อ.ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ ชี้ 8 จังหวัด ยุทธศาสตร์ มีผลต่อการตั้งรัฐบาล
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7622750
อ.ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ ชี้ 8 จังหวัด ยุทธศาสตร์ มีผลต่อการตั้งรัฐบาล ยก 3 เหตุผลประกอบ ที่นั่งเยอะ-ยังไม่นิ่ง-สองขั้วแข่งกันเข้มข้น
ใกล้ถึงวันที่ 14 พ.ค.2566 ที่คนไทยจะได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในช่วงสุดท้ายของการหาเสียง แต่ละพรรคการเมืองต่างนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อหวังโน้มน้าวใจให้เลือกเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
ด้าน รศ.ดร.
ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทวิตข้อความแสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์
@prajak kong วิเคราะห์การเลือกตั้งความว่า
จังหวัดยุทธศาสตร์ที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนสมดุลที่นั่งฝั่งขั้วรัฐบาล/ฝ่ายค้าน และการจัดตั้งรัฐบาล: สมุทรปราการ, ชลบุรี, โคราช, ศรีสะเกษ, กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์ และ กทม.
โดยระบุต่อว่า จังหวัดเหล่านี้ 1.มีจำนวนที่นั่งให้แย่งชิงเยอะ, 2.ยังไม่นิ่ง, 3. ขั้วรัฐบาลและขั้วฝ่ายค้านแข่งกันเข้มข้น (มากกว่าแข่งในขั้วเดียวกันเอง)
https://twitter.com/bkksnow/status/1648637279852965889
“รังสิมันต์” จี้กกต.ทบทวนข้อสอบถามปชป.ใหม่
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_536709/
“รังสิมันต์” จี้ กกต.ทบทวนตีความใหม่ข้อสอบถามประชาธิปัตย์ ชี้ค่าใช้จ่ายสังเกตุการณ์เลือกตั้ง ไม่ควรเป็นของพรรค หวั่นเปิดช่องทุจริต
นาย
รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตอบข้อสอบถามของพรรคประชาธิปัตย์ว่า การแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำหน่วยเลือกตั้งเพื่อสังเกตการณ์การออกเสียงลงคะแนนและนับคะแนน ส.ส. แบบแบ่งเขต ค่าใช้จ่ายในการอบรมตัวแทนและค่าเบี้ยเลี้ยงในวันปฏิบัติงาน เป็นค่าใช้จ่ายของพรรค ของผู้สมัคร หรือของใครว่ากรณีนี้สำคัญมาก เนื่องจากเกี่ยวพันกับการทุจริตการเลือกตั้งในเรื่องการจัดการหีบลงคะแนน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากเรื่องนี้
ทั้งนี้ โดยปกติพรรคการเมืองสามารถส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าระหว่างการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ กกต. หรือใครก็ตาม จะไม่มีการทุจริตเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งหรือการนับคะแนนเกิดเหตุการณ์บัตรเขย่งเหมือนที่ผ่านมา เรื่องนี้สำคัญมากต่อการจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
แต่การจะทำเช่นนี้ได้ ต้องมีการฝึกอบรม ผู้สังเกตการณ์ต้องเฝ้าระวังการทุจริตตั้งแต่เช้าถึงเย็นไม่ควรมีใครทำงานฟรี ต้องมีการให้ค่าตอบแทน ค่าอาหาร กระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งจากการสอบถาม กกต. ก็แจ้งว่า ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมืองและพรรคการเมืองมีโควตาการใช้เงินทั้งหมดเพียง 44 ล้านบาท
ซึ่งหากคิดค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร 400 บาทต่อคนต่อวัน และมีคูหากว่าแสนหน่วย คิดเป็นเงิน 40 ล้านบาท นั่นเท่ากับพรรคการเมืองจะเหลือโควตาใช้เงินอีกเพียง 4 ล้านบาทในการทำแคมเปญและการรณรงค์ ซึ่งจำนวนนี้เป็นเรื่อที่เป็นไปไม่ได้เลย
นาย
รังสิมันต์ ยังกล่าวอีกว่า การตีความเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงจะก่อให้เกิดการทุจริต และทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส เพราะพรรคการเมืองอาจไม่สามารถส่งตัวแทนได้ครบทุกหน่วย ซึ่งต้องตั้งคำถามว่า พรรคการเมือง ประชาชน จะไว้วางใจ กกต. ได้อย่างไร เพราะการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 การทำงานของ กกต. ได้ฝากบาดแผลไว้กับสังคมไม่น้อย และตนเห็นว่าการตีความครั้งนี้ของ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงื่อนไขที่ กกต. กำหนดแบบนี้ ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างโปร่งใสได้
