ดิฉันชอบคิดว่า ตัวเองใช้ภาษาไทยได้เรื่องพอสมควร คือ คิด(ไปเอง)ว่า ตัวเองอ่านได้ จับใจความคล่อง เขียนถูกต้อง และใช้ภาษาได้ไม่ผิดหลัก ...
แต่ ... แต่... แต่ความคิดเหล่านี้มลายหายไปหมด
เมื่อเจอของปราบเซียน คือ --- การเขียนหนังสือราชการ
นี่เล่าไปก็ขำตัวเองไป
จำได้ว่า เพื่อนฝรั่งที่เคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนแล้วเธอเรียนภาษาไทย เคยบอกว่า “คิดว่าภาษาไทยไม่ยากนัก เขียนอย่างไร อ่านอย่างนั้น”
ดิฉันนี่ฟังแล้ว ได้แต่อมยิ้มเลย แต่ก็ไม่อยากขัดคอ เพราะระดับที่เธอเรียน มันก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ แหละ แต่ในระดับสูงกว่านั้น เธอน่าจะยังไม่เคยเจอ
สำหรับตัวเอง ภาษาไทย เป็นภาษาที่เรียนเบสิคมาใช้งานได้ไม่ยาก แต่จะเขียนให้ “ถึง” จริง ๆ และถูกต้องตามแบบแผนจริง ๆ นี่สำหรับตัวเองในฐานะที่เรียนภาษานี้มาตั้งแต่เด็ก ก็ยังรู้สึกว่ายาก บางครั้ง สับสนนิด ๆ ใช้ไปแบบ ว่ากันตามสามัญสำนึก แต่ในบางครั้งก็ไม่กระจ่างในความเหมือน ความต่างของบางคำได้ถ่องแท้แบบอธิบายได้สักเท่าไร
เคยติดต่อกับราชการในฐานะผู้ประกอบการ รู้สึกว่า จดหมายที่ต้องส่งถึงหน่วยงานราชการหลายอย่าง มันจะมีแบบแผน กลิ่นอาย โครงสร้างภาษาที่ใช้บางอย่างที่เคร่งครัดกว่าปกติ
หลาย ๆ ครั้ง จะพบว่า ถ้าเรื่องที่ติดต่อกับราชการเป็นเรื่องที่มีคนมาติดต่อกันมาก และซ้ำ ๆ กันจนเห็นแพทเทิร์น เจ้าหน้าที่จะมีคล้าย ๆ format มาให้ เราแค่แก้ชื่อ แก้รายการที่ต้องการพูดถึงในนั้นให้ตรงกับของเรา แล้วก็จะส่งได้เลย จะได้ไม่ต้องปวดหัววุ่นวายกับการแก้คำเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่แน่ใจว่า ขึ้นต้นลงท้ายอย่างไรดี
นี่หยิบคู่มือเล่มนี้ ที่เก็บไว้ข้าง ๆ ตัวมาพลิกอ่านเล่นเป็นประจำ
ขอเล่าย่อ ๆ ถึงเนื้อหาและยกตัวอย่างสนุก ๆ บางอย่างมาพอสังเขปว่า
1. แบบแผนการเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ย่อหน้าอย่างไร เว้นตรงไหนอย่างไร กี่บรรทัด ขึ้นต้น ลงท้ายอย่างไรบ้าง
ใช้ “เรียน” หรือ “กราบเรียน”
ใช้ “ขอแสดงความนับถือ” หรือ “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”
ใครควรต้องมี “อย่างยิ่ง” ใคร เราแค่บอกว่า นับถือก็พอ 555
ตอนลงท้าย ต้องลงอย่างไร ในกรณีที่ ขอให้ช่วย รอคำตอบ แจ้งให้ทราบ สั่งให้ทำ บอกเฉย ๆ ขอการตัดสินใจ ช่วยเซ็นมาด้วย
มันจะมีกลิ่นอายเฉพาะของความเป็นทางการที่ ... ถ้าเราไม่ได้คลุกคลีมาก่อน ก็คงพูดไม่ถนัดปาก เขียนไม่ถนัดมือ
เช่น
แบบเบสิคหน่อยก็
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
