อ๋อม ลั่นยังไม่พอ ฝากถึง ‘บิ๊กตู่’ วางมือการเมืองแล้ว ย้ายบ้านด้วย เปลืองงบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4074742
อ๋อม ลั่นยังไม่พอ ฝากถึง ‘บิ๊กตู่’ วางมือการเมืองแล้ว ย้ายบ้านด้วย เปลืองงบ
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ภายหลังจากที่ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศขอวางมือทางการเมือง และลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาตินั้น
ล่าสุด น.ส.
สกาวใจ พูนสวัสดิ์ หรือ
อ๋อม อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขต 13 พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวว่า
“ประกาศวางมือแล้ว ยังไม่พอนะ
แต่ต้องสำนีกผิดและขอรับโทษกับการก่อกรรมที่ทำไว้ด้วย
และย้ายบ้านซะ เปลืองงบว่ะ จะดีกว่าแค่วางมือ”
https://www.instagram.com/p/CujXWtqSc5r/
‘พิธา’ ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4074709
พิธา ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะ ประกอบด้วย นางสาว
ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และนาย
ศุภโชติ ไชยสัจ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ได้เข้าเยี่ยมชมภารกิจของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า (GISTDA) เพื่อหารือถึงศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ ในการสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ดร.
ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ได้เน้นความสำคัญกับภารกิจอวกาศของ GISTDA ในฐานะหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะในการจัดการกับปัญหา PM2.5 อุทกภัย ภัยแล้ง การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้สามารถประเมินพื้นที่ที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ และคาดการณ์ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีการวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการเกษตรรายแปลงที่เหมาะสม
นอกจากนี้ GISTDA ยังได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัยเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ (New SPACE ECONOMY) โดยผลักดันให้มีกฎหมาย ได้แก่ (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. … รวมถึงการพัฒนาแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศที่ก้าวหน้า อีกทั้ง ยังมุ่งพัฒนาดาวเทียมในประเทศไทย เพื่อให้สามารถสร้างด้วยขีดความสามารถจากภายในประเทศ การวิจัยเทคโนโลยีอวกาศเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการก่อสร้างท่าอวกาศยาน (Spaceport) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนกฎหมายและนโยบายด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทยในระยะยาว
นาย
พิธากล่าวว่า GISTDA มีศักยภาพ และข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์ในการสนับสนุนนโยบาย การแก้ไขปัญหาของประชาชน ทั้งด้านอุทกภัย ภัยแล้ง PM2.5 รวมถึงการเยียวยาเกษตรกรในกรณีเกิดภัยพิบัติ
เห็นควรถึงความสำคัญในการสนับสนุน GISTDA ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณ และการทำงานร่วมกัน กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศไปใช้แก้ปัญหาให้กับประชาชน
โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกับ GISTDA ใน 3 ระยะ ระยะใกล้ : ดิน น้ำ ลม ไฟ การใช้ประโยชน์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเกษตรรายแปลง การใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ถึงปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณน้ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี กว่า 30% และน้อยกว่าปีที่แล้ว 45% ซึ่ง GISTDA มีข้อมูลน้ำต้นทุนที่เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้น้ำ และสถานการณ์น้ำ
นาย
พิธากล่าวว่า การวางแผน และการแก้ไขปัญหา PM2.5 การคาดการณ์ทิศทางลม การประเมินคุณภาพอากาศจากดาวเทียม ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมจะช่วยเสริมความแม่นยำในการบริหารจัดการได้ และBurn check ซึ่งเข้าใจดีกว่าประชาชนจำเป็นต้องมีการเผา แต่หากสามารถบริหารจัดการได้ก็จะช่วยสามารถบรรเทาสถานการณ์หมอกควันได้ นอกจากนี้จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความถี่ของข้อมูล ทั้งข้อมูล HOTSPOT Burn Scar รวมถึงข้อมูล Biomass เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า b. ระยะกลาง : การบริหารจัดการ การประเมิน Carbon credit ที่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ และ c. ระยะยาว การส่งเสริมให้เกิด Space Economy ซึ่งมีการคาดการณ์มูลค่าของอุตสาหกรรมอวกาศของทั่วโลกที่ 7.7 ล้านล้านบาท และประเทศไทยมีศักยภาพ โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศจะช่วยให้เกิด Spillover Effect ในการได้เทคโนโลยีระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเราจำเป็นต้องส่งเสริมเรื่อง Local Content ในประเทศไทย รวมถึงการทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
นาย
พิธากล่าวว่า การใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน และประเทศ การผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้ของการตั้ง Spaceport ในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากเวลาจำกัด ในอนาคตอาจจะมีการตั้ง Working Team เพื่อทำงานร่วมกันต่อไป
‘ชัชชาติ’ ลั่นไม่ได้สั่งเปลี่ยนแบบ ‘สร้างสะพานถล่ม’ สั่งปิดไซต์งานไร้กำหนด.
