ดูจบแล้วมีความรู้สึกเดียวกันกับเรื่อง Aftersun (2022) ที่ดูไปก่อนหน้านี้คือ การเล่าในแง่ของความสัมพันธ์ใกล้ตัวที่จับต้องได้ที่ทั้งจุกทั้งซึมจนพูดไม่ออกไปชั่วครู่นึง ขนาดต้องขอเก็บไปนั่งคิดนั่งทบทวนกับความรู้สึกของตนเองที่กำลังประมวลผลกันอย่างเงียบ ๆ แต่เรื่องนี้พิเศษกว่าหน่อยตรงที่ว่าแต่ละฉากมันสามารถถ่ายทอดความโหยหาในวัยเยาว์ได้ซื่อตรงจนทำให้ผมน้ำตาซึมไปหลายรอบ ซึ่งไม่ค่อยมีเรื่องไหนที่ทำให้ผมจมดิ่งได้เท่ากับเรื่องนี้ หลังจากนั้นต่อมความคิดถึงช่วงเวลาเก่า ๆ ปรากฎขึ้นมาในหัวอีกครั้ง ซึ่งยอมรับว่าวัยเด็กคงจะเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดโดยไม่มีวันย้อนกลับมาได้อีก ในขณะเดียวกันก็เริ่มจะมีปัญหาที่เข้ามาจากภายนอกจากสังคมเข้ามาถาโถมใส่เราเรื่อย ๆ เป็นการส่งสัญญาณบอกว่าให้เราต้องเตรียมตัวโตขึ้นในวันข้างหน้ากันได้แล้ว
ผมไม่แปลกใจเลยที่เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศในปีนี้ เพราะนอกจาก Plot ประเภทนี้ที่เข้าทางคณะกรรมการออสการ์แล้ว ส่วนหนึ่งที่ชัดเจนคือการเล่าเรื่องที่เรียบง่าย ซื่อตรงกับบท ถ่ายทอดบรรยากาศความเป็นท้องถิ่นยุโรปให้เข้าใจได้ง่ายและไว้ใจให้เป็นผู้บอกเล่าเรื่องเป็นบางช่วงโดยไม่มีบทสนทนาหรือตัวละครปรากฎใด ๆ แถมไม่แวะข้างทางจากการใส่ Details ความเป็น Abstract มากมายเกินความจำเป็นที่จะต้องมานั่งตีความให้ปวดสมองใด ๆ กับความเรียบง่ายแบบนี้ เพียงแค่เลือกหยิบประเด็นใกล้ตัวอย่างความรัก ความผูกพันของเพื่อน หรือ ครอบครัว มานำเสนอด้วยถ้อยทีตรง ๆ ง่าย ๆ ส่วนที่เหลือก็ปล่อยให้คนดูซึมซับบรรยากาศที่ไหลไปข้างหน้ากันเองแค่นี้ก็ทำให้เราเข้าใจกับเนื้อเรื่องได้อย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าจะมีบางช่วงที่ไม่ได้ถ่ายทอดในส่วนของปมที่เกิดปัญหาขึ้นกันตรง ๆ เหมือนกับว่ามันขาดการเชื่อมต่อต้นสายปลายเหตุในขณะนั้นไปซักหน่อย แต่ระหว่างทางเราก็สามารถสัมผัส Moment ทุกการกระทำของตัวละครทั้งตัว Leo และ Remi แม้กระทั่งครอบครัวของทั้งคู่ได้ทันทีว่าทำไมต้องทำแบบนี้แบบนั้น ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 45 นาทีที่เรื่อย ๆ แต่ผ่านไปค่อนข้างเร็ว เพราะ หนังมุ่งตรงไปที่การสำรวจตัวตนของเด็ก 2 คนเป็นหลัก เปลี่ยนจากเพื่อนสนิทที่รักกันมากในช่วงแรกที่วิ่งในทุ่งลาเวนเดอร์ในโลกกันอย่างสนุกสนานจนนำไปสู่การเลิกเป็นเพื่อนในช่วงกลางเรื่องจนนำไปสู่จุดแตกหักความสัมพันธ์ของทั้งคู่ได้น่าสะเทือนใจ โดยจุดเริ่มต้นของปมต่าง ๆ เริ่มมาตอนที่ทั้งคู่เข้าสู่สังคมรั้วโรงเรียนที่มีเพื่อนใหม่ มีการบูลลี่ ด้วยสื่อโซเชี่ยล ต่าง ๆ ตามมาสิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งทำให้ทั้งคู่เข้าสู่ด้านมืดในโลกแห่งความจริงขึ้นไปทีละนิด ชนิดที่เรียกว่าโทนเรื่องระหว่างช่วงแรกกับช่วงหลังเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือไปทันที
ถ้าเปรียบเทียบตัวของ Leo กับ Remi คือเป็นผ้าขาวบริสุทธิ์ที่ถูกสีหยดใส่ลงในผ้าไปแล้วแต่ยังเหลือพื้นที่ที่เป็นสีขาวอยู่ถ้าซักล้างออกไปก็พอจะกลับมาเป็นสีขาวได้แต่ไม่เป็นเหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ ๆ แล้วนั่นแหล่ะ ด้วยการแสดงของน้อง Eden Dambrine ที่ Debut เป็นเรื่องแรกแต่น้องสามารถแบกพลังมวลสารที่ถูกปัญหารายล้อมทับถมทั้งเรื่องได้น่าประทับใจจนรู้สึกอึดอัดกดดันแทนน้องกันเลย อีกคนที่พูดถึงไม่ได้คือน้อง Gustav De Waele ถึงแม้จะปรากฎฉากไม่มากเท่า Eden แต่ทุก Scene ที่ปรากฏทั้งหลายนั้นเป็นที่น่าจดจำทุก Shot โดยเฉพาะฉากเปิดเรื่องที่ทั้งคู่เล่นซ่อนหา ตอนนอน หรือ ฉากทะเลาะกัน สามารถทำให้เรารับรู้ถึงเคมีความเป็นเพื่อนที่เป็นมากกว่ามิตรภาพขณะเดียวกันกลับผสมความเจ็บปวดจากสิ่งเร้าที่ประโคมมากเกินกว่าที่เด็กวัยนี้จะรับมือได้ตามลำพัง ซึ่งคุณงามความดีต้องมอบให้แก่การกำกับของ Lukas Dhont ที่เคยฝากผลงานดราม่ายอดเยี่ยมมาแล้วคือ Girl (2018) ที่สามารถดึงเสน่ห์ดึงศักยภาพพลังในตัวน้อง Eden กับ Gustav ออกมาได้ยอดเยี่ยมเกินกว่าที่คาดคิดโดยมีบรรดานักแสดงมืออาชีพร่วมเป็นพี่เลี้ยงดูแลน้อง ๆ อย่าง Emilie Dequenne จาก Rosetta (1999) และ Lea Drucker จาก Custody (2017) รับบทเป็นแม่ของทั้งคู่ช่วย Support ติวเข้มจนเป็นผลงาน Masterpiece ที่แจ้งเกิดน้อง 2 คนเป็นนักแสดงดาวรุ่งชั่วข้ามคืนไปเป็นที่เรียบร้อย
สรุป คือ ชอบมาก ยอดเยี่ยม ประทับใจ และ ยกให้เป็นหนังที่ชอบของปีนี้ไปโดยทันทีไปกับ Relationship ความเป็น Coming of Age ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่หนังไม่ได้จงใจตัดสินแทนคนดูให้เลือกไปในทางโลกสวยหรือสิ้นหวังกันตรง ๆ แต่กลับให้ทางเลือกในการมอบมวลสารหลายอย่างไว้ให้เรารู้สึกสงสัยแล้วนำไปทบทวนค้นหาคำตอบกันเอาเองตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงบทสรุปโดยทิ้ง Message ระหว่างทางให้เก็บไว้ รวมถึงจะเห็นใจและเข้าใจมุมมองของตัว Eden ที่มีทั้งสุขและเศร้าผ่านคำพูดและการกระทำพร้อมให้เราเข้าใจและยอมรับไปกับมันได้ง่ายขึ้น แม้จะพอเดาทางได้อยู่ว่าระยะทางจะเป็นแบบไหนเพราะดูไปกลางเรื่องเริ่มมีกลิ่นความหดหู่ลอยออกมารบกวนโสตประสาทถี่ ๆ กันแล้ว แม้คำถามมากมายสะสมความหนักหน่วง ความกดดันอยู่ในใจไว้มากกมายแต่เชื่อเหอะเมื่อถึงเวลานึงสิ่งเหล่านี้จะถูกผลักออกมาเป็นแรงระเบิดที่มีอนุภาพร้ายแรงส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลจนเหลือเพียงร่องรอยความเจ็บปวดที่แตกสลายอย่างมหาศาล ที่ทำได้ก็แค่ให้เวลาเยียวยาบาดแผลที่อยู่ในอดีตให้เบาทุเลาลง ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาเลือกเก็บสิ่งที่ดีไว้ในความทรงจำ เมื่อดีขึ้นแล้วจึงเริ่มก้าวเดินต่อไปข้างหน้าด้วยกับหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยสัจธรรมพร้อมเผชิญกับความจริงต่อไปได้อย่างสวยงาม
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.25 Close : รักแรกวันนั้น ไม่อาจแยกไปจากใจ
