‘พวงทอง’ ชี้ชัด การเมืองขยับ ‘ยุติธรรมไทย’ เชื่อ รู้ตัวว่าต้องเปลี่ยน ถ้าหันพึ่ง ICC คงคิดหนัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3990001
พวงทอง ชี้ชัด การเมืองมีผลขยับ ‘กระบวนการยุติธรรม’ เชื่อ รู้ตัวต้องเปลี่ยน แต่อาจจะช้าสุด – แนะรัฐบาลใหม่ ไม่ต้องกลัว ทำ ‘ประกาศฝ่ายเดียว’ เอาแค่คดีปี 53 ขึ้นศาล ICC
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในวาระครบรอบ 13 ปี เหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 โศกนาฏกรรมล้อมปราบประชาชน องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ จัดเสวนา “
รัฐบาลใหม่กับยุติธรรมคนเสื้อแดง” โดยมี นาย
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำนปช. และผอ.ครอบครัวเพื่อไทย, นาง
พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.
กมนเกด หรือ
น้องเกด ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ปี 2553 และ รศ.ดร.
พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา
ในช่วงท้าย หลังจากที่นาย
ณัฐวุฒิ นำเสนอวาระที่เตรียมยื่นแก้ไข พ.ร.ป.ป.ป.ช. กับว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 30 คน เพื่อให้ผู้เสียหายในคดีที่ ป.ป.ช.ปัดตก สามารถฟ้องคดีโดยตรงต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
โดย รศ.ดร.
พวงทอง กล่าวเสริมนาย
ณัฐวุฒิว่า สามารถทำได้ ควบคู่กับการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เข้ามาร่วมสอบสวน ซึ่งนาย
ณัฐวุฒิได้สรุปให้เห็นว่า เหตุที่ต้องพึ่ง ICC มาจากการที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย เดินมาถึงทางตัน กระบวนการปิดทุกอย่าง ทั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือ ศาลอาญา
“
กระบวนการที่ศาลอาญาบอกว่า ไม่มีอำนาจในการพิจาณาคดีอาญาที่ดีเอสไอเอ เสนอ แล้วอัยการสูงสุดสั่งฟ้องไปนั้น เกิดขึ้นหลังรัฐประหารไม่ถึง 3 เดือน พลิกทันที คุณจะเห็นว่าการเมืองมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินหน้ากระบวนการยุติธรรม ในประเทศนี้
ท่ามกลางกระแสการเมืองที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปเร็วมากๆ ก็อาจจะกระทบต่อการทำงานของกระบวนการยุติธรรมไทยอยู่เหมือนกัน ดิฉันพูดกับเพื่อนเสมอว่า การเมืองเปลี่ยน เขาก็รู้ว่าเขาต้องเปลี่ยน แต่ว่ายังไม่ได้เปลี่ยนในทันทีทันใด และอาจจะเป็นส่วนที่เปลี่ยนช้าที่สุด”
ในขณะที่คุณณัฐวุฒิ เสนอว่าควรจะต้องมีการผลักดันแก้ไข พ.ร.ป.ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่เสนอเกี่ยวข้องกับศาลอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ก็คือศาลการเมือง ป.ป.ช.เราก็รู้อยู่ว่าเป็นองค์กรอิสระที่การทำงานของเขา แต่ก็เกี่ยวข้องกับกระแสทางการเมืองด้วย” รศ.ดร.
พวงทองกล่าว
รศ.ดร.
พวงทองกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ตนมองว่าการพยายามดึงเอาอำนาจความยุติธรรมจากภายนอก หรือ ICC เข้ามา ก็อาจจะเป็นแรงกดดันที่สำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมไทยอาจจะต้องคิดหนักขึ้น ถ้าคุณปฏิเสธที่จะไม่จัดการคดีปี 2553 อย่างยุติธรรม
“
เขาก็เห็นว่า มีอำนาจข้างนอกอยู่ เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ด้านหนึ่งเป็นเหมือนการตบหน้ากระบวนการยุติธรรมไทยว่า ไม่ทำงาน ในที่สุดประชาชนจึงต้องหันไปดึงเอาอำนาจข้างนอกเข้ามา ซึ่ง ICC ที่เรียกร้องต่อพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ตั้งแต่ก่อนมีการเลือกตั้ง ยังไม่จำเป็นที่จะต้องให้สัตยาบันยอมรับ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยอมรับการดำรงอยู่ของ ICC ไม่จำเป็นที่จะต้องให้สัตยาบันยอมรับธรรมนูญกรุงโรมทั้งฉบับ รัฐบาลเพียงแค่ทำสิ่งที่เรียกว่า Unilateral Declaration คือทำประกาศฝ่ายเดียว แล้วมีจดหมายเชิญแนบไป ขอให้ ICC ดำเนินการสอบสวนกรณีปี 2553 ให้ ICC ใช้อำนาจตามมาตา 12 (3) ของธรรมนูญกรุงโรม เท่านั้น
โดยพิจารณาสอบสวนเฉพาะคดีปี 2553 ไม่เกี่ยวกับกรณีที่เกิดก่อนหน้านี้ หรือจะเกิดต่อไปในอนาคต ทำแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านสภาฯ เพราะถือเป็นการประกาศฝ่ายเดียว และทำข้อจำกัดเพียงแค่นี้ ซึ่งไม่ได้ส่งผลใดใดต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ในฐานะประมุขของรัฐ
ในกรณีนี้พูดชัดเจน ประเทศอื่นที่มีประมุขนั้น ก็ยอมรับอำนาจของ ICC กันมา ไม่ว่าจะอังกฤษ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ กัมพูชา ญี่ปุ่น ต่างก็ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ทั้งนั้น ไม่เห็นเขากลัว” รศ.ดร.
พวงทองกล่าว
ต่างชาติ มองไทย หลังเลือกตั้ง ฝังอำนาจเก่า พิธา นั่งนายกฯ เปลี่ยนโฉมการเมือง
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2695513
หลังการเลือกตั้งต่างชาติต่างจับตามองทิศทางการเมืองไทย ภายหลังพรรคก้าวไกลกวาดคะแนนได้ที่นั่ง ส.ส. เป็นอันดับ 1 ทิ้งห่างพรรคฝ่ายอนุรักษนิยมและกองทัพ จนประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ยกเว้นพรรคภูมิใจไทยได้เป็นอันดับ 3 แต่ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเมืองไทยว่าไม่ต้องการระบอบอำนาจเก่าอีกต่อไป
ก้าวต่อไปของการเมืองไทยจะหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยอาจไม่ราบรื่น กับความพยายามจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ยังมีอุปสรรคขวากหนามจากหลายตัวแปรทั้งเสียงของ ส.ว. ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ความเสี่ยงอาจจะถูกยุบพรรค หรือ
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และโดยเฉพาะมาตรา 112 ทำให้เกิดความไม่แน่ไม่นอนสูง และจนกว่าจะรู้แน่ว่าใครได้เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะบ่งบอกถึงเสถียรภาพการเมืองต่อจากนี้
ชัยชนะฝ่ายประชาธิปไตย สิ่งท้าทายตั้งรัฐบาล
