ตำนาน ของเทพีหนี่วา คราวนี้เรามาศึกษาเรื่องราวการกำเนิดมนุษยชาติตามคติความเชื่อชนชาวจีน ชนชาวจีนมีความเชื่อว่าพวกของตนและมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นมาจากเทพธิดาแห่งสรวงสวรรค์ในยุคดึกดำบรรพ์ที่มีนามว่า หนี่วา เจ้าแม่หนี่วานี้เองที่ทรงเป็นผู้สร้างมนุษยชาติจากปั้นดินเหนียวขึ้นมา ครั้งกำเนิดโลกและสวรรค์ขึ้นมานั้น เทพมารดรหรือเทพธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีนามว่า หนี่วา ทรงได้ลงมายังโลกมนุษย์พบ และกับบรรยากาศที่งดงาม แต่กลับมีแต่ความเงียบเหงา พระองค์จึงได้คิดและทรงหยิบดินเหนียวขึ้นมาปั้นเป็นรูปมนุษย์เพศชายและเพศหญิงขึ้นมาจำนวนหนึ่ง แล้วพระองค์ก็ได้ทรงมอบชีวิตให้กับดินเหนี่ยวพวกนั้น มนุษย์จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินของโลกใบนี้นั้นเอง
พระแม่หนี่วา (Nu Wa)
เทพนารีองค์นี้ ทรงได้รับการนับถือว่าเป็นผู้สร้างมนุษย์ โดยทรงปั้นขึ้นจากดินที่ริมฝั่งแม่น้ำเหลือง และสิ่งนี้ทำให้พระนางทรงกลายเป็นเทพแห่งความรัก และกามารมณ์ไปด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
นั่นก็เพราะภายหลังจากความเหนื่อยล้า ในการสร้างมนุษย์ทั้งชายและหญิงเป็นจำนวนมาก พระนางทรงได้คิดว่า ผู้คนเหล่านี้ไม่ใช่เทพ พวกเขาไม่อาจอยู่ค้ำฟ้าเช่นพระนาง และถ้าพวกเขาสิ้นอายุลง พระนางก็ไม่อาจจะทรงรับภาระในการให้กำเนิดมนุษย์ทั้งโลกได้ตลอดไป
พระแม่หนี่วาจึงประทานพลังอำนาจ ให้มนุษย์ที่ต่างเพศกันนั้นสามารถที่จะสมสู่กัน เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ได้ด้วยตนเอง จากนั้นพระนางก็ทรงสั่งสอนสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวแก่การครองเรือนแก่คู่สามีภรรยาเหล่านั้น ซึ่งเรื่องเซ็กซ์ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นละครับ
ใน Wikipedia นั้นถึงกับกล่าวว่า พระนาง represents heaven and the never ending sexual desire between married couples เลยทีเดียว
แต่เทววิทยา และวรรณคดีจีนไม่พูดออกมาตรงๆ ในส่วนนี้ นั่นก็เพราะวัฒนธรรมจีนมีปัญหาในการพูดถึงเรื่องเพศเช่นเดียวกับวัฒนธรรมอินเดีย แม้จะมีความต้องการผลผลิตของประชากรประเภท “ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง” พอๆ กันก็ตาม
พระแม่หนี่วา ตามที่ปรากฏในปฐมกาลนั้นเป็นเทพนารีผู้ทรงพระสิริโฉม แต่ก็ดูน่าสะพรึงกลัวมาก เพราะทรงมีพระวรกายท่อนล่างเป็นมังกรหรืองู ในเวลาต่อมาจึงปรากฏพระองค์ด้วยเทวลักษณะอันงามสมบูรณ์แบบ
พระนางทรงมีสัญลักษณ์คือก้อนหินห้าสี ซึ่งเตือนให้เราระลึกถึงการที่ทรงช่วยเหลือบรรพชนของเรา ให้พ้นมหาวิบัติภัยจากวันโลกาวินาศในอดีตอันไกลโพ้น ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ทำให้พระนางทรงได้รับความนิยมนับถือสูงสุด
