วันอาทิตย์ที่ 14-5-23 10.36 น.ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เขตพญาไท ที่หน่วยเลือตั้งที่ 3 ไปรษณีย์สามเสนใน
ครั้งที่แล้วมาเลือกผู้ว่า กทม. ไม่ได้แวะพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน
วันนี้หย่อนบัตรเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ถือโอกาศแวะชมว่าทีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่
หลังจากเขียนถึงสะพานควายเมื่อ 14 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่มาดูแลคุณพ่อที่บ้านสะพานควาย
"เที่ยวไปกินไป @ สะพานควาย 1 : พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7390099/D7390099.html
"เที่ยวไปกินไป @ สะพานควาย 2 : อุปรากรจีน"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7390100/D7390100.html
"เที่ยวไปกินไป @ สะพานควาย 3 : ถนนประดิพัทธิ์"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7390104/D7390104.html
ซ้ายขวาของทางเข้าอาคาร มีตู้ไปรษณีย์แบบเก่า
ที่สมัยก่อนเรียกว่าตู้ทิ้งหนังสือ (Letter Box) ตั้งอยู่
เมื่อก้าวเข้ามาในอาคาร ทางซ้ายมือจะพบกับตู้ทิ้งหนังสือขนาดใหญ่สูงกว่าสองเมตร
เวลาเปิดปิดพิพิธภัณฑ์ยังคงเหมือนเดิม
ขั้นบันไดทางขึ้นเปลี่ยนเป็นลายปลากัดหางสยายทอดเป็นทางยาว
เหมือนเส้นนำทาง ดึงดูดเชิญชวนให้ขึ้นไปชั้นสอง
หน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ มีนิทรรศการ "ปลากัดไทยใจนักสู้"
เคยมีการจัดทำดวงตราไปรษณีย์ชุดปลากัดไทย ซึ่งมีความสวยงามมาก
ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำสวยงามของไทย ที่มีการส่งออกมากที่สุด
เพราะราคาไม่แพง ไม่ต้องอัดอ็อกซิเจน ทนต่อการขนส่ง
ลักษณะโดยทั่วไป มีครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม
มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮฺุบอากาศ โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป
เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส
ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ
ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน
ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย
เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน
โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (วิกิ)
4 สายพันธุ์ที่พัฒนาแล้วของปลากัดไทย
คือ 1 ปลากัดครีบสั้น แบ่งเป็นหางเดี่ยวและหางคู่
ซี่งแบ่งย่อยเป็น หางพัด หางใบโพธิ์ หางมงกุฏและหางพระจันทร์ครึ่งดวง
2 ปลากัดครีบยาว แบ่งเป็นหางเดี่ยวและหางคู่
ซี่งแบ่งย่อยเป็น หางพู่กัน หางมงกุฏ หางพระจันทร์ครึ่งดวง และหางพนะอาทิตย์ครึ่งดวง
3 ปลากัดยักษ์ มีขนาด 2.5 นิ้งขึ้นไปวัดจากโคนหาง แบ่งเป็นครีบสั้นและครีบยาว
4 ปลากัดหูช้าง มีครีบหูใหญ่กว่าปกติอย่างชัดเขน แบ่งเป็นครีบสั้นและครีบยาว
ปลากัดมีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร
พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็ก ของที่ราบลุ่มทุกภาคส่วนในประเทศไทย
เพาะพันธุ์เองได้ง่ายกว่าที่คิด และรู้ไหมว่าปลากัดเกิดมาได้อย่างไร
จ้องตากันแล้วท้องจริงหรือ?