แบบมีเงื่อนไขก็อาจจะเป็น
จึงเรียนมาเพื่อโปรด ... (เลือกเอาว่าจะเอาอะไร) พิจารณาลงนาม / ดำเนินการต่อไป / เข้าใจให้ตรงกัน / อนุมัติ / ทราบและถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป / อนุเคราะห์เรื่องสถานที่ดังกล่าวด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
2. ข้อหนึ่ง พูดถึงคำว่า อนุเคราะห์แล้ว ก็นึกได้ว่า หลักการเขียน ยังจำแนกความแตกต่างระหว่าง คำว่า
อนุเคราะห์ กับ
สงเคราะห์
ผ่อนปรน กับ
ผ่อนผัน
อนุญาต กับ
อนุมัติ
ดุษณี กับ
ดุษฎี
ชดเชย กับ
ชดใช้
ย้าย กับ
โยกย้าย
ภาพลักษณ์ กับ
ภาพพจน์
คำพวกนี้ความหมายมัน “คล้าย” แต่ “ไม่เหมือน” และไม่อาจใช้แทนที่กันได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนตัว ไม่เคยมานั่งนึกเลยว่า เออ...มันใช้ต่างกันตรงไหน มากระจ่างใจ ก็ตอนอ่านคำอธิบายสั้น ๆ กระชับได้ใจความ จากตัวอย่างของหนังสือเล่มนี้แหละค่ะ
เช่น
ผ่อนปรน แปลว่า ผ่อนหนักให้เป็นเบา
ผ่อนผัน แปลว่า ลดหย่อนตาม ลดหย่อนให้
มหาวิทยาลัย
ผ่อนปรนการลงโทษนักศึกษาผู้นี้
มหาวิทยาลัย
ผ่อนผันให้นักศึกษาลงทะเบียนช้ากว่ากำหนด
สงเคราะห์ แปลว่า ช่วยเหลือ ใช้กับผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
อนุเคราะห์ แปลว่า เอื้อเฟื้อ ใช้ในกรณีอำนวยความสะดวก
3. เล่มนี้ ยังสรุปให้ด้วยว่า ภาษาพูดเวลาต้องปรับเป็นภาษาราชการต้องใช้คำว่าอะไร
เช่น
เมื่อไร ภาษาราชการ ต้องเป็น
เมื่อใด
ต้องการ ภาษาราชการ ต้องเป็น
มีความประสงค์
ใคร ภาษาราชการต้องเป็น
ผู้ใด
4. นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำว่า เขียนอย่างไรจึงจะกระชับ ถูกต้อง
ศัพท์คำใด ควรใช้ภาษาไทย คำใดอนุโลมให้ใช้ทับศัพท์ได้
เช่น download ก็มักจะพิมพ์ภาษาอังกฤษลงไปในหนังสือเลย ซึ่งคำไทยของมันก็มีนะคะ คือคำว่า "บรรจุลง"
ภาษาเป็นสิ่งที่มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา
คำบางคำ หลายคนรู้จักคำนั้น ๆ เป็นภาษาต่างประเทศมาก่อน พอมาบัญญัติศัพท์ภาษาไทยเพื่ออธิบาย
หลาย ๆ ครั้งจะงงกว่าเก่า ต้องถามกลับไปว่า ภาษาอังกฤษคือคำว่าอะไร
แบบเดียวกับที่หลายคนคงเคยงงมาแล้วกับคำว่า "คณิตกร" ซึ่งก็คือ คอมพิวเตอร์
อ้อ...เล่มนี้ดูเหมือนจะโหลดฟรีนะคะ ดิฉันไม่แน่ใจเหมือนกัน ลองค้นดูค่ะ รศ.จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ ท่านเขียนและรวบรวมประเด็นมาได้ดีมากเลยค่ะ มีไว้ใกล้ ๆ มือ เวลาต้องร่างหนังสือ จะช่วยให้เขียนได้มั่นใจมากขึ้นค่ะ
อย่าบอกว่า ภาษาไทยง่าย ถ้ายังไม่เคยเขียนหนังสือราชการ !!!
