีรถไฟฟ้า
ถ้ากรุงเทพมีรถไฟฟ้าไปทั่วทุกพื้นที่ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปซื้อพื้นที่ใกล้รถไฟฟ้าที่ยังมีน้อยสายเหมือนสมัยก่อน เช่น สมัยแรกก็จะมีอสังหาริมทรัพย์ไปกระจุกตัวตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนนุช-จตุจักร สายสีน้ำเงินบางซื่อ-หัวลำโพง พอทุกวันนี้ มีรถไฟฟ้าในหลากหลายพื้นที่ สายสีแดง สีเหลือง สีม่วง เป็นต้น ตึกรามบ้านช่อง,พื้นที่การพาณิชย์ต่างๆก็กระจายตัวออกไปได้ทั่วทุกพื้นที่ที่มีรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ต่อไปก็ไม่ต้องมีหมู่บ้าน,คอนโดพักอาศัยมารวมมากระจุกตัวกับสายสีเขียว สายสีน้ำเงินเหมือนในสมัยแรกๆ การใช้รถใช้ถนนก็กระจายไปในพื้นที่ต่างๆกรุงเทพ ไม่มากระจุกตัวกับพื้นที่ที่มีรถไฟฟ้าน้อยสายเหมือน 10-20 ปีก่อน การจราจรก็คล่องตัวในหลายพื้นที่มากขึ้น
การแก้ปัญหาการจราจรนั้น ต้องพิจารณาถึงอัตราการเกิดของประชากรด้วย มีประชากรเพิ่มขึ้น ผู้ซื้อรถส่วนตัวเพิ่มขึ้น ก็ต้องแก้ปัญหาจราจรเพิ่มขึ้น และต้องแก้ให้ทันกับปัญหา แก้ไปเรื่อยแบบไม่สิ้นสุด
รถบนท้องถนนเพิ่มขึ้น แต่เลนที่ก็รถวิ่งก็มีอยู่เท่าเดิม ถึงต้องมีทางด่วน ถึงต้องมีรถไฟฟ้าในกรุงเทพ มีสะพานข้ามสี่แยก และมีอุโมงค์ลอดถนนต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เท่าที่ดูแล้ว การแก้ปัญหาก็ยังไม่ทันกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จำนวนคนที่ใช้รถยนต์รถส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น นี่ก็จะมีทางด่วน 2 ชั้นอีก สงสัยว่า ถ้าอีกซัก 100-200 ปี กรุงเทพจะมีทางด่วน 3 ชั้น รถไฟฟ้า 2 ชั้นมั้ย
ทางออกที่ดีคือ กระจายความเจริญออกสู่ต่างจังหวัดให้เป็นกิจลักษณะ เช่น กระจายไปอยู่โคราช ก็ต้องสร้างรถไฟฟ้าให้โคราชด้วย พอการจราจรในโคราชเริ่มหนาแน่นด้วยรถยนต์ ก็ต้องไปสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆให้โคราช และพยายามกระจายความเจริญออกไปนอกอำเภอเมืองโคราชด้วย
หรือจะกระจายความเจริญไปสู่จังหวัดขอนแก่น ก็ต้องไปสร้างรถไฟฟ้าให้ขอนแก่นเพิ่มเติม และยังต้องกระจายความเจริญออกไปรอบนอกอำเภอเมืองขอนแก่นให้ดีด้วย
เล็งกระจายความเจริญและรถไฟฟ้าหลากสายไปยังเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศ เช่น โคราช ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก สงขลา สุราษฎร์ธานี ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ เป็นต้น ทำอย่างนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่ามาสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มในกรุงเทพเพิ่มอีกมากมาย
แต่ยังไงรถไฟฟ้าในกรุงเทพก็สร้างเพิ่มนั่นแหละ แต่ไม่ได้เร่งสร้างเพิ่มมากมายเหมือนอย่างที่ผ่านมา อาจจะสร้างเพิ่มซัก 2-3 สายในระยะเวลา 10 ปี เอางบประมาณจำนวนมากไปสร้างรถไฟฟ้าให้แถวโคราช ขอนแก่น เชียงใหม่ ยังจะดีกว่า เร่งสร้างรถไฟทางคู่ให้เสร็จแล้ว แล้วกระจายความเจริญไปตามสถานีรถไฟเล็กๆด้วย ก็ยังจะดีกว่า
และสิ่งที่ต้องทำอีกอย่างหนึ่งสำหรับรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ทำยังไงให้ค่าตั๋วโดยสารถูกลง ทำยังไงให้รถไฟฟ้าเป็นขนส่งมวลชนหลักจริงๆ
ดูอย่างสายสีเหลือง สร้างมาแล้ว ค่าตั๋วแพง คนก็ไม่ได้อยากจะขึ้นเยอะ ยังไม่ได้ช่วยแก้ปัญหารถติดเท่าที่ควร
ถ้าสร้างรถไฟฟ้าหลากหลายสายในกรุงเทพ แล้วยังมีค่าตั๋วแพงเหมือนอย่างที่ผ่านมา รถไฟฟ้าก็ยังไม่ใช่ทางเลือกสำคัญ ยังไม่สามารถแก้ปัญหารถติดได้เท่าไร รัฐบาลควรแก้เรื่องค่าตั๋วแพงให้ได้ด้วย ไม่งั้นต่อให้สร้างรถไฟฟ้ามากเท่าไร คนก็เลือกใช้รถส่วนตัว และนั่งรถเมล์เหมือนเดิม เว้นแต่บางเวลาที่เร่งด่วนจริงๆ รถติดมาก ก็อาจจะมีคนกลุ่มหนึ่งเลือกขึ้นมานั่งรถไฟฟ้า เผลอๆนานไป ประชากรคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น รถส่วนตัวก็จะเพิ่มขึ้น คนนั่งรถเมล์ก็จะเพิ่มขึ้นอีก อนาคตเราก็จะเห็นรถติดบนท้องถนนที่ไม่ต่างจาก 10 ปีที่ผ่านมา
และน่าจะสนับสนุนให้คนปั่นจักรยานบนท้องถนนให้มากกว่านี้ เดี๋ยวนี้มีจักรยานไฟฟ้า ก็น้องๆมอไซด์นี่เอง ก็น่าจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ระยะ 4-5 สถานี จักรยานไฟฟ้าไป-กลับได้สบาย 2-3 สถานี จักรยานธรรมดาปั่นไป-กลับสบายๆ ทำให้เกิดการแข่งขันในทางเลือกการเดินทางเยอะๆ เพื่อให้รถไฟฟ้าปรับปรุงการให้บริการ ค่าตั๋วโดยสารจะได้ถูกลง
สำหรับตอนนี้ในกรุงเทพ ก็ควรสร้างสายสีน้ำตาลให้เสร็จ และทำส่วนต่อขยายสายสีแดง สีเหลือง สีเขียวให้เสร็จ วางแผนให้ค่าตั๋วถูกลง ทำยังไงให้คนขึ้นเยอะ ให้คนนั่งรถเมล์น้อยลง ใช้รถส่วนตัวน้อยลง ยังจะดีกว่าสร้างมากมายหลายสาย แล้วคนอยากใช้น้อยเพราะค่าโดยสารแพง สุดท้ายก็สู้อัตราการเพิ่มของคนที่ใช้รถส่วนตัวและนั่งรถเมล์ไม่ได้อยู่ดี