https://www.dailynews.co.th/news/2521783/
ชัชชาติ ยันไม่ได้สั่งเปลี่ยนแบบก่อสร้างสะพานยกระดับที่เกิดถล่ม ตามที่มีกระแสในโลกโซเชียล สั่งปิดไซต์งานก่อสร้างทันทีไม่มีกำหนด เร่งรื้อถอนภายใน 3 วัน เชื่อสาเหตุความผิดพลาดระหว่างก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม. ดินแดง นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย นาย
วิศณุ ทรัพย์สมพล น.ส.
ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม. นาย
สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัด กทม. นาย
ธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผอ.สำนักการโยธา ร่วมกันแถลงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ หลังเกิดเหตุพังถล่มขณะกำลังก่อสร้าง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ว่า จากที่มีข่าวระบุว่า ทีม
ชัชชาติสั่งเปลี่ยนแบบการก่อสร้าง ยืนยันว่าไม่มีตามที่มีข่าวระบุ ไร้สาระ จริงๆ แล้วเป็นไปตามกระบวนการก่อสร้างตามปกติ ซึ่งผู้รับเหมาก็มีการทำที่ล่าช้า ก็มีการขอเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างตั้งแต่ปีที่แล้ว ไม่มีที่เราไปสั่งเปลี่ยนอะไร การสื่อสารอะไรขอให้ดูด้วยความถูกต้องด้วย เพราะจริงๆ แล้วถ้านำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จทางออนไลน์ ก็มีความผิดทางกฎหมาย และอย่าไปสร้างความสับสนให้กับสังคม อยากขอให้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ที่ออกมาพูด
นาย
ชัชชาติ กล่าวต่ออีกว่า จากการตรวจสอบสาเหตุสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเกิดจากตัวโครงสร้างสะพาน (Box Segment) วิบัติขณะดึงลวดอัดแรงส่งผลให้ Launching Truss เสียสมดุล และล้มพับทับ โครงสร้างสะพานบริเวณเสาที่ (pier) 83 และ 84 เสียหาย 1 ช่วงสะพาน ส่งผลให้ชิ้นส่วนของสะพานและ Truss กีดขวางช่องจราจรฝั่งขาเข้าทั้ง 2 ช่องจราจร คนงานชุดปฏิบัติการดึงร่วนอัดแรงและชุดปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสะพานได้รับบาดเจ็บ สรุปมีผู้บาดเจ็บ 13 คน และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย วิศวกรที่คุมงานก่อสร้างและคนงาน ส่วนสาเหตุของการเกิดการถล่มในครั้งนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้ประสานผู้เชี่ยวชาญจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เข้าร่วมตรวจสอบในครั้งนี้ด้วย แต่การเกิดเหตุเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง
นาย
ชัชชาติ กล่าวถึง ระยะเวลาในการเคลียร์พื้นที่เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจรให้กับประชาชนระบุว่าเบื้องต้นประมาณ 3 วัน เพื่อจะได้เปิดการจราจร ลำดับการเคลียร์ รื้อ Truss ด้านหน้า น้ำหนักประมาณ 7 ตัน 4 ชิ้น รื้อ Main Truss 2 ชุด แบ่งเป็นชุดละ 5 ชิ้น น้ำหนักประมาณ 30 ตัน ตรวจสอบโครงสร้างบล็อกอัดแรง เพื่อตรวจสอบสาเหตุและวางแผนในการรื้อถอนต่อไป
ขณะที่ นาย
ธวัชชัย กล่าวว่า ในรูปแบบของการประกวดราคาครั้งนี้ เราใช้ในรูปแบบการหล่อในที่ แต่ก็ได้มีการเปิด tor ไว้ว่าสามารถเสนอเป็นรูปแบบหล่อสำเร็จก็ได้ เส้นทางผู้รับจ้างในช่วงต้นก็ทำแบบหล่อในที่ แต่เนื่องจากเป็นวิธีการที่เก่าแล้วและมีผลกระทบเรื่องการจราจรและใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างค่อนข้างนาน อีกครั้งการก่อสร้างของผู้รับจ้างก็ได้ล่าช้ามา ทางผู้รับจ้างจึงได้ยื่นขอเปลี่ยนรูปแบบเอง เป็นการหล่อสำเร็จเพื่อยกมาติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งก็เป็นวิธีการก่อสร้างที่ทำกันปกติ โดยยื่นขอเปลี่ยนในช่วงประมาณปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2565
นาย
วิศณุ กล่าวเสริมว่า การหล่อ Segment สำเร็จรูปจากโรงงาน ก็จะดีกว่า เพราะสามารถควบคุมคุณภาพได้มากกว่าการหล่อในที่ และไม่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้าง ยืนยันว่าการนำ Segment ที่มีการหล่อสำเร็จมาใช้มีความปลอดภัย
นาย