ดังนั้น ต้องตีความตาม พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 55 คือพรรคการเมืองเป็นคน แจ้งชื่อว่าจะมีผู้ใดไปอยู่ตามหน่วยเลือกตั้ง แต่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถอยู่ในค่าใช้จ่ายของผู้สมัครเขตได้ หรือหากยืนยันว่าควรเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง ก็ควรมีการขยายเพดานค่าใช้จ่าย ให้พรรคสามารถมีค่าใช้จ่ายเพียงพอกับการรณรงค์หาเสียง วิธีการเช่นนี้จะเป็นธรรมมากกว่า ขอฝากถึง กกต. อย่าปล่อยให้ประชาชนกังขากับการทำงานและความโปร่งใสของ กกต. ไปมากกว่านี้เลย
เคาะวันนี้ลดค่าไฟเหลือหน่วยละ 4.70 บาท โรงงานมหาชัยโอดค่าไฟพุ่ง 15% คำสั่งซื้อหด จ่อปิดตัว
https://www.matichon.co.th/economy/news_3935723
เคาะวันนี้ลดค่าไฟ 7 สต. เหลือหน่วยละ 4.70 บาท ก.พลังงานแจงสูตรอัตราก้าวหน้า ใช้เยอะจ่ายแพง โรงงานมหาชัยโอดค่าไฟพุ่ง 15% คำสั่งซื้อหด จ่อปิดตัว
เมื่อวันที่ 20 เมษายน นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 21 เมษายนนี้ อนุกรรมการค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) จะพิจารณาเรื่องการปรับลดค่าไฟฟ้าเอฟทีสำหรับงวดที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำหนังสือฉบับใหม่ขอรับภาระยืดหนี้การชำระค่าไฟฟ้าแทนประชาชนจาก 5 งวด คิดเป็นค่าไฟ 35 สตางค์ต่อหน่วย (งวดละ 27,000 ล้านบาท) เป็น 6 งวด คิดเป็นค่าไฟ 28 สตางค์ต่อหน่วย (งวดละ 22,000 ล้านบาท)
ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยงวดที่ 2 ของปีนี้ลดลงจาก 4.77 บาทต่อหน่วย เป็น 4.70 บาทต่อหน่วย หากได้รับความเห็นชอบจะเสนอบอร์ด กกพ.พิจารณาสัปดาห์หน้าเพื่อลงนามประกาศรับฟังความเห็นจากประชาชน หลังจากนั้นจะนำเข้าบอร์ด กกพ.อีกครั้งเพื่อมีมติประกาศค่าไฟฟ้าต่อไป
คาดว่าจะชัดเจนภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เดิม กฟผ.ส่งหนังสือมาช่วงต้นเดือนเมษายน แต่หัวหนังสือไม่ระบุการยืดหนี้ไว้ชัดเจน กกพ.จึงเสนอทำมาใหม่พร้อมยืนยันเรื่องสภาพคล่องหากยืดหนี้มาด้วย จากนั้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน กฟผ.ได้นำหนังสือฉบับใหม่ส่งมาดังกล่าว
เร่งหาเงินอุ้มผู้ใช้ไฟ 300 หน่วย
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ได้ทำหนังสือยืนยันไปยัง กกพ.เสนอลดค่าไฟงวดที่ 2 ในอัตรา 7 สตางค์ต่อหน่วย จาก 4.77 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย เชื่อว่า กกพ.จะเห็นชอบปรับลดค่าไฟตามข้อเสนอดังกล่าวเพราะเป็นประโยชน์กับประชาชนสอดคล้องกับสถานการณ์ต้นทุนราคาพลังงานที่ลดลง และไม่กระทบต่อสภาพคล่องกับ กฟผ. เพราะหลังจากนั้นจะเป็นการคืนหนี้ให้ กฟผ.ตามปกติ สำหรับสภาพจากอากาศร้อนจัดส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เนื่องจากค่าไฟฟ้าของไทยเป็นอัตราก้าวหน้า เมื่อใช้หน่วยมากก็ต้องจ่ายแพง โดยค่าไฟงวดปัจจุบัน (มกราคม-เมษายน) ค่าไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยเฉลี่ยที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และยังมีเงินช่วยเหลือจากรัฐลดพิเศษให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมีประมาณ 19.66 ล้านครัวเรือน
นายกุลิศกล่าวว่า สำหรับในงวดที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) กำลังพิจารณาว่าจะมีงบประมาณส่วนใดมาช่วยเหลือเพิ่มเติมได้หรือไม่ นอกเหนือจากการยืดหนี้ของ กฟผ. เพราะจากการหารือกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าไม่มีงบประมาณเพียงพอในการอุดหนุนค่าไฟฟ้าที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 8 พันล้านบาท และยังมองไปถึงงวดถัดไป หรืองวด 3 (กันยายน-ธันวาคม) ว่าจะทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำที่สุด โดยมอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เร่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี ซึ่งขณะนี้ราคาลดเหลือ 11-13 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู มาสำรองไว้ได้หรือไม่