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเมืองไทยจะเป็นไปในทิศทางใด จากการติดตามของสื่อต่างชาติ “ศ.กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู” ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า เท่าที่ติดตามข่าวต่างประเทศมีการพูดถึงชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ท้าทายว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะสามารถตั้งรัฐบาลได้ราบรื่นหรือไม่อย่างไร และถือเป็นสิ่งไม่คาดคิดว่าพรรคก้าวไกลจะชนะเป็นอันดับ 1 แม้ได้ที่นั่ง ส.ส. ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดก็ตาม แต่เป็นชัยชนะได้สร้างความตระหนกต่อฝ่ายอนุรักษนิยม
“
เป็นการบอกคร่าวๆ ว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับอนุรักษนิยม โดยคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตจากเดิมคาดว่าเพื่อไทยจะได้ที่ 1 แต่กลับเป็นก้าวไกล แต่ก็ถือว่าทั้ง 2 พรรคมีแนวทางประชาธิปไตยต่อต้านการเมืองแบบยึดอำนาจ เป็นหลักใหญ่ๆ ที่สื่อต่างชาติให้ความสนใจ และสะท้อนความคิดแบบนี้ออกมา ขณะที่ฝ่ายอนุรักษนิยม ได้คะแนนน้อยกว่า สะท้อนความไม่พอใจนักการเมืองที่ย่ำอยู่กับที่มา 10 กว่าปี จากความรู้สึกของผู้ออกเสียง”
ประกอบกับในยุคสมัยใหม่ มีการสื่อสารได้เร็วและกว้างขวางทั้งทางโซเชียลและคนที่ให้ข้อมูล เพราะฉะนั้นการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะครอบงำความคิดก็ทำได้ยาก และแต่ละฝ่ายจะรับข้อมูลในสิ่งที่อยากจะฟัง สามารถเลือกรับฟังได้ ทั้งๆ ที่ควรใจกว้างรับฟังข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะทุกอย่างเป็นสมมติฐานต้องดูว่าสอดคล้องกับความคิดหรือไม่ และเมื่อได้ข้อมูลใหม่ก็ควรเปลี่ยนค่านิยมความเชื่อ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับเพราะใช้ความรู้สึกตัดสินใจมากกว่า ถือเป็นสิทธิของแต่ละคน
หรือพูดง่ายๆ ต่อให้พรรคการเมืองมีนโยบายดีอย่างไร หากคนเป็นหัวหน้าพรรคไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถนำเสนอนโยบายให้น่าสนใจ ก็จะไม่ได้รับความนิยม ยกตัวอย่างพรรคการเมืองที่คนกำลังฮือฮา มีผู้นำพรรคที่มีความน่าเชื่อถือ ก็ยิ่งทำให้คนเชื่อจนได้ชัยชนะเกินคาด อย่างในยุคของพรรคไทยรักไทย เคยชนะเลือกตั้งและทำแลนด์สไลด์ได้จริงๆ
ต่างชาติเมินทักษิณกลับบ้าน หวังยึดสิทธิเสรีภาพ
ในประเด็นการจะกลับมาของ
ทักษิณ ชินวัตร ด้านสื่อต่างชาติไม่ได้สนใจแบบลงลึกว่า กลับมาแล้วจะเกิดการเคลื่อนไหว เพราะอย่างไรแล้วต้องทำตามกฎหมาย ทำให้พรรคเพื่อไทย ไม่เสนอกฎหมายนิรโทษกรรม แต่เข้าใจว่ามีเจตนาจะนิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมืองจากม็อบต่างๆ และต้องดูปฏิกิริยาของฝ่ายตรงข้ามจะตอบโต้อย่างไร ขณะที่มาตรา 112 คนก็เข้าใจกันมากขึ้นว่าเป็นเพียงการแก้ไขในประเด็นไม่ให้มีการกลั่นแกล้งทางการเมือง มีการดำเนินคดีอย่างโปร่งใส ไม่เป็นเครื่องมือในการกำจัดคู่แข่ง
“
ส่วนใหญ่เป็นสื่อตะวันตกให้ความสนใจมากกว่าสื่อเอเชีย ได้เห็นว่าไม่ใช่คนหนุ่มสาวอย่างเดียวที่อยากเห็นการเมืองไทยพัฒนาให้มากกว่านี้ และในเรื่องนโยบายต่างประเทศ สื่อตะวันตกอาจคาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่ จะไปทางตะวันตก ไม่สนับสนุนรัฐบาลเมียนมา และประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จะต้องเคารพสิทธิมนุษยชน สามารถกดดันประเทศเพื่อนบ้านที่ปราบปรามประชาชน ให้ตรงกับความคิดชาติตะวันตก”
