สวัสดีค่ะ เราทำงานในแวดวงการศึกษาแต่ ไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ เรามีความสงสัยและเฝ้าสังเกตเรื่องนี้มา 10 กว่าปีคิดว่าตอนนี้จับประเด็นได้แล้วจึงอยากนำมาแชร์
เด็ก5คนนี้คือเราและคนรอบตัว ขอเล่าแบบไม่ระบุตัวตน (เพื่อเข้าใจตรงกัน ขออนุญาตกำหนดว่า “ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ” เช่น word choice+ intonation+accent+ความสามารถในการสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจ, ความสามารถเท่า native speaker = 10
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คะแนนของแต่ละคนเราได้จากเรา+native speaker ที่เคยสื่อสารกับคนเหล่านี้ช่วยประเมิน ,สุดท้ายขอไม่นับความซับซ้อนในการใช้ภาษาเพราะเป็นการเทียบอายุต่างๆกัน
*เด็ก1 เรียนโรงเรียนนานาชาติตั้งแต่อนุบาล ปีละ450,000 ขณะนี้อยู่ ป.4 คะแนนดีทุกpartยกเว้นspeaking ;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 5/10
*เด็ก2 เกิดที่อเมริกา US citizen พ่อแม่ไทย จนจบอนุบาลที่อเมริกา 6ขวบจึงย้ายกลับไทยเข้า ป.1 จากนั้นเรียนรร.ไทยมาตลอด กลับไปเรียนโทที่อเมริกาอีกครั้ง ตั้งใจอยู่ยาวทำงาน ;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 6/10
*เด็ก3 เกิดที่ไทย ไปอยู่อเมริกาเพียงปีเดียว2-3ขวบชั้นPre-Kindergarten จากนั้นกลับไทย เข้าเรียน รร.ไทย ตลอดพ่อแม่พยายามพูดภาษาอังกฤษด้วย ตอนนี้ป.3 ใช้ภาษาอังกฤษ50%กับพ่อแม่ ;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 9/10
*เด็ก4 เกิดไทย ไม่เคยไปเมืองนอก แต่ได้เรียนกับอาจารย์เก่งๆ สอบTOEFL ม.4 ได้105 ฝึกพูดเอง หลังจากนั้นเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมเองอีก 2 ภาษา (สอบได้ระดับเทียบเท่าปริญญาตรีของภาษานั้น1ภาษา) ได้ทุนไปเรียนภาษาที่อเมริกา1เดือน (เรียนสายวิทยาศาสตร์ และจบมาด้านเคมี);ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ8/10
*เด็ก5 เกิดในไทย ไม่เคยไปต่างประเทศ พ่อแม่จ้างนักศึกษาแลกเปลี่ยน native มาคุยด้วยทุกวันวันละ1 ชม. จ-ศตั้งแต่ ป.1-ป.6 เรียน รร.ไทยมาตลอด;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 8/10 (ก่อนไปเรียน ป.โท ต่างประเทศ)
จะเห็นได้ว่าเด็ก 5 คนนี้ มีความสามารถแตกต่างกัน โดยที่เราไม่สามารถทำนายความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ จากประเทศที่เรียน หรือเวลาที่ใช้ในการเรียนได้เลย ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น จากการค้นคว้า เราสรุปได้ดังนี้
