JJNY : ค่าไฟเดือนล้านกว่า ชาวเน็ตร้องอู้หู│สหกรณ์ผลิตหมอนยางปิดตัว│พบคนย้ายถิ่นหนีกรุงเทพ 1.2%│ปักกิ่งกร้าว ยันคำเดิม

เกิดมาไม่เคยเจอ! ค่าไฟเดือนล้านกว่าบาท ชาวเน็ตร้องอู้หูแนะติดโซลาร์เซลล์
https://www.dailynews.co.th/news/2240442/

สะดุ้งโหยง! บริษัทจำหน่ายหินทราย โพสต์ตัวเลขค่าไฟต้องจ่ายเดือนล่าสุด ล้านกว่าบาท บอกเกิดมาไม่เคยเจอ ชาวเน็ตต่างร้องอู้หู ถามเกินไปไหม พร้อมแนะให้ติดโซลาร์เซลล์.
 
 
เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก ท่าทรายรุ่งอรุณ ของบริษัท ท่าทรายรุ่งอรุณ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 24 หมู่ 11 ต.ด่าน อ.ราษีไศล  จ.ศรีสะเกษ 33160 ผลิตและจัดจำหน่าย ทราย หิน คอนกรีตผสมเสร็จ ยางมะตอย ปูนซีเมนต์ผง ท่อ บ่อพัก คสล. และ มอก. ได้โพสต์ภาพตัวเลขค่าไฟที่ต้องชำระ พร้อมข้อความระบุว่า

พี่น้องดูเอา…..เกิดมาไม่เคยเจอ…ค่าไฟเดือนนี้ล้านกว่า

ภายหลังจากที่มีการโพสต์ข้อความดังกล่าวออกไป ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแชร์โพสต์และแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาทิ เกินไปไหม, เงินค่าไฟจ่ายพนักงานได้, ขณะเดียวกันก็มีการแนะนำให้บริษัทติดโซลาร์เซลล์เลย.

ขอบคุณเฟซบุ๊ก ท่าทรายรุ่งอรุณ.



สหกรณ์ผลิตหมอนยางพาราชื่อดังพัทลุงปิดตัว โควิดทุบยอดขาย 3 ปี สภาพคล่องติดลบ
https://www.prachachat.net/economy/news-1268963

สหกรณ์ผลิตหมอนยางพาราชื่อดังพัทลุงปิดตัว หลังพบปัญหาบริหารงาน โควิดทุบยอดขาย 3 ปี สภาพคล่องฝืด เจ้าหน้าที่ตอบโต้ ร้องกลับเข้าสู่ ป.ป.ช.
 
วันที่ 21 เมษายน 2566 รายงานข่าวเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ระบุว่าสหกรณ์การเกษตร บ้านแพรกหา จำกัด ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ต้องยุติการดำเนินงานและปิดตัวลง ทิ้งไว้แต่หนี้สิน และความสูญเสียเงินทองทรัพย์สินของสมาชิก

โดยเบื้องต้นคาดว่ามาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดบกพร่อง จนเป็นเหตุให้ดำเนินการต่อไปไม่ได้
 
ขณะเดียวกัน ผู้ใช้ facebook ชื่อ โกศล พรหมช่วย ระบุข้อมูล สอดคล้องกันว่า มีการยื่นเรื่องสหกรณ์ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และเปิดไต่สวนมาตรา 157 คาดว่าจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงและระดับปฏิบัติการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย
 
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ได้ติดต่อสอบถามไปทางเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ทำให้ทราบว่าสหกรณ์ได้รับคำสั่งให้ปิดเมื่อเดือนก่อน และขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 30 วัน ซึ่งอีกด้านหนึ่งทางสหกรณ์ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาสั่งปิด จึงได้ร้องต่อ ป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบการใช้อำนาจพิจารณาสั่งปิด ซึ่งจะมีทั้งสหกรณ์จังหวัดและนายทะเบียนที่พิจารณา
 