ชัชชาติ กล่าวยืนยันว่า รูปแบบดังกล่าว เป็นวิธีก่อสร้างที่มีการทำกันอยู่แล้ว มีการควบคุมตามหลักวิศวกรรม ไม่ได้มีความปลอดภัยน้อยลง แต่คาดว่าสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในการก่อสร้าง ส่วนบริษัทที่รับเหมายอมรับเพิ่งรับงานครั้งแรกกับทาง กทม. และประมูลตามขั้นตอนและเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง 4 แสนบาท และเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งนอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว ใน กทม. ไม่มีการก่อสร้างแบบในจุดเกิดอื่น มีเพียงการก่อสร้างสะพานทางเดินเชื่อมตรงย่านบางกะปิ
นาย
ชัชชาติ กล่าวเพิ่มว่า ขั้นตอนจากนี้คือให้บริษัทรับเหมาเสนอแผนการรื้อถอน โดยมีโยธา กทม. และวิศวกรรมสถานเป็นผู้พิจารณา โดยขณะนี้สั่งระงับการก่อสร้างทั้งหมดไว้ก่อน และตรวจสอบความแข็งแรงของ ตัว Launching Truss อีกตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งในขั้นตอนการรื้อถอน ได้สั่งกำชับให้มีการเก็บหลักฐานต่างๆ ด้วย
สำหรับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินความเสียหายต่างๆ ทาง กทม. และบริษัทผู้รับเหมาพร้อมรับผิดชอบและดูแลอย่างเต็มที่ เบื้องต้น ผู้บาดเจ็บ 13 ราย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์แล้ว
JJNY : 5in1 อ๋อมฝากถึง‘ตู่’│‘พิธา’ชูศักยภาพจิสด้า│‘ชัชชาติ’ลั่นไม่ได้สั่งเปลี่ยนแบบ│‘ส.สายการบิน’หารือ‘พิธา’│รถไฟผีปูติน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4074742
อ๋อม ลั่นยังไม่พอ ฝากถึง ‘บิ๊กตู่’ วางมือการเมืองแล้ว ย้ายบ้านด้วย เปลืองงบ
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศขอวางมือทางการเมือง และลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาตินั้น
ล่าสุด น.ส.สกาวใจ พูนสวัสดิ์ หรืออ๋อม อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขต 13 พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวว่า
“ประกาศวางมือแล้ว ยังไม่พอนะ
แต่ต้องสำนีกผิดและขอรับโทษกับการก่อกรรมที่ทำไว้ด้วย
และย้ายบ้านซะ เปลืองงบว่ะ จะดีกว่าแค่วางมือ”
https://www.instagram.com/p/CujXWtqSc5r/
‘พิธา’ ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4074709
พิธา ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะ ประกอบด้วย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และนายศุภโชติ ไชยสัจ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ได้เข้าเยี่ยมชมภารกิจของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า (GISTDA) เพื่อหารือถึงศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ ในการสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ได้เน้นความสำคัญกับภารกิจอวกาศของ GISTDA ในฐานะหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะในการจัดการกับปัญหา PM2.5 อุทกภัย ภัยแล้ง การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้สามารถประเมินพื้นที่ที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ และคาดการณ์ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีการวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการเกษตรรายแปลงที่เหมาะสม
นอกจากนี้ GISTDA ยังได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัยเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ (New SPACE ECONOMY) โดยผลักดันให้มีกฎหมาย ได้แก่ (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. … รวมถึงการพัฒนาแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศที่ก้าวหน้า อีกทั้ง ยังมุ่งพัฒนาดาวเทียมในประเทศไทย เพื่อให้สามารถสร้างด้วยขีดความสามารถจากภายในประเทศ การวิจัยเทคโนโลยีอวกาศเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการก่อสร้างท่าอวกาศยาน (Spaceport) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนกฎหมายและนโยบายด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทยในระยะยาว
นายพิธากล่าวว่า GISTDA มีศักยภาพ และข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์ในการสนับสนุนนโยบาย การแก้ไขปัญหาของประชาชน ทั้งด้านอุทกภัย ภัยแล้ง PM2.5 รวมถึงการเยียวยาเกษตรกรในกรณีเกิดภัยพิบัติ
เห็นควรถึงความสำคัญในการสนับสนุน GISTDA ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณ และการทำงานร่วมกัน กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศไปใช้แก้ปัญหาให้กับประชาชน
โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกับ GISTDA ใน 3 ระยะ ระยะใกล้ : ดิน น้ำ ลม ไฟ การใช้ประโยชน์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเกษตรรายแปลง การใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ถึงปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณน้ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี กว่า 30% และน้อยกว่าปีที่แล้ว 45% ซึ่ง GISTDA มีข้อมูลน้ำต้นทุนที่เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้น้ำ และสถานการณ์น้ำ
นายพิธากล่าวว่า การวางแผน และการแก้ไขปัญหา PM2.5 การคาดการณ์ทิศทางลม การประเมินคุณภาพอากาศจากดาวเทียม ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมจะช่วยเสริมความแม่นยำในการบริหารจัดการได้ และBurn check ซึ่งเข้าใจดีกว่าประชาชนจำเป็นต้องมีการเผา แต่หากสามารถบริหารจัดการได้ก็จะช่วยสามารถบรรเทาสถานการณ์หมอกควันได้ นอกจากนี้จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความถี่ของข้อมูล ทั้งข้อมูล HOTSPOT Burn Scar รวมถึงข้อมูล Biomass เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า b. ระยะกลาง : การบริหารจัดการ การประเมิน Carbon credit ที่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ และ c. ระยะยาว การส่งเสริมให้เกิด Space Economy ซึ่งมีการคาดการณ์มูลค่าของอุตสาหกรรมอวกาศของทั่วโลกที่ 7.7 ล้านล้านบาท และประเทศไทยมีศักยภาพ โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศจะช่วยให้เกิด Spillover Effect ในการได้เทคโนโลยีระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเราจำเป็นต้องส่งเสริมเรื่อง Local Content ในประเทศไทย รวมถึงการทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
นายพิธากล่าวว่า การใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน และประเทศ การผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้ของการตั้ง Spaceport ในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากเวลาจำกัด ในอนาคตอาจจะมีการตั้ง Working Team เพื่อทำงานร่วมกันต่อไป
‘ชัชชาติ’ ลั่นไม่ได้สั่งเปลี่ยนแบบ ‘สร้างสะพานถล่ม’ สั่งปิดไซต์งานไร้กำหนด.
https://www.dailynews.co.th/news/2521783/
ชัชชาติ ยันไม่ได้สั่งเปลี่ยนแบบก่อสร้างสะพานยกระดับที่เกิดถล่ม ตามที่มีกระแสในโลกโซเชียล สั่งปิดไซต์งานก่อสร้างทันทีไม่มีกำหนด เร่งรื้อถอนภายใน 3 วัน เชื่อสาเหตุความผิดพลาดระหว่างก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม. ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย นายวิศณุ ทรัพย์สมพล น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม. นายสุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัด กทม. นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผอ.สำนักการโยธา ร่วมกันแถลงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ หลังเกิดเหตุพังถล่มขณะกำลังก่อสร้าง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ว่า จากที่มีข่าวระบุว่า ทีมชัชชาติสั่งเปลี่ยนแบบการก่อสร้าง ยืนยันว่าไม่มีตามที่มีข่าวระบุ ไร้สาระ จริงๆ แล้วเป็นไปตามกระบวนการก่อสร้างตามปกติ ซึ่งผู้รับเหมาก็มีการทำที่ล่าช้า ก็มีการขอเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างตั้งแต่ปีที่แล้ว ไม่มีที่เราไปสั่งเปลี่ยนอะไร การสื่อสารอะไรขอให้ดูด้วยความถูกต้องด้วย เพราะจริงๆ แล้วถ้านำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จทางออนไลน์ ก็มีความผิดทางกฎหมาย และอย่าไปสร้างความสับสนให้กับสังคม อยากขอให้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ที่ออกมาพูด
