รวมคำศัพท์สารสนเทศที่ควรรู้และน่าสนใจ Part II

กระผมว่าที่ร้อยเอกอรุณวัชร์ กร่ำธาดา วิศวกร ระดับ 5  บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ
ขอแนะนำคำศัพท์สารสนเทศที่ควรรู้ และน่าสนใจมาฝากครับ
Memory
card หรือ  flash card  การ์ดหน่วยความจำหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล นิยมใช้งานกับกล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ
เครื่องคอมพิวเตอร์
 
Metropolitan
Area Network ใช้คำย่อว่า  MAN เครือข่ายสาธารณะความเร็วสูง
ทำงานที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที ส่งผ่านทั้งข้อมูลและเสียงไปได้ในระยะไกลไม่เกิน 50
ไมล์, MAN มีขนาดเล็กกว่า WAN (Wide Area Network) แต่ใหญ่กว่า LAN
(Local Area Network)
 
MHz  ย่อมาจาก 
MegaHertz, เมกะเฮริตซ์, ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน MHz จะบอกถึงไมโครโปรเซสเซอร์ว่ามีความเร็วเพียงใด
หรือทางเทคนิค คือ ความเร็วในการหยุดและหมุนมากน้อยเท่าไร
 
Microcomputer
ไมโครคอมพิวเตอร์
ตอนกลางยุค 70 คำว่า ไมโคร มาจากคำว่า ไมโครโปรเซสเซอร์
ซึ่งเป็นชิปเปรียบเหมือนสมองคอมพิวเตอร์ ไ
มโครคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันนี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในอดีต
 
Microprocessor
ไมโครโปรเซสเซอร์
หรือเรียกสั้นๆ ว่า โปรเซสเซอร์  คือ
ชิปประมวลผลกลาง (สมอง) ในไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันทั่วไปในเครื่องพีซี
ทำหน้าที่ควบคุมฟังก์ชันหลักของคอมพิวเตอร์
แล้วเพิ่มเติมการทำงานด้วยชิปโปรเซสเซอร์ร่วม
 
ไมโครโปรเซสเซอร์มีการพัฒนาการเร็วมาก
มีรุ่นใหม่ๆออกสู่ตลาดตลอดเวลา นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว
ไมโครโปรเซสเซอร์ยังมีใช้ในเตาไมโครเวฟ วีซีอาร์ และรถยนต์
รวมไปถึงเครื่องคิดเลขพกพาและเครื่องพิมพ์เลเซอร์
 
Mobile Operating System ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์มือถือโดยจะใช้งานบนอุปกรณ์มือถือต่างๆ
เช่น โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน  พีดีเอ (PDA)
และคอมพิวเตอร์แบบพกพา
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์มือถือ เช่น Android, IOS, Windows Phone
 
Modem ย่อมาจาก  modulator – demodulator โมเด็ม  อุปกรณ์ที่นำไปต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อติดต่อกับเครื่องที่อยู่ไกลออกไปผ่านทางสายโทรศัพท์
โมเด็มจะแปลงสัญญาณระหว่างดิจิตอลซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้กับแอนะล็อกซึ่งเป็นสัญญาณที่เหมาะกับการส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์
เมื่อโมเด็มได้รับสัญญาณจะทำการ modulate และ demodulate ข้อมูลจากสัญญาณที่ได้รับ
โมเด็มมีความเร็วหรืออัตราการส่งข้อมูล (baud rate) ได้หลายอัตราเช่น
1200, 2400, 9600, 14400, 28800 bps จนถึง 56 kbps การต่อเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตนั้น
คุณต้องใช้โมเด็มและซอฟต์แวร์สื่อสาร โมเด็มแบบภายใน (Internal Modem) จะใส่เข้าภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
และโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem) โดยจะต่อเข้ากับพอร์ตอนุกรม
RS-232 หรือพอร์ต USB ปัจจุบันมีโมเด็มหลายชนิด เช่น เคเบิลโมเด็ม  ADSL โมเด็ม 
โมเด็มที่รับสัญญาณไมโครเวฟ
 
