- สำหรับผมค่อนข้างผิดคาดอย่างที่คิดว่าจะเป็นหนังประเภทสารคดี-อัตชีวประวัติของศิลปินผู้ให้กำเนิด มูมิน ตามชื่อเรื่องแบบให้ข้อมูลเชิงวิชาการอย่างเดียว แต่ที่ไหนได้มันเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นดราม่าของศิลปินผู้นี้ล้วน ๆ มีแทรกด้วยภาพผลงานของเธอเป็นของกับแกล้มระหว่างทาง ซึ่งจะเน้นเรื่องราวส่วนตัวของตูเวมากกว่าการพุ่งไปที่จุดหมายปลายทางสูงสุดนั่นคือการเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงโดยไร้เงาจากพ่อของตนเองซึ่งควรจะเป็นจุดขายของการนำเสนอเรื่องจริง ๆ แถมรู้สึกว่าบางช่วงแอบแวะข้างทางจนยืดยื้อย้วยยานกับสิ่งไม่จำเป็นบางอย่างที่แทรกมาเนียน ๆ อย่างงานภาพ Realistic เหนือจินตนาการให้ดูเพ้อฝันและซับซ้อนแอบติสท์จนดูยากไปหน่อยแถมรู้สึกเบื่อไปหลายช่วงแต่งงกับตนเองว่าทำไมไม่หลับวะ ภาพรวมที่ถ่ายทอดออกมาแต่ละ Scene ผมกลับไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวตูเวซะให้รู้สึกเอาใจช่วยหรือโศกเศร้าซะเท่าไหร่ แถมจุดขายอีกอย่างที่ขึ้นชื่อว่าให้กำเนิด มูนิน ก็รู้สึกว่าเหมือนเป็นส่วนประกอบเข้าไปทำหน้าที่เกริ่นนำให้รู้ว่า ฉันถูกพูดถึงแล้วแต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปที่วิธีการชั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนถึงประสบความสำเร็จว่าระยะทางที่ผ่านมาไปพบเจออะไรมาบ้าง ถ้าเล่าขยายในส่วนตรงนี้ลงไปหน่อยก็พอทำให้ผมเห็นถึงความพยายามฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานาของตัวตูเวที่เป็นผู้หญิงคนนึงที่มีใจรักศิลปะแต่ดันดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสงครามและต้องดิ้นรนต่อสู้กับการเมืองในโลกชายเป็นใหญ่และทัศนคติของยุคสมัยที่มองศิลปะที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในแวดวงกว้างเหมือนในปัจจุบัน ได้มากกว่านี้
- ตัวหนังเล่าเป็นเส้นตรงโดยแบ่ง Timeline ออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปี 1944 , 1947 และ 1952 ผ่านการเติบโตของตัวตูเวเป็นหลักที่เข้าใจง่าย ข้อดีคือช่วยบีบร่นเวลาออกไปได้ให้เล็กลงรวดเร็วและทำให้เราทำความเข้าใจเรื่องราวที่สื่อออกไปได้ง่ายขึ้นว่าแต่ละช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตัวเธอบ้าง ขณะเดียวกันก็มีข้อตำหนิที่เห็นชัดเลยคือ Details บางอย่าง (และหลายอย่าง) จะตกหล่นกลางทางไปค่อนข้างมากบวกกับการตัดต่อแบบฉากตัดฉากแทรกกับความเชื่องช้าของเรื่องที่หลีกเลี่ยงความรุนแรงจากเหตุการณ์จนขาดความตื่นเต้นและควานลื่นไหลต่อบทที่พยายามประติดประต่อรวมกันเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผล เช่น ฉากพ่อมีน้อยมาก แต่ตายตอนไหนก็ไม่รู้จู่ ๆ ก็ถูกพูดถึงอีกทีในช่วงท้ายระหว่างที่ตูเวมาเก็บของที่บ้านและคุยกับแม่เรื่องพ่อเสียแล้ว