แต่ ... แต่... แต่ความคิดเหล่านี้มลายหายไปหมด
เมื่อเจอของปราบเซียน คือ --- การเขียนหนังสือราชการ
นี่เล่าไปก็ขำตัวเองไป
จำได้ว่า เพื่อนฝรั่งที่เคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนแล้วเธอเรียนภาษาไทย เคยบอกว่า “คิดว่าภาษาไทยไม่ยากนัก เขียนอย่างไร อ่านอย่างนั้น”
ดิฉันนี่ฟังแล้ว ได้แต่อมยิ้มเลย แต่ก็ไม่อยากขัดคอ เพราะระดับที่เธอเรียน มันก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ แหละ แต่ในระดับสูงกว่านั้น เธอน่าจะยังไม่เคยเจอ
สำหรับตัวเอง ภาษาไทย เป็นภาษาที่เรียนเบสิคมาใช้งานได้ไม่ยาก แต่จะเขียนให้ “ถึง” จริง ๆ และถูกต้องตามแบบแผนจริง ๆ นี่สำหรับตัวเองในฐานะที่เรียนภาษานี้มาตั้งแต่เด็ก ก็ยังรู้สึกว่ายาก บางครั้ง สับสนนิด ๆ ใช้ไปแบบ ว่ากันตามสามัญสำนึก แต่ในบางครั้งก็ไม่กระจ่างในความเหมือน ความต่างของบางคำได้ถ่องแท้แบบอธิบายได้สักเท่าไร
เคยติดต่อกับราชการในฐานะผู้ประกอบการ รู้สึกว่า จดหมายที่ต้องส่งถึงหน่วยงานราชการหลายอย่าง มันจะมีแบบแผน กลิ่นอาย โครงสร้างภาษาที่ใช้บางอย่างที่เคร่งครัดกว่าปกติ
หลาย ๆ ครั้ง จะพบว่า ถ้าเรื่องที่ติดต่อกับราชการเป็นเรื่องที่มีคนมาติดต่อกันมาก และซ้ำ ๆ กันจนเห็นแพทเทิร์น เจ้าหน้าที่จะมีคล้าย ๆ format มาให้ เราแค่แก้ชื่อ แก้รายการที่ต้องการพูดถึงในนั้นให้ตรงกับของเรา แล้วก็จะส่งได้เลย จะได้ไม่ต้องปวดหัววุ่นวายกับการแก้คำเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่แน่ใจว่า ขึ้นต้นลงท้ายอย่างไรดี
นี่หยิบคู่มือเล่มนี้ ที่เก็บไว้ข้าง ๆ ตัวมาพลิกอ่านเล่นเป็นประจำ
ขอเล่าย่อ ๆ ถึงเนื้อหาและยกตัวอย่างสนุก ๆ บางอย่างมาพอสังเขปว่า
1. แบบแผนการเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ย่อหน้าอย่างไร เว้นตรงไหนอย่างไร กี่บรรทัด ขึ้นต้น ลงท้ายอย่างไรบ้าง
ใช้ “เรียน” หรือ “กราบเรียน”
ใช้ “ขอแสดงความนับถือ” หรือ “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”
ใครควรต้องมี “อย่างยิ่ง” ใคร เราแค่บอกว่า นับถือก็พอ 555
ตอนลงท้าย ต้องลงอย่างไร ในกรณีที่ ขอให้ช่วย รอคำตอบ แจ้งให้ทราบ สั่งให้ทำ บอกเฉย ๆ ขอการตัดสินใจ ช่วยเซ็นมาด้วย
มันจะมีกลิ่นอายเฉพาะของความเป็นทางการที่ ... ถ้าเราไม่ได้คลุกคลีมาก่อน ก็คงพูดไม่ถนัดปาก เขียนไม่ถนัดมือ
เช่น
แบบเบสิคหน่อยก็
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
แบบมีเงื่อนไขก็อาจจะเป็น