ไม่จริง ปลากัดตัวผู้จ้องตาตัวเมีย เพื่อกระตุ่นให้ตัวเมียสร้างไข่ในท้อง
ก่อนที่ตัวผู้จะรัดตัวเมียเพื่อให้ไข่ออกมา แล้วจึงปล่อยน้ำเชื้อใส่ไข่
จากนั้นจีงอมไข่ไปพ่นติดกับหวอดที่ก่อไว้บริเวณผิวน้ำ ซึ่งเกิดจากการที่มีปลาเพศผู้
ใช้น้ำลายของตัวผสมรวมกับอากาศพ่นออกมาเป็นฟองอากาศ
มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ใส จับตัวรวมกันเป็นกลุ่มหรือก้อนลอยอยู่เหนือผิวน้ำ
และคอยดูแล จนกว่าไข่จะฟักออกมาเป็นตัว เป็นการปฏิสนธิภายนอก
ปลากัดชนิดอมไข่ ไม่ก่อหวอดแต่ชอบอมไข่
แพร่พันธุ์โดยตัวผู้อมไข่ฟักในปากออกมาเป็นตัว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง
ไม่ก้าวร้าว ส่วนใหญ่สีสีนมักไม่สวยงาม ส่วนหัวและลำตัวใหญ่กว่าปลากัดกลุ่มก่อหวอด
มีครีบต่าง ๆ เล็กกว่ามาก พบในหลายพื้นที่ทางภาคใต้
ตู้ทิ้งหนังสือหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์
เป็นตู้ไปรษณีย์รุ่นแรกที่ได้รับมอบจากประเทศเยอรมันนี
ในโอกาสเปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามเมื่อปี พศ. 2426
ภายในพิพิธภัณฑ์เปิดแอร์เย็นฉ่ำ
Every Stamp Tells A Story
ทุกดวงตราไปรษณีย์มีเรื่องราว
เป็นคนเดียวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในวันนี้ เหมือนเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
เจ้าหน้าที่บอกว่า อาจเพราะวันนี้เป็นวันเลือกตั้งและยังเช้าอยู่
ผังการจัดแสดงยังเหมือนเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนการแสดงเนื้อหาให้น่าชมมากยิ่งขึ้น
กำเนิดแสตมป์
แสตมป์ไทยยุตแรก
ชุดบุรุษไปรษณีย์ในยุคเริ่มต้น
การถือกำเนิดขึ้นของไปรษณีย์กรุงสยามในสมัยรัชกาลที่ 5
ยุคที่ 1 เอกราชด้านการสื่อสารแห่งสยาม
ยุคที่ 2 กำเนิดการไปรษณีย์กรุงสยาม
ไปรษณียาคาร
ไปรษณียาคาร เดิมสะกดว่า ไปรสนียาคาร เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์
จัดแสดงเกี่ยวกับไปรษณีย์ไทย และพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการไปรษณีย์ไทย
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ฝั่งพระนคร อยู่ทางทิศใต้ของสะพานพุทธ
เดิมที่ตั้งแห่งนี้เป็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข และถือเป็นที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศไทย
อาคารก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2414 ก่อนจะถูกทุบทิ้ง ถูกทุบทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2525
เพื่อเปิดทางให้กับการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสะพานคู่ขนานอยู่ทางทิศใต้ของสะพานพระพุทธยอดฟ้า
ปัจจุบันอาคารถูกสร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิม ในตำแหน่งใกล้เคียงกับที่ตั้งเดิม
เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์กิจการไปรษณีย์ไทย ทำการก่อสร้างคัดลอกแบบเดิมใหม่
โดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
เมื่อปี พ.ศ. 2546 แล้วได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน (วิกิ)
ยุคที่ 4 ขยายเครือข่ายไปทุกท้องถิ่น
อุปกรณ์ทีใช้ในการไปรษณีย์ยุคเริ่มต้น
ตู้เก็บตัวอย่างตราไปรษณียากรของไทย
ตั้งแต่ปี พศ. 2426 จนถึงปัจจุบัน มีดรรชนีช่วยเพิ่มความสะดวกในการค้นหา
ตู้แบบนี้มีหลายตู้ มีทั้งตู้เก็บตราไปรษณียากร
ซองวันแรกจำหน่ายรวมถึงตราไปรษณียากรของต่างประเทศที่น่าสนใจ
เส้นเวลาตราไปรษณียากร
แสตมป์พิศวง สแตมป์แปลกแบบต่าง ๆ
ลายผ้าถัก
เปลี่ยนสีได้
แสตมป์มีชีวิต (AR Stamps)
อักษรเบรลล์
11.17 น. ออกจากพิพิธภัณฑ์
อาคารมีลิฟท์ขึ้นลง แต่ค่อย ๆ เดินลงบันได
อาคารสำนักงานใหญธนาคารออมสินสูง 32 ชั้นมองจากหน้าต่างข้างบันได
อาคารกรุด้วยกระจกนิรภัยสีทอง ตัดด้วยคิ้วอาคารในแนวขวางและแนวตั้งสีชมพู
-โดยสีชมพูสื่อถึงมิตรภาพความจริงใจ และสีทองสื่อถึงความมั่นคงและสง่างาม
คู่สีหลักเฉพาะนี้ โดยสีชมพูถูกนำไปใช้อย่างโดดเด่นเพื่อการสื่อสารในสื่อ
แทบทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ การจดจดจำและเชื่อมโยงถึงธนาคารออมสิน
https://commarts.dpu.ac.th/journal/upload/issue/5LD6VtbQro.
