ที่บ้านอยู่กัน 2 คน ค่าไฟเฉลี่ยจะอยู่ประมาณเกือบ 2 พัน แต่เดือนที่ผ่านมาโดนไป 3 พันกว่า เลยสนใจจะเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ TOU
ลักษณะการใช้ไฟฟ้า :
- ทำงานข้างนอกทั้งคู่ กลับถึงบ้านก็จะประมาณ 6 โมงกว่าถึง 2 ทุ่มกว่า เปิดแอร์นอนเกือบทุกวัน เริ่มเปิด 3-4 ทุ่ม ปิดตอน 6:30-7:00 ออกจากบ้าน 7:30 ไม่เกิน
- วัน เสาร์ อาทิตย์ ส่วนใหญ่ อยู่บ้าน
- มีรถไฟฟ้า 1 คัน เป็นแบบ PHEV ไม่ใช่ รถไฟฟ้า 100% ความจุแบต 10 kWh ชาร์จจริง 3 ชม กว่าก็เต็ม
- มิเตอร์ปัจจุบัน 30/100A
- ภรรยาอาบน้ำอุ่นเกือบทุกครั้ง (ยกเว้น ช่วงนี้ เดือนเมษา ดวงอาทิตย์ใจดีอุ่นน้ำให้ด้วย)
- มีเครื่องทำกาแฟ อีกเครื่องที่ใช้ช่วงเช้า ก่อนออกจากบ้าน
มาลองคำนวณค่าไฟคร่าว ๆ ถ้าเปลี่ยนเป็นแบบ TOU แต่ยัง งง ๆ เรื่องการคำนวณ ค่าไฟแบบ TOU ในส่วนของ kVAR กับ kV แต่คิดเอาว่า ให้จำนวนหน่วยใช้งานเหมือนกันไปก่อน (ถ้ามีใครพออธิบายเพิ่มเติมได้ ขอความรู้ด้วยครับ) ไม่คิดค่าบริการ และค่า ft ในการคำนวณ
พบว่า
1. อัตราส่วนของ on-peak จะแพงกว่าค่าไฟแบบปกติ ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานช่วง on-peak เกิน 35% แต่ถ้าใช้งานน้อยกว่านั้น ค่าไฟแบบ TOU จะถูกกว่า
2. และเมื่อเอาสัดส่วนของ on-peak ที่ 30% มาคำนวณ ก็พบว่า กว่าจะคุ้มค่าเปลี่ยนมิเตอร์ ของ กฟภ ที่ 4000 บาท การใช้ไฟฟ้าบ้าน ควรต้องใช้เดือนละ 400 หน่วย (kW) ขึ้นไป ไม่อย่างนั้นจะต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปี ถึงจะคุ้มค่าเปลี่ยน
* เข้าใจว่า ค่าเปลี่ยนมิเตอร์ของ MEA แพงกว่า PEA ดังนั้น ถ้าใช้ กฟน อาจจะต้องมีการใช้งานที่มากขึ้น เพื่อให้คุ้มค่าเปลี่ยนที่ 2-3 ปี
ถ้าผมเข้าใจผิดตรงไหน รบกวนชี้แนะเพิ่มเติม
เห็นค่าไฟแล้วหนาวว: เปลี่ยนเป็น TOU จะดีมั้ย?
ลักษณะการใช้ไฟฟ้า :
- ทำงานข้างนอกทั้งคู่ กลับถึงบ้านก็จะประมาณ 6 โมงกว่าถึง 2 ทุ่มกว่า เปิดแอร์นอนเกือบทุกวัน เริ่มเปิด 3-4 ทุ่ม ปิดตอน 6:30-7:00 ออกจากบ้าน 7:30 ไม่เกิน
- วัน เสาร์ อาทิตย์ ส่วนใหญ่ อยู่บ้าน
- มีรถไฟฟ้า 1 คัน เป็นแบบ PHEV ไม่ใช่ รถไฟฟ้า 100% ความจุแบต 10 kWh ชาร์จจริง 3 ชม กว่าก็เต็ม
- มิเตอร์ปัจจุบัน 30/100A
- ภรรยาอาบน้ำอุ่นเกือบทุกครั้ง (ยกเว้น ช่วงนี้ เดือนเมษา ดวงอาทิตย์ใจดีอุ่นน้ำให้ด้วย)
- มีเครื่องทำกาแฟ อีกเครื่องที่ใช้ช่วงเช้า ก่อนออกจากบ้าน
มาลองคำนวณค่าไฟคร่าว ๆ ถ้าเปลี่ยนเป็นแบบ TOU แต่ยัง งง ๆ เรื่องการคำนวณ ค่าไฟแบบ TOU ในส่วนของ kVAR กับ kV แต่คิดเอาว่า ให้จำนวนหน่วยใช้งานเหมือนกันไปก่อน (ถ้ามีใครพออธิบายเพิ่มเติมได้ ขอความรู้ด้วยครับ) ไม่คิดค่าบริการ และค่า ft ในการคำนวณ
พบว่า
1. อัตราส่วนของ on-peak จะแพงกว่าค่าไฟแบบปกติ ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานช่วง on-peak เกิน 35% แต่ถ้าใช้งานน้อยกว่านั้น ค่าไฟแบบ TOU จะถูกกว่า
2. และเมื่อเอาสัดส่วนของ on-peak ที่ 30% มาคำนวณ ก็พบว่า กว่าจะคุ้มค่าเปลี่ยนมิเตอร์ ของ กฟภ ที่ 4000 บาท การใช้ไฟฟ้าบ้าน ควรต้องใช้เดือนละ 400 หน่วย (kW) ขึ้นไป ไม่อย่างนั้นจะต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปี ถึงจะคุ้มค่าเปลี่ยน
* เข้าใจว่า ค่าเปลี่ยนมิเตอร์ของ MEA แพงกว่า PEA ดังนั้น ถ้าใช้ กฟน อาจจะต้องมีการใช้งานที่มากขึ้น เพื่อให้คุ้มค่าเปลี่ยนที่ 2-3 ปี
ถ้าผมเข้าใจผิดตรงไหน รบกวนชี้แนะเพิ่มเติม