หรือกระทั่งตัว อาโทส คนรักชายอีกคนของตูเว ที่โผล่มาหาวับ ๆ แวม ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบในการขับเคลื่อนชีวิตของตูเวในแง่ของเพศชายแค่นั้น อารมณ์เหมือนยังเคี้ยวข้าวไม่ทันรับรสทีก็เผลอกลืนลงไปเรียบร้อยแล้วนั่นแหล่ะ แถมความยาวของหนังมีเพียง 1 ชั่วโมง 43 นาที ซึ่งยังถือว่าน้อยสำหรับประเภทนี้ อยากให้ใส่พื้นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพ่อและอุปสรรคในการเป็นศิลปินหรือการแสดงผลงานของเธอให้มากกว่านี้ถึงจะดี
- แม้ช่วงใกล้จะจบหนังได้รับการคลี่คลายปมที่เกริ่นนำทิ้งมาตั้งแต่ต้นเรื่องจนรู้สึกโล่งอก สมองปลอดโปร่งทันที หลังจากที่อึมครึมแทบทั้งเรื่อง ที่เสียดายไม่น้อยก็คือหนังไม่ได้ให้พื้นที่ระหว่างพ่อกับตูเวเท่าที่ควร ถูกพูดถึงแค่ช่วงแรกที่พ่อกำลังวิจารณ์ผลงานของลูกแล้วก็ข้ามไปฉากที่ตูเวเจอพ่อตำหนิในงานประชุมศิลปะแล้วหายไปกลางเรื่องกว่าก็ถูกกล่าวอีกทีก็ช่วงจะจบเรื่องให้แล้ว ซึ่งผมแอบขัดใจในการตัดฉากแบบข้ามกระโดดไปอีกฉากนึงต่อหน้าต่อตาทันทีจนผมไม่สามารถอินในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกที่ควรจะเป็นหัวใจสำคัญของการเชื่อมโยงเรื่องราวที่จะไปขยี้ปมที่เหลือได้เลยแม้แต่น้อย เพราะดันไปให้พื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับวิวิก้า คนรักสาว เพื่อแสดงความเป็น LGBTQ อย่างออกหน้าออกตาเกินเหตุ นอกจากเคมีของทั้งคู่ที่แสดงดีแต่ตัวบทไม่ได้ส่งเสริมให้รู้สึกชวนโรแมนติกซ่อนเร้นเท่ากับ Portrait of a lady on fire (2019) หรือละครตบจูบอย่าง ไฟรักอสูร (2552) ของผู้กำกับ อาเปี๊ยก พิศาล อัครเศรณี เช่นกัน (อย่างมากก็แค่เจอหน้ากัน - จูบ - กระท่อนกระแท่น – จูบ แล้วจบที่ขึ้นเตียง โซเดมาคอมกัน แล้วก็แยกย้าย วนลูบไป ) แล้วยังทำให้ผมแอบรู้สึกเสียดายที่หนังไม่เลือกหยิบความสัมพันธ์ใกล้ตัวอย่างคนในครอบครัวที่จับต้องง่ายกว่ามาเป็นประเด็นหลักเหมือนกัน
- สรุปคือ ชอบ ให้สาระข้อคิดเพื่อนำไปตกผลึกได้เยอะเหมือนกัน ไม่แย่และไม่ได้ยอดเยี่ยมแต่ยังไม่กลมกล่อมเท่าที่ควรจะไปได้กว่านี้ อาจเพราะผมคาดหวังไว้มากเกินไปว่ามันควรเป็นหนังดราม่า-อัตชีวประวัติอิงประวัติศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบตาม Patterm ของหนัง ประเภทนี้เคยทำสำเร็จมาแล้วหลายเรื่อง เมื่อคาดหวังแล้วก็ต้องพบกับความผิดหวังตามมา ซึ่งถามว่ารู้สึกในมุมนี้มั้ย มีแต่เข้าใจได้ เพราะหนังก็ทำหน้าที่ดำเนินเรื่องของมันในแง่ของความเรียบง่าย ซอฟท์ ๆ ไม่เร่งรีบตามสไตล์หนังยุโรปที่เป็นมิตรไมตรีแฝงด้วยกลิ่นอายแนวคิดชาตินิยมตะวันตกช่วงยุค 40 – 50 ที่เราคุ้นเคยกันดีจากหนังหลาย ๆ เรื่อง