เดิมชั้นล่างด้านขวามือของทางเข้าอาคาร
มีห้องปรับอากาศเปิดเป็นตลาดนัดคนรักตราไปรษณียากร แต่ปัจจุบันเปลี้ยนเป็นส่วนธุรกิจ
ตลาดนัดคนรักตราไปรษณียากรจึงย้ายมาด้านนอกข้างบันไดขึ้นพิพิธภัณฑ์
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ สะพานควาย : ข้าวมันไก่มงคลวัฒนา, หลีง้วน, ขนมปัง Gardenia ไอศครีม
ครั้งที่แล้วมาเลือกผู้ว่า กทม. ไม่ได้แวะพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน
วันนี้หย่อนบัตรเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ถือโอกาศแวะชมว่าทีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่
หลังจากเขียนถึงสะพานควายเมื่อ 14 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่มาดูแลคุณพ่อที่บ้านสะพานควาย
"เที่ยวไปกินไป @ สะพานควาย 1 : พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7390099/D7390099.html
"เที่ยวไปกินไป @ สะพานควาย 2 : อุปรากรจีน"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7390100/D7390100.html
"เที่ยวไปกินไป @ สะพานควาย 3 : ถนนประดิพัทธิ์"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7390104/D7390104.html
ซ้ายขวาของทางเข้าอาคาร มีตู้ไปรษณีย์แบบเก่า
ที่สมัยก่อนเรียกว่าตู้ทิ้งหนังสือ (Letter Box) ตั้งอยู่
เมื่อก้าวเข้ามาในอาคาร ทางซ้ายมือจะพบกับตู้ทิ้งหนังสือขนาดใหญ่สูงกว่าสองเมตร
เวลาเปิดปิดพิพิธภัณฑ์ยังคงเหมือนเดิม
ขั้นบันไดทางขึ้นเปลี่ยนเป็นลายปลากัดหางสยายทอดเป็นทางยาว
เหมือนเส้นนำทาง ดึงดูดเชิญชวนให้ขึ้นไปชั้นสอง
หน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ มีนิทรรศการ "ปลากัดไทยใจนักสู้"
เคยมีการจัดทำดวงตราไปรษณีย์ชุดปลากัดไทย ซึ่งมีความสวยงามมาก
ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำสวยงามของไทย ที่มีการส่งออกมากที่สุด
เพราะราคาไม่แพง ไม่ต้องอัดอ็อกซิเจน ทนต่อการขนส่ง
ลักษณะโดยทั่วไป มีครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม
มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮฺุบอากาศ โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป
เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส
ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ
ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน
ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย
เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน
โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (วิกิ)
4 สายพันธุ์ที่พัฒนาแล้วของปลากัดไทย
คือ 1 ปลากัดครีบสั้น แบ่งเป็นหางเดี่ยวและหางคู่
ซี่งแบ่งย่อยเป็น หางพัด หางใบโพธิ์ หางมงกุฏและหางพระจันทร์ครึ่งดวง
2 ปลากัดครีบยาว แบ่งเป็นหางเดี่ยวและหางคู่
ซี่งแบ่งย่อยเป็น หางพู่กัน หางมงกุฏ หางพระจันทร์ครึ่งดวง และหางพนะอาทิตย์ครึ่งดวง
3 ปลากัดยักษ์ มีขนาด 2.5 นิ้งขึ้นไปวัดจากโคนหาง แบ่งเป็นครีบสั้นและครีบยาว
4 ปลากัดหูช้าง มีครีบหูใหญ่กว่าปกติอย่างชัดเขน แบ่งเป็นครีบสั้นและครีบยาว
ปลากัดมีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร
พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็ก ของที่ราบลุ่มทุกภาคส่วนในประเทศไทย
เพาะพันธุ์เองได้ง่ายกว่าที่คิด และรู้ไหมว่าปลากัดเกิดมาได้อย่างไร
จ้องตากันแล้วท้องจริงหรือ?