พลังงานแจงสูตรค่าไฟ ใช้เยอะ-แพง
นายกุลิศกล่าวถึงสถานการณ์ราคาค่าไฟแพงช่วงหน้าร้อนว่า ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนพบว่าแพงขึ้นในเดือนเมษายน เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด ทำให้การใช้เครื่องปรับอากาศใช้กำลังไฟมากขึ้นในการที่จะรักษาอุณหภูมิให้ปกติ ยืนยันว่าค่าไฟฟ้าไม่ได้มีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากยังคงอยู่ในช่วงคิดอัตราค่าไฟฟ้าเดิมคือ 4.72 บาทต่อหน่วยสำหรับกลุ่มครัวเรือน (1 มกราคม-30 เมษายน 2566) ยังไม่มีการปรับอัตราค่าไฟฟ้า แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าจะมีอัตราเริ่มต้นและปรับอัตราเพิ่มเป็นขั้นบันได อาทิ ประเภทผู้ใช้ครัวเรือนอัตราที่ยังไม่รวมค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) และภาษีมูลค่าเพิ่ม การคิดค่าไฟเริ่มต้นตั้งแต่ 1-150 หน่วย อยู่ที่ 3.2484 บาทต่อหน่วย, 151-400 หน่วย อยู่ที่ 4.2218 บาทต่อหน่วย, เกิน 400 หน่วยอยู่ที่ 4.4217 บาทต่อหน่วย ดังนั้น แม้ประชาชนจะไฟฟ้าเปิดเวลาเท่าเดิมแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศทำงานหนัก จะกินไฟฟ้าหลายหน่วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราเพิ่มสูงขึ้นจึงเกิดค่าไฟแพงขึ้น
รง.สมุทรสาครแบกค่าไฟเพิ่ม15%
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ค่าไฟที่กำลังขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก จากการสำรวจผู้ประกอบการใน จ.สมุทรสาคร พบว่าต้องแบกรับภาระค่าไฟเพิ่มขึ้นสูงถึง 15% ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ขณะที่คำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง ขณะที่ค่าไฟขึ้นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับมากที่สุดคือไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำลังซื้อลดลงไป บางอุตสาหกรรมลดลงไปเกือบ 50%
นายอภิสิทธิ์ระบุว่า ปัญหาเหล่านี้เห็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว การจ้างงานในหลายอุตสาหกรรมก็มีการลดจำนวนแรงงานลง ผู้ประกอบการทุกคนหวังว่าภายใน 4 เดือนถึง 6 เดือนข้างหน้านี้สถานการณ์โลก หรือสถานการณ์ในประเทศจะดีขึ้น แต่ถ้าภายใน 6 เดือนหรือภายในสิ้นปีนี้กำลังซื้อไม่กลับมา เกรงว่าผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมของสมุทรสาครอาจจะต้องมีการปิดตัวลง อยากจะฝากถึงภาครัฐเร่งแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
JJNY : อ.ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ ชี้ 8 จังหวัด│“รังสิมันต์” จี้กกต.ทบทวน│โรงงานมหาชัยโอดค่าไฟพุ่ง│รัสเซียเผลอยิงเมืองตัวเอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7622750
อ.ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ ชี้ 8 จังหวัด ยุทธศาสตร์ มีผลต่อการตั้งรัฐบาล ยก 3 เหตุผลประกอบ ที่นั่งเยอะ-ยังไม่นิ่ง-สองขั้วแข่งกันเข้มข้น
ใกล้ถึงวันที่ 14 พ.ค.2566 ที่คนไทยจะได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในช่วงสุดท้ายของการหาเสียง แต่ละพรรคการเมืองต่างนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อหวังโน้มน้าวใจให้เลือกเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
ด้าน รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทวิตข้อความแสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์ @prajak kong วิเคราะห์การเลือกตั้งความว่า
จังหวัดยุทธศาสตร์ที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนสมดุลที่นั่งฝั่งขั้วรัฐบาล/ฝ่ายค้าน และการจัดตั้งรัฐบาล: สมุทรปราการ, ชลบุรี, โคราช, ศรีสะเกษ, กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์ และ กทม.