Modulation  กระบวนการในเรื่องการสื่อสารที่โมเด็มใส่สัญญาณดิจิตอลเข้าไปในช่องสัญญาณนำส่งข้อมูล
เพื่อให้สัญญาณนั้นส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ด้วยความถี่แบบแอมพลิจูด
หรือเฟสของสัญญาณ (แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นแอนะล็อกด้วยการ modulation)
 
MP3  (MPEG Audio Layer 3)  คือ เทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์เสียง ซึ่ง MP3  นี้เป็นส่วนหนึ่งของ  MPEG-1 
และ  MPEG-2, MP3 ได้ถูกพัฒนาในปี
1991 โดยสถาบัน  Fraunhofer  ที่ประเทศเยอรมัน MP3 ใช้การแปลงไฟล์เสียงและบีบอัดไฟล์เสียงโดยใช้แฟกเตอร์
12 โดยมีเงื่อนไขว่าคุณลักษณะต่างๆนั้นยังคงเหมือนเดิม ไฟล์เพลง  MP3 นั้นจะต้องเล่นด้วยโปรแกรมหรือเครื่องเล่น

MPEG  ย่อมาจาก Moving Picture Experts
Group  อ่านว่า เอ็ม เพ็ก  เป็นมาตราฐาน 
ISO/ITU สำหรับการบีบอัดไฟล์วีดีโอหรือรูปภาพ 
MPEG  คือ
การบีบอัดโดยบางส่วนของไฟล์หายไป หมายถึง ว่า
จะมีบางส่วนของภาพต้นแบบที่หายไปในระหว่างขั้นตอนการบีบอัดเพื่อสร้างไฟล์  MPEG 
และไม่สามารถดึงส่วนที่หายไปกลับมาได้
 
MPEG-1  ถูกใช้ในซีดีรอมและวีดีโอซีดี โดยจะมีความละเอียด
352x288 ที่ 30 เฟรมต่อวินาที สี 24 บิต แลเสียงจะเป็นเสียงโดยปกติ  MPEG 
ส่วนมากจะมีอุปกรณ์เสริมในเรื่องอัตราส่วนการขยายเพื่อใช้ในการแสดงภาพแบบเต็มจอ
MPEG-1 นั้นต้องการแบนด์วิดธ์ 1.5 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
 
 MPEG-2  สนับสนุนไฟล์เสียงและวีดีโอได้มากกว่า รวมทั้ง TV,
HDTV และ  เสียงกระจายแบบห้าทิศทาง
โดย MPEG-2 นี้ให้ความละเอียดถึง  720x480
ซึ่งใช้ในหนัง
DVD  MPEG-2 นี้ต้องการแบนด์วิดธ์ในช่วง
4-15 เมกะบิตต่อวินาที ส่วน  MPEG-3
นั้นไม่ประสบความสำเร็จ
 
MPEG-4  คือ ก้าวใหม่ของ MPEG ที่แตกต่างจากวิธีการบีบอัดแบบก่อนๆ  MPEG-4 เกี่ยวข้องกับเสียง/ภาพ (AVOs) ที่ถูกจัดเรียงอย่างอิสระแทนที่จะเป็นข้อมูลแบบกระแสต่อเนื่อง
โดยอนุญาตให้มีการแก้ไขรหัสข้อมูลและมีความยืดหยุ่นอย่างมากในการแก้ไข MPEG-4
สนับสนุนโหมดเสียงและภาพให้มีช่วงกว้างขึ้น  เพิ่มช่วงการถ่ายทอดข้อมูล
และยังมีความฉลาดมากขึ้น รวมถึงระบบการป้องกันด้วย และยังมีมาตรฐานเสริมขึ้นมาอีก
คือ MPEG-7 และ MPEG-21
 
MPU  ย่อมาจาก 
MicroProcessor Unit  หน่วยไมโครโปรเซสเซอร์
หน่วยประมวลผลแบบจุลภาค หน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่ประกอบด้วยวงจรควบคุมและคำนวณ
 
Multicast  การส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายหลายแห่งพร้อมกันในลักษณะแบบกระจายข่าวจากที่หนึ่งไปยังเป้าหมายปลายทางงที่กำหนดได้หลายๆที่พร้อมกัน
 
Multi-core
ย่อมาจาก  Multi-core processor การรวมแกนประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู
ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปไว้ ทำให้ระบบมีการประมวลผลเร็วขึ้น
 