เพียงแต่มันถูกพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงในแง่ของระบบโครงสร้างที่ซ่อนลึกลงไปเหล่านั้นมันจึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดความลื่นไหลจากการอ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ผมรู้สึกว่ามันช่วยขยายเส้นเรื่องให้เข้าใจชัดเจนขึ้น แม้ไม่ต้องรู้จักความเป็นมาของศิลปินผู้นร้มาก่อน ตัวละครที่สำคัญจริง ๆ ก็ไม่มี Scene ปรากฎมากเท่าไหร่ ก็คือ พ่อของตูเว ผู้เป็นทั้งพ่อทั้งต้นแบบและเป็นทุกอย่างให้แก่เธอกลายเป็นว่าตัวละครเพื่อนหรือคู่สาวอย่าง ริรินก้า กลับมี Scene มากกว่าเหมือนตั้งใจจะขายความเป็น LGBTQ ย้อนยุคไปซะอย่างงั้น แต่ยอมรับว่า Cast นักแสดงมาดีมากคล้ายกับตัวจริงเป๊ะ
- ส่วนตัวผมไม่เคยรู้จักเรื่องราวของตูเวมาก่อน เลยบอกไม่ได้ว่าจริง ๆ แล้วหนัวควรจะโฟกัสไปที่เป้าหมายความฝันของตูเวหรือความรักของเรา 2 คนแบบ LGBTQ หรือกระทั่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเรื่องศิลปะกันแน่ ซึ่งสำหรับผมนั้นถ้าเลือกอย่างแรกเป็นประเด็นหลักมันจะ Impact มากกว่านี้ แถมเปลี่ยน Theme เป็นการให้กำลังใจ ช่วย Heel แรงบันดาลใจให้แก่คนกำลังท้อแท้ สับสนเส้นทางของตนเอง และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรให้คอยทำหน้าที่จุดประกายให้พวกเขาเหล่านี้ลุกขึ้นยืนแล้วออกเดินทางตามหาความฝันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT และ Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.39 Tove : ล้มแล้วลุก ทุกข์ก็วาดมันซะ
- สำหรับผมค่อนข้างผิดคาดอย่างที่คิดว่าจะเป็นหนังประเภทสารคดี-อัตชีวประวัติของศิลปินผู้ให้กำเนิด มูมิน ตามชื่อเรื่องแบบให้ข้อมูลเชิงวิชาการอย่างเดียว แต่ที่ไหนได้มันเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นดราม่าของศิลปินผู้นี้ล้วน ๆ มีแทรกด้วยภาพผลงานของเธอเป็นของกับแกล้มระหว่างทาง ซึ่งจะเน้นเรื่องราวส่วนตัวของตูเวมากกว่าการพุ่งไปที่จุดหมายปลายทางสูงสุดนั่นคือการเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงโดยไร้เงาจากพ่อของตนเองซึ่งควรจะเป็นจุดขายของการนำเสนอเรื่องจริง ๆ แถมรู้สึกว่าบางช่วงแอบแวะข้างทางจนยืดยื้อย้วยยานกับสิ่งไม่จำเป็นบางอย่างที่แทรกมาเนียน ๆ อย่างงานภาพ Realistic เหนือจินตนาการให้ดูเพ้อฝันและซับซ้อนแอบติสท์จนดูยากไปหน่อยแถมรู้สึกเบื่อไปหลายช่วงแต่งงกับตนเองว่าทำไมไม่หลับวะ ภาพรวมที่ถ่ายทอดออกมาแต่ละ Scene ผมกลับไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวตูเวซะให้รู้สึกเอาใจช่วยหรือโศกเศร้าซะเท่าไหร่ แถมจุดขายอีกอย่างที่ขึ้นชื่อว่าให้กำเนิด มูนิน ก็รู้สึกว่าเหมือนเป็นส่วนประกอบเข้าไปทำหน้าที่เกริ่นนำให้รู้ว่า ฉันถูกพูดถึงแล้วแต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปที่วิธีการชั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนถึงประสบความสำเร็จว่าระยะทางที่ผ่านมาไปพบเจออะไรมาบ้าง