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอาอย่างตะวันตก แต่จะเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่างชาติกำลังมองว่าไทยจะเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง และไม่ใช่จะรับใช้ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก เป็นความคิดในการส่งเสริมเรื่องสิทธิเสรีภาพ และประเทศตัวเองต้องเป็นตัวอย่างในการไม่คุมสื่อ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ต้องไม่ส่งคนไปโค่นล้มเผด็จการในประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นการแทรกแซงโดยตรงคงไม่ได้ จะต้องส่งเสริมให้เกิดความชอบธรรมเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความสงบสุข
พิธา คนรุ่นใหม่ เป็นนายกฯ เปลี่ยนโฉมการเมืองไทย
หาก
พิธา ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จะเปลี่ยนโฉมการเมืองไทยในสายตาของต่างชาติ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยได้คนรุ่นใหม่เป็นผู้นำประเทศ จนได้รับการชื่นชมว่าประเทศนี้ยอมรับความชอบธรรม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ทำให้คนไทยยืดอกได้ จากการตัดสินเลือกคนที่ต้องการ ให้สามารถเปลี่ยนถ่ายอำนาจได้อย่างสันติ กลายเป็นการเมืองที่ต่อสู้ด้วยความคิด
“
หากการจัดตั้งรัฐบาล เป็นไปอย่างโปร่งใส จะทำให้นักลงทุนเกิดความสบายใจไม่ต้องเสียเงินเบี้ยบ้ายรายทาง แต่ไม่ถึงกลับไปย่ำยีฝ่ายเดิม จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ อย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช่คลั่งไคล้คนรุ่นใหม่อย่างไม่ลืมหูลืมตา จะต้องสร้างแรงกดดันในการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่สิ่งที่คนต้องการให้ก้าวไกลทำอะไร จะต้องไม่ให้ผิดความคาดหวัง กลายเป็นการเมืองใหม่ที่มาจากความคาดหวัง อาจทำให้ทำงานลำบากก็ได้”
บก.ลายจุด ให้กำลังใจ ป้าลักษณ์ หลังถูกศปปส. ลอยแพ ยันแกไม่เป็นภัย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7674898
บก.ลายจุด ให้กำลังใจ ป้าลักษณ์ หลังโดนศปปส. ลอยแพ เหตุเป็นสามกีบ ยันแกไม่เป็นภัย ไม่คุกคามใคร เชื่อแกเป็นมวลชนอิสระ สร้างสีสันให้การเมืองไทย
วันที่ 20 พ.ค.2566 ทางนาย
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.
ลายจุด โพสต์เฟซบุ๊กให้กำลังใจป้า
ลักษณ์ หลังถูกศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ขับออกจากลุ่ม หลังมีพฤติกรรมที่ไปสนับสนุนพรรคก้าวไกล และพวก 3 กีบ ซึ่งขัดต่ออุดมการณ์และจุดยืน ศปปส. เป็นเรื่องฮือฮาในโลกออนไลน์อย่างมาก
ทั้งนี้บก.
ลายจุดโพสต์ว่า
ผมดูการออกรายการระหว่างป้าลักษณ์กับป้าเป้าแล้ว ผมคิดว่าทั้งสองก็แสดงจุดยืนของฝั่งตนเองชัดเจน และผมคิดว่าป้าลักษณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ถูกกล่าวหา
แม้จะอยู่กันคนละฝั่ง แต่ผมก็เอ็นดูป้าลักษณ์เสมอมา คือแกไม่ได้มีพฤติกรรมอะไรที่แลดูเป็นภัยหรือคุกคามคนอื่น และจากการติดตามดีเบตระหว่าง 2 ป้ามาตั้งแต่ดีเบตแรก ผมคิดว่าแกนนำ ศปปส พยายามควบคุมการแสดงออกของป้าลักษณ์ และหากให้ผมเดา แกนนำน่าจะอิจฉาที่สื่อให้พื้นที่และให้ความสนใจป้าลักษณ์มากกว่าตน จึงพยายามขัดขวางการออกอากาศตั้งแต่ครั้งแรกๆ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าป้าลักษณ์เหมาะที่จะเป็นมวลชนอิสระมากกว่าไปสังกัด ศปปส ซึ่งมีท่วงทำนองการเคลื่อนไหวที่ก้าวร้าวซึ่งขัดต่อบุคคลิกของป้าลักษณ์