1.เด็กขวบปีแรกๆ สมองจะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด (plasticity) เรียกช่วงนี้0-3ขวบนี้ว่า Critical Period เมื่อได้รับ input ทางภาษา ก็จะถูกประมวลเป็น first language หรือภาษาแรก ซึ่งจะฝังลึกและติดตัวไปนาน ใช้การกระตุ้นเพื่อคงอยู่น้อย เพราะฝังลึกลงไปแล้ว ซึ่งภาษาแรกนี้จะมีกี่ภาษาก็ได้ขอให้เด็กสามารถรับได้ในช่วงCritical perioid ดังเช่น(*เด็ก3)ที่ได้รับภาษาตอน2-3ขวบ
2. แต่ภาษาแรกก็ยังมีความ vulnerability (เปราะบางต่อการเสียหาย)ในช่วงหนึ่ง นั่นคือถ้าไม่ถูกกระตุ้นเลยใน9ปีแรก ก็จะหายไปได้ ตัวอย่างคือ เด็กในสงครามเกาหลี ที่ได้รับการอุปการะโดยพ่อแม่อเมริกาตอน 7 ขวบก็จะลืมภาษาเกาหลีไปเลย100% ส่วนในเคสตัวอย่างข้างบน คือ(*เด็ก2)ที่ถึงแม้จะพูดแต่แรกเกิด แต่หลัง6ขวบไม่ได้รับการส่งเสริมใดๆก็กลับไปเท่าคนไทยที่ไม่ได้ไปเรียน
3. การเรียนภาษาก่อน 3 ปีแรก จะเป็นแบบธรรมชาติคือ เด็กต้องสื่อสารเพื่ออยู่รอด ต้องฟังและพูดให้ได้เป็นอันดับแรก คนอื่นจะได้มาช่วยตนเอง เช่น พ่อพูดว่า milk เด็กจะเห็นภาพขวดนม ต่อไปก็จะพยายามพูดว่า milk อีกเพื่อจะได้กินนม แต่การเรียนหลัง 3 ขวบ จะเป็นการเรียนลำดับที่ไม่เหมือนธรรมชาติ เช่นเมื่อพูดว่า milk สมองจะคิดถึงคำไทยว่า น-ม โดยอัตโนมัติ อีกทั้งถ้าเรียนภาษาตอนโตแล้ว หนังสือจะเป็นสื่อการสอนหลักลำดับในการเรียนจึงเป็น อ่านเขียนฟังพูด และยิ่งโต เด็กยิ่งมีทางเลือกที่จะสื่อสารด้วยภาษาอื่น เช่นสถานการณ์นี้อยากพูดไทยเพราะง่ายกว่า (selection ไม่ใช่ automaticity) ดังเช่น(*เด็ก1)ที่เรียนตอนโตและเลือกที่จะพูดไทยบ่อยกว่าอังกฤษ
4. คำถามคือ ทำไม*เด็ก4) ถึงมีความสามารถทางการพูดดี ทั้งๆที่เรียนตอนโต และไม่ได้ไปอยู่เมืองนอกนานรายละเอียดพบว่า เด็ก4 เริ่มเรียนภาษาด้วยความต้องการมาก(passion)ในเรื่องใหม่ๆเรื่องหนึ่ง(หนังและวัฒนธรรมอเมริกา) จึงคล้ายๆเกิดการเรียนรู้โลกใบใหม่ และสื่อไม่ใช่หนังสือ แต่เป็นภาพเคลื่อนไหว+อวัจนภาษาในหนังโดยไม่ผ่านคำไทยเลย รวมถึงได้ครูสอนหลักการที่ดี อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังไม่ใช่วิธีธรรมชาติ100% ข้อสังเกตคือ เมื่อเรียนแบบนี้ตอนผู้ใหญ่ได้ผลดี เท่ากับว่าค้นพบหลักวิธีเรียนภาษาอื่นได้ด้วยตัวเองแล้ว จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาอื่นๆได้ด้วย
5. เมื่อเด็กได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกแล้ว การเรียนรู้ภาษาในชั้นโตๆ จะง่ายขึ้นอย่างมากถ้าพูดได้มาก่อน ยกตัวอย่าง ครูไม่ต้องสอน intonation (ขึ้นเสียงสูงต่ำ ทั้งในประโยคและในคำ) ครูไม่ต้องสอนความหมาย ครูไม่ต้องสอนการเรียงคำ การเรียน phonics จะสั้นและง่าย (เพราะมีการออกเสียงที่ถูกอยู่แล้ว เราแค่ชี้หลักให้ดูก็จะประยุกต์เองได้) ไม่จำเป็นต้องสอน tense บางอัน (เพราะใช้ในชีวิตประจำวันได้แล้ว)
