กรณีฆาตกรไซยาไนด์ ถ้าเจ้าทุกข์ร่วมกัน...ภาครัฐ จะได้ไหมคะ

ไม่จัดการให้มีระบบชันสูตรพลิกศพที่ได้มาตรฐาน

ลองฟัง
มีเวลาฟังทั้งคลิปก็ดีนะคะ 

นาทีที่ 54.21
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

นาทีที่ 3.14
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ขอให้วางอคติทางการเมืองหรือตัวบุคคลก่อนนะคะ
ก็อย่างที่เห็น เป็นเรื่องความปลอดภัยของทุกคนจริงๆ
1 คนตายที่ไม่รู้สาเหตุ นำไปสู่อีกหลายสิบศพที่ตามมา

ในเรื่องข้อจำกัดการทำงานของแพทย์ทั่วไปและแพทย์นิติเวชนั้น เราทราบค่ะ
เพราะเราเป็นแพทย์มา 10 กว่าปี อยู่เวรออกชันสูตรศพเช่นกัน
ซึ่งเคยมีเหมือนกันที่ออกความเห็นให้ส่งนิติเวช (การส่งนิติเวช แปลว่าจะได้ผ่าศพนะคะ เพราะแพทย์ทั่วไปดูแค่ภายนอก)
โดยที่ไม่มีนิติเวชในจังหวัด คือต้องส่งศพไปมากกว่า 100 กม.และรอคิวด้วยค่ะ
ญาติไม่เต็มใจ ส่วน ตร.เอง ก็นิ่งๆแบบ รอดูหมอกะญาติไฟทว์กันว่าใครชนะ แต่เราก็ยืนยันเพราะเราสรุปไม่ได้จริงๆ
สภาพศพชายเปลือยคู้ตัวคว่ำหน้าในอ่างเก็บน้ำแบบห้องน้ำสมัยเก่า คือซีนแบบนี้มันแปลก
แต่ญาติว่าไม่แปลกเพราะเมาประจำคงจะร้อน 
อ่ะ คิดไปแบบนี้อาจตายเองก็ได้ แบบทำกิจกรรมอะไรบางอย่างแล้วพลาด
ในทางกลับกัน เคสที่นอนตายบนเตียงอาจจะโดนฆาตกรรมก็ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าผลปรากฏว่าเขาตายเองจริงๆล่ะ
นึกสภาพ ญาติต้องหารถขนศพ เพื่อให้ได้ใบสำคัญนั้นมา กว่าจะได้ทำพิธี ทั้งเสียเงินเสียเวลาไม่ใช่น้อยเลย
ชันสูตรศพโดยมีเหตุตามกฏหมายนั้นฟรีนะคะ เพราะภาครัฐต้องรับภาระ แต่กระบวนการที่จะได้ชันสูตรนั้นไม่ง่ายเลย

สิ่งที่เราคิดว่ามันควรจะเกิดหลังจากนี้
1.เรื่องให้ใช้ดุลพินิจของแพทย์(ซึ่งจริงๆแล้ว+ญาติ+พนง.สอบสวน) ว่าต้องส่งนิติเวชผ่าศพมั้ย  นั้นควรจะเลิกเถอะค่ะ
2.รัฐควรจัดบริการขนส่งศพให้ด้วยค่ะ ซึ่งหลายครั้ง ข้ามจังหวัดด้วย
รถส่งศพมันต้องมีการรักษาความเย็น มีโลงอะไรด้วย
3.ควรมีระบบส่งต่อที่ชัดเจน เหมือนระบบส่งต่อคนป่วยค่ะ 
ใครมีหน้าที่ติดต่อใคร เขตนี้-จังหวัดนี้-วันนี้-เวลานี้ โทรไปไหน
ที่เคยมีประสบการณ์คือ พอจะส่งจริงขึ้นมา มืดแปดด้านเลยค่ะ  (ปสก.10ปีแล้วนะคะ ถ้าปัจจุบันดีขึ้นแล้วก็ยินดีด้วย)
4.ที่สงสัยอีกคือ มันความรับผิดชอบของกระทรวงไหนคะ สาธารณสุขหรือยุติธรรม