แต่แม้จะทรงมีน้ำพระทัยเมตตาต่อมวลมนุษย์ อย่างหาที่เปรียบมิได้ ในอีกแง่หนึ่ง พระนางก็ทรงมีความเด็ดขาดเพียงพอที่จะลงโทษคนชั่วให้ถึงแก่ความวิบัติได้เช่นกัน ดังเช่นการส่ง นางพญาจิ้งจอกเก้าหาง ไปมอมเมาจอมทรราชย์แห่งราชวงศ์ซาง จนพินาศสูญบ้านสิ้นเมือง
ส่วน อินัยนาหรือเอเรสคิกัล ข้อมูลก็จะประมาณ มหาเทวีอินันนา (Inanna)
ทรงเป็นที่สักการะกันใน อารยธรรมสุเมเรียน (Sumerian) อันเป็นอารยธรรมยุคแรกๆ ที่เจริญขึ้นในดินแดนลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส (Tigris-Euphraetes) ซึ่งทางโบราณคดีนิยมเรียกว่า เมโสโปเตเมีย
จากเพลงสวดภาษาสุเมเรียนที่เรียกกันว่า The Exaltation of Inanna ซึ่งเป็นบทพระนิพนธ์ของ เจ้าหญิงเอนเฮดูอันนา (Enheduanna) พระธิดาใน พระเจ้าซาร์กอนแห่งอักกาด (Sargon of Agade in Akkad) เมื่อ ๒,๓๕๐ ปีก่อนคริสตกาล อธิบายถึงเทวลักษณะของมหาเทวีอินันนาไว้ว่า ทรงรุ่งโรจน์ไปด้วยความน่าลุ่มหลง น่ายำเกรง และทรงพลังอำนาจ ทรงเป็นที่รักของมนุษยโลกและเทวโลก ทรงควบคุมสัมพันธภาพระหว่างชายหญิง และองค์ประกอบทุกอย่างในเรื่องเพศ
แต่...ในขณะเดียวกันพระนางก็ทรงเป็นเทวีที่น่ากลัว พระนางทรงบันดาลให้พืชผลต่างๆ เกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้
เพราะด้วยเทวฐานะที่ทรงเป็นพระแม่ธรณีนั้น ย่อมทรงอำนาจสูงสุดที่จะกำหนดว่า ยามใดควรมีความอุดมสมบูรณ์ และยามใดควรจะแห้งแล้ง ซึ่งมนุษย์ไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้เลยครับ
เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้ในยามปกติจะทรงเป็นเทวีแห่งความรัก แต่ในการศึกพระนางก็ยังทรงเป็นเทวีแห่งการสงครามอีกด้วย และอาจทรงนำความหวาดหวั่นมาสู่มนุษย์ในลักษณาการต่างๆ หากว่าทรงมีพระประสงค์ ชะตากรรมแห่งมวลมนุษย์จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความพอพระทัยแห่งพระนางทั้งสิ้น
มหาเทวีอินันนา จึงอาจเทียบได้กับพระเป็นเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือทุกๆ ชีวิต ผู้อุปถัมภ์ทุกสิ่งในอารยธรรมสุเมเรีย เชื่อกันว่าผู้ใดที่บูชาพระนาง เมื่อตายไปแล้วจะได้รับความเป็นอมตะทางวิญญาณ ไม่มีการดับสูญ
พิธีกรรมที่เกี่ยวกับมหาเทวีอินันนา เป็นรัฐพิธีที่สำคัญที่สุด เรียกกันว่า The Ritual Marriage of the God โดยกษัตริย์จะต้องทรงพระบรรทมร่วมกับอธิการีของนักบวชหญิงในเทวสถานปีละครั้ง เพื่อเป็นพันธสัญญาแห่งความอุดมสมบูรณ์ในผลผลิตของอาณาจักร
จากภาพสลักบนแผ่นอิฐที่ได้ค้นพบเป็นจำนวนมาก แสดงเทวลักษณะที่สำคัญที่สุดของเทพนารีองค์นี้ คือพระวรกายเปลือยเปล่า ทรงมีปีกเหมือนนก ปลายพระบาทก็เป็นกรงเล็บแบบนก ประทับยืนเหนือสิงโต
จากเทวลักษณะเช่นนี้ ได้มีการพรรณนาไว้อย่างเป็นปริศนาธรรมว่า ทรงสวมหน้ากากของสตรีที่เย้ายวนน่าลุ่มหลง โดยปิดบังความน่าสะพรึงกลัวภายในไว้
