การหางานในทุกวันนี้มีวิธีและช่องทางมากมาย ทำให้การหางานสะดวกขึ้น จากต้องเดินทางเพื่อส่งใบสมัครตามบริษัท ก็กลายมาเป็นส่งใบสมัครผ่านคอมพิวเตอร์ เว็บเบราว์เซอร์บนมือถือ จนเป็นแอปพลิเคชัน แต่เมื่อวิธีการง่ายขึ้น หลายคนก็มีประสิทธิภาพในการสมัครน้อยลง เช่น ทำเรซูเม่ลวก ๆ หรือส่งใบสมัครแบบหว่านหลาย ๆ บริษัท ดังนั้น คนหางานควรใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ เพราะเมื่อการหางานมีประสิทธิภาพก็จะได้ทำงานในบริษัทที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของเรามากขึ้นตามมาด้วย
JobThai Tips จะมาบอก 4 วิธีที่จะทำให้การหางานของเรามีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมกัน
1. รู้จักตัวเองและวางเป้าหมาย
ถ้าตัวเราคลุมเครือ การจะหางานให้ตรงกับที่ต้องการจริง ๆ ก็จะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราควรรู้ก่อนว่าสิ่งที่เรียนหรือการทำงานในช่วงที่ผ่านมา กับสิ่งที่อยากทำตอนนี้ยังคงเป็นสิ่งเดียวกันอยู่ไหม แล้ววางเป้าหมายในอาชีพดูว่าอยากทำงานที่ไหน และเติบโตขึ้นไปอย่างไร เป็นคนสำคัญในองค์กรเล็กที่อาจมาพร้อมกับความเสี่ยง หรือฟันเฟืองที่มั่นคงในองค์กรใหญ่
2. คุณภาพและปริมาณการส่งเรซูเม่ที่พอดี
ความเชื่อที่ว่า ‘ยิ่งส่งมาก ยิ่งมีสิทธิ์มาก’ ใช้กับการสมัครงานไม่ได้ การหางานแบบหว่านไปเรื่อย ๆ เพราะคิดว่าต้องมีสักที่ที่รับเป็นเรื่องที่ผิด การเลือกส่งเรซูเม่เพื่อสมัครงานในตำแหน่งที่ต้องการทำ และเหมาะสมกับความสามารถของเราจริง ๆ มันจะส่งผลดีมากกว่าเมื่อถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เพราะงานนั้นเป็นงานที่เราตั้งใจอยากจะทำจริง ๆ หากไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำงานอะไรเลยส่ง ๆ ไปก่อน รวมถึงสมัครงานหลายตำแหน่งในบริษัทเดียวกันโดยที่ไม่ตรงกับประสบการณ์หรือความสามารถของเราเลย ผลเสียจะตามมาแน่นอนเพราะจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความไม่เป็นมืออาชีพของเรา
3. อย่าลืมใช้ช่องทางที่หลากหลาย
แม้ว่าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการหางานอย่างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจะง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นการเปิดโอกาสให้เราเจองานที่หลากหลาย แต่เราต้องไม่ลืมการหางานช่องทางอื่นด้วย เช่น การพูดคุยกับคนรู้จัก หรือเข้าไปสอบถามและสมัครที่บริษัทโดยตรงก็เป็นการเปิดโอกาสในการได้งานมากขึ้น นอกจากนั้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของบริษัทก็เป็นช่องทางที่น่าสนใจเหมือนกัน ยิ่งถ้าเรามีบริษัทในใจอยู่แล้วการติดตามประกาศหางานของบริษัทนั้น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก
4. จดรายละเอียดตำแหน่งและบริษัทที่ส่งใบสมัครไป
การส่งใบสมัครงานแต่ละครั้งเราควรจดรายละเอียดและตำแหน่งที่เราสมัครของบริษัทนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อกันความสับสนหรือจำตำแหน่งงานสลับกันเมื่อถูกติดต่อกลับมาเพื่อเรียกไปสัมภาษณ์ หรือแจ้งเรื่องรับเข้าทำงาน การฝากเรซูเม่บนเว็บไซต์หางานแล้วมีบริษัทติดต่อมา ในกรณีนี้ก็ควรจดชื่อบริษัท ตำแหน่ง รวมถึงชื่อคนติดต่อเอาไว้ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่อยากบอกคนหางานเพิ่มเติมคือการถูกปฏิเสธจากบริษัท ทั้งไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์หรือเรียกไปสัมภาษณ์แล้วแต่ไม่รับเข้าทำงานเป็นเรื่องปกติที่คนหางานต้องเจอ สิ่งที่ต้องทำก็คือพิจารณาว่าข้อผิดพลาดคืออะไร เช่น เรซูเม่ของเรายังไม่น่าสนใจหรือทำอะไรพลาดระหว่างสัมภาษณ์ แล้วก็พัฒนามันให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป หรืออาจไม่ใช่เพราะความสามารถของเราไม่พอ แต่เป็นเพราะเราไม่เหมาะกับบริษัทหรือตำแหน่งนั้นก็ได้ การพลาดจากงานนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะพลาดตลอดไป ความสำเร็จจะมาหาคนที่มีความพยายามและไม่ย่อท้อเสมอ