ขอสรุปกฏหมายให้ง่ายๆนะคะ ถ้าใช้คำใดผิดไปขออภัย
ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 148 ศพตายผิดธรรมชาติ ต้องชันสูตรทุกราย โดยแพทย์ (ไม่ว่านิติเวชหรือแพทย์ทั่วไป รัฐหรือเอกชนก็ได้)
แต่ๆ เนื่องจากจำนวนแพทย์ที่ขาดแคลน จึงมีบทเฉพาะกาล บอกว่า ถ้าไม่มีแพทย์ให้มอบหมาย จนท.ที่ได้รับการอบรมได้
 (เราไม่ทราบจริงๆว่ายังมีปัญหานี้อยู่หรือเปล่า คือให้คนที่ไม่ใช่แพทย์มาชันสูตร บางเสียงบอกว่า ผู้ใหญ่บ้านก็ได้)
บทเฉพาะกาลที่ว่านี้ได้ต่ออายุ จาก 2542 มาเรื่อยๆ เนื่องจากขาดแคลนแพทย์ จนถึงฉบับล่าสุด 2565 ไม่ทราบมีต่ออีกหรือเปล่า

ถัดมา ปัญหาหลักคิดว่าอยู่ตรงนี้ค่ะ มาตรา 151
เมื่อมีความจำเป็น เพื่อหาสาเหตุการตาย เจ้าพนักงานผู้ชันสูตร สามารถส่งต่อศพหรือบางส่วนของศพได้

แปลว่า ถ้าคนนั้นไม่ใช่แพทย์ แล้วสรุปไม่ได้ ก็ส่งศพให้แพทย์
หรือ ถ้าเป็นแพทย์ทั่วไป ก็ส่งต่อนิติเวช

***การชันสูตรของแพทย์ ที่ไม่ใช่นิติเวช ไม่มีการผ่าศพนะคะ ไม่มีการเก็บเลือดหรือสารอะไรจากร่างกาย****

คำว่า "เมื่อมีความจำเป็น เพื่อหาสาเหตุการตาย" เนี่ยมันกว้างไป
แล้วในสถานการณ์จริง ญาติก็มองหน้าหมออยู่เนี่ย เมื่อไหร่จะออกใบจะได้เอาไปวัด ญาติไม่สงสัยหมอจะสงสัยอะไร
ย่ิ่งหมอเด็กๆนะคะ หันไปพึ่งพี่ตำรวจอีก พี่ว่าไงอ่ะ พี่ว่าเหมือนตายเองมั้ย 
ควรมีระเบียบบังคับเลยว่าแบบไหนต้องส่งต่อนิติเวช
แล้วจะห้อยท้ายว่าแล้วแต่ดุลพินิจ อันนั้นก็ไม่เสียหาย
ที่อยากให้ระบุให้ชัดเจนก็เพราะรู้ว่า "ตายผิดธรรมชาติ" ทุกเคส จะส่งนิติเวชทุกรายก็ไม่ไหวอีกไง แบบรถชนตายจ๋าๆงี้
แต่อย่างผู้หญิงอายุน้อย (น้อยแค่ไหนก็ไม่ทราบ) ต้องส่งนิติเวชผ่าทุกรายเนี่ย
ตอนเราฟังก็ตกใจอยู่ สงสัยตอนเรียนจะไม่ตั้งใจเรียน ทำไมจำไม่ได้
โชคทีตอนทำงานเจอแต่ ผช.ตาย เออ ผช.ตายง่ายกว่าจริงๆ
อ่ะนี่ยอมรับกันตรงๆ แพทย์ก็มีทั้งเรียนดีเรียนไม่ดี ชอบวิชานั้นไม่ชอบวิชานี้
แพทย์ขี้สงสัย แพทย์หละหลวม แพทย์ชอบอ่านโคนัน  แพทย์เชื่อคนง่าย ความสงสัยใคร่รู้มันย่อมต่างกัน
ญาติและตำรวจก็เช่นกัน แล้วจะเอาอะไรมาฝากไว้กับคำว่าดุลยพินิจ
(ไม่นับกรณี ญาติฆ่าเองอีกนะ แล้วถ้าแพทย์กับตำรวจดูไม่ออกด้วย ก็จบ)

อ้างอิงกฏหมาย
https://drive.google.com/file/d/1Th1cpcNBJilBowgVIc28aCEBLRNBR36X/view

ขอเพิ่ม มีคนถามว่าตายผิดธรรมชาติ นิยามยังไง
มาตรา 148 เมื่อปรากฏแน่ชัด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ 
หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย
            การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ
            (๑) ฆ่าตัวตาย
            (๒) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
            (๓) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
            (๔) ตายโดยอุบัติเหตุ
            (๕) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ”
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่