นายชัชชาติ กล่าวต่ออีกว่า จากการตรวจสอบสาเหตุสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเกิดจากตัวโครงสร้างสะพาน (Box Segment) วิบัติขณะดึงลวดอัดแรงส่งผลให้ Launching Truss เสียสมดุล และล้มพับทับ โครงสร้างสะพานบริเวณเสาที่ (pier) 83 และ 84 เสียหาย 1 ช่วงสะพาน ส่งผลให้ชิ้นส่วนของสะพานและ Truss กีดขวางช่องจราจรฝั่งขาเข้าทั้ง 2 ช่องจราจร คนงานชุดปฏิบัติการดึงร่วนอัดแรงและชุดปฏิบัติงานติดตั้งชิ้นส่วนสะพานได้รับบาดเจ็บ สรุปมีผู้บาดเจ็บ 13 คน และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย วิศวกรที่คุมงานก่อสร้างและคนงาน ส่วนสาเหตุของการเกิดการถล่มในครั้งนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้ประสานผู้เชี่ยวชาญจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เข้าร่วมตรวจสอบในครั้งนี้ด้วย แต่การเกิดเหตุเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง
นายชัชชาติ กล่าวถึง ระยะเวลาในการเคลียร์พื้นที่เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจรให้กับประชาชนระบุว่าเบื้องต้นประมาณ 3 วัน เพื่อจะได้เปิดการจราจร ลำดับการเคลียร์ รื้อ Truss ด้านหน้า น้ำหนักประมาณ 7 ตัน 4 ชิ้น รื้อ Main Truss 2 ชุด แบ่งเป็นชุดละ 5 ชิ้น น้ำหนักประมาณ 30 ตัน ตรวจสอบโครงสร้างบล็อกอัดแรง เพื่อตรวจสอบสาเหตุและวางแผนในการรื้อถอนต่อไป
ขณะที่ นายธวัชชัย กล่าวว่า ในรูปแบบของการประกวดราคาครั้งนี้ เราใช้ในรูปแบบการหล่อในที่ แต่ก็ได้มีการเปิด tor ไว้ว่าสามารถเสนอเป็นรูปแบบหล่อสำเร็จก็ได้ เส้นทางผู้รับจ้างในช่วงต้นก็ทำแบบหล่อในที่ แต่เนื่องจากเป็นวิธีการที่เก่าแล้วและมีผลกระทบเรื่องการจราจรและใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างค่อนข้างนาน อีกครั้งการก่อสร้างของผู้รับจ้างก็ได้ล่าช้ามา ทางผู้รับจ้างจึงได้ยื่นขอเปลี่ยนรูปแบบเอง เป็นการหล่อสำเร็จเพื่อยกมาติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งก็เป็นวิธีการก่อสร้างที่ทำกันปกติ โดยยื่นขอเปลี่ยนในช่วงประมาณปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2565
นายวิศณุ กล่าวเสริมว่า การหล่อ Segment สำเร็จรูปจากโรงงาน ก็จะดีกว่า เพราะสามารถควบคุมคุณภาพได้มากกว่าการหล่อในที่ และไม่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้าง ยืนยันว่าการนำ Segment ที่มีการหล่อสำเร็จมาใช้มีความปลอดภัย
นายชัชชาติ กล่าวยืนยันว่า รูปแบบดังกล่าว เป็นวิธีก่อสร้างที่มีการทำกันอยู่แล้ว มีการควบคุมตามหลักวิศวกรรม ไม่ได้มีความปลอดภัยน้อยลง แต่คาดว่าสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในการก่อสร้าง ส่วนบริษัทที่รับเหมายอมรับเพิ่งรับงานครั้งแรกกับทาง กทม. และประมูลตามขั้นตอนและเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง 4 แสนบาท และเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งนอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว ใน กทม. ไม่มีการก่อสร้างแบบในจุดเกิดอื่น มีเพียงการก่อสร้างสะพานทางเดินเชื่อมตรงย่านบางกะปิ
นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มว่า ขั้นตอนจากนี้คือให้บริษัทรับเหมาเสนอแผนการรื้อถอน โดยมีโยธา กทม. และวิศวกรรมสถานเป็นผู้พิจารณา โดยขณะนี้สั่งระงับการก่อสร้างทั้งหมดไว้ก่อน และตรวจสอบความแข็งแรงของ ตัว Launching Truss อีกตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งในขั้นตอนการรื้อถอน ได้สั่งกำชับให้มีการเก็บหลักฐานต่างๆ ด้วย
สำหรับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินความเสียหายต่างๆ ทาง กทม. และบริษัทผู้รับเหมาพร้อมรับผิดชอบและดูแลอย่างเต็มที่ เบื้องต้น ผู้บาดเจ็บ 13 ราย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์แล้ว