ในสมัยของอารยธรรม อัสสิเรีย (Assyria) คุณสมบัติทุกอย่างของพระนางได้พัฒนาขึ้นอีก โดยทรงมีพระนามว่า อิชตาร์ (Ishtar) และทรงเป็นพระมเหสีของพระเป็นเจ้าสูงสุด คือ จอมเทพอัสซูรา (Assura or Ashura : คือคำว่า อสูร ในศาสนาพราหมณ์นั่นแหละครับ)
และในความเชื่อของชาวอัสสิเรียน เทพนารีองค์นี้ก็ทรงเกี่ยวข้องกับกามารมณ์มากยิ่งขึ้นไปอีกครับ
พระนางทรงอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ทางเพศในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งโสเภณี ซึ่งถือว่าเป็น “พรต” อันศักดิ์สิทธิ์ ของสตรีที่บูชาพระนางเลยทีเดียว
ลัทธิดังกล่าว ได้รับความนิยมนับถือในนคร อัสซูร์ (Assur) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของอัสสิเรีย และบาบิโลน รวมทั้งได้แพร่ขยายไปยังดินแดนอื่นที่ห่างไกลออกไปด้วย
ดังปรากฏว่า ในวัฒนธรรม ฟีนิเชีย (Phoenicia) ได้นับถือพระเทวีองค์นี้ภายใต้พระนามภาษาฟีนิเชียนว่า อัสตาร์เต (Astarte) ในขณะที่ชาวฮีบรูว์ยุคแรกๆ หลายพวกก็พากันนับถือ และถวายพระนามว่า อัชทารอธ (Ashtaroth)
พิธีกรรมบูชาพระเทวีในสองชนชาตินี้ ล้วนแสดงออกในเรื่องกามารมณ์อย่างชัดเจนครับ เป็นต้นว่าการร่วมเพศของสาวกชายหญิง ประกอบการเริงระบำอย่างเร่าร้อนในเทวสถาน เพื่อให้พระเทวีทรงพอพระทัย
ปัจจุบัน มหาเทวีองค์นี้ยังคงได้รับการบูชาทั้งในภาคของ มหาเทวีอินันนา และ พระเทวีอิชตาร์ โดยเทวรูปและเครื่องรางของพระนางในภาคของมหาเทวีอินันนา ยังคงยึดถือรูปแบบดั้งเดิมจากภาพสลักบนแผ่นอิฐของสุเมเรียน
ส่วนในภาคของพระเทวีอิชตาร์นั้น มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปมากมาย แต่ในการบูชาก็ไม่ประสบผลเท่าในภาคของมหาเทวีอินันนา
สรุปเจ้าเเม่หนี่ว่าเกี่ยว อะไรกันกับเทพีอินันนา หรือไม่คงเป็นพี่สาวน้องสาวกัน ทั้งสองคนต่างมีอะไรคล้ายๆกัน บังเอิญหรือไม
พระแม่หนี่วา (Nu Wa)
เทพนารีองค์นี้ ทรงได้รับการนับถือว่าเป็นผู้สร้างมนุษย์ โดยทรงปั้นขึ้นจากดินที่ริมฝั่งแม่น้ำเหลือง และสิ่งนี้ทำให้พระนางทรงกลายเป็นเทพแห่งความรัก และกามารมณ์ไปด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
นั่นก็เพราะภายหลังจากความเหนื่อยล้า ในการสร้างมนุษย์ทั้งชายและหญิงเป็นจำนวนมาก พระนางทรงได้คิดว่า ผู้คนเหล่านี้ไม่ใช่เทพ พวกเขาไม่อาจอยู่ค้ำฟ้าเช่นพระนาง และถ้าพวกเขาสิ้นอายุลง พระนางก็ไม่อาจจะทรงรับภาระในการให้กำเนิดมนุษย์ทั้งโลกได้ตลอดไป
พระแม่หนี่วาจึงประทานพลังอำนาจ ให้มนุษย์ที่ต่างเพศกันนั้นสามารถที่จะสมสู่กัน เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ได้ด้วยตนเอง จากนั้นพระนางก็ทรงสั่งสอนสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวแก่การครองเรือนแก่คู่สามีภรรยาเหล่านั้น ซึ่งเรื่องเซ็กซ์ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นละครับ
