ข่าวนี้ครับ
ผมเห็นคอมเม้นต์แต่ละคน ด่านายกบ้าง ด่าชุ้ยบ้าง ด่าไปซะทุกคน ผมไม่เห็นมีใครพูดถึงเหตุผลเลย
เมื่อผมเห็นข่าวนี้สิ่งแรกที่ผมคิดคือ "ทำไมถึงต่อไฟสลับสายแล้วค่าไฟมันถึงขึ้น" มิเตอร์มันหมุนได้ยังไง
เนื้อหาคือ ถ้าไม่จ่ายค่าไฟ การไฟฟ้าจะเข้ามาตัดหม้อ และเมื่อเข้าไปจ่าย+ค่าปรับนั่นนู่นนี่ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาเสียบสายกลับเข้าที่เดิม ปัญหาคือ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าสายไหน L (power line มีไฟ) สายไหน N (นิลทรัล ไม่มีไฟ)
ปัญหามันเป็นแบบนี้ครับ เพราะกฏของการไฟฟ้า ให้ต่อสายนิลทรัลลงหลักดินก่อนเข้าเบรกเกอร์และตู้เมน และตัวสายดินเองก็มาจั้มเข้าตรงนี้ด้วย ดูรูปนะ
ทีนี้ถ้าสลับสายที่มิเตอร์ Lเป็น N และ N เป็น L มิเตอร์มันจึงหมุนเพราะไฟไหลลงดิน แต่นั่นไม่เท่ากับความอันตราย เพราะว่าสายดินมันต่อพ่วงกับนิลทรัลเดิม ทีนี้เมื่อไฟมันเข้ามาทางสายเส้นนี้ ส่วนหนึ่งมันก็ไหลลงดินไป แต่ส่วนหนึ่งมันก็ไหนมาทางสายดินไปทั่วทั้งบ้าน เครื่องทำน้ำอุ่นนี่แน่ๆ เปิดน้ำนี่ในน้ำมีไฟ220โวลต์เลย (บ้านผมต่อสายดินแยกเลย ป้องกันไว้ก่อน ถึงจะผิดกฏการไฟฟ้า แต่ต้องเข้าใจให้มากจะได้ไม่อันตราย) แล้วพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่มีสายดิน ตัวโครงเหล็กมันจะมีไฟ ช๊อตคนได้ทุกอย่าง ทั้งคอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ฯลฯ
มีข่าวที่ช๊อตคนตายจากกรณ๕ีแบบนี้มาแล้ว เป็ฯเรื่องที่น่าเศ้รามากที่ต้องสูญเสียคนที่เรารัก ต้องสุญสิ้นความผูกพันของคนในครอบครัว มันย้อนกลับมาไม่ได้
เรื่องนี้เราจะโทษการไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้ ผมอยากให้ผู้นำครอบครัวควรศึกษาและใส่ใจเรื่องนี้ อย่างน้อยๆหลังการติดตั้งมิเตอร์ หรือการต่อไฟกลับเข้ามาในระบบ ควรตรวจเช็คไฟก่อนว่ามาถูกต้องหรือเปล่า
---------------------------------------------------------
ทำไมถึงต้องมาเป็นภาระของผู้ใช้งาน หรือเจ้าของบ้าน ?