ดูจบแล้วมีความรู้สึกเดียวกันกับเรื่อง Aftersun (2022) ที่ดูไปก่อนหน้านี้คือ การเล่าในแง่ของความสัมพันธ์ใกล้ตัวที่จับต้องได้ที่ทั้งจุกทั้งซึมจนพูดไม่ออกไปชั่วครู่นึง ขนาดต้องขอเก็บไปนั่งคิดนั่งทบทวนกับความรู้สึกของตนเองที่กำลังประมวลผลกันอย่างเงียบ ๆ แต่เรื่องนี้พิเศษกว่าหน่อยตรงที่ว่าแต่ละฉากมันสามารถถ่ายทอดความโหยหาในวัยเยาว์ได้ซื่อตรงจนทำให้ผมน้ำตาซึมไปหลายรอบ ซึ่งไม่ค่อยมีเรื่องไหนที่ทำให้ผมจมดิ่งได้เท่ากับเรื่องนี้ หลังจากนั้นต่อมความคิดถึงช่วงเวลาเก่า ๆ ปรากฎขึ้นมาในหัวอีกครั้ง ซึ่งยอมรับว่าวัยเด็กคงจะเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุดโดยไม่มีวันย้อนกลับมาได้อีก ในขณะเดียวกันก็เริ่มจะมีปัญหาที่เข้ามาจากภายนอกจากสังคมเข้ามาถาโถมใส่เราเรื่อย ๆ เป็นการส่งสัญญาณบอกว่าให้เราต้องเตรียมตัวโตขึ้นในวันข้างหน้ากันได้แล้ว
ผมไม่แปลกใจเลยที่เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศในปีนี้ เพราะนอกจาก Plot ประเภทนี้ที่เข้าทางคณะกรรมการออสการ์แล้ว ส่วนหนึ่งที่ชัดเจนคือการเล่าเรื่องที่เรียบง่าย ซื่อตรงกับบท ถ่ายทอดบรรยากาศความเป็นท้องถิ่นยุโรปให้เข้าใจได้ง่ายและไว้ใจให้เป็นผู้บอกเล่าเรื่องเป็นบางช่วงโดยไม่มีบทสนทนาหรือตัวละครปรากฎใด ๆ แถมไม่แวะข้างทางจากการใส่ Details ความเป็น Abstract มากมายเกินความจำเป็นที่จะต้องมานั่งตีความให้ปวดสมองใด ๆ กับความเรียบง่ายแบบนี้ เพียงแค่เลือกหยิบประเด็นใกล้ตัวอย่างความรัก ความผูกพันของเพื่อน หรือ ครอบครัว มานำเสนอด้วยถ้อยทีตรง ๆ ง่าย ๆ ส่วนที่เหลือก็ปล่อยให้คนดูซึมซับบรรยากาศที่ไหลไปข้างหน้ากันเองแค่นี้ก็ทำให้เราเข้าใจกับเนื้อเรื่องได้อย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าจะมีบางช่วงที่ไม่ได้ถ่ายทอดในส่วนของปมที่เกิดปัญหาขึ้นกันตรง ๆ เหมือนกับว่ามันขาดการเชื่อมต่อต้นสายปลายเหตุในขณะนั้นไปซักหน่อย แต่ระหว่างทางเราก็สามารถสัมผัส Moment ทุกการกระทำของตัวละครทั้งตัว Leo และ Remi แม้กระทั่งครอบครัวของทั้งคู่ได้ทันทีว่าทำไมต้องทำแบบนี้แบบนั้น ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 45 นาทีที่เรื่อย ๆ แต่ผ่านไปค่อนข้างเร็ว เพราะ หนังมุ่งตรงไปที่การสำรวจตัวตนของเด็ก 2 คนเป็นหลัก เปลี่ยนจากเพื่อนสนิทที่รักกันมากในช่วงแรกที่วิ่งในทุ่งลาเวนเดอร์ในโลกกันอย่างสนุกสนานจนนำไปสู่การเลิกเป็นเพื่อนในช่วงกลางเรื่องจนนำไปสู่จุดแตกหักความสัมพันธ์ของทั้งคู่ได้น่าสะเทือนใจ โดยจุดเริ่มต้นของปมต่าง ๆ เริ่มมาตอนที่ทั้งคู่เข้าสู่สังคมรั้วโรงเรียนที่มีเพื่อนใหม่ มีการบูลลี่ ด้วยสื่อโซเชี่ยล ต่าง ๆ ตามมาสิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งทำให้ทั้งคู่เข้าสู่ด้านมืดในโลกแห่งความจริงขึ้นไปทีละนิด ชนิดที่เรียกว่าโทนเรื่องระหว่างช่วงแรกกับช่วงหลังเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือไปทันที
ถ้าเปรียบเทียบตัวของ Leo กับ Remi คือเป็นผ้าขาวบริสุทธิ์ที่ถูกสีหยดใส่ลงในผ้าไปแล้วแต่ยังเหลือพื้นที่ที่เป็นสีขาวอยู่ถ้าซักล้างออกไปก็พอจะกลับมาเป็นสีขาวได้แต่ไม่เป็นเหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ ๆ แล้วนั่นแหล่ะ ด้วยการแสดงของน้อง Eden Dambrine ที่ Debut เป็นเรื่องแรกแต่น้องสามารถแบกพลังมวลสารที่ถูกปัญหารายล้อมทับถมทั้งเรื่องได้น่าประทับใจจนรู้สึกอึดอัดกดดันแทนน้องกันเลย อีกคนที่พูดถึงไม่ได้คือน้อง Gustav De Waele ถึงแม้จะปรากฎฉากไม่มากเท่า Eden แต่ทุก Scene ที่ปรากฏทั้งหลายนั้นเป็นที่น่าจดจำทุก Shot โดยเฉพาะฉากเปิดเรื่องที่ทั้งคู่เล่นซ่อนหา ตอนนอน หรือ ฉากทะเลาะกัน สามารถทำให้เรารับรู้ถึงเคมีความเป็นเพื่อนที่เป็นมากกว่ามิตรภาพขณะเดียวกันกลับผสมความเจ็บปวดจากสิ่งเร้าที่ประโคมมากเกินกว่าที่เด็กวัยนี้จะรับมือได้ตามลำพัง ซึ่งคุณงามความดีต้องมอบให้แก่การกำกับของ Lukas Dhont ที่เคยฝากผลงานดราม่ายอดเยี่ยมมาแล้วคือ Girl (2018) ที่สามารถดึงเสน่ห์ดึงศักยภาพพลังในตัวน้อง Eden กับ Gustav ออกมาได้ยอดเยี่ยมเกินกว่าที่คาดคิดโดยมีบรรดานักแสดงมืออาชีพร่วมเป็นพี่เลี้ยงดูแลน้อง ๆ อย่าง Emilie Dequenne จาก Rosetta (1999) และ Lea Drucker จาก Custody (2017) รับบทเป็นแม่ของทั้งคู่ช่วย Support ติวเข้มจนเป็นผลงาน Masterpiece ที่แจ้งเกิดน้อง 2 คนเป็นนักแสดงดาวรุ่งชั่วข้ามคืนไปเป็นที่เรียบร้อย
สรุป คือ ชอบมาก ยอดเยี่ยม ประทับใจ และ ยกให้เป็นหนังที่ชอบของปีนี้ไปโดยทันทีไปกับ Relationship ความเป็น Coming of Age ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่หนังไม่ได้จงใจตัดสินแทนคนดูให้เลือกไปในทางโลกสวยหรือสิ้นหวังกันตรง ๆ แต่กลับให้ทางเลือกในการมอบมวลสารหลายอย่างไว้ให้เรารู้สึกสงสัยแล้วนำไปทบทวนค้นหาคำตอบกันเอาเองตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงบทสรุปโดยทิ้ง Message ระหว่างทางให้เก็บไว้ รวมถึงจะเห็นใจและเข้าใจมุมมองของตัว Eden ที่มีทั้งสุขและเศร้าผ่านคำพูดและการกระทำพร้อมให้เราเข้าใจและยอมรับไปกับมันได้ง่ายขึ้น แม้จะพอเดาทางได้อยู่ว่าระยะทางจะเป็นแบบไหนเพราะดูไปกลางเรื่องเริ่มมีกลิ่นความหดหู่ลอยออกมารบกวนโสตประสาทถี่ ๆ กันแล้ว แม้คำถามมากมายสะสมความหนักหน่วง ความกดดันอยู่ในใจไว้มากกมายแต่เชื่อเหอะเมื่อถึงเวลานึงสิ่งเหล่านี้จะถูกผลักออกมาเป็นแรงระเบิดที่มีอนุภาพร้ายแรงส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลจนเหลือเพียงร่องรอยความเจ็บปวดที่แตกสลายอย่างมหาศาล ที่ทำได้ก็แค่ให้เวลาเยียวยาบาดแผลที่อยู่ในอดีตให้เบาทุเลาลง ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาเลือกเก็บสิ่งที่ดีไว้ในความทรงจำ เมื่อดีขึ้นแล้วจึงเริ่มก้าวเดินต่อไปข้างหน้าด้วยกับหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยสัจธรรมพร้อมเผชิญกับความจริงต่อไปได้อย่างสวยงาม
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้