การใช้เหรียญ25/50สตางค์ซื้อตั๋วรถไฟทำไมถึงทำไม่ได้

#การชำระหนี้ด้วยเหรียญกษาปณ์
การชำระหนี้ด้วยเหรียญ มีกฎหมายกำหนดว่าเหรียญแต่ละชนิดสามารถชำระหนี้ได้คราวหนึ่งเป็นจำนวนกี่บาท...
กฎหมายบอกว่า
พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๑๑ ระบุว่า
"เหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง" ดังนั้น หากจะชำระหนี้
ด้วยเหรียญจึงต้องรู้ด้วยว่าสามารถชำระหนี้ได้คราวละกี่บาท ตามที่ประกาศในกฎกระทรวง"
เงินเหรียญที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เรียกว่า "เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins)" ซึ่งมีอยู่ 9 ชนิด ดังนี้
เหรียญราคา 10 บาท , 5 บาท , 2 บาท , 1 บาท , 50 สตางค์ , 25 สตางค์ , 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1 สตางค์
อีกทั้งยังมีเหรียญกษาปณ์ที่ออกใช้ในวโรกาสต่างๆอีกด้วย แต่ไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้ชำระหนี้ เรียกว่า "เหรียญ
กษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins)"
แต่ในชีวิตประจำวันของเรานั้นจะเห็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้ชำระหนี้กันอย่างแพร่หลายเพียง 6 ชนิด ซึ่งเป็นเหรียญที่ใช้
หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
10 บาท , 5 บาท , 2 บาท , 1 บาท , 50 สตางค์ และ 25 สตางค์
ส่วนเหรียญ 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเวลาจะขนเหรียญที่ออมไว้ไปชำระหนี้ค่าสินค้า ก็อย่าขนไปเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเพราะถ้าผู้ขาย
ปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ขึ้นมาเราจะต้องขนเงินนั้นกลับอีก
ทั้งหนักทั้งเสียเวลานับเหรียญอีกด้วย
ดังนั้นก่อนการชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ ควรเลือกประเภทของเงินที่จะใช้ชำระหนี้ให้เหมาะสม
เพื่อไม่เป็นการก่อภาระอันเกินสมควรทั้งแก่ผู้ชำระหนี้และผู้รับชำระหนี้นั่นเอง
อ้างอิง :
(X กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 พ.ศ. ๒๕0๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑
8 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๓ พ.ศ. ๒๕๒๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑
4 กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑0๐ พ.ศ. ๒๕๓๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑
กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินที่ให้เหรียญกษาปณ์าคาสองบาท เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๔๘
Cr: บุญชู คนซื่อ

ในเฟสของการรถไฟตอบมาแบบนี้แล้วก็หายไปเลย

แอดมินขออภัยค่ะ สำหรับการชำระด้วยเหรียญ 25 สตางค์ หรือ 50 สตางค์ ทางการรถไฟฯจะไม่ได้รับชำระค่ะ เนื่องจากยอดการชำระอัตราค่าโดยสารของการรถไฟฯจะเป็นยอดสุทธิค่ะ

เป็นยอดสุทธิแล้วมันยังไงเหรอ

การที่การรถไฟไม่รับเหรียญ25/50สตางค์ผิดกฎหมายรึไม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่