แชร์ประสบการณ์การผ่าตัดบายพาสหัวใจ “16 วัน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า”
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำในระหว่างรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นระยะเวลา 16 วัน และที่สำคัญเพื่อกราบขอบพระคุณนายแพทย์วรพจน์ ชมศิริ ตลอดจนคณะแพทย์และพยาบาลศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทุกท่านด้วยความรู้สึกซาบซึ้งใจ ที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดียิ่งจนได้ชีวิตใหม่อีกครั้ง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และญาติผู้ป่วยที่ต้องการหาข้อมูลตั้งแต่การดูแลรักษาทั้งกายและใจ จนถึงการผ่าตัดบายพาสหัวใจ และการพักฟื้นหลังการผ่าตัด
การพบโรค (โดยบังเอิญ)
ราวปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ผมมีนัดพบคุณหมอที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อรักษาโรคนิ่วในไตที่ยืดเยื้อมาร่วมปี คราวนี้คุณหมอแนะนำอย่างจริงจังให้ผมเข้ารับการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และยืนยันว่าไม่มีทางที่นิ่วจะหลุดมาได้โดยการกินยา ผมจึงหมดโอกาสที่จะบ่ายเบี่ยงการผ่าตัดได้อีก คุณหมอจึงนัดหมายวันผ่าตัด และส่งผมไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจหัวใจก่อนผ่าตัด หลังจากได้รับผลการตรวจ คุณหมอบ่นว่า “ผลหัวใจไม่ค่อยดี” ก่อนมีความเห็นว่าให้ผมไปตรวจหัวใจวันนี้เลย
ในเวลาบ่ายวันเดียวกัน ผมจึงถูกส่งตัวมาที่ห้องตรวจอายุรกรรมโรคหัวใจ รออยู่พักใหญ่จึงได้พบคุณหมอพัฒนชัย เฉลิมวรรณ์ และเมื่อคุณหมอเห็นกราฟการเต้นหัวใจของผม คุณหมอก็ถามว่า “มีอาการแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายไหม” ผมตอบไปว่าผมมีอาการปกติทุกอย่าง และวิ่งออกกำลังกายทุกวันเพราะกำลังซ้อมเพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมการวิ่งมาราธอนระยะ 42 กิโลเมตรที่บางแสน คุณหมอทำท่าตกใจบอกให้ผมหยุดวิ่งตั้งแต่วันนี้เพราะการวิ่งเป็นอันตรายต่อผมแล้ว ส่วนเรื่องมาราธอนลืมไปก่อนได้เลย ก่อนเอ่ยประโยคที่ทำให้ผมตกใจ
“คุณเป็นโรคหัวใจ”
ผมรู้สึกจิตตก ใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่ม ก่อนที่หมอจะถาม “สูบบุหรี่หรือเปล่า” ผมตอบคุณหมอว่าสูบตั้งแต่เรียนประถมจนถึงปริญญาเอก คุณหมอแนะนำให้ผมหยุดสูบทันที และเอ่ยว่า “บุหรี่นี่ร้ายที่สุด” หลังจากนั้นคุณหมอสั่งยาให้ผม และนัดมาตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) เพื่อความชัดเจนในการวินิจฉัยโรค ผมออกจากโรงพยาบาลแบบงง ๆ อยู่ดี ๆ ก็เป็นโรคหัวใจ ถึง ณ ตอนนี้ผมบอกได้เลยว่าเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังเข้าข้างตัวเองอยู่ว่าไม่น่าเป็นอะไรมาก กลับบ้านไปรีบหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต พบว่าแนวทางการรักษามีอยู่ 3 วิธี 1) กินยา 2) ทำบอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือด และ 3) ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ตั้งแต่เกิดมาจนอายุได้ 47 ปี อย่าว่าแต่ผ่าตัดเลยแค่เจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลก็ยังไม่เคย ได้แต่ภาวนาในใจขอให้เป็นวิธีแรกเถิดเจ้าพระคุณ
วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ผมก็มานอนตะแคงให้คุณหมอตรวจ Echo ในระหว่างที่คุณหมอกำลังตรวจอยู่นั้น ใจก็ภาวนาว่าขออย่าเป็นอะไรมากเลย แต่หลังจากที่คุณหมอดูจอมอนิเตอร์และฟังเสียงการเต้นหัวใจของผมได้สักพัก คุณหมอก็อธิบายว่าส่วนบนของหัวใจผมไม่มีเลือดไปเลี้ยงเลย ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจไม่ดีและเป็นอันตรายมาก คุณหมอยืนยันว่าผมเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และแจ้งว่าต้องส่งตัวผมไปทำการฉีดสีเพื่อตรวจรักษาในขั้นตอนต่อไป พร้อมจ่ายยาให้ทานชุดใหญ่ และคำแนะนำแบบจริงจังมาก โดยให้ผม ลดเค็ม ลดหวาน ลดแป้ง งดอาหารทอด งดของมัน อนุญาตให้ออกกำลังกายด้วยการเดินเท่านั้น บังเอิญคุณหมอเห็นผมใส่นาฬิกาที่วัดอัตราการเต้นหัวใจได้ จึงบอกว่าควบคุมอย่าให้ HR เกิน 130 ตั้งแต่วันนั้นชีวิตผมก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผมถามคุณหมอว่าทำไมผมถึงไม่มีอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่ายเหมือนผู้ป่วยคนอื่น คุณหมออธิบายว่าอาจใกล้เคียงกับเคสของนักกีฬาที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง จึงทำให้ร่างกายทนทานต่อความเหนื่อยได้มาก
