สวัสดีทุกคนเรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า เราในวัย 35 ที่ก็เพิ่งจะมาเริ่มๆวางแผนอนาคตตัวเองในวัยเกษียณอายุ ว่าจะเป็นยังไง ซึ่งตัวเราทำงานบริษัทอยู่ที่ กทม. แต่ว่า บ้านเกิดอยู่ที่ ตจว. มานั่งทบทวนว่า และรู้สึกว่าอนาคตเราคงอยากกลับไปทำอะไรของตัวเองสักอย่างที่บ้าน ซึ่งบ้านเดิมที่ ตจว ก็มีการปรับปรุงๆมาตลอด แต่ก็ด้วยตามอายุการปลูกสร้างที่มีมาก่อนเราเกิดบวกกับว่าด้านบนเป็นไม้ และพ่อกับแม่เราก็ไม่ได้ขึ้นไปเลยทำให้ด้านบน แทบไม่ได้ใช้งานเลย(จริงๆไม่ได้ขึ้นไปทำความสะอาดเลยด้วยล่ะ 5555) เวลาเรากลับบ้านก็จะมีแค่ห้องนอนข้างล่างห้องเดียวที่พ่อกับแม่นอนเราก็จะนอนตรงหน้าทีวี และบางจุดก็ทรุดโทรมไปตามอายุงานแหละ เราเลยมีความคิดว่า คิดว่าถ้าเราจะกลับมาทำปรับปรุงในวันที่เราเกษียณมาก็อาจต้องเอาเงินเก็บออกมาทำซึ่งนั้นอาจจะเป็นเงินสำรอง หรือ เงินที่เราต้องเอาไปลงทุนอะไรสักอย่างแล้ว ณ วันนั้นเราคงไม่มีรายได้ประจำเหมือนตอนนี้ เลยคิดว่าเอาละในเมื่อแรงเรายังมีให้พอเหนื่อยได้ ยังสามารถกู้ได้ ก็ลองตัดสินใจทำมันใหม่ตอนนี้เลยดีกว่าอย่างน้อยทำไปตอนนี้ ก็ยังมีพอจ่าย พอเก็บบ้าง ดีกว่าเอาเงินเก็บเงินก้อนมาทำตอนนั้น บอกก่อนว่าอันนี้ความคิดเราน่ะมันอาจจะถูกหรือผิดสำหรับคนอื่นนะยังไงก็ให้อภัยเราด้วย 555 แต่เราแค่อยากมาแชร์บางมุมที่ตั้งแต่เริ่มจนสำเร็จสำหรับใครที่กำลังคิดจะสร้างบ้าน จะได้เตรียมตัวเตรียมใจอะไรบ้างเพราะสำหรับเรา ตอนนี้บ้านก่อสร้างมาได้ราว 80%แล้ว มันคือบทเรียนเล่มใหญ่ๆในวัย 35 ให้เราได้ดีเลย เราเลยอยากมาลองแชรืประสบการ์เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครบ้างไม่มากก็น้อยนะ
เอาล่ะทีนี้พอตัดสินใจแล้วว่าเราจะรื้อหลังเดิมแล้วสร้างหลังใหม่ก็ต้องมาวางแผนมาเคลียกันคนในบ้านซึ่งงก็ใช้เวลาพอสมควร เพราะพ่อกับแม่ก็จะอยากได้อีกแบบส่วนตัวเราก็จะมองการใช้งานจริงเป็นหลัก ทำให้ใช้เวลาพอสมควรเลยสำหรับเรา ซึ่งถ้าบ้านไหนคนที่ตัดสินใจเป็นคนเดียวเลยก็อาจจะไม่เจอปัญหานี้น่ะ555 ซึ่งเราเลยแก้ปัญหาด้วยการหา Ref. จากในอินเตอร์เน็ต ปริ้นท์เป็นเล่มไปให้ทุกคนในบ้านเลือกแบบที่แต่ละคนชอบออกมาแล้วดูแนวทางว่าพอจะเอามารวมกันและปรับให้เป็นสไตล์ที่ทุกคนโอเคซึ่งมันเวิร์คนะ พอทุกคนเห็นภาพชัดขึ้นก็เลยคุยกันง่ายขึ้น และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ งบประมาณควรตั้งไว้เพื่อที่เราจะได้รู้เวลาให้ช่างตีราคาก่อสร้างว่าสิ่งที่เราอยากได้พอดีกับงบประมาณของเราไหม