คุณว่าน้ำยาหม้อน้ำหรือคูแลนท์ ผลิตออกเพื่อจุดประสงค์ที่แท้จริงคืออะไรครับ

ก่อนจะเข้าเรื่องน้ำยาคูแลนท์จะเล่าประสบการณ์ใช้น้ำเปล่าเติมใส่หม้อน้ำให้ฟังครับ 
มีรถพี่ชายซึ่งใช้งานมานานนับสิบปี เป็นรถตลาดในบ้านเรานะครับ เติมน้ำประปาใส่หม้อน้ำมานานแล้ว สีของน้ำจะออกแดงขุ่น สีสนิมนั่นแหละ แกก็มาเล่าให้ฟังว่าความร้อนขึ้นสูงมาก ให้ช่างแก้เท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายก็ขายรถทิ้งไป ผมเดาว่าตาน้ำในเครื่องคงเกิดสนิมและตันเยอะ ทำให้ความร้อนขึ้น แต่พี่แกก็ไม่เชื่อนะว่าเป็นเพราะน้ำเปล่าที่เติมไป 
วันนี้เลยจะมาขอความเห็นพี่ๆเพื่อนๆว่า เจ้าน้ำยาคูแลนท์เนี่ย ประโยชน์คืออะไร ดีกว่าน้ำเปล่าหรือไม่ จะได้เป็นประโยชน์กับท่านที่ยังเติมน้ำเปล่าอยู่ 

ปล.ใจจริงอยากถกเรื่องการแลกเปลี่ยนความร้อนภายในเครื่องยนต์ด้วยนะครับ น้ำยาคูแลนท์กับน้ำเปล่า อันไหนระบายได้ดีกว่ากัน 

ขอบพระคุณทุกท่านที่มาแบ่งปันข้อมูลครับผม
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
coolant คืออะไร แล้วมีหน้าที่อะไร
Coolant หรือ น้ำยาหล่อเย็น คือ สารหล่อเย็นสำหรับเครื่องยนต์ เป็นของเหลวที่ใช้เพื่อถ่ายเทความร้อนส่วนเกินออกจากเครื่องยนต์
ที่มีการทำงานในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ที่มีการสันดาบเผาไหม้ภายในจนเกิดความร้อนขึ้น

ซึ่งโดยทั่วไป 1 ใน 3 ของพลังงานที่ได้จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจะไปขับเคลื่อนยานพาหนะ ส่วนอีก 2 ใน 3 ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
และ 1 ใน 3 ของพลังงานความร้อนจะถูกกำจัดผ่านท่อไอเสีย ส่วนความร้อนที่เหลืออีก 2 ส่วน ต้องใช้น้ำยาหล่อเย็นช่วยดูดซับความร้อนนี้ออกจากเครื่องยนต์ ส่งต่อไปยังหม้อน้ำเพื่อเข้าสู่กระบวนการระบายความร้อน ช่วยให้เครื่องยนต์เย็นลง และไม่ร้อนจัดจนอาจนำไปสู่การเกิดโอเวอร์ฮีท

coolant มีส่วนประกอบอะไร?
coolant ของเหลวสีสันสดใสสะท้อนแสง ที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เติมคูลแลนท์แล้วดีกว่าน้ำเปล่าอย่างไร เรามาดูส่วนประกอบ
ที่อยู่ภายในคูลแลนท์กัน

– เพิ่มจุดเดือดของน้ำ
เป็นที่รู้กันดีว่า น้ำมีจุดเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และเมื่อถึงจุดเดือดจะระเหยกลายเป็นไอ ซึ่งหากเกิดจุดเดือดเร็วก็จะระบายความร้อน
ได้ไม่ดี ไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์แน่ๆ เพราะอุณหภูมิในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ หากรอบเครื่องสูงๆ อาจมีความร้อนมากเกินกว่านั้น
และจุดเดือดแค่ 100 องศา อาจไม่เพียงพอ coolant จึงมีจุดเดือดที่อุณหภูมิสูงกว่านั้นมาก อาจมากถึง 120-150 องศา หรือมากกว่านั้น
(แล้วแต่คุณสมบัติของ coolant นั้นๆ) ซึ่งทำให้การระบายความร้อนทำได้ดีกว่า และเครื่องยนต์ไม่ร้อนจัด