นั้นเพราะว่า สายไฟหลังจากออกจากมิเตอร์ของการไฟฟ้า ส่วนมากทำโดยผู้รับเหมา หรือช่างไฟเอกชนครับ เราไม่รู้ว่าช่างแค่ละคนมีความรู้มากแค่ไหน มีมาตรฐานการติดตั้งที่ดีไหม สายไฟอาจจะสลับโดยช่างที่รับเหมาติดตั้งระบบไฟในบ้านก็ได้ เพราะว่า หลังการถอดสายไฟออกจากหม้อไฟ(มิเตอร์) คนถอดอาจไม่ได้ทำสัญลักษณ์เอาไว้ว่าเส้นไหน L เส้นไหน N และสีหรือขนาดของสายไฟมันก็เหมือนกัน มันแยกไม่ออกหรอกครับ อาจโดนถอดตากแดดโดนอะไรมาทำมันสลับไปสลับมาก็ได้ โดยปกติเมื่อช่าง หรือเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า(บ้างครั้งโดนจ้างมาโดยซัพภายนอก)มาต่อสายกลับเข้าไป เจ้าหน้าที่ หรือช่างจะต้อเข้าไปตรวจวัดไฟที่ตู้เมนด้วยครับว่าไฟมาถูกต้องหรือเปล่า ในกรณีที่ผมยกมาให้ หรือกรณีอื่นๆคือ "บ้านไม่มีคนอยู่" ตอนที่ช่างมาเสียบสายกลับเข้าไป ไม่มีใครมาเปิดบ้านให้ช่างหรือเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจเช็คไฟครับ ผมถึงได้บอกว่า เจ้าของบ้านหรือผู้นำครอบครัวต้องใส่ใจเรื่องนี้ ถ้ารู้ว่าห้อมโดนตัดและมีการต่อกลับเข้ามาแล้วต้องเช็คไฟทุกครั้งก่อนเข้ามาใช้งานบ้านหลังนั้น
ในกรณีที่เป็นข่าวไฟจากเครื่องทำน้ำอุ่นช๊อตภรรยาเจ้าของบ้านเสียชีวิตก็กรณีแบบนี้ครับ บ้านไม่ได้อยู่นานเลยโดนตัดหม้อ พอจะมาพักที่บ้านนี้ก็ไปแจ้งการไฟฟ้า ไปจ่ายเงิน แล้วก็เข้ามาอยู่ในบ้านซึ่งไม่มีการตรวจเช็ค จึงเกิดเรื่องเศ้ราขึ้น
ใครจะบอกว่ามันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานการไฟฟ้าผมว่ามันง่ายเกินไปไหมที่จะโทษคนอื่น แต่ไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของเราเอง วันที่เขามาต่อไฟเราได้อยู่ดูเขาไหม ได้เปิดบ้านให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าไหม ได้ตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนกลับเข้ามาอยู่ในบ้านไหม ถ้าอ่านที่ผมพิมพ์ไว้ทั้งหมดจะเห็นว่ามันมีจุดหนึ่งที่เราโทษใครคนไดคนหนึ่งไม่ได้
หลักดินครับ เกี่ยวกับ ธรณีวิทยา
การเดินสายไฟในแต่ละบ้าน ช่างร้อยพ่อพันแม่ครับ บางบ้านก็ไปจ้างแค่แรงงานมาเดินให้เพราะมันถูก ไฟแต่ละจุดบางทีก็สลับกันมั่วไปหมด
ผมอยากให้แชร์ข้อมูลนี้ไปยังทุกคนที่โดนตัดหม้อครับ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