จึงเรียนมาเพื่อโปรด ... (เลือกเอาว่าจะเอาอะไร) พิจารณาลงนาม / ดำเนินการต่อไป / เข้าใจให้ตรงกัน / อนุมัติ / ทราบและถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป / อนุเคราะห์เรื่องสถานที่ดังกล่าวด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
2. ข้อหนึ่ง พูดถึงคำว่า อนุเคราะห์แล้ว ก็นึกได้ว่า หลักการเขียน ยังจำแนกความแตกต่างระหว่าง คำว่า
อนุเคราะห์ กับ สงเคราะห์
ผ่อนปรน กับ ผ่อนผัน
อนุญาต กับ อนุมัติ
ดุษณี กับ ดุษฎี
ชดเชย กับ ชดใช้
ย้าย กับ โยกย้าย
ภาพลักษณ์ กับ ภาพพจน์
คำพวกนี้ความหมายมัน “คล้าย” แต่ “ไม่เหมือน” และไม่อาจใช้แทนที่กันได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนตัว ไม่เคยมานั่งนึกเลยว่า เออ...มันใช้ต่างกันตรงไหน มากระจ่างใจ ก็ตอนอ่านคำอธิบายสั้น ๆ กระชับได้ใจความ จากตัวอย่างของหนังสือเล่มนี้แหละค่ะ
เช่น ผ่อนปรน แปลว่า ผ่อนหนักให้เป็นเบา
ผ่อนผัน แปลว่า ลดหย่อนตาม ลดหย่อนให้
มหาวิทยาลัยผ่อนปรนการลงโทษนักศึกษาผู้นี้
มหาวิทยาลัยผ่อนผันให้นักศึกษาลงทะเบียนช้ากว่ากำหนด
สงเคราะห์ แปลว่า ช่วยเหลือ ใช้กับผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
อนุเคราะห์ แปลว่า เอื้อเฟื้อ ใช้ในกรณีอำนวยความสะดวก
3. เล่มนี้ ยังสรุปให้ด้วยว่า ภาษาพูดเวลาต้องปรับเป็นภาษาราชการต้องใช้คำว่าอะไร
เช่น
เมื่อไร ภาษาราชการ ต้องเป็น เมื่อใด
ต้องการ ภาษาราชการ ต้องเป็น มีความประสงค์
ใคร ภาษาราชการต้องเป็น ผู้ใด
4. นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำว่า เขียนอย่างไรจึงจะกระชับ ถูกต้อง
ศัพท์คำใด ควรใช้ภาษาไทย คำใดอนุโลมให้ใช้ทับศัพท์ได้
เช่น download ก็มักจะพิมพ์ภาษาอังกฤษลงไปในหนังสือเลย ซึ่งคำไทยของมันก็มีนะคะ คือคำว่า "บรรจุลง"
ภาษาเป็นสิ่งที่มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา
คำบางคำ หลายคนรู้จักคำนั้น ๆ เป็นภาษาต่างประเทศมาก่อน พอมาบัญญัติศัพท์ภาษาไทยเพื่ออธิบาย
หลาย ๆ ครั้งจะงงกว่าเก่า ต้องถามกลับไปว่า ภาษาอังกฤษคือคำว่าอะไร
แบบเดียวกับที่หลายคนคงเคยงงมาแล้วกับคำว่า "คณิตกร" ซึ่งก็คือ คอมพิวเตอร์
อ้อ...เล่มนี้ดูเหมือนจะโหลดฟรีนะคะ ดิฉันไม่แน่ใจเหมือนกัน ลองค้นดูค่ะ รศ.จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ ท่านเขียนและรวบรวมประเด็นมาได้ดีมากเลยค่ะ มีไว้ใกล้ ๆ มือ เวลาต้องร่างหนังสือ จะช่วยให้เขียนได้มั่นใจมากขึ้นค่ะ