สามารถปรับลดเพิ่มได้แหละจริงๆแล้วตอนคุยเรื่องการเขียนแบบเราจะกำหนดตั้งต้นจากห้องที่ต้องการมีในบ้าน เช่นกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำอยากมีเพื่อนที่ใช้สอยอะไรบ้าง ลองๆนั่งมองว่าในหนึ่งวันคนในบ้านเราใช้เวลาตรงมุมไหนของบ้าน และทำอะไรบ้างจะช่วยให้ตั้งขอบเขตที่มาจากการใช้งานจริงได้ง่ายขึ้น ส่วนไหนที่อยากเพิ่มเติมก็ค่อยเพิ่มจากส่วนพื้นที่หลักๆที่ได้ ในอินเตอร์เน็ตมีเว็บที่ไปดูแปลนบ้านแบบบ้านระบุได้เลยว่าหนึ่งชั้น สองชั้นกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำก็สะดวกไปอีกแบบนะครับ โดยแบบบ้านของเราจะเป็น บ้านชั้นเดียว 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว และโรงรถ นะครับ
หลังจากได้แบบที่ตรงใจก็ได้เวลาออกตามหาผู้กล้ามารับสร้างบ้านให้555 ซึ่งความยากคือเราสร้างที่ ตจว แต่ตัวเราทำงานที่ กทม. ซึ่งทำให้เราจะไม่ได้ตรวจหรือเห็นการก่อสร้างทุกๆวันทำให้ต้องหาผู้รับเหมาที่เชื่อถือและมั่นใจได้พอสมควร โดนเริ่มแรกเราก็จะเข้าไปในกลุ่มรับสร้างบ้านๆต่างๆใน เฟสบุคและโพสประกาศหาช่างรับเหมาก็จะมีเข้ามาเสนอเยอะมากแล้วไล่ไปดูงานของเขาแต่ละเจ้าว่ามีที่ไหนน่าสนใจ โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน สิ่งสำคัญเลยคือ ถ้าเป็นไปได้ควรมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทรับงานจริงๆ ไม่ใช่วิ่งรับงานและหาช่างฟรีแลนซ์มาทำงานแต่ละอยาก เพราะจากที่เห็นข่าวเยอะๆว่า ช่างรับเหมาทิ้งาน สำหรับเรากลัวเรื่องนี้มาก เลยมองหาที่เป็นบริษัทรับเหมาจริงจัง เลย โดยเราอยากได้บริษัทที่มีทั้งคนอกแบบ และก่อสร้างที่เดียวเพราะจะได้คุยงานง่ายและทั้งทีมงานจะได้เห็นงานไปพร้อมกัน ข้อควรระวังในการที่ช่างออกแบบและผู้รับเหมาะก่อสร้างเป็นคนละที่ดกันคือ คุณอาจได้บ้านที่มันไม่ตรงแบบที่ออกไว้เพราะคนสร้างก้อาจไม่ได้เข้าใจแบบของคุณทั้งหมดก็จะเสียเวลา เสียเงินกันไปอีก เอาละเราก็คัดเลือกมาได้ สองสามเจ้า และเราใช้
วิธีนี้ในการตัดสินใจที่เลือกผู้รับเหมา
1. ราคาประเมินการก่อสร้างตามแบบตัวอย่างที่เราหามา ลองส่งให้เขาลองตีราคาคร่าวๆก่อนเพื่อใช้ประกับการตัดสินใจ
แต่ต้องบอกว่าใช้อ้างอิงได้เล็กน้อยนะเพราะเวลาลงแบบจริงจะเจอรายละเอียดอีกค่อนข้างเยอะเผื่อบวกไปอีก 30%-40% แล้วแต่แบบ
2. ที่ตั้ง การเดินทาง ของผู้รับเหมา เพราะถ้าผู้รับเหมาอยู่ไกลก็อาจมีค่าเดินทางหรือค่าคนย้ายเครื่องจักต่างๆเข้ามาที่สูงขึ้นไปอีก