ผมจึงขอให้กำลังใจป้าลักษณ์มา ณ โอกาสนี้ หวังว่าป้ายังคงมีกำลังใจในการแสดงออกทางอุดมการณ์ทางการเมืองของตนต่อไป เพื่อสร้างสีสันให้กับการเมืองไทย
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid02zuukt18F2hiwwndkmTEXYYY2nyfnPyBNsMGSyagtbwrwG1vVJ
JJNY : 5in1 ‘พวงทอง’ ชี้ชัด│ต่างชาติมองไทย│บก.ลายจุดให้กำลังใจป้าลักษณ์│พรรคใหม่ถอนตัวแล้ว│ดร.พิชายชี้ 4 สถานการณ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3990001
พวงทอง ชี้ชัด การเมืองมีผลขยับ ‘กระบวนการยุติธรรม’ เชื่อ รู้ตัวต้องเปลี่ยน แต่อาจจะช้าสุด – แนะรัฐบาลใหม่ ไม่ต้องกลัว ทำ ‘ประกาศฝ่ายเดียว’ เอาแค่คดีปี 53 ขึ้นศาล ICC
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในวาระครบรอบ 13 ปี เหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 โศกนาฏกรรมล้อมปราบประชาชน องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ จัดเสวนา “รัฐบาลใหม่กับยุติธรรมคนเสื้อแดง” โดยมี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำนปช. และผอ.ครอบครัวเพื่อไทย, นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด หรือ น้องเกด ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ปี 2553 และ รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา
ในช่วงท้าย หลังจากที่นายณัฐวุฒิ นำเสนอวาระที่เตรียมยื่นแก้ไข พ.ร.ป.ป.ป.ช. กับว่าที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 30 คน เพื่อให้ผู้เสียหายในคดีที่ ป.ป.ช.ปัดตก สามารถฟ้องคดีโดยตรงต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
โดย รศ.ดร.พวงทอง กล่าวเสริมนายณัฐวุฒิว่า สามารถทำได้ ควบคู่กับการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เข้ามาร่วมสอบสวน ซึ่งนายณัฐวุฒิได้สรุปให้เห็นว่า เหตุที่ต้องพึ่ง ICC มาจากการที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย เดินมาถึงทางตัน กระบวนการปิดทุกอย่าง ทั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือ ศาลอาญา
“กระบวนการที่ศาลอาญาบอกว่า ไม่มีอำนาจในการพิจาณาคดีอาญาที่ดีเอสไอเอ เสนอ แล้วอัยการสูงสุดสั่งฟ้องไปนั้น เกิดขึ้นหลังรัฐประหารไม่ถึง 3 เดือน พลิกทันที คุณจะเห็นว่าการเมืองมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินหน้ากระบวนการยุติธรรม ในประเทศนี้
ท่ามกลางกระแสการเมืองที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปเร็วมากๆ ก็อาจจะกระทบต่อการทำงานของกระบวนการยุติธรรมไทยอยู่เหมือนกัน ดิฉันพูดกับเพื่อนเสมอว่า การเมืองเปลี่ยน เขาก็รู้ว่าเขาต้องเปลี่ยน แต่ว่ายังไม่ได้เปลี่ยนในทันทีทันใด และอาจจะเป็นส่วนที่เปลี่ยนช้าที่สุด”
ในขณะที่คุณณัฐวุฒิ เสนอว่าควรจะต้องมีการผลักดันแก้ไข พ.ร.ป.ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่เสนอเกี่ยวข้องกับศาลอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ก็คือศาลการเมือง ป.ป.ช.เราก็รู้อยู่ว่าเป็นองค์กรอิสระที่การทำงานของเขา แต่ก็เกี่ยวข้องกับกระแสทางการเมืองด้วย” รศ.ดร.พวงทองกล่าว
รศ.ดร.พวงทองกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ตนมองว่าการพยายามดึงเอาอำนาจความยุติธรรมจากภายนอก หรือ ICC เข้ามา ก็อาจจะเป็นแรงกดดันที่สำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมไทยอาจจะต้องคิดหนักขึ้น ถ้าคุณปฏิเสธที่จะไม่จัดการคดีปี 2553 อย่างยุติธรรม
