บุญที่มากที่สุด คือทำใจให้เป็นบุญ
"เมื่อบุคคลทั้งหลายปฏิบัติอยู่ที่ใด ก็ตาม
เห็นอยู่...รู้อยู่...ใครคิดได้ก็ปฏิบัติได้
อยู่ที่ใด ก็ตาม ถือว่า...เป็นผู้มีโชค ที่เราพบ
พุทธศาสนา คือธรรมะคำสั่งสอนของท่าน
และอีกประการหนึ่งการปฏิบัติของพุทธศาสนาของเราทั้งหลายทุกวันนี้ โดยมากทั้งพระเณร
ทั้งญาติโยมทั้งหลายคอยจะเข้าใจผิด อย่าง...
การทำบุญ เป็นต้น
การทำบุญที่สูงสุด คือ...
การทำใจให้เป็นบุญ เป็นสิ่งสำคัญมาก
เมื่อเราทำใจให้เป็นบุญเราก็ไม่ต้องไปกอบโกยอะไรให้ม
ากมาย วัตถุสิ่งของ...เงินทองต่าง ๆ
เอาพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...
ท่านให้มีธรรมะไว้ในใจ พระธรรมนั้น...เมื่อเรา
มีความเดือดร้อนขึ้นมา เรานึกถึงพระธรรม
ให้เราเย็น เรามีความโลภขึ้นมา เราระลึกถึง...
มันก็หายไป...
ความโกรธ ก็เหมือนกัน
ความหลง ก็เหมือนกัน
ธรรมะ...เป็นของเยือกเย็น เพราะสภาวธรรม
ทั้งหลายเป็นของพอดี ไม่เกิน ไม่เหลือ ไม่พร่อง
ถ้าหากพูดถึงธรรมะตอนนี้...
เราจะเห็นได้ในเฉพาะตัวเรา และทั้งนอกทั้งในปัจจุบัน
ก็ได้ เป็นต้นว่า...จิตใจของเราวันนี้
มันมีจิตใจพอดี
ใจที่พอดี ก็เห็นว่า...
ข้าวของเงินทองต่าง ๆ เมื่อได้รับอารมณ์มาแล้ว
ไม่ดีใจมากเกินไป ดีใจพอดี
ถ้าหากว่า...มันจะเสียใจก็ไม่ เสียใจมาก
เสียใจพอดี ทั้งเสียใจอันนั้น...ดีใจอันนั้น...
ก็เลยเป็นของพอดี เพราะเรารู้เท่าถึงความพอดี
ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ
เมื่อความพอดีมี มันก็ตัดความไม่พอดีออก
เมื่ออันไหนมันเกินความพอดี มันก็ไม่สบาย
เมื่ออันไหนมันพอดีแล้ว...เราก็สบาย
เป็นธรรมะแล้ว
เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเ
ราแล้ว
ไม่มี อะไรต้องแก้ไขอีกในสิ่งที่มันพอดี
ใจ ท่านไม่เกินพอดี ดี...ไม่เกินดี."
จาก มรดกธรรมเล่มที่ ๑๐
“ภาวนาคือพิจารณาให้รู้ตามเป็นจริง” หน้า ๑๐๔-๑๐๕
บุญที่มากที่สุด คือทำใจให้เป็นบุญ
"เมื่อบุคคลทั้งหลายปฏิบัติอยู่ที่ใด ก็ตาม
เห็นอยู่...รู้อยู่...ใครคิดได้ก็ปฏิบัติได้
อยู่ที่ใด ก็ตาม ถือว่า...เป็นผู้มีโชค ที่เราพบ
พุทธศาสนา คือธรรมะคำสั่งสอนของท่าน
และอีกประการหนึ่งการปฏิบัติของพุทธศาสนาของเราทั้งหลายทุกวันนี้ โดยมากทั้งพระเณร
ทั้งญาติโยมทั้งหลายคอยจะเข้าใจผิด อย่าง...
การทำบุญ เป็นต้น
การทำบุญที่สูงสุด คือ...
การทำใจให้เป็นบุญ เป็นสิ่งสำคัญมาก
เมื่อเราทำใจให้เป็นบุญเราก็ไม่ต้องไปกอบโกยอะไรให้ม
ากมาย วัตถุสิ่งของ...เงินทองต่าง ๆ
เอาพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...
ท่านให้มีธรรมะไว้ในใจ พระธรรมนั้น...เมื่อเรา
มีความเดือดร้อนขึ้นมา เรานึกถึงพระธรรม
ให้เราเย็น เรามีความโลภขึ้นมา เราระลึกถึง...
มันก็หายไป...
ความโกรธ ก็เหมือนกัน
ความหลง ก็เหมือนกัน
ธรรมะ...เป็นของเยือกเย็น เพราะสภาวธรรม
ทั้งหลายเป็นของพอดี ไม่เกิน ไม่เหลือ ไม่พร่อง
ถ้าหากพูดถึงธรรมะตอนนี้...
เราจะเห็นได้ในเฉพาะตัวเรา และทั้งนอกทั้งในปัจจุบัน
ก็ได้ เป็นต้นว่า...จิตใจของเราวันนี้
มันมีจิตใจพอดี
ใจที่พอดี ก็เห็นว่า...
ข้าวของเงินทองต่าง ๆ เมื่อได้รับอารมณ์มาแล้ว
ไม่ดีใจมากเกินไป ดีใจพอดี
ถ้าหากว่า...มันจะเสียใจก็ไม่ เสียใจมาก
เสียใจพอดี ทั้งเสียใจอันนั้น...ดีใจอันนั้น...
ก็เลยเป็นของพอดี เพราะเรารู้เท่าถึงความพอดี
ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ
เมื่อความพอดีมี มันก็ตัดความไม่พอดีออก
เมื่ออันไหนมันเกินความพอดี มันก็ไม่สบาย
เมื่ออันไหนมันพอดีแล้ว...เราก็สบาย
เป็นธรรมะแล้ว
เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเ
ราแล้ว
ไม่มี อะไรต้องแก้ไขอีกในสิ่งที่มันพอดี
ใจ ท่านไม่เกินพอดี ดี...ไม่เกินดี."
จาก มรดกธรรมเล่มที่ ๑๐
“ภาวนาคือพิจารณาให้รู้ตามเป็นจริง” หน้า ๑๐๔-๑๐๕