ไม่จริง ปลากัดตัวผู้จ้องตาตัวเมีย เพื่อกระตุ่นให้ตัวเมียสร้างไข่ในท้อง
ก่อนที่ตัวผู้จะรัดตัวเมียเพื่อให้ไข่ออกมา แล้วจึงปล่อยน้ำเชื้อใส่ไข่
จากนั้นจีงอมไข่ไปพ่นติดกับหวอดที่ก่อไว้บริเวณผิวน้ำ ซึ่งเกิดจากการที่มีปลาเพศผู้
ใช้น้ำลายของตัวผสมรวมกับอากาศพ่นออกมาเป็นฟองอากาศ
มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ใส จับตัวรวมกันเป็นกลุ่มหรือก้อนลอยอยู่เหนือผิวน้ำ
และคอยดูแล จนกว่าไข่จะฟักออกมาเป็นตัว เป็นการปฏิสนธิภายนอก
ปลากัดชนิดอมไข่ ไม่ก่อหวอดแต่ชอบอมไข่
แพร่พันธุ์โดยตัวผู้อมไข่ฟักในปากออกมาเป็นตัว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง
ไม่ก้าวร้าว ส่วนใหญ่สีสีนมักไม่สวยงาม ส่วนหัวและลำตัวใหญ่กว่าปลากัดกลุ่มก่อหวอด
มีครีบต่าง ๆ เล็กกว่ามาก พบในหลายพื้นที่ทางภาคใต้
ตู้ทิ้งหนังสือหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์
เป็นตู้ไปรษณีย์รุ่นแรกที่ได้รับมอบจากประเทศเยอรมันนี
ในโอกาสเปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามเมื่อปี พศ. 2426
ภายในพิพิธภัณฑ์เปิดแอร์เย็นฉ่ำ
Every Stamp Tells A Story
ทุกดวงตราไปรษณีย์มีเรื่องราว
เป็นคนเดียวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในวันนี้ เหมือนเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
เจ้าหน้าที่บอกว่า อาจเพราะวันนี้เป็นวันเลือกตั้งและยังเช้าอยู่
ผังการจัดแสดงยังเหมือนเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนการแสดงเนื้อหาให้น่าชมมากยิ่งขึ้น
กำเนิดแสตมป์
แสตมป์ไทยยุตแรก
ชุดบุรุษไปรษณีย์ในยุคเริ่มต้น
การถือกำเนิดขึ้นของไปรษณีย์กรุงสยามในสมัยรัชกาลที่ 5
ยุคที่ 1 เอกราชด้านการสื่อสารแห่งสยาม
ยุคที่ 2 กำเนิดการไปรษณีย์กรุงสยาม
ไปรษณียาคาร
ไปรษณียาคาร เดิมสะกดว่า ไปรสนียาคาร เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์
จัดแสดงเกี่ยวกับไปรษณีย์ไทย และพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการไปรษณีย์ไทย
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ฝั่งพระนคร อยู่ทางทิศใต้ของสะพานพุทธ
เดิมที่ตั้งแห่งนี้เป็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข และถือเป็นที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศไทย
อาคารก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2414 ก่อนจะถูกทุบทิ้ง ถูกทุบทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2525
เพื่อเปิดทางให้กับการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสะพานคู่ขนานอยู่ทางทิศใต้ของสะพานพระพุทธยอดฟ้า
ปัจจุบันอาคารถูกสร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิม ในตำแหน่งใกล้เคียงกับที่ตั้งเดิม
เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์กิจการไปรษณีย์ไทย ทำการก่อสร้างคัดลอกแบบเดิมใหม่
โดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย)
เมื่อปี พ.ศ. 2546 แล้วได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน (วิกิ)
ยุคที่ 4 ขยายเครือข่ายไปทุกท้องถิ่น
อุปกรณ์ทีใช้ในการไปรษณีย์ยุคเริ่มต้น
ตู้เก็บตัวอย่างตราไปรษณียากรของไทย
ตั้งแต่ปี พศ. 2426 จนถึงปัจจุบัน มีดรรชนีช่วยเพิ่มความสะดวกในการค้นหา
ตู้แบบนี้มีหลายตู้ มีทั้งตู้เก็บตราไปรษณียากร
ซองวันแรกจำหน่ายรวมถึงตราไปรษณียากรของต่างประเทศที่น่าสนใจ
เส้นเวลาตราไปรษณียากร
แสตมป์พิศวง สแตมป์แปลกแบบต่าง ๆ
ลายผ้าถัก
เปลี่ยนสีได้
แสตมป์มีชีวิต (AR Stamps)
อักษรเบรลล์
11.17 น. ออกจากพิพิธภัณฑ์
อาคารมีลิฟท์ขึ้นลง แต่ค่อย ๆ เดินลงบันได
อาคารสำนักงานใหญธนาคารออมสินสูง 32 ชั้นมองจากหน้าต่างข้างบันได
อาคารกรุด้วยกระจกนิรภัยสีทอง ตัดด้วยคิ้วอาคารในแนวขวางและแนวตั้งสีชมพู
-โดยสีชมพูสื่อถึงมิตรภาพความจริงใจ และสีทองสื่อถึงความมั่นคงและสง่างาม
คู่สีหลักเฉพาะนี้ โดยสีชมพูถูกนำไปใช้อย่างโดดเด่นเพื่อการสื่อสารในสื่อ
แทบทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ การจดจดจำและเชื่อมโยงถึงธนาคารออมสิน
https://commarts.dpu.ac.th/journal/upload/issue/5LD6VtbQro.
เดิมชั้นล่างด้านขวามือของทางเข้าอาคาร
มีห้องปรับอากาศเปิดเป็นตลาดนัดคนรักตราไปรษณียากร แต่ปัจจุบันเปลี้ยนเป็นส่วนธุรกิจ
ตลาดนัดคนรักตราไปรษณียากรจึงย้ายมาด้านนอกข้างบันไดขึ้นพิพิธภัณฑ์
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น