31 พฤษภาคม 2566 กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ช่วงลาดพร้าว - สำโรง โดยระบุว่า การตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งมีเอกชนผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ในขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธา งานเดินรถ และงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้พบว่ายังมีบางส่วนที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนเปิดทดลองให้บริการแก่ประชาชน
โดยเบื้องต้นทราบว่าทางภาคเอกชนผู้รับสัมปทานได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมด และมีความพร้อมในการให้บริการประชาชนแล้ว ซึ่งยืนยันด้วยว่าระบบรถไฟฟ้าความปลอดภัย 100% เป็นไปตามมาตรฐาน ขณะที่กำหนดเปิดให้บริการประชาชนนั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี เป็นระยะเวลาราว 1 เดือน ทั้งนี้ ในช่วงการให้ทดลองใช้บริการฟรี อาจมีงานบางอย่างที่ไม่สมบูรณ์ 100% แต่ไม่เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย อาทิ รถอาจเคลื่อนจอดไม่ตรงประตูบ้าง เป็นต้น
ในส่วนของอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนั้น เบื้องต้น รฟม. เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว หากเห็นชอบจะเข้าสู่ขั้นตอนประกาศในราชกิจจานุเบกษา และต้องประกาศล่วงหน้าให้ประชาชนทราบก่อนเก็บค่าโดยสาร
สำหรับการเสนอเรื่องอัตราค่าโดยสารให้ ครม. พิจารณา ไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นภาระทางการเงินของรัฐบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ หาก EBM สามารถเปิดให้บริการเดินรถได้อย่างเป็นทางการแล้ว รฟม. ต้องจ่ายเงินค่าสนับสนุนงานก่อสร้างปีละ 2,505 ล้านบาท ให้แก่ EBM เป็นระยะเวลา 10 ปีตามสัญญา รวมเป็นเงิน 25,050 ล้านบาทด้วย
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกในประเทศไทย มี 23 สถานี ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท ระยะแรกจะเปิดให้บริการ 4 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง โดย 1 ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1,000 คน ทั้งนี้ สามารถเพิ่มตู้โดยสารได้สูงสุด 7 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ใช้ความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กม.ต่อ ชม. ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กม.ต่อชม. มีแผนจัดรถให้บริการ 19 ขบวน (30 ขบวนในอนาคต) ใช้ความถี่การให้บริการ ช่วงเวลาเร่งด่วน 5 นาทีต่อขบวน และช่วงเวลาปกติ 10 นาทีต่อขบวน ใช้ระยะเวลา 45-50 นาทีต่อการเดินทาง
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มต้นที่แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว วิ่งไปตามถนนลาดพร้าว จนถึงแยกบางกะปิ และเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนสุขุมวิท ที่สถานีสำโรง
ทั้งนี้มี 4 สถานีเชื่อมต่อรถไฟ-รถไฟฟ้าสายหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน ได้แก่ สถานีรัชดา เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน), สถานีลำสาลี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์), สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟสายตะวันออก และสถานีสำโรง เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ.
#roundtablethailand
Roundtablethailand.com
@@@ รถไฟฟ้า สายสีเหลือง นั่งฟรี 1 เดือน @@@
โดยเบื้องต้นทราบว่าทางภาคเอกชนผู้รับสัมปทานได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมด และมีความพร้อมในการให้บริการประชาชนแล้ว ซึ่งยืนยันด้วยว่าระบบรถไฟฟ้าความปลอดภัย 100% เป็นไปตามมาตรฐาน ขณะที่กำหนดเปิดให้บริการประชาชนนั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี เป็นระยะเวลาราว 1 เดือน ทั้งนี้ ในช่วงการให้ทดลองใช้บริการฟรี อาจมีงานบางอย่างที่ไม่สมบูรณ์ 100% แต่ไม่เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย อาทิ รถอาจเคลื่อนจอดไม่ตรงประตูบ้าง เป็นต้น
ในส่วนของอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนั้น เบื้องต้น รฟม. เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว หากเห็นชอบจะเข้าสู่ขั้นตอนประกาศในราชกิจจานุเบกษา และต้องประกาศล่วงหน้าให้ประชาชนทราบก่อนเก็บค่าโดยสาร
สำหรับการเสนอเรื่องอัตราค่าโดยสารให้ ครม. พิจารณา ไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นภาระทางการเงินของรัฐบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ หาก EBM สามารถเปิดให้บริการเดินรถได้อย่างเป็นทางการแล้ว รฟม. ต้องจ่ายเงินค่าสนับสนุนงานก่อสร้างปีละ 2,505 ล้านบาท ให้แก่ EBM เป็นระยะเวลา 10 ปีตามสัญญา รวมเป็นเงิน 25,050 ล้านบาทด้วย
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกในประเทศไทย มี 23 สถานี ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท ระยะแรกจะเปิดให้บริการ 4 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง โดย 1 ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1,000 คน ทั้งนี้ สามารถเพิ่มตู้โดยสารได้สูงสุด 7 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ใช้ความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กม.ต่อ ชม. ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กม.ต่อชม. มีแผนจัดรถให้บริการ 19 ขบวน (30 ขบวนในอนาคต) ใช้ความถี่การให้บริการ ช่วงเวลาเร่งด่วน 5 นาทีต่อขบวน และช่วงเวลาปกติ 10 นาทีต่อขบวน ใช้ระยะเวลา 45-50 นาทีต่อการเดินทาง
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มต้นที่แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว วิ่งไปตามถนนลาดพร้าว จนถึงแยกบางกะปิ และเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเทพารักษ์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนสุขุมวิท ที่สถานีสำโรง
ทั้งนี้มี 4 สถานีเชื่อมต่อรถไฟ-รถไฟฟ้าสายหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน ได้แก่ สถานีรัชดา เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน), สถานีลำสาลี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์), สถานีหัวหมาก เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟสายตะวันออก และสถานีสำโรง เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ.
#roundtablethailand
Roundtablethailand.com