เมื่อวันก่อนได้รับเอกสารประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นครั้งแรกจึงเข้าไปติดต่อสอบถามที่ สนข.ว่าเหตุใดต้องเสีย?
ในเมื่อครอบครัวมีกันอยู่ 3 คน
1.บิดา(ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน) เสียชีวิต พย.65
2.มารดา เสียชีวิต
3.บุตร(20ปี) กำลังศึกษา อยู่ภายใต้การดูแลของญาติของบิดา
ถาม จนท. ว่า ณ ชณะนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแค่คนเดียว ได้รับทรัพย์สิน(บ้าน+ที่ดินที่ถูกประเมินภาษี)มาในรูปแบบของ"มรดก"
ซึ่งควรจะได้รับสิทธิและหน้าที่ตกทอดมาด้วย แต่ทำไมจึงได้รับแต่หน้าที่ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เพราะบ้านหลังนี้
เป็นบ้านพักอาศัยที่อยู่มาตั้งแต่เกิดไม่ได้เป็นสถานประกอบการอื่นใดและไม่เคยต้องเสียภาษี
จนท.ตอบว่า บิดา(เจ้าของกรรมสิทธิ์)เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เพราะสิทธิยกเว้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดา(ผู้ถือกรรมสิทธิ์)
แต่ในเมื่อเสียชีวิตไปแล้วสิทธินี้ก็จะหมดสิ้นไป ถ้าอยากจะได้สิทธิต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุตรแทน
จึงงงมาก..พ่อแม่ลูกอยู่ในบ้านที่พ่อซื้อ วันดีคืนดีพ่อแม่เสียชีวิต ลูกนอกจากจะสูญเสียพ่อแม่แล้ว ยังต้องรับกรรมเสียภาษีบ้านที่ตัวเองอยู่ เพียงเพราะ
ลูกยังไม่ได้ทำเรื่องเปลี่ยนชื่อที่ดินจากพ่อมาเป็นของตัวเองด้วยเหตุที่ตัวเองยังไม่มีรายได้ที่จะนำไปจัดการเรื่องเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์
เท่าที่ทราบ...แนวคิดทางกฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมแล้วหรือไม่? จากการศึกษาข้อมูลทางกฎหมายสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของมรดกจะตกทอดสู่ทายาท แต่เหตุการณ์นี้ ทายาทไม่มีสิทธิขอยกเว้นแต่มีหน้าที่ต้องหาเงินมาจ่ายภาษี ซึ่งขัดกับหลักการของความเป็นครอบครัว
ทั้งที่แนวคิดสาระของกฎหมายนี้ต้องการเก็บภาษีจากการใช้/ไม่ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินโดยมีข้อยกเว้นหากทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นบ้านพักอาศัยที่เจ้าของบ้านนั้นใช้พักอาศัยด้วยตนเองซึ่งก็ควรจะตกทอดถึงทายาทด้วยเพราะทายาทก็ยังไม่ได้ใช้สิทธินี้กับที่ดินอื่น
รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
เดือดร้อนมาก ภาษีพันกว่า จนท.แจ้งว่าถ้าไม่คัดค้านก็ต้องจ่ายภายใน 30 วันหลังจากนั้นจะถูกปรับได้ถึง 2 เท่ากับเงินเพิ่มเป็นรายเดือน
ขอบคุณครับ..
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นธรรมกับทายาทแล้วหรือ?
ในเมื่อครอบครัวมีกันอยู่ 3 คน
1.บิดา(ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน) เสียชีวิต พย.65
2.มารดา เสียชีวิต
3.บุตร(20ปี) กำลังศึกษา อยู่ภายใต้การดูแลของญาติของบิดา
ถาม จนท. ว่า ณ ชณะนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแค่คนเดียว ได้รับทรัพย์สิน(บ้าน+ที่ดินที่ถูกประเมินภาษี)มาในรูปแบบของ"มรดก"
ซึ่งควรจะได้รับสิทธิและหน้าที่ตกทอดมาด้วย แต่ทำไมจึงได้รับแต่หน้าที่ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เพราะบ้านหลังนี้
เป็นบ้านพักอาศัยที่อยู่มาตั้งแต่เกิดไม่ได้เป็นสถานประกอบการอื่นใดและไม่เคยต้องเสียภาษี
จนท.ตอบว่า บิดา(เจ้าของกรรมสิทธิ์)เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี เพราะสิทธิยกเว้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดา(ผู้ถือกรรมสิทธิ์)
แต่ในเมื่อเสียชีวิตไปแล้วสิทธินี้ก็จะหมดสิ้นไป ถ้าอยากจะได้สิทธิต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นบุตรแทน
จึงงงมาก..พ่อแม่ลูกอยู่ในบ้านที่พ่อซื้อ วันดีคืนดีพ่อแม่เสียชีวิต ลูกนอกจากจะสูญเสียพ่อแม่แล้ว ยังต้องรับกรรมเสียภาษีบ้านที่ตัวเองอยู่ เพียงเพราะ
ลูกยังไม่ได้ทำเรื่องเปลี่ยนชื่อที่ดินจากพ่อมาเป็นของตัวเองด้วยเหตุที่ตัวเองยังไม่มีรายได้ที่จะนำไปจัดการเรื่องเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์
เท่าที่ทราบ...แนวคิดทางกฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมแล้วหรือไม่? จากการศึกษาข้อมูลทางกฎหมายสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของมรดกจะตกทอดสู่ทายาท แต่เหตุการณ์นี้ ทายาทไม่มีสิทธิขอยกเว้นแต่มีหน้าที่ต้องหาเงินมาจ่ายภาษี ซึ่งขัดกับหลักการของความเป็นครอบครัว
ทั้งที่แนวคิดสาระของกฎหมายนี้ต้องการเก็บภาษีจากการใช้/ไม่ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินโดยมีข้อยกเว้นหากทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นบ้านพักอาศัยที่เจ้าของบ้านนั้นใช้พักอาศัยด้วยตนเองซึ่งก็ควรจะตกทอดถึงทายาทด้วยเพราะทายาทก็ยังไม่ได้ใช้สิทธินี้กับที่ดินอื่น
รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
เดือดร้อนมาก ภาษีพันกว่า จนท.แจ้งว่าถ้าไม่คัดค้านก็ต้องจ่ายภายใน 30 วันหลังจากนั้นจะถูกปรับได้ถึง 2 เท่ากับเงินเพิ่มเป็นรายเดือน
ขอบคุณครับ..