โดยระบุต่อว่า จังหวัดเหล่านี้ 1.มีจำนวนที่นั่งให้แย่งชิงเยอะ, 2.ยังไม่นิ่ง, 3. ขั้วรัฐบาลและขั้วฝ่ายค้านแข่งกันเข้มข้น (มากกว่าแข่งในขั้วเดียวกันเอง)
https://twitter.com/bkksnow/status/1648637279852965889
“รังสิมันต์” จี้กกต.ทบทวนข้อสอบถามปชป.ใหม่
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_536709/
“รังสิมันต์” จี้ กกต.ทบทวนตีความใหม่ข้อสอบถามประชาธิปัตย์ ชี้ค่าใช้จ่ายสังเกตุการณ์เลือกตั้ง ไม่ควรเป็นของพรรค หวั่นเปิดช่องทุจริต
นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตอบข้อสอบถามของพรรคประชาธิปัตย์ว่า การแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำหน่วยเลือกตั้งเพื่อสังเกตการณ์การออกเสียงลงคะแนนและนับคะแนน ส.ส. แบบแบ่งเขต ค่าใช้จ่ายในการอบรมตัวแทนและค่าเบี้ยเลี้ยงในวันปฏิบัติงาน เป็นค่าใช้จ่ายของพรรค ของผู้สมัคร หรือของใครว่ากรณีนี้สำคัญมาก เนื่องจากเกี่ยวพันกับการทุจริตการเลือกตั้งในเรื่องการจัดการหีบลงคะแนน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากเรื่องนี้
ทั้งนี้ โดยปกติพรรคการเมืองสามารถส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าระหว่างการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ กกต. หรือใครก็ตาม จะไม่มีการทุจริตเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งหรือการนับคะแนนเกิดเหตุการณ์บัตรเขย่งเหมือนที่ผ่านมา เรื่องนี้สำคัญมากต่อการจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
แต่การจะทำเช่นนี้ได้ ต้องมีการฝึกอบรม ผู้สังเกตการณ์ต้องเฝ้าระวังการทุจริตตั้งแต่เช้าถึงเย็นไม่ควรมีใครทำงานฟรี ต้องมีการให้ค่าตอบแทน ค่าอาหาร กระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งจากการสอบถาม กกต. ก็แจ้งว่า ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมืองและพรรคการเมืองมีโควตาการใช้เงินทั้งหมดเพียง 44 ล้านบาท
ซึ่งหากคิดค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร 400 บาทต่อคนต่อวัน และมีคูหากว่าแสนหน่วย คิดเป็นเงิน 40 ล้านบาท นั่นเท่ากับพรรคการเมืองจะเหลือโควตาใช้เงินอีกเพียง 4 ล้านบาทในการทำแคมเปญและการรณรงค์ ซึ่งจำนวนนี้เป็นเรื่อที่เป็นไปไม่ได้เลย
นายรังสิมันต์ ยังกล่าวอีกว่า การตีความเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงจะก่อให้เกิดการทุจริต และทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส เพราะพรรคการเมืองอาจไม่สามารถส่งตัวแทนได้ครบทุกหน่วย ซึ่งต้องตั้งคำถามว่า พรรคการเมือง ประชาชน จะไว้วางใจ กกต. ได้อย่างไร เพราะการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 การทำงานของ กกต. ได้ฝากบาดแผลไว้กับสังคมไม่น้อย และตนเห็นว่าการตีความครั้งนี้ของ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงื่อนไขที่ กกต. กำหนดแบบนี้ ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างโปร่งใสได้