สาเหตุที่สหกรณ์มีปัญหา เพราะว่าในช่วง 3 ปีที่มีโควิด การสั่งซื้อตลาดส่งออกจีนจึงหายไปในช่วงนั้น ทำให้ผลประกอบการไม่ดี ปิดบัญชีไม่ได้ แต่สหกรณ์ไม่ได้ติดค้างเงินค่าน้ำยางข้นสมาชิก เพียงแต่โรงงานหยุดผลิต หยุดซื้อน้ำยาง เพราะไม่ต้องการที่จะสต๊อกสินค้า ถ้าหากผลิตก็เฉลี่ยที่ 1,000 ลูกต่อวัน และจากเรื่องปัญหาสภาพคล้องจึงไม่ได้มีการจ่ายปันผลสมาชิก 280 คน
 
รายงานข่าวระบุว่า สหกรณ์ดังกล่าวสร้างผลงานประสบความสำเร็จในฐานะโรงงานผลิตน้ำยางข้น ParaFIT เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนที่นอนยางพารา เปี่ยมสุข และผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างชื่อให้กับจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางมากกว่า 1 ล้านไร่

และนำมาสู่แนวคิดในการตั้งโรงงานเพื่อแก้ปัญหาแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย ประจำปี 2558 ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ และตั้งโรงงานได้ในช่วงปลายปี 2559 จากการระดมเงินทุน (หุ้น) ร่วมมือกันเชิงประชารัฐ ผ่าน “โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา กิจกรรมการจัดตั้งโรงงานผลิตหมอนที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ”
 
และเมื่อต้นปี 2560 ได้เริ่มดำเนินการผลิตในส่วนการแปรรูปหมอนจากน้ำยางข้น 60% ที่ซื้อมาจากบริษัทเอกชน ต่อมาช่วงกลางปี 2560 สามารถพัฒนาจนรับน้ำยางสดจากสมาชิก นำมาผลิตน้ำยางข้น 60% ใช้เองได้
 

 
พบคนย้ายถิ่นหนีกรุงเทพ 1.2% ของประชากรทั้งประเทศ
https://www.thairath.co.th/business/feature/2684920

นางปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากรปี 65 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเดือน ต.ค.-ธ.ค.65 เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรและสังคมของผู้ย้ายถิ่น พบว่ามีผู้ย้ายถิ่น 809,000 คน คิดเป็นอัตราการย้ายถิ่น 1.2% ของประชากรทั้งประเทศ (69.91 ล้านคน) โดยภาคกลางมีจำนวนผู้ย้ายถิ่นมากที่สุด 345,000 คน คิดเป็น 42.6% ของจำนวนผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด และกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ย้ายถิ่นน้อยที่สุด 55,000 คน หรือ 6.8% ส่วนสาเหตุการย้ายถิ่น พบว่าส่วนใหญ่ 34.8% หรือ 281,000 คน ย้ายถิ่นด้วยสาเหตุด้านการงาน เช่น หางานทำ หน้าที่การงาน ต้องการเปลี่ยนงาน รองลงมาด้านครอบครัว เช่น ติดตามคนในครอบครัวและทำกิจการครอบครัวและอื่นๆ เช่น ย้ายที่อยู่อาศัย กลับภูมิลำเนา และศึกษาต่อ เป็นต้น
 
ขณะที่รูปแบบการย้ายถิ่นแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 
1. ผู้ย้ายถิ่นภายในภาคเดียวกันจำนวน 518,000 คน 
2. ผู้ย้ายถิ่นระหว่างภาค 244,000 คน 
3. ผู้ย้ายถิ่นมาจากต่างประเทศ 47,000 คน 

จากการสำรวจยังพบว่า อัตราการย้ายถิ่นสุทธิของภาคเหนือและภาคกลางมีผลเป็นบวกคือ 0.13 และ 0.06 ตามลำดับ คือมีผู้ย้ายถิ่นเข้ามากกว่าผู้ย้ายถิ่นออก ส่วนกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีอัตราการย้ายถิ่นสุทธิเป็นลบ คือ -0.20, -0.14 และ 0.09 ตามลำดับคือมีผู้ย้ายถิ่นเข้าน้อยกว่าผู้ย้ายถิ่นออก.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่