6.ช่วงเวลาที่เด็กจะซึมซับภาษาแรกนั้นสั้นมาก บางตำราว่า 2 ปี บางตำราว่า 3 ปี จะเห็นได้ว่า เป็นช่วงเวลาก่อนเข้า Nursery/PreK ทั้งสิ้น นั่นคือ การที่พ่อแม่พูดด้วยภาษาอังกฤษแต่แรกเกิด, การนำไปเข้าplay group ภาษาอังกฤษ, หรือ การจ้าง native speakers มาสอนแต่เด็กก็น่าจะเป็นผลดีกับการเรียนรู้
7. อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษไม่ใช่ทุกอย่างของเด็กเล็ก และไม่ใช่ทุกคนจะสามารถพูดภาษาอังกฤษกับเด็กเล็กได้ตลอดเวลา (เวลานอนยังจะไม่มีเลย) กระทู้นี้ เป็นเพียงการแชร์ความเห็น ซึ่งท่านอาจจะเชื่อ ไม่เชื่อ คัดค้าน หรือนำไปประยุกต์ได้ โดยต่อให้ไม่เริ่มก่อน 3 ขวบ การให้เด็กได้รับ input บ่อยๆที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่กำลังจะเอื้ออำนวย ย่อมได้ผลดีกว่าการเรียนรู้ห่างๆและเริ่มที่อายุโตกว่านี้ ดังเช่น(*เด็ก5)ที่ถึงจะเริ่ม6ขวบแต่เรียนทุกวันก็ได้ผลดี
เป็นเพียงความเห็นและการค้นคว้าส่วนบุคคล หากมีความผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย
อ้างอิง(บางส่วน)
1.
https://cbcd.bbk.ac.uk/sites/default/files/cbcd/files/interlearn/FriedmannRusou_criticalPeriodLanguage_curOpNeurobi15.pdf
2.
https://www.bbc.com/future/article/20180606-can-you-lose-your-native-language#:~:text=Studies%20on%20international%20adoptees%20have,from%20their%20country%20of%20birth.&text=But%20in%20adults%2C%20the%20first,entirely%20except%20in%20extreme%20circumstances.
การเรียนภาษาของเด็ก กับข้อสังเกตของฉัน
เด็ก5คนนี้คือเราและคนรอบตัว ขอเล่าแบบไม่ระบุตัวตน (เพื่อเข้าใจตรงกัน ขออนุญาตกำหนดว่า “ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ” เช่น word choice+ intonation+accent+ความสามารถในการสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจ, ความสามารถเท่า native speaker = 10
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
*เด็ก1 เรียนโรงเรียนนานาชาติตั้งแต่อนุบาล ปีละ450,000 ขณะนี้อยู่ ป.4 คะแนนดีทุกpartยกเว้นspeaking ;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 5/10
*เด็ก2 เกิดที่อเมริกา US citizen พ่อแม่ไทย จนจบอนุบาลที่อเมริกา 6ขวบจึงย้ายกลับไทยเข้า ป.1 จากนั้นเรียนรร.ไทยมาตลอด กลับไปเรียนโทที่อเมริกาอีกครั้ง ตั้งใจอยู่ยาวทำงาน ;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 6/10
*เด็ก3 เกิดที่ไทย ไปอยู่อเมริกาเพียงปีเดียว2-3ขวบชั้นPre-Kindergarten จากนั้นกลับไทย เข้าเรียน รร.ไทย ตลอดพ่อแม่พยายามพูดภาษาอังกฤษด้วย ตอนนี้ป.3 ใช้ภาษาอังกฤษ50%กับพ่อแม่ ;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 9/10