อธิบายภาพข้างล่างนะ เผื่อใครดูไม่ออก ลองดูถ้าต่อสายสลับกันที่มิเตอร์ ไฟจะไหลมาทางเส้นประที่ผมขีดสีแดงๆไว้ครับ ก่อนเข้าเบรคเกอร์สายนิวทรัลมันต้องต่อเข้ากับหลักดินก่อน แล้วหลักดินอันนี้มันก็ต่อไปยังสายดินในบ้านด้วย ซึ่งถ้าต่อสายไฟสลับกัน ไฟมันก็ไหลมาลงหลักดิน ทำให้มิเตอร์หมุนอยู่ตลอดเวลา และมันก็ยังไหลเข้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านโดยที่ต้องสับคัตเอาต์หรือเบรคเกอ์เลย นั่นคืออันตรายสุดๆ เพราะถ้ามีใครโดนช๊อต จะไม่มีที่ให้ตัดไฟเลยนอกจากใช้คีมตัดสายที่มิเตอร์
การไฟฟ้าต่อไฟสลับสาย ค่าไฟ2เดือน5000 สิ่งที่ควรทำความเข้าใจไม่ใช่ค่าไฟ แต่คือความปลอดภัย
ข่าวนี้ครับ
ผมเห็นคอมเม้นต์แต่ละคน ด่านายกบ้าง ด่าชุ้ยบ้าง ด่าไปซะทุกคน ผมไม่เห็นมีใครพูดถึงเหตุผลเลย
เมื่อผมเห็นข่าวนี้สิ่งแรกที่ผมคิดคือ "ทำไมถึงต่อไฟสลับสายแล้วค่าไฟมันถึงขึ้น" มิเตอร์มันหมุนได้ยังไง
เนื้อหาคือ ถ้าไม่จ่ายค่าไฟ การไฟฟ้าจะเข้ามาตัดหม้อ และเมื่อเข้าไปจ่าย+ค่าปรับนั่นนู่นนี่ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาเสียบสายกลับเข้าที่เดิม ปัญหาคือ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าสายไหน L (power line มีไฟ) สายไหน N (นิลทรัล ไม่มีไฟ)
ปัญหามันเป็นแบบนี้ครับ เพราะกฏของการไฟฟ้า ให้ต่อสายนิลทรัลลงหลักดินก่อนเข้าเบรกเกอร์และตู้เมน และตัวสายดินเองก็มาจั้มเข้าตรงนี้ด้วย ดูรูปนะ
ทีนี้ถ้าสลับสายที่มิเตอร์ Lเป็น N และ N เป็น L มิเตอร์มันจึงหมุนเพราะไฟไหลลงดิน แต่นั่นไม่เท่ากับความอันตราย เพราะว่าสายดินมันต่อพ่วงกับนิลทรัลเดิม ทีนี้เมื่อไฟมันเข้ามาทางสายเส้นนี้ ส่วนหนึ่งมันก็ไหลลงดินไป แต่ส่วนหนึ่งมันก็ไหนมาทางสายดินไปทั่วทั้งบ้าน เครื่องทำน้ำอุ่นนี่แน่ๆ เปิดน้ำนี่ในน้ำมีไฟ220โวลต์เลย (บ้านผมต่อสายดินแยกเลย ป้องกันไว้ก่อน ถึงจะผิดกฏการไฟฟ้า แต่ต้องเข้าใจให้มากจะได้ไม่อันตราย) แล้วพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่มีสายดิน ตัวโครงเหล็กมันจะมีไฟ ช๊อตคนได้ทุกอย่าง ทั้งคอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ฯลฯ
มีข่าวที่ช๊อตคนตายจากกรณ๕ีแบบนี้มาแล้ว เป็ฯเรื่องที่น่าเศ้รามากที่ต้องสูญเสียคนที่เรารัก ต้องสุญสิ้นความผูกพันของคนในครอบครัว มันย้อนกลับมาไม่ได้
เรื่องนี้เราจะโทษการไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้ ผมอยากให้ผู้นำครอบครัวควรศึกษาและใส่ใจเรื่องนี้ อย่างน้อยๆหลังการติดตั้งมิเตอร์ หรือการต่อไฟกลับเข้ามาในระบบ ควรตรวจเช็คไฟก่อนว่ามาถูกต้องหรือเปล่า
---------------------------------------------------------
ทำไมถึงต้องมาเป็นภาระของผู้ใช้งาน หรือเจ้าของบ้าน ?