ดังนั้น ต้องตีความตาม พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 55 คือพรรคการเมืองเป็นคน แจ้งชื่อว่าจะมีผู้ใดไปอยู่ตามหน่วยเลือกตั้ง แต่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถอยู่ในค่าใช้จ่ายของผู้สมัครเขตได้ หรือหากยืนยันว่าควรเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง ก็ควรมีการขยายเพดานค่าใช้จ่าย ให้พรรคสามารถมีค่าใช้จ่ายเพียงพอกับการรณรงค์หาเสียง วิธีการเช่นนี้จะเป็นธรรมมากกว่า ขอฝากถึง กกต. อย่าปล่อยให้ประชาชนกังขากับการทำงานและความโปร่งใสของ กกต. ไปมากกว่านี้เลย
เคาะวันนี้ลดค่าไฟเหลือหน่วยละ 4.70 บาท โรงงานมหาชัยโอดค่าไฟพุ่ง 15% คำสั่งซื้อหด จ่อปิดตัว
https://www.matichon.co.th/economy/news_3935723
เคาะวันนี้ลดค่าไฟ 7 สต. เหลือหน่วยละ 4.70 บาท ก.พลังงานแจงสูตรอัตราก้าวหน้า ใช้เยอะจ่ายแพง โรงงานมหาชัยโอดค่าไฟพุ่ง 15% คำสั่งซื้อหด จ่อปิดตัว
เมื่อวันที่ 20 เมษายน นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 21 เมษายนนี้ อนุกรรมการค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) จะพิจารณาเรื่องการปรับลดค่าไฟฟ้าเอฟทีสำหรับงวดที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำหนังสือฉบับใหม่ขอรับภาระยืดหนี้การชำระค่าไฟฟ้าแทนประชาชนจาก 5 งวด คิดเป็นค่าไฟ 35 สตางค์ต่อหน่วย (งวดละ 27,000 ล้านบาท) เป็น 6 งวด คิดเป็นค่าไฟ 28 สตางค์ต่อหน่วย (งวดละ 22,000 ล้านบาท)
ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยงวดที่ 2 ของปีนี้ลดลงจาก 4.77 บาทต่อหน่วย เป็น 4.70 บาทต่อหน่วย หากได้รับความเห็นชอบจะเสนอบอร์ด กกพ.พิจารณาสัปดาห์หน้าเพื่อลงนามประกาศรับฟังความเห็นจากประชาชน หลังจากนั้นจะนำเข้าบอร์ด กกพ.อีกครั้งเพื่อมีมติประกาศค่าไฟฟ้าต่อไป
คาดว่าจะชัดเจนภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เดิม กฟผ.ส่งหนังสือมาช่วงต้นเดือนเมษายน แต่หัวหนังสือไม่ระบุการยืดหนี้ไว้ชัดเจน กกพ.จึงเสนอทำมาใหม่พร้อมยืนยันเรื่องสภาพคล่องหากยืดหนี้มาด้วย จากนั้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน กฟผ.ได้นำหนังสือฉบับใหม่ส่งมาดังกล่าว
เร่งหาเงินอุ้มผู้ใช้ไฟ 300 หน่วย
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ได้ทำหนังสือยืนยันไปยัง กกพ.เสนอลดค่าไฟงวดที่ 2 ในอัตรา 7 สตางค์ต่อหน่วย จาก 4.77 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย เชื่อว่า กกพ.จะเห็นชอบปรับลดค่าไฟตามข้อเสนอดังกล่าวเพราะเป็นประโยชน์กับประชาชนสอดคล้องกับสถานการณ์ต้นทุนราคาพลังงานที่ลดลง และไม่กระทบต่อสภาพคล่องกับ กฟผ. เพราะหลังจากนั้นจะเป็นการคืนหนี้ให้ กฟผ.ตามปกติ สำหรับสภาพจากอากาศร้อนจัดส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เนื่องจากค่าไฟฟ้าของไทยเป็นอัตราก้าวหน้า เมื่อใช้หน่วยมากก็ต้องจ่ายแพง โดยค่าไฟงวดปัจจุบัน (มกราคม-เมษายน) ค่าไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยเฉลี่ยที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และยังมีเงินช่วยเหลือจากรัฐลดพิเศษให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมีประมาณ 19.66 ล้านครัวเรือน
