จากกรณีที่ บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP มีรายได้ทั้งปี 2565 จำนวนแค่ 2,323 บาท นำมาซึ่งคำถามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่ายังดำเนินธุริกจอยู่หรือไม่
ล่าสุด นายพัชรพล ซันคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ACAP ได้ชี้แจงดังนี้
1. การประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อของบริษัทและบริษัทย่อยในปัจจุบัน
ในปี 2565 บริษัทฯได้ลดปริมาณการปล่อยสินเชื่อลง เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและหนี้คงค้างภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง การพิจารณาสินเชื่อใหม่ จึงมีความเข้มงวดมากขึ้น บริษัทฯจึงมุ่งเน้นกิจกรรม การเร่งรัดติดตามหนี้ เพื่อนำเม็ดเงินมาเสริมสภาพคล่องและชำระหนี้เจ้าหนี้หุ้นกู้
รายได้ที่แสดงในปี 2565 จึงมีไม่มากเนื่องมาจากการชลอการปล่อยสินเชื่อ
ทั้งนี้บริษัทฯไม่ได้หยุดดำเนินการเพราะช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯให้น้ำหนักไปในเรื่องของการดำเนินการเร่งรัดหนี้สินและเจรจาปรับโครงสร้างกับลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ การเร่งรัดหนี้สินและการเจรจาปรับโครงสร้างกับลูกหนี้ ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีลูกค้าเข้ามาขอรับบริการสินเชื่ออยู่ต่อเนื่องและมีบางรายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาที่คาดว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ ส่วนแหล่งเงินที่จะนำมาปล่อยสินเชื่อมาจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะนำมาชำระบางส่วน และจากการเพิ่มทุนของนักลงทุน นอกจากนี้บริษัทฯ
กำลังเจรจาแหล่งเงินกู้จากในและต่างประเทศ
บริษัทฯ มีจำนวนและหน้าที่ของบุคลากรดังนี้
1.1 ทีมพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีบุคลากร 5 ตำแหน่ง
1.2 ทีมติดตามเร่งรัดหนี้สิน มีบุคลากร 6 ตำแหน่ง
1.3 ทีมกฎหมาย มีบุคลากร 4 ตำแหน่ง
1.4 ทีมบัญชี มีบุคลากร 5 ตำแหน่ง
2. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2566
3. สรุปข้อมูลรายได้ดอกเบี้ยจำนวน 2,323 บาท มาจากดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคารของบริษัทฯ และบริษัทใน เครือ
4. ผลของการพิจารณาสินเชื่อรายใหม่ ในปี 2565 ดังรายละเอียดลูกค้า 6 ราย ดังนี้
1 บริษัท ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 20 ลบ. หลักประกันที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ผลลูกค้ายกเลิกการขอสินเชื่อเพราะได้รับอนุมัติสินเชื่อจาก GSBแล้ว
2.บริษัทผลิตโครงสร้างเหล็ก โรงเรือนการเกษตร มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 52 ลบ. หลักประกันที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม 3.0% ผลไม่อนุมัติเพราะ เอกสารนำส่งไม่ครบถ้วน
3.บริษัท ผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 30 ลบ. หลักประกันเครื่องจักร ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติเพราะ หลักประกันไม่มีสภาพคล่อง
4. บริษัท ขนส่งทราย มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 20 ลบ. หลักประกันรถบรรทุก 18 ล้อ พ่วง ระยะเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติกิจการรายได้ไม่แน่นอน
5.บริษัท ขายสินค้าและบริการติดตั้งไฟฟ้าตามอาคาร มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 20 ลบ. หลักประกันโอนสิทธิการรับเงิน มูลค่างาน 30 ลบ. ระยะเวลา 1
ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติ เพราะโอนสิทธิการรับเงินแบบไม่สมบูรณ์
6.บริษัท ทำโรงงานแยกขยะ มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 30 ลบ. หลักประกันเครื่องจักร ระยะเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติ เพราะหลักประกันไม่มีสภาพคล่อง
ปัจจุบันบริษัทฯยังมีลูกค้าที่อยูระหว่างการพิจารณาสินเชื่ออยู่ 3 ราย
ที่มา
ACAP แจงยังทำธุรกิจอยู่หรือไม่? ตลท.สงสัยรายได้ปี65แค่2พันบาท
อ่านเรื่องน่าสงสัยคลิกที่