ใน Wikipedia นั้นถึงกับกล่าวว่า พระนาง represents heaven and the never ending sexual desire between married couples เลยทีเดียว
แต่เทววิทยา และวรรณคดีจีนไม่พูดออกมาตรงๆ ในส่วนนี้ นั่นก็เพราะวัฒนธรรมจีนมีปัญหาในการพูดถึงเรื่องเพศเช่นเดียวกับวัฒนธรรมอินเดีย แม้จะมีความต้องการผลผลิตของประชากรประเภท “ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง” พอๆ กันก็ตาม
พระแม่หนี่วา ตามที่ปรากฏในปฐมกาลนั้นเป็นเทพนารีผู้ทรงพระสิริโฉม แต่ก็ดูน่าสะพรึงกลัวมาก เพราะทรงมีพระวรกายท่อนล่างเป็นมังกรหรืองู ในเวลาต่อมาจึงปรากฏพระองค์ด้วยเทวลักษณะอันงามสมบูรณ์แบบ
พระนางทรงมีสัญลักษณ์คือก้อนหินห้าสี ซึ่งเตือนให้เราระลึกถึงการที่ทรงช่วยเหลือบรรพชนของเรา ให้พ้นมหาวิบัติภัยจากวันโลกาวินาศในอดีตอันไกลโพ้น ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ทำให้พระนางทรงได้รับความนิยมนับถือสูงสุด
แต่แม้จะทรงมีน้ำพระทัยเมตตาต่อมวลมนุษย์ อย่างหาที่เปรียบมิได้ ในอีกแง่หนึ่ง พระนางก็ทรงมีความเด็ดขาดเพียงพอที่จะลงโทษคนชั่วให้ถึงแก่ความวิบัติได้เช่นกัน ดังเช่นการส่ง นางพญาจิ้งจอกเก้าหาง ไปมอมเมาจอมทรราชย์แห่งราชวงศ์ซาง จนพินาศสูญบ้านสิ้นเมือง
ส่วน อินัยนาหรือเอเรสคิกัล ข้อมูลก็จะประมาณ มหาเทวีอินันนา (Inanna)
ทรงเป็นที่สักการะกันใน อารยธรรมสุเมเรียน (Sumerian) อันเป็นอารยธรรมยุคแรกๆ ที่เจริญขึ้นในดินแดนลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส (Tigris-Euphraetes) ซึ่งทางโบราณคดีนิยมเรียกว่า เมโสโปเตเมีย
จากเพลงสวดภาษาสุเมเรียนที่เรียกกันว่า The Exaltation of Inanna ซึ่งเป็นบทพระนิพนธ์ของ เจ้าหญิงเอนเฮดูอันนา (Enheduanna) พระธิดาใน พระเจ้าซาร์กอนแห่งอักกาด (Sargon of Agade in Akkad) เมื่อ ๒,๓๕๐ ปีก่อนคริสตกาล อธิบายถึงเทวลักษณะของมหาเทวีอินันนาไว้ว่า ทรงรุ่งโรจน์ไปด้วยความน่าลุ่มหลง น่ายำเกรง และทรงพลังอำนาจ ทรงเป็นที่รักของมนุษยโลกและเทวโลก ทรงควบคุมสัมพันธภาพระหว่างชายหญิง และองค์ประกอบทุกอย่างในเรื่องเพศ
แต่...ในขณะเดียวกันพระนางก็ทรงเป็นเทวีที่น่ากลัว พระนางทรงบันดาลให้พืชผลต่างๆ เกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้
เพราะด้วยเทวฐานะที่ทรงเป็นพระแม่ธรณีนั้น ย่อมทรงอำนาจสูงสุดที่จะกำหนดว่า ยามใดควรมีความอุดมสมบูรณ์ และยามใดควรจะแห้งแล้ง ซึ่งมนุษย์ไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้เลยครับ
เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้ในยามปกติจะทรงเป็นเทวีแห่งความรัก แต่ในการศึกพระนางก็ยังทรงเป็นเทวีแห่งการสงครามอีกด้วย และอาจทรงนำความหวาดหวั่นมาสู่มนุษย์ในลักษณาการต่างๆ หากว่าทรงมีพระประสงค์ ชะตากรรมแห่งมวลมนุษย์จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความพอพระทัยแห่งพระนางทั้งสิ้น