3. ระยะเวลาในการออกแบบและก่อสร้าง เพราะระหว่างเราก่อสร้างต้องไปเช่าบ้านให้ที่บ้านอยู่ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถ้าสร้างนานหรือ
ล่าช้าเราก็ยิ่งเปลืองเงินส่วนนี้ไปอีก เราสามารถให้ช่างตีประเมินมาพร้อมราคาได้เลยว่าออกแบบนานแค่ไหน และก่อสร้างนานแค่ไหน
4. ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของผู้รับเหมา ซึ่งอันนี้เราอาจต้องใช้เวลาขอเข้าไปคุยที่บริษัท เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าเขามีบริษัทจริง
มีทีมงานจริงไม่ได้มะโนขึ้นมาหลอกเรานะ
5. สไตล์การทำงานและการพูดคุย เราว่ามีส่วนสำคัญมากเพราะเราต้องคุยงานที่ค่อนข้างเป็นรายละเอียดจริงจังกับเขาเป็น
ระยะเวลานานถ้าเริ่มต้นคุยกันไม่รู้เรื่องก็คงไม่ดีละ
หลังจากที่เราลองเปรียบเทียบสักพักก็ได้ผู้รับเหมาที่เราว่าน่าจะโอเคที่สุดแล้ว ซึ่งโชคดีตรงที่พี่สาวเรารู้จักกันเป็นเพื่อนสมัคเรียนเลยพอสบายใจเพิ่มขึ้นอีกระดับว่าน่าจะเชื่อใจได้ เอาละ นี่แค่ขนาดเริ่มต้นยังไม่ได้เริ่มอะไรจริงๆจังๆเลย เอาไว้เดี๋ยวเรากลับมาอัพเดทในแต่ละช่วงน่ะตั้งแต่การลงเเบบจริง ยื่นกู้ เคลียพื้นที่ ไปจนถึงก่อสร้าง รับรองว่ามีเรื่องให้ปวดหมองมาเล่าให้ฟังอีกเยอะเลย 😅🙏🏻
สร้างบ้านหลังแรกในวัน 35 ปี EP 00 : คืองี้นะ!
1. ราคาประเมินการก่อสร้างตามแบบตัวอย่างที่เราหามา ลองส่งให้เขาลองตีราคาคร่าวๆก่อนเพื่อใช้ประกับการตัดสินใจ
แต่ต้องบอกว่าใช้อ้างอิงได้เล็กน้อยนะเพราะเวลาลงแบบจริงจะเจอรายละเอียดอีกค่อนข้างเยอะเผื่อบวกไปอีก 30%-40% แล้วแต่แบบ
2. ที่ตั้ง การเดินทาง ของผู้รับเหมา เพราะถ้าผู้รับเหมาอยู่ไกลก็อาจมีค่าเดินทางหรือค่าคนย้ายเครื่องจักต่างๆเข้ามาที่สูงขึ้นไปอีก
3. ระยะเวลาในการออกแบบและก่อสร้าง เพราะระหว่างเราก่อสร้างต้องไปเช่าบ้านให้ที่บ้านอยู่ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถ้าสร้างนานหรือ
ล่าช้าเราก็ยิ่งเปลืองเงินส่วนนี้ไปอีก เราสามารถให้ช่างตีประเมินมาพร้อมราคาได้เลยว่าออกแบบนานแค่ไหน และก่อสร้างนานแค่ไหน
4. ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของผู้รับเหมา ซึ่งอันนี้เราอาจต้องใช้เวลาขอเข้าไปคุยที่บริษัท เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าเขามีบริษัทจริง
มีทีมงานจริงไม่ได้มะโนขึ้นมาหลอกเรานะ
5. สไตล์การทำงานและการพูดคุย เราว่ามีส่วนสำคัญมากเพราะเราต้องคุยงานที่ค่อนข้างเป็นรายละเอียดจริงจังกับเขาเป็น
ระยะเวลานานถ้าเริ่มต้นคุยกันไม่รู้เรื่องก็คงไม่ดีละ