https://thunhoon.com/article/272031
#ทันหุ้น #ข่าว #หุ้น #ข่าวหุ้น #ACAP
ACAP แจงยังทำธุรกิจอยู่หรือไม่? ตลท.สงสัยรายได้ปี65แค่2พันบาท
ล่าสุด นายพัชรพล ซันคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ACAP ได้ชี้แจงดังนี้
1. การประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อของบริษัทและบริษัทย่อยในปัจจุบัน
ในปี 2565 บริษัทฯได้ลดปริมาณการปล่อยสินเชื่อลง เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและหนี้คงค้างภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง การพิจารณาสินเชื่อใหม่ จึงมีความเข้มงวดมากขึ้น บริษัทฯจึงมุ่งเน้นกิจกรรม การเร่งรัดติดตามหนี้ เพื่อนำเม็ดเงินมาเสริมสภาพคล่องและชำระหนี้เจ้าหนี้หุ้นกู้
รายได้ที่แสดงในปี 2565 จึงมีไม่มากเนื่องมาจากการชลอการปล่อยสินเชื่อ
ทั้งนี้บริษัทฯไม่ได้หยุดดำเนินการเพราะช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯให้น้ำหนักไปในเรื่องของการดำเนินการเร่งรัดหนี้สินและเจรจาปรับโครงสร้างกับลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ การเร่งรัดหนี้สินและการเจรจาปรับโครงสร้างกับลูกหนี้ ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีลูกค้าเข้ามาขอรับบริการสินเชื่ออยู่ต่อเนื่องและมีบางรายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาที่คาดว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ ส่วนแหล่งเงินที่จะนำมาปล่อยสินเชื่อมาจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะนำมาชำระบางส่วน และจากการเพิ่มทุนของนักลงทุน นอกจากนี้บริษัทฯ
กำลังเจรจาแหล่งเงินกู้จากในและต่างประเทศ
บริษัทฯ มีจำนวนและหน้าที่ของบุคลากรดังนี้
1.1 ทีมพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีบุคลากร 5 ตำแหน่ง
1.2 ทีมติดตามเร่งรัดหนี้สิน มีบุคลากร 6 ตำแหน่ง
1.3 ทีมกฎหมาย มีบุคลากร 4 ตำแหน่ง
1.4 ทีมบัญชี มีบุคลากร 5 ตำแหน่ง
2. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2566
3. สรุปข้อมูลรายได้ดอกเบี้ยจำนวน 2,323 บาท มาจากดอกเบี้ยรับเงินฝากธนาคารของบริษัทฯ และบริษัทใน เครือ
4. ผลของการพิจารณาสินเชื่อรายใหม่ ในปี 2565 ดังรายละเอียดลูกค้า 6 ราย ดังนี้
1 บริษัท ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 20 ลบ. หลักประกันที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ผลลูกค้ายกเลิกการขอสินเชื่อเพราะได้รับอนุมัติสินเชื่อจาก GSBแล้ว
2.บริษัทผลิตโครงสร้างเหล็ก โรงเรือนการเกษตร มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 52 ลบ. หลักประกันที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม 3.0% ผลไม่อนุมัติเพราะ เอกสารนำส่งไม่ครบถ้วน
3.บริษัท ผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 30 ลบ. หลักประกันเครื่องจักร ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติเพราะ หลักประกันไม่มีสภาพคล่อง
4. บริษัท ขนส่งทราย มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 20 ลบ. หลักประกันรถบรรทุก 18 ล้อ พ่วง ระยะเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติกิจการรายได้ไม่แน่นอน
5.บริษัท ขายสินค้าและบริการติดตั้งไฟฟ้าตามอาคาร มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 20 ลบ. หลักประกันโอนสิทธิการรับเงิน มูลค่างาน 30 ลบ. ระยะเวลา 1
ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติ เพราะโอนสิทธิการรับเงินแบบไม่สมบูรณ์
6.บริษัท ทำโรงงานแยกขยะ มูลหนี้(วงเงินขอสินเชื่อ) 30 ลบ. หลักประกันเครื่องจักร ระยะเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ย12.0% ค่าธรรมเนียม3.0% ไม่อนุมัติ เพราะหลักประกันไม่มีสภาพคล่อง
ปัจจุบันบริษัทฯยังมีลูกค้าที่อยูระหว่างการพิจารณาสินเชื่ออยู่ 3 ราย
ที่มา
ACAP แจงยังทำธุรกิจอยู่หรือไม่? ตลท.สงสัยรายได้ปี65แค่2พันบาท
อ่านเรื่องน่าสงสัยคลิกที่
https://thunhoon.com/article/272031
#ทันหุ้น #ข่าว #หุ้น #ข่าวหุ้น #ACAP