กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดการประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม”
เพื่อปลุกกระแสอนุรักษ์สืบสาน ยกระดับขีดความสามารถ และสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๖ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเกิดกระแสอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้แสดงความสามารถ รวมถึงยกระดับขีดความสามารถของดนตรี พัฒนาเทคนิคทางการแสดง ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดของแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง
นางสาวลิปิการ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ตระหนักในคุณค่าของศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแสดงพื้นบ้านถูกรุกโดยสื่อเทคโนโลยีอันหลากหลาย จึงทำให้คนรุ่นใหม่ละเลยหรือลดความสนใจในการแสดงเหล่านี้ แต่หากได้มีการพัฒนาฟื้นฟู และปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยก็จะสามารถสร้างความนิยมและรายได้ให้แก่คณะนักแสดงได้อีกครั้ง ด้วยการแสดงพื้นบ้านแต่ละอย่างล้วนมีเสน่ห์และอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญการแสดงพื้นบ้านแต่ละประเภทจะเป็นเสมือนตัวแทนทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น นับได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งนี้การพัฒนาจะต้องไม่ละเลยและทอดทิ้งซึ่งเอกลักษณ์ดั้งเดิมของการแสดงพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะนักแสดงและศิลปินทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วย
นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
รองอธิบดี สวธ. กล่าวต่อว่า การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ยังมีกำหนดจัดการประกวด อีก ๓ ภูมิภาค ดังนี้ ๑) การประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ๒) การประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา และ ๓) การประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
คลิปบรรยากาศการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” รวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง
ภาพบรรยากาศในการประกวดฯ
อาจารย์สุรัตน์ จงดา ประธานกรรมการตัดสินฯ
สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลการประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะศิลป์ชาตรี จังหวัดจันทบุรี
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เงินรางวัล ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่
คณะสืบสานศิลป์ จังหวัดนครปฐม
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่
คณะวิษณุปาณัม จังหวัดนครปฐม
รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน ๒ รางวัล ได้แก่
๑.
คณะรวมศิลป์ ระบิลเรือง เมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
๒.
คณะช่อพิกุล จังหวัดสุพรรณบุรี
บทสัมภาษณ์อาจารย์สุรัตน์ จงดา ประธานกรรมการตัดสินฯ
บทสัมภาษณ์คณะศิลป์ชาตรี จังหวัดจันทบุรี ทีมรางวัลชนะเลิศ
โอกาสนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เชิญชวนทุกท่านร่วมกันส่งกำลังใจ และติดตามการประกวด “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” อีก ๓ ภูมิภาค ผ่านช่องทางของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมการประกวดหรือข้อมูลทางวัฒนธรรมได้ทาง
www.culture.go.th เฟซบุ๊ก กรมส่งเสริมวัฒนธรรมและ line@วัฒนธรรม
การประกวดรวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เพื่อปลุกกระแสอนุรักษ์สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมไทย ณ จังหวัดอยุธยา
นางสาวลิปิการ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ตระหนักในคุณค่าของศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแสดงพื้นบ้านถูกรุกโดยสื่อเทคโนโลยีอันหลากหลาย จึงทำให้คนรุ่นใหม่ละเลยหรือลดความสนใจในการแสดงเหล่านี้ แต่หากได้มีการพัฒนาฟื้นฟู และปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัยก็จะสามารถสร้างความนิยมและรายได้ให้แก่คณะนักแสดงได้อีกครั้ง ด้วยการแสดงพื้นบ้านแต่ละอย่างล้วนมีเสน่ห์และอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญการแสดงพื้นบ้านแต่ละประเภทจะเป็นเสมือนตัวแทนทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น นับได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งนี้การพัฒนาจะต้องไม่ละเลยและทอดทิ้งซึ่งเอกลักษณ์ดั้งเดิมของการแสดงพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะนักแสดงและศิลปินทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วย
รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะศิลป์ชาตรี จังหวัดจันทบุรี
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เงินรางวัล ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะสืบสานศิลป์ จังหวัดนครปฐม
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ คณะวิษณุปาณัม จังหวัดนครปฐม
รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน ๒ รางวัล ได้แก่
๑. คณะรวมศิลป์ ระบิลเรือง เมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
๒. คณะช่อพิกุล จังหวัดสุพรรณบุรี