“โชคดีที่พบก่อน ถ้าคุณไปวิ่งระยะทางไกล ๆ คุณไม่รอดแน่” คุณหมอเอ่ยขึ้น ผมก็คิดเช่นนั้นเหมือนกันน่าจะร่วงตั้งแต่ตอนซ้อมแบบ Long Run เลยเสียด้วยซ้ำ
แชร์ประสบการณ์การผ่าตัดบายพาสหัวใจ “16 วัน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า”
การพบโรค (โดยบังเอิญ)
ราวปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ผมมีนัดพบคุณหมอที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อรักษาโรคนิ่วในไตที่ยืดเยื้อมาร่วมปี คราวนี้คุณหมอแนะนำอย่างจริงจังให้ผมเข้ารับการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และยืนยันว่าไม่มีทางที่นิ่วจะหลุดมาได้โดยการกินยา ผมจึงหมดโอกาสที่จะบ่ายเบี่ยงการผ่าตัดได้อีก คุณหมอจึงนัดหมายวันผ่าตัด และส่งผมไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจหัวใจก่อนผ่าตัด หลังจากได้รับผลการตรวจ คุณหมอบ่นว่า “ผลหัวใจไม่ค่อยดี” ก่อนมีความเห็นว่าให้ผมไปตรวจหัวใจวันนี้เลย
ในเวลาบ่ายวันเดียวกัน ผมจึงถูกส่งตัวมาที่ห้องตรวจอายุรกรรมโรคหัวใจ รออยู่พักใหญ่จึงได้พบคุณหมอพัฒนชัย เฉลิมวรรณ์ และเมื่อคุณหมอเห็นกราฟการเต้นหัวใจของผม คุณหมอก็ถามว่า “มีอาการแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายไหม” ผมตอบไปว่าผมมีอาการปกติทุกอย่าง และวิ่งออกกำลังกายทุกวันเพราะกำลังซ้อมเพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมการวิ่งมาราธอนระยะ 42 กิโลเมตรที่บางแสน คุณหมอทำท่าตกใจบอกให้ผมหยุดวิ่งตั้งแต่วันนี้เพราะการวิ่งเป็นอันตรายต่อผมแล้ว ส่วนเรื่องมาราธอนลืมไปก่อนได้เลย ก่อนเอ่ยประโยคที่ทำให้ผมตกใจ
“คุณเป็นโรคหัวใจ”
ผมรู้สึกจิตตก ใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่ม ก่อนที่หมอจะถาม “สูบบุหรี่หรือเปล่า” ผมตอบคุณหมอว่าสูบตั้งแต่เรียนประถมจนถึงปริญญาเอก คุณหมอแนะนำให้ผมหยุดสูบทันที และเอ่ยว่า “บุหรี่นี่ร้ายที่สุด” หลังจากนั้นคุณหมอสั่งยาให้ผม และนัดมาตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) เพื่อความชัดเจนในการวินิจฉัยโรค ผมออกจากโรงพยาบาลแบบงง ๆ อยู่ดี ๆ ก็เป็นโรคหัวใจ ถึง ณ ตอนนี้ผมบอกได้เลยว่าเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังเข้าข้างตัวเองอยู่ว่าไม่น่าเป็นอะไรมาก กลับบ้านไปรีบหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต พบว่าแนวทางการรักษามีอยู่ 3 วิธี 1) กินยา 2) ทำบอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือด และ 3) ผ่าตัดบายพาสหัวใจ ตั้งแต่เกิดมาจนอายุได้ 47 ปี อย่าว่าแต่ผ่าตัดเลยแค่เจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลก็ยังไม่เคย ได้แต่ภาวนาในใจขอให้เป็นวิธีแรกเถิดเจ้าพระคุณ
วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ผมก็มานอนตะแคงให้คุณหมอตรวจ Echo ในระหว่างที่คุณหมอกำลังตรวจอยู่นั้น ใจก็ภาวนาว่าขออย่าเป็นอะไรมากเลย แต่หลังจากที่คุณหมอดูจอมอนิเตอร์และฟังเสียงการเต้นหัวใจของผมได้สักพัก คุณหมอก็อธิบายว่าส่วนบนของหัวใจผมไม่มีเลือดไปเลี้ยงเลย ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจไม่ดีและเป็นอันตรายมาก คุณหมอยืนยันว่าผมเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และแจ้งว่าต้องส่งตัวผมไปทำการฉีดสีเพื่อตรวจรักษาในขั้นตอนต่อไป พร้อมจ่ายยาให้ทานชุดใหญ่ และคำแนะนำแบบจริงจังมาก โดยให้ผม ลดเค็ม ลดหวาน ลดแป้ง งดอาหารทอด งดของมัน อนุญาตให้ออกกำลังกายด้วยการเดินเท่านั้น บังเอิญคุณหมอเห็นผมใส่นาฬิกาที่วัดอัตราการเต้นหัวใจได้ จึงบอกว่าควบคุมอย่าให้ HR เกิน 130 ตั้งแต่วันนั้นชีวิตผมก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผมถามคุณหมอว่าทำไมผมถึงไม่มีอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่ายเหมือนผู้ป่วยคนอื่น คุณหมออธิบายว่าอาจใกล้เคียงกับเคสของนักกีฬาที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง จึงทำให้ร่างกายทนทานต่อความเหนื่อยได้มาก
“โชคดีที่พบก่อน ถ้าคุณไปวิ่งระยะทางไกล ๆ คุณไม่รอดแน่” คุณหมอเอ่ยขึ้น ผมก็คิดเช่นนั้นเหมือนกันน่าจะร่วงตั้งแต่ตอนซ้อมแบบ Long Run เลยเสียด้วยซ้ำ