ถ้าเล่าขยายในส่วนตรงนี้ลงไปหน่อยก็พอทำให้ผมเห็นถึงความพยายามฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานาของตัวตูเวที่เป็นผู้หญิงคนนึงที่มีใจรักศิลปะแต่ดันดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสงครามและต้องดิ้นรนต่อสู้กับการเมืองในโลกชายเป็นใหญ่และทัศนคติของยุคสมัยที่มองศิลปะที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในแวดวงกว้างเหมือนในปัจจุบัน ได้มากกว่านี้
- ตัวหนังเล่าเป็นเส้นตรงโดยแบ่ง Timeline ออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปี 1944 , 1947 และ 1952 ผ่านการเติบโตของตัวตูเวเป็นหลักที่เข้าใจง่าย ข้อดีคือช่วยบีบร่นเวลาออกไปได้ให้เล็กลงรวดเร็วและทำให้เราทำความเข้าใจเรื่องราวที่สื่อออกไปได้ง่ายขึ้นว่าแต่ละช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตัวเธอบ้าง ขณะเดียวกันก็มีข้อตำหนิที่เห็นชัดเลยคือ Details บางอย่าง (และหลายอย่าง) จะตกหล่นกลางทางไปค่อนข้างมากบวกกับการตัดต่อแบบฉากตัดฉากแทรกกับความเชื่องช้าของเรื่องที่หลีกเลี่ยงความรุนแรงจากเหตุการณ์จนขาดความตื่นเต้นและควานลื่นไหลต่อบทที่พยายามประติดประต่อรวมกันเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผล เช่น ฉากพ่อมีน้อยมาก แต่ตายตอนไหนก็ไม่รู้จู่ ๆ ก็ถูกพูดถึงอีกทีในช่วงท้ายระหว่างที่ตูเวมาเก็บของที่บ้านและคุยกับแม่เรื่องพ่อเสียแล้ว หรือกระทั่งตัว อาโทส คนรักชายอีกคนของตูเว ที่โผล่มาหาวับ ๆ แวม ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบในการขับเคลื่อนชีวิตของตูเวในแง่ของเพศชายแค่นั้น อารมณ์เหมือนยังเคี้ยวข้าวไม่ทันรับรสทีก็เผลอกลืนลงไปเรียบร้อยแล้วนั่นแหล่ะ แถมความยาวของหนังมีเพียง 1 ชั่วโมง 43 นาที ซึ่งยังถือว่าน้อยสำหรับประเภทนี้ อยากให้ใส่พื้นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพ่อและอุปสรรคในการเป็นศิลปินหรือการแสดงผลงานของเธอให้มากกว่านี้ถึงจะดี
- แม้ช่วงใกล้จะจบหนังได้รับการคลี่คลายปมที่เกริ่นนำทิ้งมาตั้งแต่ต้นเรื่องจนรู้สึกโล่งอก สมองปลอดโปร่งทันที หลังจากที่อึมครึมแทบทั้งเรื่อง ที่เสียดายไม่น้อยก็คือหนังไม่ได้ให้พื้นที่ระหว่างพ่อกับตูเวเท่าที่ควร ถูกพูดถึงแค่ช่วงแรกที่พ่อกำลังวิจารณ์ผลงานของลูกแล้วก็ข้ามไปฉากที่ตูเวเจอพ่อตำหนิในงานประชุมศิลปะแล้วหายไปกลางเรื่องกว่าก็ถูกกล่าวอีกทีก็ช่วงจะจบเรื่องให้แล้ว ซึ่งผมแอบขัดใจในการตัดฉากแบบข้ามกระโดดไปอีกฉากนึงต่อหน้าต่อตาทันทีจนผมไม่สามารถอินในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกที่ควรจะเป็นหัวใจสำคัญของการเชื่อมโยงเรื่องราวที่จะไปขยี้ปมที่เหลือได้เลยแม้แต่น้อย เพราะดันไปให้พื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับวิวิก้า คนรักสาว เพื่อแสดงความเป็น