“เขาก็เห็นว่า มีอำนาจข้างนอกอยู่ เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ด้านหนึ่งเป็นเหมือนการตบหน้ากระบวนการยุติธรรมไทยว่า ไม่ทำงาน ในที่สุดประชาชนจึงต้องหันไปดึงเอาอำนาจข้างนอกเข้ามา ซึ่ง ICC ที่เรียกร้องต่อพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ตั้งแต่ก่อนมีการเลือกตั้ง ยังไม่จำเป็นที่จะต้องให้สัตยาบันยอมรับ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยอมรับการดำรงอยู่ของ ICC ไม่จำเป็นที่จะต้องให้สัตยาบันยอมรับธรรมนูญกรุงโรมทั้งฉบับ รัฐบาลเพียงแค่ทำสิ่งที่เรียกว่า Unilateral Declaration คือทำประกาศฝ่ายเดียว แล้วมีจดหมายเชิญแนบไป ขอให้ ICC ดำเนินการสอบสวนกรณีปี 2553 ให้ ICC ใช้อำนาจตามมาตา 12 (3) ของธรรมนูญกรุงโรม เท่านั้น
โดยพิจารณาสอบสวนเฉพาะคดีปี 2553 ไม่เกี่ยวกับกรณีที่เกิดก่อนหน้านี้ หรือจะเกิดต่อไปในอนาคต ทำแค่เรื่องนี้เรื่องเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านสภาฯ เพราะถือเป็นการประกาศฝ่ายเดียว และทำข้อจำกัดเพียงแค่นี้ ซึ่งไม่ได้ส่งผลใดใดต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ในฐานะประมุขของรัฐ
ในกรณีนี้พูดชัดเจน ประเทศอื่นที่มีประมุขนั้น ก็ยอมรับอำนาจของ ICC กันมา ไม่ว่าจะอังกฤษ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ กัมพูชา ญี่ปุ่น ต่างก็ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ทั้งนั้น ไม่เห็นเขากลัว” รศ.ดร.พวงทองกล่าว
ต่างชาติ มองไทย หลังเลือกตั้ง ฝังอำนาจเก่า พิธา นั่งนายกฯ เปลี่ยนโฉมการเมือง
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2695513
หลังการเลือกตั้งต่างชาติต่างจับตามองทิศทางการเมืองไทย ภายหลังพรรคก้าวไกลกวาดคะแนนได้ที่นั่ง ส.ส. เป็นอันดับ 1 ทิ้งห่างพรรคฝ่ายอนุรักษนิยมและกองทัพ จนประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ยกเว้นพรรคภูมิใจไทยได้เป็นอันดับ 3 แต่ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเมืองไทยว่าไม่ต้องการระบอบอำนาจเก่าอีกต่อไป
ก้าวต่อไปของการเมืองไทยจะหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยอาจไม่ราบรื่น กับความพยายามจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ยังมีอุปสรรคขวากหนามจากหลายตัวแปรทั้งเสียงของ ส.ว. ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ความเสี่ยงอาจจะถูกยุบพรรค หรือพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และโดยเฉพาะมาตรา 112 ทำให้เกิดความไม่แน่ไม่นอนสูง และจนกว่าจะรู้แน่ว่าใครได้เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะบ่งบอกถึงเสถียรภาพการเมืองต่อจากนี้
ชัยชนะฝ่ายประชาธิปไตย สิ่งท้าทายตั้งรัฐบาล
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเมืองไทยจะเป็นไปในทิศทางใด จากการติดตามของสื่อต่างชาติ “ศ.กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู” ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า เท่าที่ติดตามข่าวต่างประเทศมีการพูดถึงชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ท้าทายว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะสามารถตั้งรัฐบาลได้ราบรื่นหรือไม่อย่างไร และถือเป็นสิ่งไม่คาดคิดว่าพรรคก้าวไกลจะชนะเป็นอันดับ 1 แม้ได้ที่นั่ง ส.ส. ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดก็ตาม แต่เป็นชัยชนะได้สร้างความตระหนกต่อฝ่ายอนุรักษนิยม
