เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ากับการปราบเรือดำน้ำในปัจจุบัน
จากข่าวการเพิ่มขีดความสามารถด้านเรือดำน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนี้ ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จนทำให้ พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร. ประกาศเลื่อนการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่ 2-3 ออกไป อาจทำให้หลายคนมีความสงสัยว่าเหตุใดกองทัพเรือจึงไม่เร่งจัดหาเรือดำน้ำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ จนทำให้ดูสวนทางกับสถานการณ์กำลังรบในภูมิภาค ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวสามารถหาคำตอบได้จากการพิจารณาขีดความสามารถและความเหมาะสมของการใช้เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าในการปราบเรือดำน้ำในปัจจุบัน
เรือดำน้ำรุ่นแรกถูกออกแบบสำหรับการโจมตีเรือผิวน้ำเท่านั้น และยังไม่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ มีเพียงตอร์ปิโดยิงตรงหรือตอร์ปิโดนำวิถีในแนวระนาบที่ความลึกคงที่ จนกระทั่งมีการพัฒนาตอร์ปิโดนำวิถี 3 มิติทำให้เรือดำน้ำเริ่มมีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ และมีการแบ่งประเภทเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าเป็น SS คือเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าทั่วไป กับ SSK คือเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ ซึ่งในปัจจุบันเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าทั้งหมดจัดเป็น SSK คือสามารถปราบเรือดำน้ำได้
[...]
อย่างไรก็ดี เรือดำน้ำสมัยใหม่มีการพัฒนาด้านความเงียบเป็นอย่างมาก โดยเอกสาร Alliance Airborne Anti-Submarine Warfare ขององค์การนาโต้ ที่เผยแพร่เมื่อปี ค.ศ.2016 กล่าวถึงความท้าทายของการปราบเรือดำน้ำในปัจจุบันว่าเรือดำน้ำสมัยใหม่มีเสียงที่เงียบลงประมาณครึ่งหนึ่งในทุก 10 ปี หรือคิดเป็น 15 dB ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในทะเลยังมีเสียงรบกวนที่ดังมากขึ้นในระดับเดียวกันหรือประมาณ 15 dB ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการเพิ่มปริมาณกิจกรรมต่างๆ ในทะเล ทั้งในส่วนของการขนส่งและการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้สภาพแวดล้อมทางเสียงมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
ปัจจัยดังกล่าวทำให้มีความแตกต่างระหว่างความเงียบที่เพิ่มขึ้นกับเสียงรบกวนที่ดังขึ้นรวมประมาณ 30 dB หรือ 1,000 เท่า ส่งผลให้การตรวจจับเรือดำน้ำทาง Passive ระยะไกลแทบเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของอังกฤษและฝรั่งเศส คือ HMS Vanguard กับเรือดำน้ำ Le Triomphant ชนกันใต้น้ำเมื่อปี ค.ศ.2009 เนื่องจากต่างฝ่ายต่างเงียบจนไม่สามารถตรวจจับกันได้ ซึ่งเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าในขณะที่ไม่เดินเครื่องดีเซลจะมีความเงียบยิ่งกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์เสียอีก จนกระทั่งระยะตรวจจับเป้าเรือดำน้ำด้วยโซนาร์ Passive ลดลงเป็นอย่างมากทำให้เรือดำน้ำไม่สามารถทำการค้นหาเป้าเรือดำน้ำด้วยโซนาร์ Passive ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกว่าจะตรวจจับเป้าได้ก็อยู่ในระยะใกล้มากที่ต้องทำการป้องกันตัวมากกว่าจะเป็นการค้นหา-ไล่ล่า-ทำลายเหมือนในอดีต
Cr.