*เด็ก4 เกิดไทย ไม่เคยไปเมืองนอก แต่ได้เรียนกับอาจารย์เก่งๆ สอบTOEFL ม.4 ได้105 ฝึกพูดเอง หลังจากนั้นเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมเองอีก 2 ภาษา (สอบได้ระดับเทียบเท่าปริญญาตรีของภาษานั้น1ภาษา) ได้ทุนไปเรียนภาษาที่อเมริกา1เดือน (เรียนสายวิทยาศาสตร์ และจบมาด้านเคมี);ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ8/10
*เด็ก5 เกิดในไทย ไม่เคยไปต่างประเทศ พ่อแม่จ้างนักศึกษาแลกเปลี่ยน native มาคุยด้วยทุกวันวันละ1 ชม. จ-ศตั้งแต่ ป.1-ป.6 เรียน รร.ไทยมาตลอด;ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษประมาณ 8/10 (ก่อนไปเรียน ป.โท ต่างประเทศ)
จะเห็นได้ว่าเด็ก 5 คนนี้ มีความสามารถแตกต่างกัน โดยที่เราไม่สามารถทำนายความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ จากประเทศที่เรียน หรือเวลาที่ใช้ในการเรียนได้เลย ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น จากการค้นคว้า เราสรุปได้ดังนี้
1.เด็กขวบปีแรกๆ สมองจะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด (plasticity) เรียกช่วงนี้0-3ขวบนี้ว่า Critical Period เมื่อได้รับ input ทางภาษา ก็จะถูกประมวลเป็น first language หรือภาษาแรก ซึ่งจะฝังลึกและติดตัวไปนาน ใช้การกระตุ้นเพื่อคงอยู่น้อย เพราะฝังลึกลงไปแล้ว ซึ่งภาษาแรกนี้จะมีกี่ภาษาก็ได้ขอให้เด็กสามารถรับได้ในช่วงCritical perioid ดังเช่น(*เด็ก3)ที่ได้รับภาษาตอน2-3ขวบ
2. แต่ภาษาแรกก็ยังมีความ vulnerability (เปราะบางต่อการเสียหาย)ในช่วงหนึ่ง นั่นคือถ้าไม่ถูกกระตุ้นเลยใน9ปีแรก ก็จะหายไปได้ ตัวอย่างคือ เด็กในสงครามเกาหลี ที่ได้รับการอุปการะโดยพ่อแม่อเมริกาตอน 7 ขวบก็จะลืมภาษาเกาหลีไปเลย100% ส่วนในเคสตัวอย่างข้างบน คือ(*เด็ก2)ที่ถึงแม้จะพูดแต่แรกเกิด แต่หลัง6ขวบไม่ได้รับการส่งเสริมใดๆก็กลับไปเท่าคนไทยที่ไม่ได้ไปเรียน
3. การเรียนภาษาก่อน 3 ปีแรก จะเป็นแบบธรรมชาติคือ เด็กต้องสื่อสารเพื่ออยู่รอด ต้องฟังและพูดให้ได้เป็นอันดับแรก คนอื่นจะได้มาช่วยตนเอง เช่น พ่อพูดว่า milk เด็กจะเห็นภาพขวดนม ต่อไปก็จะพยายามพูดว่า milk อีกเพื่อจะได้กินนม แต่การเรียนหลัง 3 ขวบ จะเป็นการเรียนลำดับที่ไม่เหมือนธรรมชาติ เช่นเมื่อพูดว่า milk สมองจะคิดถึงคำไทยว่า น-ม โดยอัตโนมัติ อีกทั้งถ้าเรียนภาษาตอนโตแล้ว หนังสือจะเป็นสื่อการสอนหลักลำดับในการเรียนจึงเป็น อ่านเขียนฟังพูด และยิ่งโต เด็กยิ่งมีทางเลือกที่จะสื่อสารด้วยภาษาอื่น เช่นสถานการณ์นี้อยากพูดไทยเพราะง่ายกว่า (selection ไม่ใช่ automaticity) ดังเช่น(*เด็ก1)ที่เรียนตอนโตและเลือกที่จะพูดไทยบ่อยกว่าอังกฤษ