นายกุลิศกล่าวว่า สำหรับในงวดที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) กำลังพิจารณาว่าจะมีงบประมาณส่วนใดมาช่วยเหลือเพิ่มเติมได้หรือไม่ นอกเหนือจากการยืดหนี้ของ กฟผ. เพราะจากการหารือกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าไม่มีงบประมาณเพียงพอในการอุดหนุนค่าไฟฟ้าที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 8 พันล้านบาท และยังมองไปถึงงวดถัดไป หรืองวด 3 (กันยายน-ธันวาคม) ว่าจะทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำที่สุด โดยมอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เร่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี ซึ่งขณะนี้ราคาลดเหลือ 11-13 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู มาสำรองไว้ได้หรือไม่
พลังงานแจงสูตรค่าไฟ ใช้เยอะ-แพง
นายกุลิศกล่าวถึงสถานการณ์ราคาค่าไฟแพงช่วงหน้าร้อนว่า ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนพบว่าแพงขึ้นในเดือนเมษายน เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด ทำให้การใช้เครื่องปรับอากาศใช้กำลังไฟมากขึ้นในการที่จะรักษาอุณหภูมิให้ปกติ ยืนยันว่าค่าไฟฟ้าไม่ได้มีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากยังคงอยู่ในช่วงคิดอัตราค่าไฟฟ้าเดิมคือ 4.72 บาทต่อหน่วยสำหรับกลุ่มครัวเรือน (1 มกราคม-30 เมษายน 2566) ยังไม่มีการปรับอัตราค่าไฟฟ้า แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าจะมีอัตราเริ่มต้นและปรับอัตราเพิ่มเป็นขั้นบันได อาทิ ประเภทผู้ใช้ครัวเรือนอัตราที่ยังไม่รวมค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) และภาษีมูลค่าเพิ่ม การคิดค่าไฟเริ่มต้นตั้งแต่ 1-150 หน่วย อยู่ที่ 3.2484 บาทต่อหน่วย, 151-400 หน่วย อยู่ที่ 4.2218 บาทต่อหน่วย, เกิน 400 หน่วยอยู่ที่ 4.4217 บาทต่อหน่วย ดังนั้น แม้ประชาชนจะไฟฟ้าเปิดเวลาเท่าเดิมแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศทำงานหนัก จะกินไฟฟ้าหลายหน่วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราเพิ่มสูงขึ้นจึงเกิดค่าไฟแพงขึ้น
รง.สมุทรสาครแบกค่าไฟเพิ่ม15%
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ค่าไฟที่กำลังขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก จากการสำรวจผู้ประกอบการใน จ.สมุทรสาคร พบว่าต้องแบกรับภาระค่าไฟเพิ่มขึ้นสูงถึง 15% ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ขณะที่คำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง ขณะที่ค่าไฟขึ้นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับมากที่สุดคือไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำลังซื้อลดลงไป บางอุตสาหกรรมลดลงไปเกือบ 50%
นายอภิสิทธิ์ระบุว่า ปัญหาเหล่านี้เห็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว การจ้างงานในหลายอุตสาหกรรมก็มีการลดจำนวนแรงงานลง ผู้ประกอบการทุกคนหวังว่าภายใน 4 เดือนถึง 6 เดือนข้างหน้านี้สถานการณ์โลก หรือสถานการณ์ในประเทศจะดีขึ้น แต่ถ้าภายใน 6 เดือนหรือภายในสิ้นปีนี้กำลังซื้อไม่กลับมา เกรงว่าผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมของสมุทรสาครอาจจะต้องมีการปิดตัวลง อยากจะฝากถึงภาครัฐเร่งแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุทำให้ต้นทุนสูงขึ้น