– ยับยั้งการกัดกร่อน
ชิ้นส่วนของหม้อน้ำส่วนใหญ่ประกอบด้วยโลหะ ซึ่งอาจมีการทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วเกิดสนิมหรือเกิดการกัดกร่อนได้ ดังนั้น ใน coolant
จึงมีการเพิ่มสารที่ช่วยยับยั้งการกัดกร่อนลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำและชิ้นส่วนต่างๆ ผุกร่อนก่อนเวลาอันควร ซึ่งเป็นเหตุให้การระบาย
ความร้อนผิดปกติ อาจมีรอยรั่วซึมต่างๆ หากเป็นมากระบายความร้อนไม่ทัน รถจะเกิดโอเวอร์ฮีทได้

– ป้องกันการเกิดคราบตะกรัน
คราบตะกรัน คือคราบที่เหมือนหินปูนเกาะตัวอยู่ หากใครนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงกาต้มน้ำที่ต้มน้ำไปนานๆ จะมีคราบเป็นแผ่นขาวขุ่น แข็งๆ
เกาะอยู่ภายใน ในหม้อน้ำของเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อต้องอยู่กับความร้อนตลอดเวลา และหากใครเติมด้วยน้ำเปล่า น้ำนั้นอาจมีแร่ธาตุที่ทำให้
เกิดตะกรันสะสมอยู่ในหม้อน้ำ ไปอุดตันอยู่ตามแผงหม้อน้ำ หรือภายในชิ้นส่วนต่างๆ ของหม้อน้ำ ทำให้ภายในหม้อน้ำสกปรกและยังลดประสิทธิภาพ
ในการระบายความร้อนลงไป ดังนั้น coolant จึงได้เพิ่มสารป้องกันการเกิดคราบตะกรันลงไปด้วย เพื่อไม่ให้หม้อน้ำมีตะกรันไปเกาะตัวหรืออุดตันได้

– ป้องกันการเกิดฟอง
ภายในหม้อน้ำ เมื่อทำงานจะเป็นระบบหมุนเวียน มีน้ำวนไปวนมาอยู่ภายในตลอดเวลา และยังมีใบพัดเพื่อช่วยหมุนระบายความร้อน ซึ่งนั่นก็จะทำให้
มีฟองอากาศเกิดขึ้นได้ ซึ่งการเกิดฟองอากาศทำให้การระบายความร้อนลดลง และอายุการใช้งานของส่วนประกอบในระบบหล่อเย็นสั้นลง
ดังนั้น coolant จึงเพิ่มสารป้องกันการเกิดฟอง ช่วยลดฟองอากาศที่จะเกิดขึ้น ทำให้การระบายความร้อนทำได้อย่างเต็มที่

– ช่วยตรวจสอบจุดรั่วซึมของหม้อน้ำ
สังเกตดูว่า coolant ไม่ว่าจะยี่ห้ออะไร ล้วนแล้วแต่มีสีสันสดใสสะท้อนแสงกันทั้งนั้น ถึงแม้สีจะต่างกันบ้าง เช่น สีเขียว สีชมพู
แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน นั่นก็คือ ทำให้สามารถมองเห็นรอยรั่วซึมของหม้อน้ำได้ง่าย หากว่าหม้อน้ำมีจุดรั่วเกิดขึ้น ถ้าเป็นน้ำเปล่าใสๆ
การจะหาว่ามีรอยรั่วอยู่ตรงไหนคงต้องหากันนาน แต่พอเป็นสีสะท้อนแสง เราสามารถหาจุดรั่วนั้นได้อย่างรวดเร็ว และแก้ปัญหาได้ตรงจุด
หากเป็นจุดเล็กๆ สามารถซ่อมได้ เป็นการประหยัดงบในการซ่อมแซมลงด้วย

เครดิตจาก [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
1. ป้องกันสนิมจากการสัมผัสน้ำ
2. เพิ่มจุดเดือดของน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเดือดที่ 100 องศา
(อุณหภูมิในการหล่อเย็น สามารถเกิน 100 องศาได้)
3. สีที่ผสมช่วยให้สังเกตได้เมื่อมีรั่วซึม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่