ใครอยากได้เคล็ดลับในการหางานสมัครสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมที่
https://blog.jobthai.com/career-tips
หางานไม่ได้สักที เป็นเพราะอะไร แล้วต้องทำยังไง ? กระทู้นี้มีคำตอบ
JobThai Tips จะมาบอก 4 วิธีที่จะทำให้การหางานของเรามีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมกัน
1. รู้จักตัวเองและวางเป้าหมาย
ถ้าตัวเราคลุมเครือ การจะหางานให้ตรงกับที่ต้องการจริง ๆ ก็จะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราควรรู้ก่อนว่าสิ่งที่เรียนหรือการทำงานในช่วงที่ผ่านมา กับสิ่งที่อยากทำตอนนี้ยังคงเป็นสิ่งเดียวกันอยู่ไหม แล้ววางเป้าหมายในอาชีพดูว่าอยากทำงานที่ไหน และเติบโตขึ้นไปอย่างไร เป็นคนสำคัญในองค์กรเล็กที่อาจมาพร้อมกับความเสี่ยง หรือฟันเฟืองที่มั่นคงในองค์กรใหญ่
2. คุณภาพและปริมาณการส่งเรซูเม่ที่พอดี
ความเชื่อที่ว่า ‘ยิ่งส่งมาก ยิ่งมีสิทธิ์มาก’ ใช้กับการสมัครงานไม่ได้ การหางานแบบหว่านไปเรื่อย ๆ เพราะคิดว่าต้องมีสักที่ที่รับเป็นเรื่องที่ผิด การเลือกส่งเรซูเม่เพื่อสมัครงานในตำแหน่งที่ต้องการทำ และเหมาะสมกับความสามารถของเราจริง ๆ มันจะส่งผลดีมากกว่าเมื่อถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เพราะงานนั้นเป็นงานที่เราตั้งใจอยากจะทำจริง ๆ หากไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำงานอะไรเลยส่ง ๆ ไปก่อน รวมถึงสมัครงานหลายตำแหน่งในบริษัทเดียวกันโดยที่ไม่ตรงกับประสบการณ์หรือความสามารถของเราเลย ผลเสียจะตามมาแน่นอนเพราะจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความไม่เป็นมืออาชีพของเรา
3. อย่าลืมใช้ช่องทางที่หลากหลาย
แม้ว่าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการหางานอย่างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจะง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นการเปิดโอกาสให้เราเจองานที่หลากหลาย แต่เราต้องไม่ลืมการหางานช่องทางอื่นด้วย เช่น การพูดคุยกับคนรู้จัก หรือเข้าไปสอบถามและสมัครที่บริษัทโดยตรงก็เป็นการเปิดโอกาสในการได้งานมากขึ้น นอกจากนั้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของบริษัทก็เป็นช่องทางที่น่าสนใจเหมือนกัน ยิ่งถ้าเรามีบริษัทในใจอยู่แล้วการติดตามประกาศหางานของบริษัทนั้น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก
4. จดรายละเอียดตำแหน่งและบริษัทที่ส่งใบสมัครไป
การส่งใบสมัครงานแต่ละครั้งเราควรจดรายละเอียดและตำแหน่งที่เราสมัครของบริษัทนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อกันความสับสนหรือจำตำแหน่งงานสลับกันเมื่อถูกติดต่อกลับมาเพื่อเรียกไปสัมภาษณ์ หรือแจ้งเรื่องรับเข้าทำงาน การฝากเรซูเม่บนเว็บไซต์หางานแล้วมีบริษัทติดต่อมา ในกรณีนี้ก็ควรจดชื่อบริษัท ตำแหน่ง รวมถึงชื่อคนติดต่อเอาไว้ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่อยากบอกคนหางานเพิ่มเติมคือการถูกปฏิเสธจากบริษัท ทั้งไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์หรือเรียกไปสัมภาษณ์แล้วแต่ไม่รับเข้าทำงานเป็นเรื่องปกติที่คนหางานต้องเจอ สิ่งที่ต้องทำก็คือพิจารณาว่าข้อผิดพลาดคืออะไร เช่น เรซูเม่ของเรายังไม่น่าสนใจหรือทำอะไรพลาดระหว่างสัมภาษณ์ แล้วก็พัฒนามันให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป หรืออาจไม่ใช่เพราะความสามารถของเราไม่พอ แต่เป็นเพราะเราไม่เหมาะกับบริษัทหรือตำแหน่งนั้นก็ได้ การพลาดจากงานนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะพลาดตลอดไป ความสำเร็จจะมาหาคนที่มีความพยายามและไม่ย่อท้อเสมอ
ใครอยากได้เคล็ดลับในการหางานสมัครสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมที่ https://blog.jobthai.com/career-tips