4. คำถามคือ ทำไม*เด็ก4) ถึงมีความสามารถทางการพูดดี ทั้งๆที่เรียนตอนโต และไม่ได้ไปอยู่เมืองนอกนานรายละเอียดพบว่า เด็ก4 เริ่มเรียนภาษาด้วยความต้องการมาก(passion)ในเรื่องใหม่ๆเรื่องหนึ่ง(หนังและวัฒนธรรมอเมริกา) จึงคล้ายๆเกิดการเรียนรู้โลกใบใหม่ และสื่อไม่ใช่หนังสือ แต่เป็นภาพเคลื่อนไหว+อวัจนภาษาในหนังโดยไม่ผ่านคำไทยเลย รวมถึงได้ครูสอนหลักการที่ดี อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังไม่ใช่วิธีธรรมชาติ100% ข้อสังเกตคือ เมื่อเรียนแบบนี้ตอนผู้ใหญ่ได้ผลดี เท่ากับว่าค้นพบหลักวิธีเรียนภาษาอื่นได้ด้วยตัวเองแล้ว จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาอื่นๆได้ด้วย
5. เมื่อเด็กได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกแล้ว การเรียนรู้ภาษาในชั้นโตๆ จะง่ายขึ้นอย่างมากถ้าพูดได้มาก่อน ยกตัวอย่าง ครูไม่ต้องสอน intonation (ขึ้นเสียงสูงต่ำ ทั้งในประโยคและในคำ) ครูไม่ต้องสอนความหมาย ครูไม่ต้องสอนการเรียงคำ การเรียน phonics จะสั้นและง่าย (เพราะมีการออกเสียงที่ถูกอยู่แล้ว เราแค่ชี้หลักให้ดูก็จะประยุกต์เองได้) ไม่จำเป็นต้องสอน tense บางอัน (เพราะใช้ในชีวิตประจำวันได้แล้ว)
6.ช่วงเวลาที่เด็กจะซึมซับภาษาแรกนั้นสั้นมาก บางตำราว่า 2 ปี บางตำราว่า 3 ปี จะเห็นได้ว่า เป็นช่วงเวลาก่อนเข้า Nursery/PreK ทั้งสิ้น นั่นคือ การที่พ่อแม่พูดด้วยภาษาอังกฤษแต่แรกเกิด, การนำไปเข้าplay group ภาษาอังกฤษ, หรือ การจ้าง native speakers มาสอนแต่เด็กก็น่าจะเป็นผลดีกับการเรียนรู้
7. อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษไม่ใช่ทุกอย่างของเด็กเล็ก และไม่ใช่ทุกคนจะสามารถพูดภาษาอังกฤษกับเด็กเล็กได้ตลอดเวลา (เวลานอนยังจะไม่มีเลย) กระทู้นี้ เป็นเพียงการแชร์ความเห็น ซึ่งท่านอาจจะเชื่อ ไม่เชื่อ คัดค้าน หรือนำไปประยุกต์ได้ โดยต่อให้ไม่เริ่มก่อน 3 ขวบ การให้เด็กได้รับ input บ่อยๆที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่กำลังจะเอื้ออำนวย ย่อมได้ผลดีกว่าการเรียนรู้ห่างๆและเริ่มที่อายุโตกว่านี้ ดังเช่น(*เด็ก5)ที่ถึงจะเริ่ม6ขวบแต่เรียนทุกวันก็ได้ผลดี
เป็นเพียงความเห็นและการค้นคว้าส่วนบุคคล หากมีความผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย
อ้างอิง(บางส่วน)
1.https://cbcd.bbk.ac.uk/sites/default/files/cbcd/files/interlearn/FriedmannRusou_criticalPeriodLanguage_curOpNeurobi15.pdf
2. https://www.bbc.com/future/article/20180606-can-you-lose-your-native-language#:~:text=Studies%20on%20international%20adoptees%20have,from%20their%20country%20of%20birth.&text=But%20in%20adults%2C%20the%20first,entirely%20except%20in%20extreme%20circumstances.