มีการยืนยันแล้วว่า BYD (บีวายดี) เตรียมติดตั้งแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
รายงานข่าวระบุว่า BYD จะเริ่มเดินสายการผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าวภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ก่อนติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นประหยัด Seagull เป็นโมเดลแรก และจะขยับขยายไปสู่รุ่นอื่น ๆ ในซีรีส์ Ocean เป็นลำดับต่อไป
BYD จับมือกับ CATL ในการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน โดยจะใช้ร่วมกันแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนในรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นในอนาคตระยะยาว
CATL ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ยักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่งของโลกจากจีนเคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะจัดส่งแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนให้แก่ Chery ค่ายรถร่วมชาติเดียวกัน โดยจะใช้ในรถต้นทุนต่ำอย่าง QQ Ice Cream
ทั้งนี้ แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการลดต้นทุนนอกเหนือจากแบตเตอรี่ LFP โดยจะช่วยลดการพึ่งพาลิเธียมซึ่งต้นทุนพุ่งทะยานอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนทะลุหลัก 600,000 หยวนหรือกว่า 2 ล้านบาทต่อ 1 ตันไปเรียบร้อยแล้ว
CATL เริ่มพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนตั้งแต่กลางปี 2021 โดยระบุว่าสามารถทำให้มีความหนาแน่นของพลังงานได้ที่ 160 วัตต์ชั่วโมงต่อกก. น้อยกว่าแบตเตอรี่ LFP เล็กน้อย แต่จุดเด่นอยู่ตรงที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาก และมีการทำงานที่ดีกว่าในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำ จึงมีความปลอดภัยมากกว่า
จุดเด่น-จุดด้อย
สำนักข่าว CarNewsChina จากจีนระบุว่าแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนมีข้อดีก็จริง แต่ทาง CATL อาจพัฒนาขึ้นเพื่อกดดันซัพพลายเออร์ที่จัดส่งลิเธียมให้ลดราคาลงมามากกว่าจะมุ่งเน้นทำตลาดอย่างจริงจัง
กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญก็ชี้ว่าจุดเด่นของแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนมีมากมายจนน่าใช้งาน ดังนี้
• ปลอดภัยกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม
• มีศักยภาพภายใต้อากาศเย็น
• คายประจุช้า
• ต้นทุนการผลิตต่ำ
• เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ขณะที่จุดด้อยได้แก่
• ชาร์จช้ากว่า
• อัตราส่วนไฟต่ำกว่า
• ความหนาแน่นของพลังงานต่ำกว่า
AutoFun
ชมจุดอ่อน-จุดแข็งแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน ก่อน BYD เริ่มใช้ปลายปีนี้
รายงานข่าวระบุว่า BYD จะเริ่มเดินสายการผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าวภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ก่อนติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นประหยัด Seagull เป็นโมเดลแรก และจะขยับขยายไปสู่รุ่นอื่น ๆ ในซีรีส์ Ocean เป็นลำดับต่อไป
BYD จับมือกับ CATL ในการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน โดยจะใช้ร่วมกันแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนในรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นในอนาคตระยะยาว
CATL ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ยักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่งของโลกจากจีนเคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะจัดส่งแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนให้แก่ Chery ค่ายรถร่วมชาติเดียวกัน โดยจะใช้ในรถต้นทุนต่ำอย่าง QQ Ice Cream
ทั้งนี้ แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการลดต้นทุนนอกเหนือจากแบตเตอรี่ LFP โดยจะช่วยลดการพึ่งพาลิเธียมซึ่งต้นทุนพุ่งทะยานอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนทะลุหลัก 600,000 หยวนหรือกว่า 2 ล้านบาทต่อ 1 ตันไปเรียบร้อยแล้ว
CATL เริ่มพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนตั้งแต่กลางปี 2021 โดยระบุว่าสามารถทำให้มีความหนาแน่นของพลังงานได้ที่ 160 วัตต์ชั่วโมงต่อกก. น้อยกว่าแบตเตอรี่ LFP เล็กน้อย แต่จุดเด่นอยู่ตรงที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาก และมีการทำงานที่ดีกว่าในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำ จึงมีความปลอดภัยมากกว่า
จุดเด่น-จุดด้อย
สำนักข่าว CarNewsChina จากจีนระบุว่าแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนมีข้อดีก็จริง แต่ทาง CATL อาจพัฒนาขึ้นเพื่อกดดันซัพพลายเออร์ที่จัดส่งลิเธียมให้ลดราคาลงมามากกว่าจะมุ่งเน้นทำตลาดอย่างจริงจัง
กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญก็ชี้ว่าจุดเด่นของแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนมีมากมายจนน่าใช้งาน ดังนี้
• ปลอดภัยกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม
• มีศักยภาพภายใต้อากาศเย็น
• คายประจุช้า
• ต้นทุนการผลิตต่ำ
• เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ขณะที่จุดด้อยได้แก่
• ชาร์จช้ากว่า
• อัตราส่วนไฟต่ำกว่า
• ความหนาแน่นของพลังงานต่ำกว่า
AutoFun