[MV] กว่าดอกไม้จะบาน Ost. บุษบาลุยไฟ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


.

หลายคนน่าจะรู้กันแล้วว่าละครเรื่อง #บุษบาลุยไฟ เป็นละครที่อยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( ร.3 ) ที่เล่าผ่าน “ลำจวน” สาวสามัญชนที่มุ่งมั่นใฝ่หาชีวิตที่ลิขิตเอง ตัวละคร และ สถานที่เรื่องนี้บางส่วนอิงมาจากประวัติศาสตร์ที่มีอยู่จริง จะมีอะไรบ้างนั้นอย่าลืมมาติดตามกันในละครเรื่อง “บุษบาลุยไฟ”
.
.
ยุคที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผู้หญิง ที่จะเข้าถึงหนังสือ และการที่ ตัวละครเอกอย่าง “ ลำจวน” อยากจะเรียนหนังสือจึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นชีวิตที่ลิขิตเอง หญิงที่ใฝ่หาความเป็นอิสระในการใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง การเดินทางและเส้นทางต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ทั้งตัวละคร ชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ติดตามได้ใน “บุษบาลุยไฟ”
.
.

.
📜 ตัวละคร : กวีเอกแห่งยุคอย่าง “สุนทรภู่” และ “คุณพุ่ม” กวีหญิงผู้เป็นที่รู้จักในชื่อ “บุษบาท่าเรือจ้าง” อีกทั้งจิตรกรเอกผู้เป็นบรมครูอย่าง “หลวงวิจิตรเจษฎา” หรือ “ครูทองอยู่” กับ “หลวงเสนีย์บริรักษ์” หรือ “ครูคงแป๊ะ” ทั้งหมดนี้คือตัวละครจากบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์
.
.

.
📜 วิถีชีวิต : ในยุคนั้นที่วัดเป็นดั่งศูนย์รวมจิตใจของผู้คน และเป็นศูนย์กลางของการศึกษา การที่อยากจะได้เล่าเรียน จึงต้องได้รับการบวชเรียน ทำให้ผู้ชายในสมัยนั้น มักเข้าถึงการศึกษาได้มากกว่า และด้วยค่านิยมที่ผู้หญิงจะต้องมีสิทธิ์น้อยกว่าผู้ชาย ทั้งการใช้ชีวิต และการศึกษาที่ต้องทำตามขนบเดิม ที่เคยว่าไว้ว่าผู้หญิงจะต้องเป็นช้างเท้าหลังรอวันให้มีผู้ชายดี ๆ พาไปออกเรือน ส่วนผู้ชายต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองได้มาซึ่งยศฐาบรรดาศักดิ์ ซึ่งทุกคนจะได้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนเหล่านี้ผ่านตัวละครในเรื่อง
.
.

.
📜 ศิลปวัฒนธรรม : ในยุคที่ศิลปะเฟื่องฟูมาก สมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการยกเลิกละครใน จึงทำให้ทางครูละครได้เผยแพร่ความรู้ และสั่งสอนการแสดงละครไปสู่สามัญชน ทำให้ศิลปะการแสดงละครเฟื่องฟูขึ้นเกิดเป็น “ละครนอก” มากมาย ด้านจิตรกรรม วรรณกรรม และสถาปัตยกรรม ภาพเขียนฝาผนังจะเป็นภาพที่เล่าชีวิตความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และอีกหลาย ๆ อย่าง เป็นเหมือนศูนย์กลางของการเรียนรู้

ติดตามชมละคร #บุษบาลุยไฟ ได้ทุกวันศุกร์-อาทิตย์
เริ่มตอนแรก วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายนนี้ เวลา 20.15 น. ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3
------------------
🔴รับชมอีกครั้งทาง www.VIPA.me                                       
🔴ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม www.thaipbs.or.th/Budsaba
                  
#ละครไทยพีบีเอส
#สตรีผู้มาก่อนกาล
#บุษบาลุยไฟ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่