https://www.facebook.com/100044141844026/posts/pfbid0MV29LmrSz3kvodiF8eGozgpSHWhHvHeTMLkmhtSpstkTYBAZCgZN7vAjDWwkUDd6l/?mibextid=kdkkhi
เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า กับการปราบเรือดำน้ำในปัจจุบัน
จากข่าวการเพิ่มขีดความสามารถด้านเรือดำน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนี้ ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จนทำให้ พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร. ประกาศเลื่อนการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่ 2-3 ออกไป อาจทำให้หลายคนมีความสงสัยว่าเหตุใดกองทัพเรือจึงไม่เร่งจัดหาเรือดำน้ำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ จนทำให้ดูสวนทางกับสถานการณ์กำลังรบในภูมิภาค ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวสามารถหาคำตอบได้จากการพิจารณาขีดความสามารถและความเหมาะสมของการใช้เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าในการปราบเรือดำน้ำในปัจจุบัน
เรือดำน้ำรุ่นแรกถูกออกแบบสำหรับการโจมตีเรือผิวน้ำเท่านั้น และยังไม่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ มีเพียงตอร์ปิโดยิงตรงหรือตอร์ปิโดนำวิถีในแนวระนาบที่ความลึกคงที่ จนกระทั่งมีการพัฒนาตอร์ปิโดนำวิถี 3 มิติทำให้เรือดำน้ำเริ่มมีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ และมีการแบ่งประเภทเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าเป็น SS คือเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าทั่วไป กับ SSK คือเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ ซึ่งในปัจจุบันเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าทั้งหมดจัดเป็น SSK คือสามารถปราบเรือดำน้ำได้
[...]
อย่างไรก็ดี เรือดำน้ำสมัยใหม่มีการพัฒนาด้านความเงียบเป็นอย่างมาก โดยเอกสาร Alliance Airborne Anti-Submarine Warfare ขององค์การนาโต้ ที่เผยแพร่เมื่อปี ค.ศ.2016 กล่าวถึงความท้าทายของการปราบเรือดำน้ำในปัจจุบันว่าเรือดำน้ำสมัยใหม่มีเสียงที่เงียบลงประมาณครึ่งหนึ่งในทุก 10 ปี หรือคิดเป็น 15 dB ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในทะเลยังมีเสียงรบกวนที่ดังมากขึ้นในระดับเดียวกันหรือประมาณ 15 dB ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการเพิ่มปริมาณกิจกรรมต่างๆ ในทะเล ทั้งในส่วนของการขนส่งและการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้สภาพแวดล้อมทางเสียงมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
ปัจจัยดังกล่าวทำให้มีความแตกต่างระหว่างความเงียบที่เพิ่มขึ้นกับเสียงรบกวนที่ดังขึ้นรวมประมาณ 30 dB หรือ 1,000 เท่า ส่งผลให้การตรวจจับเรือดำน้ำทาง Passive ระยะไกลแทบเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของอังกฤษและฝรั่งเศส คือ HMS Vanguard กับเรือดำน้ำ Le Triomphant ชนกันใต้น้ำเมื่อปี ค.ศ.2009 เนื่องจากต่างฝ่ายต่างเงียบจนไม่สามารถตรวจจับกันได้ ซึ่งเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าในขณะที่ไม่เดินเครื่องดีเซลจะมีความเงียบยิ่งกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์เสียอีก จนกระทั่งระยะตรวจจับเป้าเรือดำน้ำด้วยโซนาร์ Passive ลดลงเป็นอย่างมากทำให้เรือดำน้ำไม่สามารถทำการค้นหาเป้าเรือดำน้ำด้วยโซนาร์ Passive ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกว่าจะตรวจจับเป้าได้ก็อยู่ในระยะใกล้มากที่ต้องทำการป้องกันตัวมากกว่าจะเป็นการค้นหา-ไล่ล่า-ทำลายเหมือนในอดีต
Cr. https://www.facebook.com/100044141844026/posts/pfbid0MV29LmrSz3kvodiF8eGozgpSHWhHvHeTMLkmhtSpstkTYBAZCgZN7vAjDWwkUDd6l/?mibextid=kdkkhi