คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
ในควันบุหรี่ และกัญชา ก็มีไซยาไนด์ ที่อยู่ในรูปของ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ที่สารมาจากใบสูบและใบกัญชา กัญชาจะมีไซยาไนด์ชนิดนี้เยอะด้วย ไม่แปลกที่จะเห็นคนสูบควันกัญชา ตัวเหลือง ตาเหลือง ผิวคล้ำ เพราะไซยาไนด์ก็ไปบล็อกการทำงานของออกซิเจนและเหล็ก(เฟอริก fe3)ในเลือดอีกด้วย
“ไซยาไนด์” เป็นสารพิษที่พบได้ทั่วไปในพืชหลากหลายชนิด อุตสาหกรรมหลายชนิด รูปแบบที่เป็นพิษคือรูปอิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide, HCN) ในพืชนั้นพบมากมายหลายชนิดได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วชนิดต่างๆ อ้อย แอบเปิ้ล เผือก หน่อไม้ เมล็ดอัลมอล เชอรี่ พีช มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น
พืชต่างๆ เหล่านี้มีไซยาไนด์อยู่ในรูปไซยาโนไกลโคไซด์ ต่างๆ กันเช่นในมันสำปะหลังพบในรูปลินามาริน (linamarin, 2-?-D-glucopyranosyloxy-2-methylpropiononitrile) และโลทอสตราลิน {lotaustralin, [(2R)-2-?-D-glucopyranosyloxy-2-methylbutyronitrile]} ร้อยละ 80-90 และที่เหลือพบในรูปของไซยาไนด์อิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ ในขณะที่ในแอบเปิ้ลพบในรูปอะมัยดาลิน (amygdalin หรือ B17) และพรูนาริน (prunasin) เป็นต้น ในพืชจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไซยาโนไกลโคไซด์ ต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อศัตรูผู้รุกรานได้ เช่น ในมันสำปะหลังจะมีเอนไซม์ลินามาริเนส (linamarinase) พบในส่วนต่างๆ ของพืชสามารถย่อยลินามารินไปเป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษ
ในร่างกายมนุษย์สามารถกำจัดไฮโดรเจนไซยาไนด์โดยเอนไซม์โรดานีส (rodanese) และ/หรือ บีต้า-ไซยาโนอะลานีนซินเทส (?-cyanoalanine synthase) ให้เป็นไทโอไซยาเนต (thiocyanate) ซี่งมีพิษน้อยลง และสามารถขับทิ้งทางปัสสาวะได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการลดพิษไซยาไนด์ในพืชหลายวิธี เช่น การให้ความร้อน การปรุงอาหาร เป็นต้น ระดับของไซยาไนด์ที่เป็นพิษ (lethal dose) ต่อมนุษย์นั้นคือ 0.5–3.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
จากการตรวจสอบปริมาณไซยาไนด์ด้วยวิธี Acid hydrolysis ในพืชและสัตว์ ชนิดต่างๆ พบว่า ในมันสำปะหลังพบในปริมาณสูงมากในทุกๆ ส่วนของพืช (240-1,040 ppm) นอกจากนี้ยังพบในทุกส่วนของต้นสบู่ดำ พบมากที่สุดในใบ (484-530 ppm) แต่ในหนอนไหมป่าอีรี่พบปริมาณไซยาไนด์ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย (<10 ppm) นอกจากนี้ยังตรวจหาปริมาณไซยาไนด์ในไหมบ้าน ใบหม่อน และพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด พบว่ามีปริมาณไม่เป็นอันตราย (<10 ppm)
หากเราต้องการนำเอาส่วนต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ ของมันสำปะหลัง หรือสบู่ดำมาใช้ จำเป็นต้องมีการตรวจหาปริมาณไซยาไนด์ และทำการลดพิษไซยาไนด์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเสียก่อน
http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/50/plant/03_plant/03_plant.html