Multimedia
มัลติมีเดีย
สื่อผสม ความสัมพันธ์ระหว่างวีดีโอ เสียง และภาพกราฟฟิก
ซอฟต์แวร์มัลติมีเดียจะผสมผสานสื่อตั้งแต่ 2 สื่อด้วยกัน
เพื่อใช้นำเสนอหรือวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหลายชุดที่ให้ผสมภาพกราฟิกกับเสียงได้
ระบบงานมัลติมีเดียขนาดใหญ่
มักจะอยู่ในอุปกรณ์ซีดีรอมเพราะต้องการหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก
 
Multiplexing
การส่งข้อความหลายๆข้อความไปมาพร้อมๆกันในช่องทางเดียวกันของเครือข่าย
ในคอมพิวเตอร์ การมัลติเพล็กซ์ทำให้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1
เครื่องเข้าใช้เครือข่ายเดียวกันได้พร้อมกัน การทำมัลติเพล็กซ์ ทำได้หลายวิธี
ดังนี้

 Frequency-division multiplexing จะแยกสัญญาณด้วยการ  modulate  ข้อมูลเข้าไปในความถี่ที่แตกต่างกันในการนำส่ง
 
 Time-division multiplexing แบ่งช่วงเวลาที่มีให้แก่สัญญาณต่างๆ
 
 Statistical multiplexing  ใช้เทคนิคทางสถิติเข้ามาใช้จัดหาที่ว่างแบบไดนามิกในการส่งตามรูปแบบการส่งข้อมูล
 
NAP  ย่อมาจาก 
Network Access Point จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
จุดของเครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากับสายส่งข้อมูลความเร็วสูงของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
Narrowband  ในเรื่องของการสื่อสาร หมายถึง
ช่องทางส่งสัญญาณในระดับสัญญาณเสียงที่มีความเร็วไม่เกิน  2,400  บิตต่อวินาที
 
NAT  ย่อมาจาก 
Network Address Translation 
ใช้สำหรับเปลี่ยนหมายเลขไอพีที่ใช้ภายในเครือข่ายอินทราเน็ต
ให้เป็นหมายเลขไอพีสากลที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
NetBEUI  ย่อมาจาก 
NetBIOS Extended User Interface ดีไวซ์ไดร์เวอร์ของเครือข่ายใน  transport layer ซึ่งมีอยู่ใน LAN
Manager ของไมโครซอฟท์
 
NetBIOS  ย่อมาจาก 
Network Basic Input/Output System เป็น  Application
Program Interface (API) สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการสื่อสารผ่านระบบแลนของ  IBM PC โดย  NetBIOS
จะให้บริการเกี่ยวกับ
session layer ของ  OSI model  คือ ยอมให้คอมพิวเตอร์ทำการสื่อสารผ่านระบบแลนได้
 
Netware  เน็ตแวร์ 
ซอฟต์แวร์จัดการเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติการของตัวให้บริการแฟ้ม (file
server) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบโนเวลล์
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่มีผู้ใช้ได้หลายคนพร้อมกันของบริษัทโนเวลล์ซึ่งทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทลและใช้ได้กับดอส
แมคอินทอช โอเอส/ทู วินโดวส์ รวมทั้งผู้ให้บริการบนยูนิกซ์ ตัวเน็ตแวร์ใช้ได้กับโปรโตคอลเครือข่าย
เช่น IPX/SPX, TCP/IP, OSI หรือ NetBIOS
 
Network adapter  อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือแผ่นวงจรที่ทำให้คอมพิวเตอร์
เชื่อมเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายควรใช้อะแดปเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าในโครงข่าย ชนิดของวงจรเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ใช้
 
Network administrator ผู้ดูแลเครือข่าย คำที่อาจจะเรียกแทนได้  คือ  system
administrator เป็นผู้ที่รับผิดชอบการทำงานของเครือข่าย หน้าที่ของผู้ดูแลเครือข่าย
ได้แก่ วางแผนการขยายตัวในอนาคต ติดตั้งเวิร์กสเตชั่นใหม่ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ
บนเครือข่าย
การเพิ่มหรือลดผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เข้าใช้งานเก็บสำรองแฟ้มระบบหรือแฟ้มสำคัญ
กำหนดและแก้ไขรหัสผ่าน แก้ปัญหาบนเครือข่าย ตรวจตราประสิทธิภาพของเครือข่าย
ติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อการปรับปรุงและสอนผู้ใช้
 
