ทำไม สธ.ไม่กำหนดมาตรฐานค่าตรวจของหมอเท่ากับทั่วประเทศทั้ง ร.พ.รัฐและเอกชน?

หมอคนเดียวกันตรวจที่ ร.พ.ไหนก็ควรได้รับค่าตรวจเท่ากัน ไม่งั้นหมอก็จะไม่ยอมตรวจที่ ร.พ.รัฐ นะสิ ร.พ.เอกชนได้คิดค่าใช้จ่ายของ ร.พ.และค่าใช้อุปกรณ์ต่างๆต่อครั้ง กับคนไข้ทุกครั้งไปแล้วนะ ดังนั้นการที่หมอ ร.พ.เอกชนคิดค่าตรวจกับคนไข้แพงกว่า ร.พ.รัฐ จึงเป็นการคิดค่ารักษาที่ซ้ำซ้อนเข้าไปอีก แถม ร.พ.รัฐยังจ่ายค่าตรวจให้หมอเป็นเงินเดือนประจำ หมอจึงต้องเสียภาษีมาตรา 40(1) ซึ่งหักค่าใช้จ่าได้เพียงไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น แต่ ร.พ.เอกชนไม่จ่ายเงินเดือนประจำให้หมอแต่จ่ายค่าตรวจต่อครั้ง หมอจึงได้รับประโยชน์ทางภาษีจากมาตรา 40(6) อาชีพอิสระ ที่หักค่าใช้จ่ายได้ถึง 60% หรือตามจริง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หมอ ร.พ.รัฐไม่ตรวจที่ ร.พ.รัฐ แต่ไปตรวจที่ ร.พ.เอกชนนะสิ หมอจบใหม่จึงมีภาระงานล้นมือเป็นปัญหาต่อสุขภาพหมออย่างทุกวันนี้หรือไม่?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ร.พ.เอกชนได้คิดค่าใช้จ่ายต่างๆของทางโรงพยาบาล/ครั้ง/คนไข้ ไปแล้วทุกครั้งที่เข้าใช้บริการ รวมทั้งได้คิดค่าใช้อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ MRI Xray ต่อครั้ง/คนไข้ ทุกครั้งไปแล้วเช่นกัน ดังนั้นการปล่อยให้หมอ ร.พ.เอกชนสามารถคิดค่าตรวจแพงๆกับคนไข้ได้อีกตามอำเภอใจ จึงเป็นการคิดค่ารักษาพยาบาลที่ซ้ำซ้อนและเอาเปรียบคนไข้ นอกจากนี้การที่สรรพากรให้ ร.พ.เอกชนไม่ต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้หมอแต่ทาง ร.พ.ใช้วิธีแบ่ง % GP กับหมอ ทำให้ทั้งหมอและ ร.พ.เอกชนได้ประโยชน์ทางภาษีจากมาตรา 40(6) อาชีพอิสระ ที่หมอสามารถหักค่าใข้จ่ายได้สูงถึง 60% หรือตามจริงอีกด้วย รบ.จึงต้องสูญเสียทั้งหมอที่มีประสบการณ์และรายได้จากภาษี 40(6) ไปให้แก่ หมอและ ร.พ.เอกชนอีกด้วย ในขณะที่ รบ.ยังคงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเงินเดือนประจำให้บรรดาหมอ ร.พ.รัฐที่ไม่รักษาคนไข้ที่ ร.พ.รัฐแต่หนีไปรับงาน ร.พ.เอกชนแทน ทิ้งภาระให้หมอจบใหม่ที่เงินเดือนน้อยนิดต้องแบกรับงานตรวจคนไข้ล้นมือ แถมยังต้องเสียภาษีมาตรา 40(1) ที่หักค่าใช้จ่ายได้เพียง 50% ไม่เกิน 100,000 อีกด้วย จึงไม่ทราบว่า รบ. และ สรรพากรมัวทำอะไรกันอยู่หรอ? จึงปล่อยให้ ร.พ.เอกชนได้ประโยชน์ทั้งทางภาษีจากหมอ และได้ตัวหมอมานั่งทำงานที่ ร.พ.เอกชนโดยไม่ต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้หมอซักบาท แล้วให้หมอมาเรียกเก็บค่าตรวจรักษาแพงๆจากคนไข้ตามใจชอบ ในขณะที่หมอผู้มีคุณธรรมและพวกหมอจบใหม่ใน ร.พ.รัฐ ต้องพากันบาดเจ็บล้มตายอย่างน่าสลดใจอย่างทุกวันนี้?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่