“เป็นการบอกคร่าวๆ ว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับอนุรักษนิยม โดยคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตจากเดิมคาดว่าเพื่อไทยจะได้ที่ 1 แต่กลับเป็นก้าวไกล แต่ก็ถือว่าทั้ง 2 พรรคมีแนวทางประชาธิปไตยต่อต้านการเมืองแบบยึดอำนาจ เป็นหลักใหญ่ๆ ที่สื่อต่างชาติให้ความสนใจ และสะท้อนความคิดแบบนี้ออกมา ขณะที่ฝ่ายอนุรักษนิยม ได้คะแนนน้อยกว่า สะท้อนความไม่พอใจนักการเมืองที่ย่ำอยู่กับที่มา 10 กว่าปี จากความรู้สึกของผู้ออกเสียง”
ประกอบกับในยุคสมัยใหม่ มีการสื่อสารได้เร็วและกว้างขวางทั้งทางโซเชียลและคนที่ให้ข้อมูล เพราะฉะนั้นการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะครอบงำความคิดก็ทำได้ยาก และแต่ละฝ่ายจะรับข้อมูลในสิ่งที่อยากจะฟัง สามารถเลือกรับฟังได้ ทั้งๆ ที่ควรใจกว้างรับฟังข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะทุกอย่างเป็นสมมติฐานต้องดูว่าสอดคล้องกับความคิดหรือไม่ และเมื่อได้ข้อมูลใหม่ก็ควรเปลี่ยนค่านิยมความเชื่อ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับเพราะใช้ความรู้สึกตัดสินใจมากกว่า ถือเป็นสิทธิของแต่ละคน
หรือพูดง่ายๆ ต่อให้พรรคการเมืองมีนโยบายดีอย่างไร หากคนเป็นหัวหน้าพรรคไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถนำเสนอนโยบายให้น่าสนใจ ก็จะไม่ได้รับความนิยม ยกตัวอย่างพรรคการเมืองที่คนกำลังฮือฮา มีผู้นำพรรคที่มีความน่าเชื่อถือ ก็ยิ่งทำให้คนเชื่อจนได้ชัยชนะเกินคาด อย่างในยุคของพรรคไทยรักไทย เคยชนะเลือกตั้งและทำแลนด์สไลด์ได้จริงๆ
ต่างชาติเมินทักษิณกลับบ้าน หวังยึดสิทธิเสรีภาพ
ในประเด็นการจะกลับมาของทักษิณ ชินวัตร ด้านสื่อต่างชาติไม่ได้สนใจแบบลงลึกว่า กลับมาแล้วจะเกิดการเคลื่อนไหว เพราะอย่างไรแล้วต้องทำตามกฎหมาย ทำให้พรรคเพื่อไทย ไม่เสนอกฎหมายนิรโทษกรรม แต่เข้าใจว่ามีเจตนาจะนิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมืองจากม็อบต่างๆ และต้องดูปฏิกิริยาของฝ่ายตรงข้ามจะตอบโต้อย่างไร ขณะที่มาตรา 112 คนก็เข้าใจกันมากขึ้นว่าเป็นเพียงการแก้ไขในประเด็นไม่ให้มีการกลั่นแกล้งทางการเมือง มีการดำเนินคดีอย่างโปร่งใส ไม่เป็นเครื่องมือในการกำจัดคู่แข่ง
“ส่วนใหญ่เป็นสื่อตะวันตกให้ความสนใจมากกว่าสื่อเอเชีย ได้เห็นว่าไม่ใช่คนหนุ่มสาวอย่างเดียวที่อยากเห็นการเมืองไทยพัฒนาให้มากกว่านี้ และในเรื่องนโยบายต่างประเทศ สื่อตะวันตกอาจคาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่ จะไปทางตะวันตก ไม่สนับสนุนรัฐบาลเมียนมา และประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จะต้องเคารพสิทธิมนุษยชน สามารถกดดันประเทศเพื่อนบ้านที่ปราบปรามประชาชน ให้ตรงกับความคิดชาติตะวันตก”
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอาอย่างตะวันตก แต่จะเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่างชาติกำลังมองว่าไทยจะเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง และไม่ใช่จะรับใช้ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก เป็นความคิดในการส่งเสริมเรื่องสิทธิเสรีภาพ และประเทศตัวเองต้องเป็นตัวอย่างในการไม่คุมสื่อ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ต้องไม่ส่งคนไปโค่นล้มเผด็จการในประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นการแทรกแซงโดยตรงคงไม่ได้ จะต้องส่งเสริมให้เกิดความชอบธรรมเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความสงบสุข
พิธา คนรุ่นใหม่ เป็นนายกฯ เปลี่ยนโฉมการเมืองไทย
หากพิธา ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จะเปลี่ยนโฉมการเมืองไทยในสายตาของต่างชาติ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยได้คนรุ่นใหม่เป็นผู้นำประเทศ จนได้รับการชื่นชมว่าประเทศนี้ยอมรับความชอบธรรม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ ทำให้คนไทยยืดอกได้ จากการตัดสินเลือกคนที่ต้องการ ให้สามารถเปลี่ยนถ่ายอำนาจได้อย่างสันติ กลายเป็นการเมืองที่ต่อสู้ด้วยความคิด
“หากการจัดตั้งรัฐบาล เป็นไปอย่างโปร่งใส จะทำให้นักลงทุนเกิดความสบายใจไม่ต้องเสียเงินเบี้ยบ้ายรายทาง แต่ไม่ถึงกลับไปย่ำยีฝ่ายเดิม จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ อย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช่คลั่งไคล้คนรุ่นใหม่อย่างไม่ลืมหูลืมตา จะต้องสร้างแรงกดดันในการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่สิ่งที่คนต้องการให้ก้าวไกลทำอะไร จะต้องไม่ให้ผิดความคาดหวัง กลายเป็นการเมืองใหม่ที่มาจากความคาดหวัง อาจทำให้ทำงานลำบากก็ได้”
บก.ลายจุด ให้กำลังใจ ป้าลักษณ์ หลังถูกศปปส. ลอยแพ ยันแกไม่เป็นภัย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7674898
บก.ลายจุด ให้กำลังใจ ป้าลักษณ์ หลังโดนศปปส. ลอยแพ เหตุเป็นสามกีบ ยันแกไม่เป็นภัย ไม่คุกคามใคร เชื่อแกเป็นมวลชนอิสระ สร้างสีสันให้การเมืองไทย
วันที่ 20 พ.ค.2566 ทางนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด โพสต์เฟซบุ๊กให้กำลังใจป้าลักษณ์ หลังถูกศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ขับออกจากลุ่ม หลังมีพฤติกรรมที่ไปสนับสนุนพรรคก้าวไกล และพวก 3 กีบ ซึ่งขัดต่ออุดมการณ์และจุดยืน ศปปส. เป็นเรื่องฮือฮาในโลกออนไลน์อย่างมาก
ทั้งนี้บก.ลายจุดโพสต์ว่า
ผมดูการออกรายการระหว่างป้าลักษณ์กับป้าเป้าแล้ว ผมคิดว่าทั้งสองก็แสดงจุดยืนของฝั่งตนเองชัดเจน และผมคิดว่าป้าลักษณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ถูกกล่าวหา
แม้จะอยู่กันคนละฝั่ง แต่ผมก็เอ็นดูป้าลักษณ์เสมอมา คือแกไม่ได้มีพฤติกรรมอะไรที่แลดูเป็นภัยหรือคุกคามคนอื่น และจากการติดตามดีเบตระหว่าง 2 ป้ามาตั้งแต่ดีเบตแรก ผมคิดว่าแกนนำ ศปปส พยายามควบคุมการแสดงออกของป้าลักษณ์ และหากให้ผมเดา แกนนำน่าจะอิจฉาที่สื่อให้พื้นที่และให้ความสนใจป้าลักษณ์มากกว่าตน จึงพยายามขัดขวางการออกอากาศตั้งแต่ครั้งแรกๆ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าป้าลักษณ์เหมาะที่จะเป็นมวลชนอิสระมากกว่าไปสังกัด ศปปส ซึ่งมีท่วงทำนองการเคลื่อนไหวที่ก้าวร้าวซึ่งขัดต่อบุคคลิกของป้าลักษณ์
ผมจึงขอให้กำลังใจป้าลักษณ์มา ณ โอกาสนี้ หวังว่าป้ายังคงมีกำลังใจในการแสดงออกทางอุดมการณ์ทางการเมืองของตนต่อไป เพื่อสร้างสีสันให้กับการเมืองไทย
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid02zuukt18F2hiwwndkmTEXYYY2nyfnPyBNsMGSyagtbwrwG1vVJ