Network architecture สถาปัตยกรรมเครือข่าย การออกแบบเครือข่าย ที่รวมตั้งแต่ฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ วิธีการเข้าใช้เครือข่าย 
และโปรโตคอลที่ใช้ สถาปัตยกรรมเครือข่ายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
กำหนดขึ้นมาโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐาน เช่น International Organization for
Standardization/ Open Systems Interconnection (ISO/OSI) ที่เป็น 7-layer
model เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
หรือที่ผู้ใช้รายใหญ่ออกแบบมา
 
Network File System  ใช้คำย่อว่า NFS  ระบบกระจายการใช้แฟ้มร่วมกัน ที่บริษัท
ซันไมโครซิสเต็ม จำกัด เป็นผู้พัฒนา  NFS  นั้นให้คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายใช้แฟ้มและอุปกรณ์อื่นๆ
ของคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายเหมือนต่ออยู่ด้วยกัน  NFS ไม่ขึ้นกับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยจะทำงานได้ไม่ว่าจะเป็นเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ เวิร์กสเตชั่นที่ใช้ชิปแบบ  RISC 
เวิร์กสเตชั่นที่ไม่มีดิสก์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
 
Network Interface Card ใช้คำย่อว่า  NIC  แผ่นวงจร เพิ่มบนพีซี
ที่เสียบเข้าไปในพีซีหรือตัวให้บริการและทำงานกับระบบปฏิบัติการเครือข่าย
เพื่อควบคุมการส่งข้อมูลไปมาในเครือข่ายกับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม NIC นี้จะต่อเข้ากับสายเคเบิล
เช่น สายบิดเกลียว โคแอกเชียล หรือสายใยแก้วนำแสง
 
Network layer เลเยอร์ที่ 3ใน 7 เลเยอร์ของการจัดตามมาตรฐาน ISO/OSI  สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์
ในเลเยอร์นี้จะกำหนดโปรโตคอลในการหาเส้นทางส่งข้อมูล
เพื่อทำให้แน่ใจว่าข้อมูลจะไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้อง
 
Network Management โปรแกรมที่ช่วยในการบริหารเครือข่าย เช่น
การตรวจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเครือข่าย
วิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เก็บข้อมูลสถิติ
และแสดงสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
 
Noise  สัญญาณรบกวน ในเรื่องการสื่อสาร คือ
สัญญาณผิดปกติที่เกิดขึ้นบนช่องทางการสื่อสาร
ทำให้คุณภาพหรือประสิทธิภาพของช่องการสื่อสารลดลง
สัญญาณรบกวนมักจะเกิดจากสายไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ๆ อุปกรณ์ไฟฟ้ากำลัง เช่น มอเตอร์
 
OEM  ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer
บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ใส่ในเครื่องที่ผู้อื่นประกอบและขาย
เพราะมีโรงงานประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่แห่งที่ทำส่วนประกอบทั้งหมดเอง
แต่มักจะ OEM ชิ้นส่วนมาจากบริษัทหรือโรงงงานอื่น
 
On-line  ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และทางด้านการสื่อสาร
ออนไลน์ คือ สถานะการเชื่อมต่อ แต่ถ้า offline  หมายถึง ยกเลิกการเชื่อมต่อ

Open Source โอเพ่นซอร์ส การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ผู้เขียนโปรแกรมเปิดเผยซอร์สโค้ด
เพื่อให้นักพัฒนาหรือผู้ใช้งานได้ทราบ
และให้สิทธิ์เสรีแก่ผู้ที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกันในลักษณะของสังคมซอฟต์แวร์โดยโปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาให้เกิดเป็นซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพต่อไปซึ่งการงานโอเพ่นซอร์สจะถูกนำมาทดแทนซอฟต์แวร์ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
เพื่อช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
เช่น เบราเซอร์ไฟร์ฟอกซ์ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์  เป็นต้น
 
ด้วยความเคารพ
ว่าที่ร้อยเอกอรุณวัชร์ กร่ำธาดา
วิศวกรอรุณวัชร์ กร่ำธาดา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่