สาเหตุควรรู้..ภาวะวูบหมดสติ

หลายคนมักจะเคยเป็นหรือเห็นใครมีอาการหน้ามืด วูบ หมดสติ มีได้หลายสาเหตุ 
เกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อย ยืนตากแดดนาน ๆ หรือมีการสูญเสียน้ำหรือเกลือแร่ในร่างกาย 
เสียเหงื่อมาก หรือท้องเสียรุนแรง บางคนอาจมีอาการหลังใช้ยาลดความดัน ยาที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
อาการที่ดูเหมือนจะพบเจอได้ทั่วไปนั้น อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ หรือ โรคทางสมองexclaim



วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้   ideaสาเหตุควรรู้..ภาวะวูบหมดสติ idea

ภาวะวูบหมดสติ (Syncopal Attack) ภาวะที่มีการสูญเสียการรับรู้สติ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ
หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติได้ด้วยตัวเอง 
การหมดสติ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองที่เป็นศูนย์ควบคุมการรู้สติขาดออกซิเจนชั่วคราวจึงทำให้ผู้ป่วยหมดสติ

อาการแสดงที่พบในขณะหมดสติ  เรียกไม่รู้สึกตัว ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่ อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ
ปลายมือ ปลายเท้าเย็น เหงื่อออกที่ใบหน้า หน้าและริมฝีปากซีด อาจมีอาการอุจจาระ และ ปัสสาวะราด
ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอนหมดสติไม่ได้ ระยะเวลาการหมดสติ พบได้ตั้งแต่ 30 วินาที – 5 นาที ขึ้นอยู่กับสุขภาพพื้นฐานเดิมและอายุของผู้ป่วย
มีอาการเตือนล่วงหน้าหรือไม่ ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการเตือนล่วงหน้าก่อนหมดสติ เช่น รู้สึกหวิวๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า
เห็นสีวูบวาบ เหมือนตัวลอยๆ  คลื่นไส้



สาเหตุของการเกิดภาวะวูบหมดสติ
-เกิดจากโรคหัวใจโดยตรง เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวัดทั้งชนิดเร็วและช้า
กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติ  ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ

-เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น 
หลังไอ จาม เบ่ง ยืนนานๆ ในที่แออัด หรืออากาศร้อน กลัวการเจาะเลือด  หลังออกกำลังกาย

-เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น  ท้องเสียรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน
 
-เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะ ยาความดันโลหิตสูง  ยารักษาต่อมลูกหมาก  ยาต้านอาการซึมเศร้า  ยาเบาหวาน

ปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อกำลังจะเป็นลมหมดสติ question

ให้รีบล้มตัวลงนอนทันที เพื่อให้หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น จะสามารถป้องกันการเป็นลมได้
และยังลดการเกิดอาการบาดเจ็บถ้าขับรถอยู่ควรจอดทันที แล้วปรับที่นั่งให้อยู่ในท่านอนราบถ้าอยู่ในรถโดยสารควรหาที่นั่ง/นอนในรถ
แจ้งคนรอบข้างว่ากำลังเป็นลม ไม่ควรรีบลงจากรถเพราะอาจหมดสติตรงทางลงทำให้เกิดอันตรายได้

เมื่อพบเห็นคนเป็นลม
ปฐมพยาบาลในเบื้องต้น โดยให้ผู้ป่วยนอนราบให้ได้มากที่สุด ป้องกันการบาดเจ็บจากการเป็นลม
สังเกตลักษณะผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง เช่น หน้าซีด ปากเขียว เหงื่อแตก ตัวเย็น
เพราะจะสามารถบอกสาเหตุของการเป็นลมได้

อาการวูบ ที่ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
มีอาการวูบแล้วหมดสติเป็นเวลานาน ให้เราประเมินการหมดสติ โดยการตะโกนเรียกดัง ๆ และเขย่าที่ไหล่ 
ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวหรือเคลื่อนไหว ควรรีบทำการช่วยชีวิต และนำส่งโรงพยาบาล
วูบแล้วมีอาการชัก ผู้ป่วยวูบแล้วหัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย
มีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย ผู้ป่วยมีอาการตกเลือด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หรือมีเลือดออก
ท้องเสียหรืออาเจียนรุนแรงจนมีภาวะขาดน้ำ มีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างน้อย 1 อย่าง
ดัปวดท้อง ปวดหลัง ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาเห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก เดินเซ หรือแขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ หรือทราบว่ามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น

lovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่