สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ให้ออกได้เลย แค่ต้องจ่ายค่าจ้างถึงวันที่ลูกจ้างแสดงเจตนาไว้
มาตรา 17 วรรค 4
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้าง ให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่าย จนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง ตามวรรคนี้เป็นการจ่าย สินจ้างให้แก่ ลูกจ้างตาม มาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 17 วรรค 4
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้าง ให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่าย จนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง ตามวรรคนี้เป็นการจ่าย สินจ้างให้แก่ ลูกจ้างตาม มาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ความคิดเห็นที่ 9
1. การลาออก เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ต้องให้ฝ่ายนายจ้างอนุมัติหรือยินยอม (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8791/2550)
2. การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงกำหนดที่ขอลาออก ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย หรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้ เพราะเงินเหล่านี้ใช้กับกรณีนายจ้างเลิกจ้าง แต่การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนกำหนด เป็นการทำให้ลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริง เป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างได้ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2316/2525 และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 10161/2551)
ดังนั้น สิ่งที่ควรจะเป็นก็คือ คุณต้องทำงานต่อไปจนถึงกำหนดลาออกที่คุณแจ้งนายจ้าง
ถ้าในระหว่างนี้นายจ้างจะมีงานให้ทำหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของนายจ้าง เพราะคุณมีความประสงค์จะทำงาน แต่นายจ้างไม่มอบหมายงานให้ทำเอง
แต่ถ้านายจ้างยืนยันว่าจะให้ออกจากงานก่อนกำหนด
ค่าจ้างเป็นเงินตอบแทนการทำงาน ดังนั้น ทำงานถึงวันไหน ก็คิดค่าจ้างถึงแค่วันนั้น
ส่วนตั้งแต่วันที่ให้ออกจากงานไปจนถึงกำหนดลาออก เป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญา ถ้านายจ้างไม่จ่าย ต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลแรงงานเท่านั้น
2. การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงกำหนดที่ขอลาออก ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย หรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้ เพราะเงินเหล่านี้ใช้กับกรณีนายจ้างเลิกจ้าง แต่การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนกำหนด เป็นการทำให้ลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริง เป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างได้ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2316/2525 และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 10161/2551)
ดังนั้น สิ่งที่ควรจะเป็นก็คือ คุณต้องทำงานต่อไปจนถึงกำหนดลาออกที่คุณแจ้งนายจ้าง
ถ้าในระหว่างนี้นายจ้างจะมีงานให้ทำหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของนายจ้าง เพราะคุณมีความประสงค์จะทำงาน แต่นายจ้างไม่มอบหมายงานให้ทำเอง
แต่ถ้านายจ้างยืนยันว่าจะให้ออกจากงานก่อนกำหนด
ค่าจ้างเป็นเงินตอบแทนการทำงาน ดังนั้น ทำงานถึงวันไหน ก็คิดค่าจ้างถึงแค่วันนั้น
ส่วนตั้งแต่วันที่ให้ออกจากงานไปจนถึงกำหนดลาออก เป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญา ถ้านายจ้างไม่จ่าย ต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลแรงงานเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
แจ้งลาออก แต่บริษัทให้ออกก่อนวันที่แจ้ง