"เด็กหยก" เรื่องเศร้าที่ถูกมองข้าม?

กระทู้สนทนา
วันนี้ เรื่องราวของ “เด็กหยก”  นักเรียนวัย 15 ปี กลายเป็นไวรัล ที่กลายเป็นกระแสให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึง ปรากฎการณ์ที่คนไทย เริ่มสับสนในเรื่องของคำว่า “สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค” กับ  คำว่า “หน้าที่และความรับผิดชอบ” บนพื้นฐานของคำว่า “กฎและกติกาสังคม” มันมีเส้นแบ่งกันตรงไหน?

ความก้าวร้าวที่เด็กแสดงออกต่อโรงเรียน ผ่านคลิปที่มีเสียงกองเชียร์สนับสนุน จนเธอหาญกล้าถึงขนาดปีนรั้ว,โต้เถียงและแสดงความก้าวร้าวต่อ ครูและสถาบันที่ตนเองควรจะใช้สถาบันแห่งนี้เป็นเส้นทางชีวิตที่งดงามและเดินไปสู่อนาคตที่สดใส ซึ่งอาจมิใช่วิสัยของเด็กที่เคยมีประวัติเรียนดู,เรียบร้อย

ภาพคลิปเด็กอายุ 15 ปี  ที่ไม่น่าเชื่อว่า เธอเดินไปด้วยการห้อมล้อมด้วยคนที่เข้ามาเสมือนควบคุมทั้งกายและจิตวิญญาณ โดยไม่ปรากฏผู้ปกครองที่เป็นพ่อและแม่ที่ควรจะเป็นที่พึ่งที่อบอุ่นและชี้ทางให้ลูกอย่างถูกต้องสอดคล้องกับ norm ของไทย

ที่ไม่น่าเชื่อก็คือ ในขณะที่ ฝรั่งมันโจมตีว่าไทยเป็นแหล่งที่มีการค้ามนุษย์แทบจะทุกสาขาอาชีพ...เหยียดหยามเราสารพันแถมด้วยการแอนตี้ผ่านการแซงชั่นด้านเศรษฐกิจ

แต่กับเด็กวัย 15 ปี ที่ยังมี กฎหมายอย่าง พ.ร.บ  คุ้มครองเด็กฯ ใช้บังคับอยู่  แต่กลับไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กระทรวงพัฒนาสังคมฯ กรมคุ้มครองสวัสดิการเด็ก ฯลฯ   ออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ว่า เด็กคนนี้กำลังอยู่ภายใต้การควบคุมและใช้ประโยชน์จากบุคคลที่ไม่ได้ปรารถนาดี และส่งผลให้เด็กที่ควรมีอนาคตอันสดใสจะกลายเป็นเครื่องมือใช้ประโยชน์ไม่ต่างกับการ “ค้ามนุษย์”

พ.ร.บ คุ้มครองเด็ก  นิยามชัดถึงเด็กที่มีอายุไม่ถึง 18  โดยเฉพาะความหมายเด็กที่ปรากฏตาม ม.4  ที่ระบุถึง “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย .....”

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...  เรามัวทำอะไรอยู่?  
 
อย่าลืมว่า   การพิเคราะห์กรณีการทำร้ายเด็ก มันเป็นอะไรที่ต้องใช้  การเข้าถึงทั้งใน “นิติสภาพ” และ “พฤติสภาพ” ที่อาจไม่สายที่จะช่วยเด็ก ๆ ได้.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่