มหาเทวีอินันนา จึงอาจเทียบได้กับพระเป็นเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือทุกๆ ชีวิต ผู้อุปถัมภ์ทุกสิ่งในอารยธรรมสุเมเรีย เชื่อกันว่าผู้ใดที่บูชาพระนาง เมื่อตายไปแล้วจะได้รับความเป็นอมตะทางวิญญาณ ไม่มีการดับสูญ
พิธีกรรมที่เกี่ยวกับมหาเทวีอินันนา เป็นรัฐพิธีที่สำคัญที่สุด เรียกกันว่า The Ritual Marriage of the God โดยกษัตริย์จะต้องทรงพระบรรทมร่วมกับอธิการีของนักบวชหญิงในเทวสถานปีละครั้ง เพื่อเป็นพันธสัญญาแห่งความอุดมสมบูรณ์ในผลผลิตของอาณาจักร
จากภาพสลักบนแผ่นอิฐที่ได้ค้นพบเป็นจำนวนมาก แสดงเทวลักษณะที่สำคัญที่สุดของเทพนารีองค์นี้ คือพระวรกายเปลือยเปล่า ทรงมีปีกเหมือนนก ปลายพระบาทก็เป็นกรงเล็บแบบนก ประทับยืนเหนือสิงโต
จากเทวลักษณะเช่นนี้ ได้มีการพรรณนาไว้อย่างเป็นปริศนาธรรมว่า ทรงสวมหน้ากากของสตรีที่เย้ายวนน่าลุ่มหลง โดยปิดบังความน่าสะพรึงกลัวภายในไว้
ในสมัยของอารยธรรม อัสสิเรีย (Assyria) คุณสมบัติทุกอย่างของพระนางได้พัฒนาขึ้นอีก โดยทรงมีพระนามว่า อิชตาร์ (Ishtar) และทรงเป็นพระมเหสีของพระเป็นเจ้าสูงสุด คือ จอมเทพอัสซูรา (Assura or Ashura : คือคำว่า อสูร ในศาสนาพราหมณ์นั่นแหละครับ)
และในความเชื่อของชาวอัสสิเรียน เทพนารีองค์นี้ก็ทรงเกี่ยวข้องกับกามารมณ์มากยิ่งขึ้นไปอีกครับ
พระนางทรงอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ทางเพศในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งโสเภณี ซึ่งถือว่าเป็น “พรต” อันศักดิ์สิทธิ์ ของสตรีที่บูชาพระนางเลยทีเดียว
ลัทธิดังกล่าว ได้รับความนิยมนับถือในนคร อัสซูร์ (Assur) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของอัสสิเรีย และบาบิโลน รวมทั้งได้แพร่ขยายไปยังดินแดนอื่นที่ห่างไกลออกไปด้วย
ดังปรากฏว่า ในวัฒนธรรม ฟีนิเชีย (Phoenicia) ได้นับถือพระเทวีองค์นี้ภายใต้พระนามภาษาฟีนิเชียนว่า อัสตาร์เต (Astarte) ในขณะที่ชาวฮีบรูว์ยุคแรกๆ หลายพวกก็พากันนับถือ และถวายพระนามว่า อัชทารอธ (Ashtaroth)
พิธีกรรมบูชาพระเทวีในสองชนชาตินี้ ล้วนแสดงออกในเรื่องกามารมณ์อย่างชัดเจนครับ เป็นต้นว่าการร่วมเพศของสาวกชายหญิง ประกอบการเริงระบำอย่างเร่าร้อนในเทวสถาน เพื่อให้พระเทวีทรงพอพระทัย
ปัจจุบัน มหาเทวีองค์นี้ยังคงได้รับการบูชาทั้งในภาคของ มหาเทวีอินันนา และ พระเทวีอิชตาร์ โดยเทวรูปและเครื่องรางของพระนางในภาคของมหาเทวีอินันนา ยังคงยึดถือรูปแบบดั้งเดิมจากภาพสลักบนแผ่นอิฐของสุเมเรียน
ส่วนในภาคของพระเทวีอิชตาร์นั้น มีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปมากมาย แต่ในการบูชาก็ไม่ประสบผลเท่าในภาคของมหาเทวีอินันนา