พบหมอศิริราช ในพบหมอรามา ตอน โทษของบุหรี่ มีผลต่อสุขภาพและคนรอบข้าง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story ควันบุหรี่มือ 3 อันตรายกว่าที่คิด” ได้ที่นี่

อย่างที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่มีโทษต่อร่างกายหลายด้านด้วยกัน นำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ หลากหลายที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต ไม่ใช่เพียงผู้ที่สูบเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ เพราะคนรอบข้างเองก็ได้รับโทษไม่น้อยเช่นกัน
ในควันบุหรี่มีสารนิโคติน
ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นหนึ่งในโรคร้ายคร่าชีวิตให้ถึงแก่ความตายได้ และกลายเป็นปัญหาหลักๆ ในการสูญเสียประชากรของสังคม นอกจากโรคมะเร็งก็ยังมีโรคร้ายอื่นๆ ที่เกิดจากควันบุหรี่ได้เช่นกัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง อีกทั้งยังเพิ่มความถี่ความรุนแรงให้กับอาการหอบหืด และภาวะการตายฉับพลันในทารกแรกเกิด เป็นต้น
โทษของควันบุหรี่ แบ่งออกเป็น
ควันบุหรี่มือหนึ่ง คือควันที่ผู้สูบดูดเข้าสู่ร่างกายด้วยตนเอง
ควันบุหรี่มือสอง คือควันที่ผู้สูบพ่นออกมาและฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่โดยรอบที่สูดดมเข้าไปและได้รับสารพิษ
ควันบุหรี่มือสาม เป็นควันที่ตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งของ เสื้อผ้า และวัตถุอื่นๆ ทำให้สารพิษเกาะติดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อผู้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น
ในเรื่องของควันบุหรี่มือสามซึ่งเป็นสารตกค้างที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการทำปฏิกิริยากับอากาศและผู้อยู่อาศัยสูดดมเข้าไป ก็ทำให้อันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งสารพิษจากควันบุหรี่มือสามเป็นชนิดที่เหมือนกันกับควันมือหนึ่งและมือสองทั้งหมด ที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งกว่า 200 ชนิดด้วยกัน
จากการศึกษายังพบว่าใน 75 ครอบครัวมีเด็กที่ตรวจพบตรวจพบสารโคตินินในปัสสาวะเด็กสูงกว่าปกติ ซึ่งโคตินิน คือตัวบ่งชี้ถึงการที่ร่างกายได้รับนิโคตินจากบุหรี่ คาดว่าไม่ได้มาจากการเดินผ่านควันบุหรี่แล้วสูดดมเข้าไป แต่เป็นการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ โดยอัตราที่ตรวจพบนั้นอยู่ที่ 42% ของ 75 ครอบครัว
นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อควันบุหรี่มือสาม ยังพบว่าจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามอพาร์ตเม้น คอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นไปได้ว่าในห้องพักอาศัยของตนเองอาจไม่มีผู้สูบบุหรี่ แต่ถ้าหากห้องข้างๆ มีการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ก็สามารถเล็ดลอดทางหน้าต่าง ท่อระบายน้ำ และอื่นๆ มาได้อย่างง่ายดาย จากการศึกษายังพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดฯ 1 ใน 4 กว่า 68% มีการตรวจพบสารนิโคตินในเด็ก ขณะที่ผู้อาศัยในบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตรวจพบสารนิโคตินในเด็กเพียง 30% เท่านั้น
วิธีการกำจัดสารพิษตกค้าง
คือให้คนในบ้านหรือหากเป็นผู้สูบเองทำการเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาด และทำความสะอาดสถานที่ ห้องต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลา รวมถึงระบายอากาศที่มีอยู่ ซึ่งก็ต้องใช้ระยะเวลาเช่นกัน สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่เองหากไม่คิดที่จะเลิก ก็ควรคำนึงถึงส่วนร่วมหรือผู้ที่อยู่รอบข้าง ควรเคารพสิทธิของผู้อื่น หรือทำการสูบไม่ให้รบกวนผู้อื่น
 
ข้อมูลจาก
รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อมูลมาจาก RAMA CHANNEL รามา แชนแนล ของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นี่เอง 

ท่านสมาชิกชาวพันทิปใดเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่บ้าง ?

ขอแท็ก พบหมอรามา (รายการโทรทัศน์)

ด้วยนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่