นั้นเพราะว่า สายไฟหลังจากออกจากมิเตอร์ของการไฟฟ้า ส่วนมากทำโดยผู้รับเหมา หรือช่างไฟเอกชนครับ เราไม่รู้ว่าช่างแค่ละคนมีความรู้มากแค่ไหน มีมาตรฐานการติดตั้งที่ดีไหม สายไฟอาจจะสลับโดยช่างที่รับเหมาติดตั้งระบบไฟในบ้านก็ได้ เพราะว่า หลังการถอดสายไฟออกจากหม้อไฟ(มิเตอร์) คนถอดอาจไม่ได้ทำสัญลักษณ์เอาไว้ว่าเส้นไหน L เส้นไหน N และสีหรือขนาดของสายไฟมันก็เหมือนกัน มันแยกไม่ออกหรอกครับ อาจโดนถอดตากแดดโดนอะไรมาทำมันสลับไปสลับมาก็ได้ โดยปกติเมื่อช่าง หรือเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า(บ้างครั้งโดนจ้างมาโดยซัพภายนอก)มาต่อสายกลับเข้าไป เจ้าหน้าที่ หรือช่างจะต้อเข้าไปตรวจวัดไฟที่ตู้เมนด้วยครับว่าไฟมาถูกต้องหรือเปล่า ในกรณีที่ผมยกมาให้ หรือกรณีอื่นๆคือ "บ้านไม่มีคนอยู่" ตอนที่ช่างมาเสียบสายกลับเข้าไป ไม่มีใครมาเปิดบ้านให้ช่างหรือเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจเช็คไฟครับ ผมถึงได้บอกว่า เจ้าของบ้านหรือผู้นำครอบครัวต้องใส่ใจเรื่องนี้ ถ้ารู้ว่าห้อมโดนตัดและมีการต่อกลับเข้ามาแล้วต้องเช็คไฟทุกครั้งก่อนเข้ามาใช้งานบ้านหลังนั้น
ในกรณีที่เป็นข่าวไฟจากเครื่องทำน้ำอุ่นช๊อตภรรยาเจ้าของบ้านเสียชีวิตก็กรณีแบบนี้ครับ บ้านไม่ได้อยู่นานเลยโดนตัดหม้อ พอจะมาพักที่บ้านนี้ก็ไปแจ้งการไฟฟ้า ไปจ่ายเงิน แล้วก็เข้ามาอยู่ในบ้านซึ่งไม่มีการตรวจเช็ค จึงเกิดเรื่องเศ้ราขึ้น
ใครจะบอกว่ามันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานการไฟฟ้าผมว่ามันง่ายเกินไปไหมที่จะโทษคนอื่น แต่ไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของเราเอง วันที่เขามาต่อไฟเราได้อยู่ดูเขาไหม ได้เปิดบ้านให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าไหม ได้ตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนกลับเข้ามาอยู่ในบ้านไหม ถ้าอ่านที่ผมพิมพ์ไว้ทั้งหมดจะเห็นว่ามันมีจุดหนึ่งที่เราโทษใครคนไดคนหนึ่งไม่ได้
หลักดินครับ เกี่ยวกับ ธรณีวิทยา
การเดินสายไฟในแต่ละบ้าน ช่างร้อยพ่อพันแม่ครับ บางบ้านก็ไปจ้างแค่แรงงานมาเดินให้เพราะมันถูก ไฟแต่ละจุดบางทีก็สลับกันมั่วไปหมด
ผมอยากให้แชร์ข้อมูลนี้ไปยังทุกคนที่โดนตัดหม้อครับ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
อธิบายภาพข้างล่างนะ เผื่อใครดูไม่ออก ลองดูถ้าต่อสายสลับกันที่มิเตอร์ ไฟจะไหลมาทางเส้นประที่ผมขีดสีแดงๆไว้ครับ ก่อนเข้าเบรคเกอร์สายนิวทรัลมันต้องต่อเข้ากับหลักดินก่อน แล้วหลักดินอันนี้มันก็ต่อไปยังสายดินในบ้านด้วย ซึ่งถ้าต่อสายไฟสลับกัน ไฟมันก็ไหลมาลงหลักดิน ทำให้มิเตอร์หมุนอยู่ตลอดเวลา และมันก็ยังไหลเข้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านโดยที่ต้องสับคัตเอาต์หรือเบรคเกอ์เลย นั่นคืออันตรายสุดๆ เพราะถ้ามีใครโดนช๊อต จะไม่มีที่ให้ตัดไฟเลยนอกจากใช้คีมตัดสายที่มิเตอร์