“ไซยาไนด์” เป็นสารพิษที่พบได้ทั่วไปในพืชหลากหลายชนิด อุตสาหกรรมหลายชนิด รูปแบบที่เป็นพิษคือรูปอิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide, HCN) ในพืชนั้นพบมากมายหลายชนิดได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วชนิดต่างๆ อ้อย แอบเปิ้ล เผือก หน่อไม้ เมล็ดอัลมอล เชอรี่ พีช มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น
พืชต่างๆ เหล่านี้มีไซยาไนด์อยู่ในรูปไซยาโนไกลโคไซด์ ต่างๆ กันเช่นในมันสำปะหลังพบในรูปลินามาริน (linamarin, 2-?-D-glucopyranosyloxy-2-methylpropiononitrile) และโลทอสตราลิน {lotaustralin, [(2R)-2-?-D-glucopyranosyloxy-2-methylbutyronitrile]} ร้อยละ 80-90 และที่เหลือพบในรูปของไซยาไนด์อิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ ในขณะที่ในแอบเปิ้ลพบในรูปอะมัยดาลิน (amygdalin หรือ B17) และพรูนาริน (prunasin) เป็นต้น ในพืชจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไซยาโนไกลโคไซด์ ต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อศัตรูผู้รุกรานได้ เช่น ในมันสำปะหลังจะมีเอนไซม์ลินามาริเนส (linamarinase) พบในส่วนต่างๆ ของพืชสามารถย่อยลินามารินไปเป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษ
ในร่างกายมนุษย์สามารถกำจัดไฮโดรเจนไซยาไนด์โดยเอนไซม์โรดานีส (rodanese) และ/หรือ บีต้า-ไซยาโนอะลานีนซินเทส (?-cyanoalanine synthase) ให้เป็นไทโอไซยาเนต (thiocyanate) ซี่งมีพิษน้อยลง และสามารถขับทิ้งทางปัสสาวะได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการลดพิษไซยาไนด์ในพืชหลายวิธี เช่น การให้ความร้อน การปรุงอาหาร เป็นต้น ระดับของไซยาไนด์ที่เป็นพิษ (lethal dose) ต่อมนุษย์นั้นคือ 0.5–3.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
จากการตรวจสอบปริมาณไซยาไนด์ด้วยวิธี Acid hydrolysis ในพืชและสัตว์ ชนิดต่างๆ พบว่า ในมันสำปะหลังพบในปริมาณสูงมากในทุกๆ ส่วนของพืช (240-1,040 ppm) นอกจากนี้ยังพบในทุกส่วนของต้นสบู่ดำ พบมากที่สุดในใบ (484-530 ppm) แต่ในหนอนไหมป่าอีรี่พบปริมาณไซยาไนด์ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย (<10 ppm) นอกจากนี้ยังตรวจหาปริมาณไซยาไนด์ในไหมบ้าน ใบหม่อน และพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด พบว่ามีปริมาณไม่เป็นอันตราย (<10 ppm)
หากเราต้องการนำเอาส่วนต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ ของมันสำปะหลัง หรือสบู่ดำมาใช้ จำเป็นต้องมีการตรวจหาปริมาณไซยาไนด์ และทำการลดพิษไซยาไนด์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเสียก่อน
http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/50/plant/03_plant/03_plant.html
แสดงความคิดเห็น
"สารcyanaide" มีในพืชผักผลไม้ชนิดไหนบ้าง และมีความรุนแรงขนาดไหนครับ
วันนี้เป็นอะไรไม่รู้เราจิตตกนิดนึงตอนได้คุยกับเพื่อน ถ้าหากเราอยู่โสดๆตัวคนเดียว แล้วไปกินพืชผักผลไม้ที่มีสารcyanaideเข้า อ้าว!! แบบนี้เราก็แย่น่ะสิ เพราะคงไม่มีใครเห็นตอนเราล้มอยู่ในบ้านแน่ๆ
ลาโลกชัวร์ๆ...
จึงเกิดคำถามมาในหัว???
มีพืชผักผลไม้อะไรบ้างที่มีสารพิษcyanaide ถ้าเผลอไปกินเข้าจะมีความรุนแรงขนาดไหน เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องสารเคมีเลย นี่ถ้าเพื่อนamให้เรากินกาแฟเราคงไปแล้ว
ขอบพระคุณทุกท่านที่มาแบ่งปันข้อมูลครับ
ปล.ลืมบอก.... เรารู้แค่ว่าในเมล็ดแอพเปิ้ลมีสารนี้อยู่ ถ้ากินปริมาณมากจะอันตราย