LGBTQ อย่างออกหน้าออกตาเกินเหตุ นอกจากเคมีของทั้งคู่ที่แสดงดีแต่ตัวบทไม่ได้ส่งเสริมให้รู้สึกชวนโรแมนติกซ่อนเร้นเท่ากับ Portrait of a lady on fire (2019) หรือละครตบจูบอย่าง ไฟรักอสูร (2552) ของผู้กำกับ อาเปี๊ยก พิศาล อัครเศรณี เช่นกัน (อย่างมากก็แค่เจอหน้ากัน - จูบ - กระท่อนกระแท่น – จูบ แล้วจบที่ขึ้นเตียง โซเดมาคอมกัน แล้วก็แยกย้าย วนลูบไป ) แล้วยังทำให้ผมแอบรู้สึกเสียดายที่หนังไม่เลือกหยิบความสัมพันธ์ใกล้ตัวอย่างคนในครอบครัวที่จับต้องง่ายกว่ามาเป็นประเด็นหลักเหมือนกัน
- สรุปคือ ชอบ ให้สาระข้อคิดเพื่อนำไปตกผลึกได้เยอะเหมือนกัน ไม่แย่และไม่ได้ยอดเยี่ยมแต่ยังไม่กลมกล่อมเท่าที่ควรจะไปได้กว่านี้ อาจเพราะผมคาดหวังไว้มากเกินไปว่ามันควรเป็นหนังดราม่า-อัตชีวประวัติอิงประวัติศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบตาม Patterm ของหนัง ประเภทนี้เคยทำสำเร็จมาแล้วหลายเรื่อง เมื่อคาดหวังแล้วก็ต้องพบกับความผิดหวังตามมา ซึ่งถามว่ารู้สึกในมุมนี้มั้ย มีแต่เข้าใจได้ เพราะหนังก็ทำหน้าที่ดำเนินเรื่องของมันในแง่ของความเรียบง่าย ซอฟท์ ๆ ไม่เร่งรีบตามสไตล์หนังยุโรปที่เป็นมิตรไมตรีแฝงด้วยกลิ่นอายแนวคิดชาตินิยมตะวันตกช่วงยุค 40 – 50 ที่เราคุ้นเคยกันดีจากหนังหลาย ๆ เรื่อง เพียงแต่มันถูกพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงในแง่ของระบบโครงสร้างที่ซ่อนลึกลงไปเหล่านั้นมันจึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดความลื่นไหลจากการอ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ผมรู้สึกว่ามันช่วยขยายเส้นเรื่องให้เข้าใจชัดเจนขึ้น แม้ไม่ต้องรู้จักความเป็นมาของศิลปินผู้นร้มาก่อน ตัวละครที่สำคัญจริง ๆ ก็ไม่มี Scene ปรากฎมากเท่าไหร่ ก็คือ พ่อของตูเว ผู้เป็นทั้งพ่อทั้งต้นแบบและเป็นทุกอย่างให้แก่เธอกลายเป็นว่าตัวละครเพื่อนหรือคู่สาวอย่าง ริรินก้า กลับมี Scene มากกว่าเหมือนตั้งใจจะขายความเป็น LGBTQ ย้อนยุคไปซะอย่างงั้น แต่ยอมรับว่า Cast นักแสดงมาดีมากคล้ายกับตัวจริงเป๊ะ
- ส่วนตัวผมไม่เคยรู้จักเรื่องราวของตูเวมาก่อน เลยบอกไม่ได้ว่าจริง ๆ แล้วหนัวควรจะโฟกัสไปที่เป้าหมายความฝันของตูเวหรือความรักของเรา 2 คนแบบ LGBTQ หรือกระทั่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเรื่องศิลปะกันแน่ ซึ่งสำหรับผมนั้นถ้าเลือกอย่างแรกเป็นประเด็นหลักมันจะ Impact มากกว่านี้ แถมเปลี่ยน Theme เป็นการให้กำลังใจ ช่วย Heel แรงบันดาลใจให้แก่คนกำลังท้อแท้ สับสนเส้นทางของตนเอง และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรให้คอยทำหน้าที่จุดประกายให้พวกเขาเหล่านี้ลุกขึ้นยืนแล้วออกเดินทางตามหาความฝันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT และ Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้